กระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)
กระทรวงสาธารณสุข (อังกฤษ: Ministry of Public Health) เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคภัย การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
Ministry of Public Health | |
เครื่องหมายราชการ ตราคบเพลิงมีปีกและมีงู | |
ทางเข้ากระทรวงสาธารณสุข ถ่ายจากสถานีกระทรวงสาธารณสุข | |
ภาพรวมกระทรวง | |
---|---|
ก่อตั้ง | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 |
กระทรวงก่อนหน้า |
|
ประเภท | กระทรวง |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 88/20 หมู่ที่ 4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11000 |
บุคลากร | 386,155 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
งบประมาณต่อปี | 170,965,693,900 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
รัฐมนตรี | |
รัฐมนตรีช่วย | |
ฝ่ายบริหารกระทรวง |
|
ต้นสังกัดกระทรวง | รัฐบาลไทย |
ลูกสังกัดกระทรวง | |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
ประวัติ
แก้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งกรมการพยาบาลขึ้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2431 เพื่อให้ควบคุมดูแลกิจการศิริราชพยาบาลสืบแทนคณะกรรมการสร้างโรงพยาบาลวังหน้า กรมพยาบาลมีหน้าที่จัดการศึกษาวิชาแพทย์ ควบคุมโรงพยาบาลอื่น ๆ และจัดการปลูกฝีเป็นทานแก่ประชาชน
พ.ศ. 2432 กรมพยาบาลย้ายมาสังกัดในกระทรวงธรรมการ เริ่มมีแพทย์ประจำเมืองขึ้นในบางแห่ง มีการนำยาตำราหลวงออกจำหน่วยในราคาถูกและตั้งกองแพทย์ไปป้องกันโรคระบาด
พ.ศ. 2448 (ร.ศ. 124) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบกรมพยาบาลและตำแหน่งอธิบดีกรมพยาบาล อธิบดีกรมพยาบาลคนสุดท้ายคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา และให้โรงพยาบาลอื่นที่สังกัดกรมพยาบาลไปขึ้นอยู่ในกระทรวงนครบาล ยกเว้นโรงศิริราชพยาบาล คงให้เป็นสาขาของโรงเรียนราชแพทยาลัย ส่วนกองโอสถศาลารัฐบาล กองทำพันธุ์หนองฝี กองแพทย์ป้องกันโรคและแพทย์ประจำเมือง ยังคงสังกัดอยู่ในกระทรวงธรรมการตามเดิม
พ.ศ. 2451 กระทรวงมหาดไทยได้ขอโอนกองโอสถศาลารัฐบาล กองทำพันธุ์หนองฝี กองแพทย์ป้องกันโรค และแพทย์ประจำเมืองมาอยู่ในบังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งในชั้นแรกให้สังกัดอยู่ในกรมพลำภังค์
ต่อมากระทรวงมหาดไทยมีความประสงค์จะปรับปรุง กิจการของกรมพยาบาลให้กว้างขวางและก้าวหน้ายิ่งขึ้น จึงนำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอพระบรมราชานุญาตเปลี่ยนชื่อกรมพยาบาลเป็นกรมประชาภิบาล และได้รับพระบรมราชานุญาตตามสำเนาพระราชหัตถเลขา ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2459
ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 ได้ประกาศตั้งกรมสาธารณสุข โดยเปลี่ยนจากกรมประชาภิบาล และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร อธิบดีกรมมหาวิทยาลัยเป็นอธิบดีกรมสาธารณสุข กรมสาธารณสุขอยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทยเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2485 จึงได้มีการสถาปนากรมสาธารณสุขขึ้นเป็นกระทรวงสาธารณสุข
เครื่องหมายราชการกระทรวงสาธารณสุข
แก้เมื่อได้จัดตั้งกระทรวงสาธารณสุขขึ้นแล้ว ทางราชการได้กำหนดรูปคบเพลิงมีปีกและมีงูพันคบเพลิงเป็นตรากระทรวงสาธารณสุข ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2485[3]
การเปลี่ยนตรากระทรวงสาธารณสุขใหม่
