เฉลิม พงษ์สวัสดิ์

พลตรี เฉลิม พงษ์สวัสดิ์ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทย ในรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม เมื่อปี พ.ศ. 2500 เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี 2 สมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแต่งตั้ง 1 สมัย และเป็นอดีตหัวหน้าพรรคประชาราษฎร์

เฉลิม พงษ์สวัสดิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
31 มีนาคม – 16 กันยายน พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เสียชีวิต20 ธันวาคม พ.ศ. 2508
พรรคการเมืองพรรคประชาราษฎร์

ประวัติ

แก้

พลตรี เฉลิม ได้รับแต่งตั้งเป็นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 6 ปี พ.ศ. 2494[1] ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 7 (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500)[2] ต่อมาได้หันไปลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี ในนามพรรคเสรีมนังคศิลาของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500[3] และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หลังการเลือกตั้งครั้งนั้น[4] แต่ก็ทำหน้าที่ได้เพียง 6 เดือน ก็พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากคณะทหารได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 โดยมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร แได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 พลตรี เฉลิม ก็ได้ลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ลพบุรี สมัยที่ 2 โดยไม่สังกัดพรรคการเมืองใด

หลังจากการเลือกตั้งปลายปี พ.ศ. 2500 พลตรี เฉลิม ได้จัดตั้งพรรคประชาราษฎร์ขึ้น และทำหน้าที่เป็นหัวหน้าพรรค[5] โดยเป็นการรวมกลุ่มกันของอดีตสมาชิกพรรคเสรีมนังคศิลา เพื่อทำการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลถนอม กิตติขจร ร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์[6]

พลตรี เฉลิม ได้มีส่วนริเริ่มในการก่อตั้งโรงเรียนหลายแห่ง เช่น โรงเรียนโคกกะเทียมวิทยาลัย ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับการศึกษาของเยาวชนซึ่งเป็นบุตรหลานของทหารสังกัดศูนย์การทหารปืนใหญ่ และ กองบิน 2 ในช่วงที่พลตรี เฉลิม ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการศูนย์การทหารปืนใหญ่[7] โรงเรียนวัดพานิชธรรมิการาม และการฟื้นฟูโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ (พ.ศ. 2497)[8]

พลตรี เฉลิม ถึงแก่กรรมและมีงานพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดโสมนัสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2508

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/A/071/1.PDF
  3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
  4. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
  5. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคประชาราษฎร์
  6. หนังสือที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ คุณแม่ชูศรี บุนนาค ณ เมรุวัดราชโอรสาราม (วัดจอมทอง) ธนบุรี วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม 2526, หน้า 93
  7. "ประวัติโรงเรียนโคกกะเทียมวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-11. สืบค้นเมื่อ 2020-04-16.
  8. ประวัติโรงเรียนวัดน้อยใน
  9. แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  10. แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  11. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์