ราชการส่วนกลาง (ประเทศไทย)

ราชการส่วนกลาง หมายถึง ราชการที่ดำเนินการและบริหารโดยหน่วยราชการในส่วนกลางของฝ่ายบริหาร เพื่อสนองความต้องการของประชาชน จะมีลักษณะการปกครองแบบรวมอำนาจ หมายความว่า เป็นการรวมอำนาจในการสั่งการ การกำหนดนโยบายการวางแผน การควบคุมตรวจสอบ และการบริหารราชการสำคัญ ๆ ไว้ที่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตามหลักการรวมอำนาจ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง จัดแบ่งออกได้ดังนี้

  1. ส่วนราชการกลาง ประกอบด้วย สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นๆที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นและฐานะเทียบเท่ากรม
  2. ส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง[1]

ส่วนราชการกลาง แก้

การบริหารประเทศตามที่กำหนดไว้ในในรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่าง ๆ รัฐบาลจึงได้กำหนดกลไกและโครงการการบริหารราชการแผ่นดินให้มีประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดโครงการการแบ่งส่วนราชการตามกลุ่มภารกิจ เป้าหมายและอำนาจหน้าที่ โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น

  1. สำนักนายกรัฐมนตรี
  2. ส่วนราชการระดับกระทรวง/ทบวง
  3. ส่วนราชการระดับกรม รวมทั้งส่วนราชการที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากรม และส่วนราชการภายใต้การบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี [2]
  4. หน่วยงานในกำกับ ซึ่งรูปแบบการบริหารของรัฐประเภทหนึ่งที่ต้องการความคล่องตัวในการบริหารจัดการแต่ไม่ได้มีฐานะเป็นส่วนราชการ จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ อยู่ใต้การกำกับของรัฐมนตรีและคณะกรรมการแห่งชาติ
  5. องค์การมหาชน ซึ่งรูปแบบการบริหารของรัฐประเภทหนึ่งที่ต้องการความคล่องตัวในการบริหารจัดการแต่ไม่ได้มีฐานะเป็นส่วนราชการ จัดตามตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งหน่วยงาน [3]
  6. รัฐวิสาหกิจ ซึ่งรูปแบบการบริหารของรัฐประเภทหนึ่งโดยเป็นหน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ

ส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง แก้

เป็นส่วนราชการที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบเฉพาะด้าน มีฐานะเทียบเท่า กรม แต่มิอาจจัดไว้ในสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง โดยมีดังต่อไปนี้

หน่วยงานภายใต้การบังคับบัญชานายกรัฐมนตรี แก้

องค์กรตามรัฐธรรมนูญของไทย แก้

ศาล แก้

องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ แก้

หน่วยงานของรัฐสภา แก้

  • สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
  • สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  • สถาบันพระปกเกล้า (ในกำกับของประธานรัฐสภา)

พัฒนาการระบบบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลาง แก้

การบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย มีลำดับการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ มาโดยลำดับ ตามการเปลี่ยงแปลงเชิงโครงสร้างทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการปกครอง รวมทั้งจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น โดยมีลำดับดังนี้

ก่อนปีพุทธศักราช 1998 แก้

การบริหารราชการส่วนกลาง มีรูปแบบการบริหารที่ชัดเจนในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ซึ่งรับรูปแบบการปกครองจากขอม รวบรวมคนในสังกัดเรียกว่า กรม (เป็นคำภาษาขอมโบราณ) ขนาดกรมเล็กใหญ่ขึ้นอยู่กับหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยมีการจัดโครงการการบริหารงานดังนี้

  1. หัวหน้า เรียกว่า เจ้ากรม กรณีกรมย่อย และ เสนาบดี สำหรับกรมใหญ่
  2. ผู้ช่วยหัวหน้า เรียกว่า ปลัดกรม
  3. จัดทำบัญชีคนในสังกัด เรียกว่า สมุหบัญชี
  4. ดูแลหนังสือราชการ รักษาตราประทับ และกำกับงานเสมียน เรียกว่า เสมียนตรา ซึ่งมีเฉพาะกรมใหญ่ เท่านั้น

งานราชการออกเป็น 3 ฝ่ายดังนี้

  1. กรมมหาดเล็ก มีหน้าที่ในราชการส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์
  2. กรมกลาโหม มี สมุหพระกลาโหม เป็นหัวหน้า มีหน้าที่ในการทหารและพระราชสงครามทั้งปวง
  3. กรมมหาดไทย มี สมุหนายก เป็นหัวหน้า มีหน้าที่ในการควบคุมพลเรือน และการบริหารราชการ

หมายเหตุ: ความว่า มหาด แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ มหาดเล็ก ครั้งโบราณเขียนว่า มหาดเลก จึงหมายถึง ผู้เป็นใหญ่ในหมู่คนที่ถูกเกณฑ์ คือ พวกเลก และ มหาดไทย จึงหมายความว่า ผู้เป็นใหญ่ในหมู่คนเสรี[10]

กรมมหาดไทย แก้

มีหน้าที่ในการควบคุมและการบริหารราชการแผ่นดินด้านพลเรือน โดยมีการแบ่งส่วนราชการ ดังนี้

  1. ขุนนางอาวุโสหน้าพระที่นั่ง คือ เจ้าพระยามหาอุปราชฯ
  2. กรมย่อยช่วยบริหารราชการใน 4 ด้านที่เรียกว่า จตุสดมภ์ คือ
    1. กรมเวียง ทำหน้าที่ดูแลความสงบสุขของบ้านเมืองและราษฎร
    2. กรมวัง ทำหน้าที่ดูแลราชสำนักและคดีความ
    3. กรมคลัง ทำหน้าที่เก็บรักษาและจ่ายพระราชทรัพย์ในราชการ
    4. กรมนา ทำหน้าที่ตรวจการทำไร่นา ออกสิทธิ์ที่นา และเก็บส่วนแบ่งข้าวมาไว้ในฉางหลวง

ระหว่างปีพุทธศักราช 1998 - 2437 แก้

ช่วงที่ 1 แก้

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดระเบียบการปกครองโดยรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของอาณาจักรอยุธยาในขณะนั้นที่ขยายดินแดนกว้างออกไป กล่าวคือ ได้รวมเอาดินแดนของอาณาจักรสุโขทัยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร จึงจำเป็นต้องขยายอำนาจการปกครองออกไปให้ควบคุมดินแดนทั้งหมดไว้ได้ รวมทั้งเกิดปัญหาเรื่องความมั่นคงของอาณาจักร จากการที่เมืองหน้าด่านมีกองกำลังป้องกันเมืองจึงมีอำนาจมาก ทำให้เกิดการชิงราชสมบัติอยู่บ่อยครั้ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง และจัดระเบียบการบริหารราชการดังนี้

