วัดโสมนัสราชวรวิหาร
วัดโสมนัสวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้ศิลปะสถาปัตยกรรมแบบไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในอุโบสถและพระวิหารมีจิตรกรรมฝาผนังอันงดงาม มีคลองผดุงกรุงเกษมที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2395 ผ่านทางด้านหน้าของพระอุโบสถ ภายในวัดมีเจดีย์ 2 องค์ เจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (เจดีย์ทอง รูปทรงแบบลังกาสีทองเหลืองอร่าม ยอดแหลมสูงเด่นเป็นสง่า สามารถมองเห็นได้ไกลซึ่งเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติแวะเวียนเข้ามาชมความงามและกราบนมัสการกันอยู่มิได้ขาด) และยังมีเจดีย์องค์เล็กชื่อว่าเจดีย์มอญ มีรูปทรงเหมือนธัมเมกขสถูป มีลักษณะสวยงามและหาชมได้ยากเพราะเจดีย์ลักษณะนี้มีเพียง 2 องค์ในประเทศไทย คือ ที่วัดโสมนัสวิหารและที่วัดกันมาตุยาราม อีกองค์หนึ่ง
วัดโสมนัสราชวรวิหาร | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดโสมนัสวิหาร |
ที่ตั้ง | เลขที่ 646 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100 |
ประเภท | พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร[1] |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
พระประธาน | พระสัมพุทธโสมนัสวัฒนาวดีนาถบพิตร |
เจ้าอาวาส | สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) |
ความพิเศษ | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระราชอุทิศสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี |
เว็บไซต์ | www.watsomanas.com |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
ปัจจุบันมีการสร้างและปรับปรุงอาคารต่างๆ ภายในวัด อาทิเช่น ตึก 150 ปี โรงเรียนพระปริยัติธรรม (ตึกสาลักษณาลัย)[2] ซึ่งเป็นตึกเก่าสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมหาเสวกโท พระยาศรีภูริปรีชา (กมล สาลักษณ) เพื่อเป็นที่ระลึกแก่คุณหญิง (พึ่ง) ศรีภูริปรีชา ศาลาสำนักงานภาค ศาลาสถิต ศาลามุขหน้าวัด ตึก 80 ปีสมเด็จพระวันรัต เป็นต้น นอกจากนั้นยังมี โรงเรียนวัดโสมนัส กองการฌาปนกิจ กรมสวัสดิการทหารบก สุสานทหาร อยู่ภายในบริเวณวัด
ประวัติ
แก้เริ่มก่อตั้งโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างพระราชอุทิศสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี เมื่อปี พ.ศ. 2396 ทรงวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถวิสุงคามสีมาอุโบสถ เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2396 (จ.ศ. 1215) ครั้นสิ่งก่อสร้างสำเร็จลงบ้าง พอเป็นที่อาศัยจำพรรษาของภิกษุสามเณรได้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงอาราธนาพระอริยมุนี (ทับ พุทฺธสิริ) จากวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร พร้อมด้วยพระสงฆ์ราว 40 รูปโดยขบวนแห่ทางเรือ เสด็จมาประทับที่กุฎี ภายหลังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนตำแหน่งพระอริยมุนีเป็นพระพรหมมุนี ในปี พ.ศ. 2415 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนตำแหน่งพระพรหมมุนีเป็นพระพิมลธรรม ในปีเถาะ พ.ศ. 2422 และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระพิมลธรรมเป็นสมเด็จพระวันรัต ต่อมาสมเด็จพระวันรัตได้ก่อสร้างสิ่งที่ยังไม่แล้วเสร็จให้เสร็จสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ท่านได้สร้างและเชิญพระสัมพุทธสิริมาจากวัดราชาธิวาสคราวยกวัด เพื่อมาเป็นพระประธานภายในพระอุโบสถ และพระสัมพุทธโสมนัสวัฒนาวดีนาถบพิตร (พระประธานในวิหาร) และพระอัครสาวก เป็นของหลวงเชิญมาจากพระบรมมหาราชวัง
พระพุทธรูปสำคัญ
แก้- พระสัมพุทธโสมนัสวัฒนาวดีนาถบพิตร พระประธานในพระวิหาร
- พระสัมพุทธสิริ พระประธานในพระอุโบสถ
- พระนิรันตราย
- พระโพธิ์ศรีนาค พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของวัด
- พระพุทธรูปยืนโบราณ ในพระวิหารคด
- พระพุทธสิหิงค์จำลอง พระประธานในตึกสมเด็จ 80 ปี
- พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
- พระพุทธรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระอัครมเหสีพระองค์แรกในรัชกาลที่4
-
พระสัมพุทธโสมนัสวัฒนาวดีนาถบพิตร
-
พระสัมพุทธสิริ
-
พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
-
พระพุทธรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี
ลำดับเจ้าอาวาส
แก้ลำดับที่ | รายนาม[3] | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | สมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ) | พ.ศ. 2399 | พ.ศ. 2434 |
2 | พระราชพงษ์ปฏิพัทธ (หม่อมราชวงศ์ล้น ญาณวโร) | พ.ศ. 2434 | พ.ศ. 2445 |
3 | สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ยัง เขมาภิรโต) | พ.ศ. 2445 | พ.ศ. 2474 |
4 | พระพุทธวิริยากร (จันทร์ จนฺทกนฺโต) | พ.ศ. 2474 | พ.ศ. 2481 |
5 | พระสิริปัญญามุนี (เยี่ยม ตทุตฺตรสิริ) | พ.ศ. 2481 | พ.ศ. 2489 |
6 | สมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺโม) | พ.ศ. 2489 | พ.ศ. 2539 |
7 | สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) | พ.ศ. 2539 | ปัจจุบัน |
ภาพ
แก้-
พระสัมพุทธโสมนัสวัฒนาวดีนาถบพิตร พระประธานภายในพระวิหารใหญ่ และพระวิหารคต
-
พระอุโบสถ
-
เจดีย์องค์ใหญ่ (เจดีย์ทอง)
-
เจดีย์องค์เล็ก (เจดีย์มอญ)
-
พระพุทธรูปรายรอบพระอุโบสถ
สถานที่ใกล้เคียง
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง จัดระเบียบพระอารามหลวง, เล่ม 32, ตอน 0 ก, 3 ตุลาคม พ.ศ. 2458, หน้า 284
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/D/3768.PDF
- ↑ http://www.watsomanas.com/thai/abbot/abbot.php ลำดับเจ้าอาวาส
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้13°45′38.32″N 100°30′37.85″E / 13.7606444°N 100.5105139°E