แก้นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข[4] กล่าวว่า ขณะนี้ สธ.ได้มีการเปลี่ยนตราสัญลักษณ์ของกระทรวงซึ่งใช้มานานกว่า 97 ปี คือตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2461 ที่เป็นวันก่อตั้ง สธ. สำหรับการเปลี่ยนตราสัญลักษณ์ในครั้งนี้เกิดจากแนวคิดของ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สธ. ที่พบว่าตราสัญลักษณ์ในเว็บไซต์ของ สธ.และกรมต่าง ๆ มีการใช้ตราสัญลักษณ์ที่หลากหลายดูแล้วสับสน จึงมีแนวคิดที่จะสร้างความเป็นเอกลักษณ์ทำให้ประชาชนเข้าถึงและเข้าใจง่าย
ซึ่งการเปลี่ยนตราสัญลักษณ์ใหม่จะยังคงอิงตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 ฉบับที่ 13 ซึ่งประกาศตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2485 ลงนามโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ระบุว่าให้มีสัญลักษณ์งูพันกับคบเพลิงเอาไว้ แต่ส่วนที่จะปรับเปลี่ยนใหม่ คือ การตัดเอาส่วนที่ยุ่งเหยิงออก เช่น ลายกนกภายในวงกลมของสัญลักษณ์ ประกายเพลิง รวมถึงมีการเปลี่ยนโทนสีของสัญลักษณ์ จากเดิมมีหลายสี ดูแล้วฉูดฉาด มาใช้โทนสีเขียวและสีขาวแทน โดยพื้นสัญลักษณ์จะเป็นสีเขียว และใช้ตัวอักษรและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ทั้งคบเพลิงและคทาเป็นสีขาว
นพ.โสภณ กล่าวว่า ที่เลือกใช้สีเขียวนั้นมีที่มาที่ไป คือ เดิมทีเมื่อแพทย์ทำการผ่าตัดจะใส่ชุดสีขาว แต่เมื่อสีขาวเจอกับเลือดก็จะมีปัญหาทางสายตา จึงหันมาใช้สีเขียวเพราะทำให้สบายตา ดังนั้น จึงเลือกใช้สีเขียวเป็นสีพื้นของสัญลักษณ์ สำหรับการเปลี่ยนสัญลักษณ์ใหม่ได้หารือกันในหลายส่วน เห็นตรงกันว่าจะต้องสร้างเอกลักษณ์ของ สธ.ให้ชัดเจน ส่วนตามกรมต่าง ๆ ในสังกัดก็จะให้อิงตามสัญลักษณ์ของ สธ.เป็นหลัก แต่หากกรมใดจะเพิ่มเติมรายละเอียดใดลงไปในสัญลักษณ์นั้นจะต้องหารือกันอีก ครั้ง
"สำหรับกรณีที่มีกระแสว่าการเปลี่ยนสัญลักษณ์ เพราะต้องการปรับฮวงจุ้ยเพื่อหวังลดปัญหาความขัดแย้ง ยืนยันว่าไม่จริง เพราะวัตถุประสงค์จริง ๆ คือการสร้างความเป็นเอกลักษณ์ในการสื่อสาร และปัจจุบันการสื่อสารก็มีการติดต่อผ่านทางเว็บไซต์เป็นหลัก แต่เมื่อประชาชนเข้ามาดูก็มักจะเกิดความสับสนว่าสัญลักษณ์ของ สธ. คืออะไร จึงต้องการเปลี่ยนเพื่อสร้างเอกลักษณ์ของ สธ. ให้ชัดเจน
ที่สำคัญคือสัญลักษณ์ใหม่ก็ไม่ได้ใช้งบประมาณใด ๆ เลย เพราะเน้นปรับเปลี่ยนตรงเว็บไซต์ ดังนั้นโรงพยาบาลหรือหน่วยงานใด ๆ ในสังกัดหากมีตราสัญลักษณ์ที่ทำเป็นเครื่องหมายติดถาวรก็ไม่จำเป็นต้องถอดออก เพราะสิ้นเปลือง" ปลัด สธ.กล่าว และว่า สำหรับความหมายขององค์ประกอบต่าง ๆ ในสัญลักษณ์ คือ คทาหรือคบเพลิง เปรียบด้วยอำนาจ งู เปรียบด้วยความรอบรู้ และปีกสองปีก เปรียบด้วยความขยันขันแข็ง ความคล่องแคล่วทะมัดทะแมง
เมื่อถามว่าสำหรับกรมต่าง ๆ จะต้องปรับเปลี่ยนโลโก้ของแต่ละกรมอย่างไร นพ.โสภณกล่าวว่า กำลังทยอยพิจารณาอยู่ เนื่องจากเรื่องนี้ รมว.สธ.ให้ดำเนินการโดยตั้งเป้าไว้ภายใน 3 เดือน แต่สัญลักษณ์ทั้งหมดจะเน้นในเว็บไซต์ก่อนเป็นหลัก[5]
หน้าที่และความรับผิดชอบ
แก้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2554[6] หมวด 19 มาตรา 42 ได้ระบุว่า มาตรา 42 กระทรวงสาธารณสุข มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคภัย การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงสาธารสุข
มาตรา 43 กระทรวงสาธารณสุข มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
- สำนักงานรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข
- กรมสุขภาพจิต
- กรมควบคุมโรค
- กรมอนามัย
- กรมการแพทย์
- กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
- กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
- กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- กรมสถานพยาบาลสาธารณสุขสงเคราะห์