  1. ยกเลิกตำแหน่งขุนนางอาวุโสหน้าพระที่นั่ง ที่เจ้าพระยามหาอุปราชฯ
  2. แต่งตั้ง อัครมหาเสนาบดี ดังนี้
    1. สมุหกลาโหม ประมุขฝ่ายทหาร มีหน้าที่บัญชาดูแลราชการฝ่ายทหารทั่วราชอาณาจักร เพื่อเตรียมไพร่พลและกำลังอาวุธไว้ให้พร้อมเพรียงสามารถสู้รบในยามเกิดสงครามได้ โดยมีตำแหน่งเป็น เจ้าพระยามหาเสนาบดี วิริยภักดีบดินทรสุรินทรทฤๅไชย อไภยพิริยปรากรมภาหุ
    2. สมุหนายก ประมุขฝ่ายพลเรือน มีหน้าที่บัญชาดูแลรับผิดชอบงานฝ่ายพลเรือนทั่วราชอาณาจักร โดยมีตำแหน่งเป็น เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ สมุหนายกอัครมหาเสนาบดี อะไภยพิรีบรากรมภาหุ และกำกับดูแลการทำงานของกรมจตุสดมภ์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็น เสนาบดี และปรับปรุงหน้าที่ของหน่วยงานใหม่ โดยให้มีหน้าที่รับผิดชอบบริหารราชการแผ่นดินแตกต่างกันไปตามที่ทรงมอบหมาย ได้แก่
    • กรมนครบาล มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และรักษาความสงบสุขของราษฎรในเขตราชธานี โดยมีผู้บังคับบัญชาคือ ออกญายมราชอินทราธิบดี ศรีวิไชยบริรักษ์โลกากรทัณทะราช
    • กรมวัง มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับราชสำนัก งานราชพิธี และพิพากษาคดีความของราษฎร โดยมีผู้บังคับบัญชาคือ ออกญาธรรมาธิบดี ศรีวิริยพงษวงษภักดี บดินทรเดโชไชยมไหยสุริยาธิบดี รัตนมณเทียรบาล
    • กรมคลัง มีหน้าที่ดูแลรายรับรายจ่ายและเก็บรักษาพระราชทรัพย์ จัดเก็บอากรค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ โดยมีผู้บังคับบัญชาคือ ออกญาศรีธรรมราช เดชะชาติอำมาตยานุชิต พิพิธรัตนราชโกษาธิบดี อะภัยรีพิริยะกรมภาหุ
    • กรมนา มีหน้าที่ดูแลส่งเสริมให้ราษฎรทำไร่ ทำนา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวง เพื่อใช้เป็นเสบียงในยามศึกสงครามหรือยามเกิดข้าวยากหมากแพง โดยมีผู้บังคับบัญชาคือ ออกญาพลเทพราชเสนาบดี ศรีไชยนพรัตนเกษตราธิบดี

ช่วงที่ 2 แก้

ในกาลต่อมาเมื่องานราชการมีมากขึ้น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ปรับปรุงการบริหารราชการส่วนดังนี้[11]

  1. ให้ กรมจตุสมดมภ์ ขึ้นต่อพระมหากษัตริย์
  2. ให้จัดตั้ง กรมมนตรี 6 มีหน้าที่รับราชการส่วนพระองค์ขึ้นต่อพระมหากษัตริย์ โดยโยกงานราชการบางออกอย่างออกจาก กรมจตุสมดมภ์
  3. ให้ตั้ง กรมพระสุรัสวดี ขึ้นต่อพระมหากษัตริย์ มีหน้าที่ในการสักเลกและทำบัญชีคนในหัวเมืองชั้นนอก
  4. สถาปนาพระมหาอุปราช และให้ครองเมืองพระพิศณุโลก
  5. การจัดระเบียบราชการทหาร โดยจัดทำตำราพิชัยสงคราม สำหรับเป็นตำราการเตรียมกำลังทหาร การรักษาป้อมค่าย และทำสารบัญชี คือ บัญชีคนทั่วประเทศสำหรับการเกณฑ์ทหาร กำหนดให้ชายฉกรรจ์ที่เป็นไทแก่ตัว อายุ 20 - 60 ปี เข้ารับราชการทหาร ซึ่งโครงสร้างดัวนี้
    1. แม่ทัพ คือ '"ออกญาศรีราชเดโชไชยฯ
    2. ผู้รั้ง คือ '"ออกญาศรีราชเดชไชยท้ายน้ำฯ
    3. จางวางทัพ คือ ออกญารามจัตุรงค์
    4. ทหารหน้า หมายถึง ทหารราบที่รับราชการเป็นทหารโดยอาชีพ ประกอบด้วย กรมอาสาหกเหล่า มีเจ้ากรมคือ ออกพระพิชัยสงคราม เจ้ากรมอาสาซ้าย และ พระรามคำแหง เจ้ากรมอาสาขวา กรมทวนทองซ้าย-ขวา และ กรมเขนทองซ้าย-ขวา
    5. ทหารรักษาพระองค์ในวัง เรียกว่า ตำรวจ
    6. ทหารช่าง มีหน้าที่จัดทำ ซ่อมแซมอาวุธ เครื่องมือ เครื่องใช้ในการพระราชสงคราม และอุปกรณ์อื่นๆ รวมเรียกว่า กรมช่าง 10 หมู่

เมื่อกรุงศรีอยุธยามีการติตต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศมากขึ้น พระมหากษัตริย์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับชาวต่างชาติมารับราชการ โดยเฉพาะ ทหารอาสาต่างชาติ คือ ทหารรับจ้างต่างชาติ หรือ ชาวต่างชาติ ที่เข้ามารับราชการทหาร ประกอบด้วย

  1. กรมฝรั่งแม่นปืน - ตั้งขึ้นในรัชสมัย สมเด็จพระไชยราชาธิราช ประกอบด้วยทหารปืนเล็กและทหารปืนใหญ่ โดยเป็นคนโปรตุเกสทั้งหมด
  2. กรมอาสามอญ -ตั้งขึ้นในรัชสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประกอบด้วย กรมดั้งทองขวา กรมดั้งทองซ้าย กรมดาบสองมือ กรมอาทมาตขวา และกรมอาทมาตซ้าย มี ออกญามหาโยธา เป็นหัวหน้า
  3. กรมอาสาจาม -ตั้งขึ้นในรัชสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทำหน้าที่ในการรับทางทะเลเป็นหลักและมี ออกญาราชวังสัน เป็นหัวหน้า
  4. กรมอาสาญี่ปุ่น -ตั้งขึ้นในรัชสมัย สมเด็จพระเอกาทศรถ แต่เริ่มมีบทบาทในการพระราชสงคราม ตั้งแต่ครั้งรัชสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มี ออกญาเสนาภิมุข เป็นหัวหน้า

ช่วงที่ 3 แก้

จากการที่กรุงศรีอยุธยา มีการค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้นเป็นลำดับ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง กรมพระคลังสินค้า ขึ้นตรงต่อ กรมคลัง มีหน้าในการค้าขายกับต่างประเทศโดยตรง มีพระยาศรีพิพัฒน์ เป็นหัวหน้า ครั้นรัชสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง เจ้าท่า ขึ้นตรงต่อ กรมคลัง คือ บังคับการจอดทอดสมอเรือค้าขาย เก็บค่าธรรมเนียม เรือค้าขายที่เข้าและออกราชอาณาจักร

หลังจากที่ สมเด็จพระเพทราชา เสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับการปกครองใหม่ ให้สมุหพระกลาโหมและสมุหนายก ปกครองทั้งด้านทหารและพลเรือน โดยหัวเมืองฝ่ายเหนืออยู่ในความดูแลของสมุหนายก และหัวเมืองฝ่ายใต้อยู่ในความดูแลของสมุหพระกลาโหม โดยแบ่งให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบดูแลกิจการทั้งด้านทหารและพลเรือนในภูมิภาคนั้น ๆ ส่งผลให้งานราชการกรมกลาโหม และกรมมหาดไทย มีหน้าที่ซ้อนทับกัน ต่อมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงลดอำนาจของสมุหพระกลาโหมเหลือเพียงที่ปรึกษาราชการ และให้หัวเมืองฝ่ายใต้ไปขึ้นกับกรมคลัง และเปลี่ยนกลับในสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยแบ่งหัวเมืองฝ่ายชายทะเลวันออกให้ขึ้นกับกรมคลัง

ช่วงที่ 4 แก้

การจัดระเบียบราชการส่วนกลางในอดีต แก้

กรมขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ แก้
กรมมนตรี 6
ส่วนราชการ ความรับผิดชอบ ตำแหน่งหัวหน้า หมายเหตุ
กรมธรรมการ ทำหน้าที่ดูแลกิจการพระสงฆ์ มีศาลกรมธรรมการไว้ชำระอธิกร ออกญาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีฯ
กรมภูษามาลา ทำหน้าที่ดูแลเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องราชูปโภค เครื่องทรงเครื่องต้น
และดูแลน้ำพระพุทธมนต์สำหรับสรง
ออกพระอุไทยธรรม ภายหลังยกขึ้นเป็น ออกญา
กรมพระคลังมหาสมบัติ ทำหน้าที่ดูแลพระราชทรัพย์ ออกพระราชภักดี ภายหลังยกขึ้นเป็น ออกญา
กรมอาลักษณ์ ทำหน้าที่ด้านการเอกสารสำคัญ เช่น พระสุพรรณบัฏ พระบรมราชโองการ
ประกาศพระราชพิธี และเอกสารราชการเนื่องด้วยองค์พระมหากษัตริย์
ออกพระศรีภูริปรีชาฯ ภายหลังยกขึ้นเป็น ออกญา
กรมพราหมณ์หลวง คณะพราหมณ์ราชสำนัก ทำหน้าเกี่ยวกับพิธีกรรมต่างๆ และดูแลเรื่องกฎหมายประจำศาลหลวง พระมหาราชครูมหิธรฯ
กรมพระคชบาล ทำหน้าที่ดูแลสัตว์ราชพาหนะ สัตว์ในราชการ และช้างเผือก ออกพระเพทราชาธิบดีฯ
ที่สมุหพระคชบาลจางวางขวา
ออกพระสุรินทราราชาธิบดีฯ
ที่สมุหพระคชบาลจางวางซ้าย
เดิมเป็นกรมใต้บังคับบัญชาสมุหกลาโหม
ราชการในพระองค์
กรมพระสุรัสวดี ทำหน้าที่จ่ายเลข (สักตัวเลขที่ท้องแขนชายไทย) ขึ้นทะเบียนคนเป็น “ไพร่” สังกัดมูลนาย ออกพระราชสุภาวดีฯ ภายหลังยกขึ้นเป็น ออกญา
กรมล้อมพระราชวัง ทำหน้าที่รักษาองค์พระมหากษัตริย์ รักษาป้อมกำแพงพระราชวัง เป็นพนักงานยิงปืนบอกเวลา
บอกเหตุไฟไหม้และทำงานด้านการช่างทั้งหลาย
ออกพระเพชรพิไชย ภายหลังยกขึ้นเป็น ออกญา
กรมโหร ทำหน้าที่จดเหตุการณ์ประจำปีทั้งที่สำคัญและไม่สำคัฐ และด้านการพยากรณ์ต่างๆ ออกพระโหราธิบดี
กรมแพทย์ ทำหน้าที่พิสูจน์ยาพิษ รักษาปรุงยา และหมอนวด ออกญาแพทยาพงษาวิสุทธาธิบดีฯ
กรมฝ่ายกลาโหม แก้
ส่วนราชการ ความรับผิดชอบ ตำแหน่งหัวหน้า หมายเหตุ
กรมอาสาหกเหล่า ทำหน้าที่รบพุ่งปราบปรามอริราชศัตรู วางด่านทางป้องกันข้าศึกศัตรูซึ่งแบ่งตามซ้ายแลขวา
ประจำการเป็นทหารอาชีพ ประกอบด้วยกรมอาสามอญ กรมอาสาจีน กรมอาสาแขก กรมอาสาญี่ปุ่น กรมอาสาฝรั่งแม่นปืน และกรมอาสาจาม
ออกญาศรีราชเดโชไชยฯ
ที่เจ้ากรมอาสาหกเหล่าขวา แม่ทัพใหญ่ทางบก
ออกญาศรีราชเดชไชยท้ายน้ำฯ
ที่เจ้ากรมอาสาหกเหล่าขวา แม่ทัพใหญ่ทางเรือ
กรมเขนทองขวา-ซ้าย ทำหน้าที่รบพุ่ง วางด่านทางป้องกันข้าศึกศัตรูซึ่งแบ่งตามซ้ายแลขวา
ประจำการเป็นทหารอาชีพ
ออกพระพิชัยรณฤทธิ
ที่เจ้ากรมเขนทองขวา
ออกพระวิชิตรณรงค์
ที่เจ้ากรมเขนทองซ้าย
กรมทวนทองขวา-ซ้าย ทำหน้าที่รบพุ่ง วางด่านทางป้องกันข้าศึกศัตรูซึ่งแบ่งตามซ้ายแลขวา
ประจำการเป็นทหารอาชีพ
ออกพระมหาสงคราม
ที่เจ้ากรมทวนทองขวา
ออกพระรามคำแหง
ที่เจ้ากรมทวนทองซ้าย
กรมฝ่ายพลเรือน แก้