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้รับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการในกระทรวงสาธารณสุข รวม 9 ฉบับ ในการประชุมเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2552 แล้วให้ส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไปนั้น บัดนี้ กฎกระทรวง ทั้ง 9 ฉบับได้รับการประกาศลงราชกิจจนุเบกษา เล่ม 126 ตอนที่ 98 ก วันที่ 28 ธันวาคม 2552 หน้า 32 - 115 •กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552
- กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552
- กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552
- กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552
- กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552
- กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552
- กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552
- กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552
- กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552
หน่วยงานในสังกัด
แก้ส่วนราชการ
แก้ตาม พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ประกาศให้กระทรวงสาธารณสุข มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
- สำนักงานรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
- กรมสุขภาพจิต
- กรมควบคุมโรค
- กรมอนามัย
- กรมการแพทย์
- กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
- กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
- กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข
รัฐวิสาหกิจ
แก้องค์การมหาชน
แก้กระทรวงสาธารณสุข มีองค์การมหาชนในความกำกับดูแลจำนวน 7 แห่ง แบ่งเป็นองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 จำนวน 2 แห่ง และองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ จำนวน 4 แห่ง
- โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)
- สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
- สถาบันวัคซีนแห่งชาติ
- สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
- สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ส่วนราชการอื่น
แก้ข้อวิจารณ์
แก้ในเดือนกันยายน 2564 กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่ามีข้อมูลผู้ป่วยถูกแฮกจริง โดยมีต้นเหตุมาจากโรงพยาบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์ อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบพบว่ามีข้อมูลผู้ป่วยถูกแฮกเพียง 1 หมื่นราย พร้อมกับรายละเอียดชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์และข้อมูลการเข้า-ออกโรงพยาบาล และข้อมูลของเจ้าหน้าที่อีกจำนวนหนึ่ง โดยเมื่อเดือนกันยายน 2563 มีข้อมูลว่าโรงพยาบาลสระบุรีถูกโจมตีด้วยโปรแกรมเรียกค่าไถ่ แต่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลดังกล่าวยืนยันว่าการเรียกค่าไถ่ไม่เป็นความจริง[7]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, รายงานข้อมูลด้านบุคลากรด้านสาธารณสุข ประจำปี 2566, สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๗๕, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 13), เล่ม 59, ตอน 30, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2485, หน้า 1005.
- ↑ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจาก[เว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข แหล่งเดิม]เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-10-29.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2554
- ↑ "อนุทินยอมรับฐานข้อมูลคนไข้ สธ. ถูกแฮก สั่งเร่งปรับปรุงความปลอดภัยระบบ". BBC ไทย. 7 September 2021. สืบค้นเมื่อ 7 September 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ กระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์