ช่วงที่ 5 แก้

ในสมัยประชาธิปไตยแล้วนั้น ได้มีการจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม ตาม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช....... (ฉบับที่.....)
โดยในปัจจุบัน มีทั้งหมด ฉบับหลัก โดยมีเนื้อหาดังนี้

ยุคที่ 1 แก้

ยุคที่ 1 คือ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2476 เก็บถาวร 2011-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดยมีการจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม ดังนี้

กระทรวง กรม หมายเหตุ
สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานเลขานุการนายกรัฐมนตรี
กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นสำนักงานปลัดกระทรวงควบด้วย
คณะกรรมการกฤษฎีกา
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
สำนักงานโฆษณาการ
กระทรวงกลาโหม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กองทัพบก มีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชา
กองทัพเรือ มีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับบัญชา
กรมทหารอากาศ มีเจ้ากรมทหารอากาศเป็นผู้บังคับบัญชา
กระทรวงการคลัง สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมคลัง
กรมบัญชีกลาง
กรมพัสดุ
กรมศุลกากร
กรมสรรพสามิตต์ สะกดตามในพระราชบัญญัติฯ
กรมสรรพากร
กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการเมือง
สถานทูตซึ่งมีฐานะเทียบกรม
ได้แก่ สถานทูตไทยในสหปาลีรัฐอเมริกา
อังกฤษ ฝรั่งเศส และ ญี่ปุ่น
กระทรวงธรรมการ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมธรรมการ
กรมพลศึกษา
กรมมหาวิทยาลัย
กรมศิลปากร
กรมศึกษาธิการ
กระทรวงมหาดไทย สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมตำรวจ
กรมมหาดไทย
กรมโยธาเทศบาล
กรมราชทัณฑ์
กรมสาธารณสุข
กรมอัยยการ สะกดตามในพระราชบัญญัติฯ
กระทรวงยุตติธรรม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี สะกดตามในพระราชบัญญัติฯ
สำนักงานปลัดกระทรวง สะกดตามในพระราชบัญญัติฯ
กระทรวงวัง สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมทหารรักษาวัง
กรมพระคลังข้างที่
กรมมหาดเล็กหลวง
กรมราชเลขานุการในพระองค์
กรมวัง
กระทรวงเศรษฐการ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมทะเบียนการค้า
กรมพาณิชย์
กรมวิทยาศาสตร์
กรมสหกรณ์
กรมการประมง ราชการส่วนเกษตร์
สะกดตามในพระราชบัญญัติฯ
กรมเกษตร์ ราชการส่วนเกษตร์
สะกดตามในพระราชบัญญัติฯ
กรมชลประทาน ราชการส่วนเกษตร์
สะกดตามในพระราชบัญญัติฯ
กรมที่ดินและโลหกิจ ราชการส่วนเกษตร์
สะกดตามในพระราชบัญญัติฯ
กรมป่าไม้ ราชการส่วนเกษตร์
สะกดตามในพระราชบัญญัติฯ
กรมการขนส่ง ราชการส่วนคมนาคม
กรมเจ้าท่า ราชการส่วนคมนาคม
กรมไปรษณียโทรเลข ราชการส่วนคมนาคม
กรมรถไฟ ราชการส่วนคมนาคม
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นต่อสภาผู้แทนราษฎร
มีประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้บังคับบัญชา

ต่อมามีการแก้ไขตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม อีก 11 ฉบับ ดังนี้

1. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 ได้แก้ไขโดยแยกกระทรวงเศรษฐการโดยเพิ่มทบวงเข้าไปดังนี้

กระทรวง ทบวง กรม
กระทรวงเศรษฐการ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
ทบวงเกษตราธิการ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง
สำนักงานปลัดทบวง
กรมการประมง
กรมเกษตร์
กรมชลประทาน
กรมที่ดินและโลหกิจ
กรมป่าไม้
กรมสหกรณ์
ทบวงพาณิชย์และคมนาคม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง
สำนักงานปลัดทบวง
กรมการขนส่ง
กรมเจ้าท่า
กรมทะเบียนการค้า
กรมไปรษณียโทรเลข
กรมพาณิชย์
กรมรถไฟ
กรมวิทยาศาสตร์

2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) ยุบกรมทหารรักษาวัง กรมมหาดเล็กหลวง และกรมวัง กระทรวงวัง

3. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 3) แยกกระทรวงเศรษฐการเป็น 2 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงเกษตราธิการ และ กระทรวงเศรษฐการ โดยมีหน่วยงานภายในดังนี้

กระทรวง กรม หมายเหตุ
กระทรวงเกษตราธิการ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมเกษตรและการประมง
กรมชลประทาน
กรมที่ดินและโลหกิจ
กรมป่าไม้
กรมสหกรณ์
กระทรวงเศรษฐการ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมเจ้าท่า
กรมทะเบียนการค้า
กรมไปรษณียโทรเลข
กรมพาณิชย์
กรมรถไฟ
กรมวิทยาศาสตร์

4. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2478 ยุบกระทรวงวัง และตั้งเป็นสำนักงานพระราชวัง และ สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์

5. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2480 (ฉบับที่ 6) ยุบหน่วยงานในกระทรวงการต่างประเทศให้เหลือเพียง สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี และ สำนักงานปลัดกระทรวง

6. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2481 (ฉบับที่ 7) แก้ไขหน่วยงานภายในกระทรวงธรรมการโดยยกเลิกกรมศึกษาธิการ และเพิ่ม กรมวิชาการ และ กรมสามัญศึกษา เข้ามาเพิ่ม

7. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 8) เปลี่ยน สำนักโฆษณาการ สำนักงานนายกรัฐมนตรี เป็นกรมโฆษณาการ สำนักงานนายกรัฐมนตรี

8. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2483 (ฉบับที่ 9) เพิ่มกรมประชาสงเคราะห์ ในสำนักนายกรัฐมนตรี

9. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2483 (ฉบับที่ 10) เพิ่มกรมการอินโดจีน ในกระทรวงมหาดไทย

10. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2479 แก้ไขกรมทหารอากาศเป็นกองทัพอากาศ

11. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2481 เพิ่มกรมเสนาธิการทหาร กระทรวงกลาโหม โดยมีเสนาธิการทหารเป็นผู้บังคับบัญชา

ยุคที่ 2 แก้

ยุคที่ 2 คือ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2484 เก็บถาวร 2015-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดยมีการจัดตั้งดังนี้

กระทรวง กรม หมายเหตุ
สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานเลขานุการนายกรัฐมนตรี
กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นสำนักงานปลัดกระทรวงควบด้วย
กรมโฆษณาการ
คณะกรรมการกฤษฎีกา
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
กระทรวงกลาโหม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กองทัพบก มีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชา
กองทัพเรือ มีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับบัญชา
กองทัพอากาศ มีผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นผู้บังคับบัญชา
กรมเสนาธิการทหาร มีเสนาธิการทหารเป็นผู้บังคับบัญชา
กระทรวงการคลัง สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมคลัง
กรมบัญชีกลาง
กรมศุลกากร
กรมสรรพสามิตต์ สะกดตามในพระราชบัญญัติฯ
กรมสรรพากร
กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงการเศรษฐกิจ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมพาณิชย์
กรมโลหกิจ
กรมวิทยาศาสตร์
กรมอุตสาหกรรม
กระทรวงเกษตราธิการ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมเกษตร
กรมการประมง
กรมชลประทาน
กรมป่าไม้
กรมสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการขนส่ง
กรมเจ้าท่า
กรมไปรษณียโทรเลข
กรมทาง
กรมรถไฟ
กระทรวงมหาดไทย สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมตำรวจ
กรมที่ดิน
กรมประชาสงเคราะห์
กรมมหาดไทย
กรมโยธาเทศบาล
กรมราชทัณฑ์
กรมสาธารณสุข
กรมอัยยการ สะกดตามในพระราชบัญญัติฯ
กระทรวงยุตติธรรม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี สะกดตามในพระราชบัญญัติฯ
สำนักงานปลัดกระทรวง สะกดตามในพระราชบัญญัติฯ
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการสาสนา สะกดตามในพระราชบัญญัติฯ
กรมพลศึกษา
กรมมหาวิทยาลัย
กรมศิลปากร
กรมสามัญศึกษา
กรมอาชีวะศึกษา
สำนักงานพระราชวัง มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชา
สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นต่อสภาผู้แทนราษฎร
มีประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้บังคับบัญชา

ต่อมามีการแก้ไขตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม อีก 18 ฉบับ ดังนี้

1. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2485[ลิงก์เสีย] เพิ่มสำนักงานที่ปรึกษา กรมการเมืองตะวันออก กรมการเมืองตะวันตก กรมพิธีการ และกรมเศรษฐการ เข้าไปในกระทรวงการต่างประเทศ

2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2485[ลิงก์เสีย] แยกกรมสาธารณสุขและกรมประชาสงเคราะห์ออกจากกระทรวงมหาดไทย และตั้งเป็นกระทรวงการสาธารณสุข พร้อมทั้งเพิ่มกรมการแพทย์ กรมมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานปลัดกระทรวง และ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี

3. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2485[ลิงก์เสีย] ย้ายกรมศิลปากรจากกระทรวงศึกษาธิการไปยังสำนักงานนายกรัฐมนตรี และเพิ่มราชบัณฑิตยสถาน เข้าไปในสำนักงานนายกรัฐมนตรี

4. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2484 พุทธศักราช 2485[ลิงก์เสีย] แยกกรมวิทยาศาสตร์และกรมอุตสาหกรรม แล้วจัดตั้งเป็นกระทรวงการอุตสาหกรรม พร้อมทั้งเพิ่มกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานปลัดกระทรวง และ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี เพิ่มกรมปศุสัตว์และสัตวพาหนะ ในกระทรวงเกษตราธิการ และ เพิ่มกระทรวงพาณิชย์ โดยให้มีกรมการสนเทศ กรมการค้าภายใน กรมการค้าต่างประเทศ กรมควบคุมการค้า กรมทะเบียนการค้า กรมส่งเสริมองค์การค้า สำนักงานปลัดกระทรวง และ สำนักงานเลขานุการ

5. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2485 ย้ายราชบัณฑิตยสถานออกจากสำนักนายกรัฐมนตรี ไปอยู่ภายใต้บัญชานายกรัฐมนตรีโดยตรง และจัดตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ

6. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 7) พุทธศักราช 2487 ย้ายกรมประชาสงเคราะห์จากกระทรวงสาธารณสุขไปยังกระทรวงมหาดไทย และจัดตั้งสภาวิจัยปรากฏการณ์แห่งชาติ

7. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2484 พุทธศักราช 2487 เปลี่ยนชื่อกรมโยธาเทศบาลเป็นกรมโยธาธิการพร้อมทั้งย้ายจากกระทรวงมหาดไทยไปสำนักนายกรัฐมนตรี และเพิ่มกรมป้องกันภัยทางอากาศ ในกระทรวงมหาดไทย

8. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 8) พุทธศักราช 2487 เปลี่ยนชื่อกรมโยธาธิการเป็นกรมโยธาเทศบาลพร้อมทั้งย้ายจากสำนักนายกรัฐมนตรีไปกระทรวงมหาดไทย

9. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 9) พุทธศักราช 2489 ยุบกรมป้องกันภัยทางอากาศ กระทรวงมหาดไทย

10. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2490 เปลี่ยนสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็น สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา

11. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2490 แก้ไขข้อความจากฉบับที่ 10

12. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2493 ยุบกรมการเมืองตะวันออก กรมการเมืองตะวันตก และกรมพิธีการ พร้อมทั้งตั้งกรมสนธิสัญญา กรมการเมือง และกรมการสหประชาชาติ เข้าไปในกระทรวงการต่างประเทศแทน ยุบกรมส่งเสริมองค์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปลี่ยนสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์เป็นสำนักงานราชเลขาธิการ และจัดตั้งสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ

13. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2494 เพิ่มกรมประชาศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

14. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2494 ถอนกรมรถไฟออกจากกระทรวงคมนาคม

15. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2494 เปลี่ยนสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา เป็น สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

16. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช 2486 เพิ่มกรมสารวัตรทหาร กระทรวงกลาโหม โดยมีสารวัตรใหญ่ทหารเป็นผู้บังคับบัญชา

17. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2486 เพิ่มกรมเตรียมการทหาร กระทรวงกลาโหม โดยมีเจ้ากรมเตรียมการทหารเป็นผู้บังคับบัญชา

18. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2489 ยกเลิกกรมเตรียมการทหาร กระทรวงกลาโหม

ยุคที่ 3 แก้

ยุคที่ 3 คือ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2495 โดยมีการจัดตั้งดังนี้

กระทรวง กรม หมายเหตุ
สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นสำนักงานปลัดกระทรวงควบด้วย
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
กรมประชาสัมพันธ์
กรมโยธาธิการ
กระทรวงกลาโหม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กองทัพบก มีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชา
กองทัพเรือ มีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับบัญชา
กองทัพอากาศ มีผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นผู้บังคับบัญชา
กรมเสนาธิการทหาร มีเสนาธิการทหารเป็นผู้บังคับบัญชา
กรมสารวัตรทหาร มีสารวัตรใหญ่ทหารเป็นผู้บังคับบัญชา
กระทรวงการคลัง สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมธนารักษ์
กรมบัญชีกลาง
กรมศุลกากร
กรมสรรพสามิต
กรมสรรพากร
กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการเมือง
กรมการเศรษฐกิจ
กรมการสหประชาชาติ
กรมพิธีการทูต
กรมสนธิสัญญา
กระทรวงการสหกรณ์ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
กรมสหกรณ์ที่ดิน
กรมสหกรณ์ธนกิจ
กรมสหกรณ์พาณิชย์
กระทรวงเกษตร สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการกสิกรรม
กรมการประมง
กรมการปศุสัตว์
กรมชลประทาน
กรมป่าไม้
กรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กระทรวงคมนาคม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการขนส่ง
กรมเจ้าท่า
กรมทางหลวงแผ่นดิน
กรมไปรษณีย์โทรเลข
กระทรวงมหาดไทย สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมตำรวจ
กรมที่ดิน
กรมประชาสงเคราะห์
กรมป้องกันสาธารณภัย
กรมมหาดไทย
กรมโยธาเทศบาล
กรมราชทัณฑ์
กรมอัยการ
กระทรวงยุติธรรม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการวัฒนธรรม
กรมการศาสนา
กรมศิลปากร
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมพลศึกษา
กรมมหาวิทยาลัย
กรมวิชาการ
กรมวิสามัญศึกษา
กรมสามัญศึกษา
กรมอาชีวศึกษา
กระทรวงเศรษฐการ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการค้าต่างประเทศ
กรมการค้าภายใน
กรมการสนเทศ
กรมทะเบียนการค้า
กรมเศรษฐสัมพันธ์
กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการแพทย์
กรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กรมอนามัย
กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมโรงงานโลหกรรม
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
กรมโลหกิจ
กรมวิทยาศาสตร์
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
ราชบัณฑิตยสถาน ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นต่อสภาผู้แทนราษฎร
มีประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้บังคับบัญชา
ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักพระราชวัง ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักราชเลขาธิการ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม

ต่อมามีการแก้ไขตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม อีก 2 ฉบับ ดังนี้

1. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2496 เพิ่มการพลังงานแห่งชาติเป็นทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม

2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2496 เพิ่มกรมการข้าว กระทรวงเกษตร

ยุคที่ 4 แก้

ยุคที่ 4 คือ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2496 โดยมีการจัดตั้งดังนี้

ตาราง 1

กระทรวง กรม หมายเหตุ
สำนักคณะรัฐมนตรี ดูเพิ่มเติมในตาราง 2
กระทรวงกลาโหม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กองทัพบก มีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชา
กองทัพเรือ มีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับบัญชา
กองทัพอากาศ มีผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นผู้บังคับบัญชา
กรมเสนาธิการทหาร มีเสนาธิการทหารเป็นผู้บังคับบัญชา
กรมสารวัตรทหาร มีสารวัตรใหญ่ทหารเป็นผู้บังคับบัญชา
กระทรวงการคลัง สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมธนารักษ์
กรมบัญชีกลาง
กรมศุลกากร
กรมสรรพสามิต
กรมสรรพากร
กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมพิธีการทูต
กรมยุโรปและอเมริกา
กรมสหประชาชาติ
กรมเอเซียและแอฟริกา
สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย
กระทรวงเกษตร สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมกสิกรรม
กรมการข้าว
กรมประมง
กรมปศุสัตว์
กรมชลประทาน
กรมป่าไม้
กรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กระทรวงคมนาคม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการขนส่ง
กรมเจ้าท่า
กรมทางหลวงแผ่นดิน
กรมไปรษณีย์โทรเลข
กระทรวงมหาดไทย สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมตำรวจ
กรมที่ดิน
กรมประชาสงเคราะห์
กรมป้องกันสาธารณภัย
กรมมหาดไทย
กรมโยธาเทศบาล
กรมราชทัณฑ์
กรมอัยการ
กระทรวงยุติธรรม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการวัฒนธรรม
กรมการศาสนา
กรมศิลปากร
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมพลศึกษา
กรมมหาวิทยาลัย
กรมวิชาการ
กรมวิสามัญศึกษา
กรมสามัญศึกษา
กรมอาชีวศึกษา
กระทรวงเศรษฐการ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการค้าต่างประเทศ
กรมการค้าภายใน
กรมการสนเทศ
กรมทะเบียนการค้า
กรมเศรษฐสัมพันธ์
กระทรวงสหกรณ์ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
กรมสหกรณ์ที่ดิน
กรมสหกรณ์ธนกิจ
กรมสหกรณ์พาณิชย์
กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการแพทย์
กรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กรมอนามัย
กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมโรงงานโลหกรรม
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
กรมโลหกิจ
กรมวิทยาศาสตร์
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
การพลังงานแห่งชาติ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
ราชบัณฑิตยสถาน ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นต่อสภาผู้แทนราษฎร
มีประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้บังคับบัญชา
ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักพระราชวัง ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักราชเลขาธิการ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม

ตาราง 2

กระทรวง ทบวง กรม หมายเหตุ
สำนักคณะรัฐมนตรี ทบวงคณะรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง
กรมสารบรรณคณะรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ทำหน้าที่สำนักงานปลัดทบวงด้วย
กรมตรวจราชการแผ่นดิน
กรมประชาสัมพันธ์
กรมประมวลราชการแผ่นดิน
สำนักงานสภาป้องกันราชอาณาจักร
สำนักงานสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ
ทบวงคณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง
กรมสารบรรณคณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ทำหน้าที่สำนักงานปลัดทบวงด้วย
กรมโยธาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

ต่อมามีการแก้ไขตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม อีก 11 ฉบับ ดังนี้

1. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2497 เพิ่มกรมประกันสังคม กระทรวงการคลัง

2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2497 เพิ่มกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ

3. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2499 ย้ายสำนักงานสภาป้องกันราชอาณาจักร สำนักคณะรัฐมนตรี ไปเป็นทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็นสภาป้องกันราชอาณาจักร และเพิ่มสภามหาวิทยาลัยแห่งชาติเป็นทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม

4. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2499 เพิ่มสำนักงานสภาวิจัยแห่งชาติเป็นทบวงฐานะเทียบเท่ากรม

5. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2501 ย้ายกรมการศาสนาและกรมศิลปากรจากกระทรวงวัฒนธรรมไปยังกระทรวงศึกษาธิการ และจึงยกเลิกกระทรวงวัฒนธรรม ,กรมประกันสังคม กระทรวงการคลัง ,กรมป้องกันสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ,กรมโรงงานโลหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ

6. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2502 ยกเลิกกรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระทรวงเกษตร ,กรมมหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ และกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข

7. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2503 ยกเลิกกรมยุโรปและอเมริกา กรมสหประชาชาติ กรมเอเซียและแอฟริกา และสำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ และเพิ่มกรมการเมือง กรมเศรษฐกิจ กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กรมสารนิเทศ และกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

8. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2504 เพิ่มสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

9. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2505 เพิ่มกรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน และสำนักผังเมือง ในกระทรวงมหาดไทย

10. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 ให้แบ่งกระทรวงกลาโหมใหม่ดังนี้

กระทรวง ส่วนราชการ ส่วนราชการภายใน
กระทรวงกลาโหม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพบก
กองทัพเรือ
กองทัพอากาศ
ส่วนราชการอื่นๆ


11. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2502 ยกเลิกสำนักคณะรัฐมนตรีแล้วตั้งสำนักนายกรัฐมนตรี แล้วตั้งสำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี สำนักบริหารของนายกรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ กรมประมวลราชการแผ่นดิน กรมตรวจราชการแผ่นดิน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ พร้อมทั้งย้ายสภาป้องกันราชอาณาจักร การพลังงานแห่งชาติ และสำนักงานสภาวิจัยแห่งชาติมาเป็นหน่วยงานภายใน และรวมถึงสภามหาวิทยาลัยแห่งชาติโดยใช้ชื่อ"สภาการศึกษาแห่งชาติ"แทน

12. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2502 เปลี่ยนสำนักงานสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ เป็นสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ

13. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2502 เปลี่ยนสภาการศึกษาแห่งชาติเป็นสำนักงานสภาการศึกษาแห่งชาติ และเพิ่มจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นหน่วยงานในสำนักนายกรัฐมนตรี

14. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2502 เปลี่ยนสภาป้องกันราชอาณาจักร เป็น สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

15. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2502 เปลี่ยนกรมประมวลราชการแผ่นดิน เป็น กรมประมวลข่าวกลาง

16. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2503 เพิ่มสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษาอากร และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสินค้าขาออก รวมทั้ง ยกเลิกกรมตรวจราชการแผ่นดิน

17. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2504 เพิ่มสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ

18. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2505 ย้ายกรมอุตุนิยมวิทยา กองทัพเรือ มาเป็น กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักนายกรัฐมนตรี

ยุคที่ 5 แก้

ยุคที่ 5 คือ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2506 โดยมีการจัดตั้งดังนี้

กระทรวง กรม หมายเหตุ
สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานทำเนียบนายกรัฐมนตรี ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงานบริหารของนายกรัฐมนตรี ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงบประมาณ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานคณะกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากร ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสินค้าขาออก ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานสภาการศึกษาแห่งชาติ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานสภาวิจัยแห่งชาติ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
กรมประชาสัมพันธ์
กรมประมวลข่าวกลาง
กรมอุตุนิยมวิทยา
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
มหาวิทยาลัยศิลปากร ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
กระทรวงกลาโหม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กองบัญชาการทหารสูงสุด มีหน่วยงานภายใน คือกองทัพบก
กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และอื่นๆ
กระทรวงการคลัง สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ทบวงการเมืองมีฐานะเป็นกรม
กรมธนารักษ์
กรมบัญชีกลาง
กรมศุลกากร
กรมสรรพสามิต
กรมสรรพากร
กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการเมือง
กรมพิธีการทูต
กรมเศรษฐกิจ
กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย
กรมสารนิเทศ
กรมองค์การระหว่างประเทศ
กระทรวงเกษตร สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมกสิกรรม
กรมการข้าว
กรมประมง
กรมปศุสัตว์
กรมป่าไม้
กระทรวงคมนาคม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการขนส่ง
กรมเจ้าท่า
กรมไปรษณีย์โทรเลข
กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
สำนักงานวิชาการและวางแผน ทบวงการเมืองมีฐานะเป็นกรม
สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ทบวงการเมืองมีฐานะเป็นกรม
กรมชลประทาน
กรมทรัพยากรธรณี
กรมทางหลวง
กรมพัฒนาที่ดิน
กรมวิเทศสหการ
กรมสหกรณ์ที่ดิน
กรมสหกรณ์พาณิชย์และธนกิจ
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
การพลังงานแห่งชาติ ทบวงการเมืองมีฐานะเป็นกรม
กระทรวงมหาดไทย สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการปกครอง
กรมการพัฒนาชุมชน
กรมตำรวจ
กรมที่ดิน
กรมประชาสงเคราะห์
กรมโยธาเทศบาล
กรมราชทัณฑ์
กรมอัยการ
สำนักผังเมือง ทบวงการเมืองมีฐานะเป็นกรม
กระทรวงยุติธรรม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการฝึกหัดครู
กรมการศาสนา
กรมพลศึกษา
กรมวิชาการ
กรมวิสามัญศึกษา
กรมศิลปากร
กรมสามัญศึกษา
กรมอาชีวศึกษา
กระทรวงเศรษฐการ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการค้าต่างประเทศ
กรมการค้าภายใน
กรมการสนเทศ
กรมทะเบียนการค้า
กรมเศรษฐสัมพันธ์
กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการแพทย์
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กรมอนามัย
กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
กรมวิทยาศาสตร์
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
ราชบัณฑิตยสถาน ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นต่อสภาผู้แทนราษฎร
มีประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้บังคับบัญชา
ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักพระราชวัง ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักราชเลขาธิการ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม

ต่อมามีการแก้ไขตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม อีก 12 ฉบับ ดังนี้

1. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2506 ตั้งสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม ในสำนักนายกรัฐมนตรี

2. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2507 เพิ่มมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม ในสำนักนายกรัฐมนตรี

3. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2508 ยุบสำนักบริหารของนายกรัฐมนตรี และเพิ่มสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม สำนักงานเร่งรักพัฒนาชนบท และมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม ในสำนักนายกรัฐมนตรี

4. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2509 เพิ่มสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม ในสำนักนายกรัฐมนตรี

5. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2511 เพิ่มมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม ในสำนักนายกรัฐมนตรี

6. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2512 เปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เป็น มหาวิทยาลัยมหิดล

7. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2514 เพิ่มมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม ในสำนักนายกรัฐมนตรี

8. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2506 จัดตั้งกรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม

9. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2508 จัดตั้งกรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย

10. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 จัดตั้งกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตร

11. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2511 ยกเลิกสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แล้วจัดตั้งสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาแทน

12. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2514 เพิ่มสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เป็นทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม ในกระทรวงศึกษาธิการ

ยุคที่ 6 แก้

ยุคที่ 6 คือ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 โดยมีการจัดตั้งดังนี้

ตาราง 1

กระทรวง กรม หมายเหตุ
สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานทำเนียบนายกรัฐมนตรี ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
สำนักงบประมาณ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานคณะกรรมการตรวจและติดตามผลการปฏิบัติราชการ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานพลังงานแห่งชาติ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
กรมประชาสัมพันธ์
กรมประมวลข่าวกลาง
กรมวิเทศสหการ
มีส่วนราชการขั้นทบวงว่า ทบวงมหาวิทยาลัย
ดูเพิ่มเติมตาราง 2
กระทรวงกลาโหม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กองบัญชาการทหารสูงสุด มีหน่วยงานภายใน คือกองทัพบก
กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และอื่นๆ
กระทรวงการคลัง สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ทบวงการเมืองมีฐานะเป็นกรม
กรมธนารักษ์
กรมบัญชีกลาง
กรมศุลกากร
กรมสรรพสามิต
กรมสรรพากร
กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการเมือง
กรมพิธีการทูต
กรมเศรษฐกิจ
กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย
กรมสารนิเทศ
กรมองค์การระหว่างประเทศ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมชลประทาน
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
กรมประมง
กรมปศุสัตว์
กรมป่าไม้
กรมพัฒนาที่ดิน
กรมวิชาการเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมส่งเสริมสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการขนส่งทางบก
กรมการบินพาณิชย์
กรมเจ้าท่า
กรมทางหลวง
กรมไปรษณีย์โทรเลข
กรมอุตุนิยมวิทยา
กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการค้าต่างประเทศ
กรมการค้าภายใน
กรมทะเบียนการค้า
กรมพาณิชย์สัมพันธ์
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
กระทรวงมหาดไทย สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการปกครอง
กรมการพัฒนาชุมชน
กรมตำรวจ
กรมที่ดิน
กรมประชาสงเคราะห์
กรมโยธาธิการ
กรมราชทัณฑ์
กรมแรงงาน
กรมอัยการ
สำนักผังเมือง ทบวงการเมืองมีฐานะเป็นกรม
สำนักเร่งรัดพัฒนาชนบท ทบวงการเมืองมีฐานะเป็นกรม
กระทรวงยุติธรรม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการฝึกหัดครู
กรมการศาสนา
กรมพลศึกษา
กรมวิชาการ
กรมศิลปากร
กรมสามัญศึกษา
กรมอาชีวศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ทบวงการเมืองมีฐานะเป็นกรม
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ทบวงการเมืองมีฐานะเป็นกรม
วิทยาลัยวิชาการศึกษา ทบวงการเมืองมีฐานะเป็นกรม
กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการแพทย์และอนามัย
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กรมส่งเสริมสาธารณสุข
กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมทรัพยากรธรณี
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
กรมวิทยาศาสตร์
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ทบวงการเมืองมีฐานะเป็นกรม
ราชบัณฑิตยสถาน ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักพระราชวัง ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักราชเลขาธิการ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม

ตาราง 2

กระทรวง ส่วนราชการ ส่วนราชการภายใน
สำนักนายกรัฐมนตรี ทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดทบวง
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
มหาวิทยาลัยศิลปากร
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ต่อมามีการแก้ไขตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม อีก 2 ฉบับ คือ

1. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 ยกเลิกสำนักงานคณะกรรมการตรวจและติดตามผลการปฏิบัติราชการ แล้วจัดตั้งสำนักงานสภานโยบายแห่งชาติ แทน

2. ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 47 เปลี่ยนกรมอัยการ กระทรวงมหาดไทย เป็น สำนักงานอัยการสูงสุด (ทบวงการเมืองมีฐานะเทียบเท่ากรม) และเพิ่มสำนักงานนโยบายและแผนมหาดไทย และสำนักงานประกันสังคม เป็นทบวงการเมืองมีฐานะเทียบเท่ากรม ภายในกระทรวงมหาดไทย

ยุคที่ 7 แก้

ยุคที่ 7 คือ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2534 โดยมีการจัดตั้งดังนี้

กระทรวง กรม หมายเหตุ
สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
สำนักข่าวกรอง
สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ
สำนักงานสถิติแห่งชาติ
กรมประชาสัมพันธ์
กรมวิเทศสหการ
กระทรวงกลาโหม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กองบัญชาการทหารสูงสุด มีหน่วยงานภายใน คือกองทัพบก
กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และอื่นๆ
กระทรวงการคลัง สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
กรมธนารักษ์
กรมบัญชีกลาง
กรมศุลกากร
กรมสรรพสามิต
กรมสรรพากร
กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการเมือง
กรมพิธีการทูต
กรมเศรษฐกิจ
กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย
กรมสารนิเทศ
กรมองค์การระหว่างประเทศ
กรมอาเซียน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมชลประทาน
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
กรมประมง
กรมปศุสัตว์
กรมป่าไม้
กรมพัฒนาที่ดิน
กรมวิชาการเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมส่งเสริมสหกรณ์
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
กระทรวงคมนาคม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการขนส่งทางบก
กรมการบินพาณิชย์
กรมเจ้าท่า
กรมทางหลวง
กรมไปรษณีย์โทรเลข
กรมอุตุนิยมวิทยา
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี
กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการค้าต่างประเทศ
กรมการค้าภายใน
กรมการประกันภัย
กรมทะเบียนการค้า
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
กรมส่งเสริมการส่งออก
กระทรวงมหาดไทย สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการปกครอง
กรมการพัฒนาชุมชน
กรมตำรวจ
กรมที่ดิน
กรมประชาสงเคราะห์
กรมโยธาธิการ
กรมราชทัณฑ์
กรมแรงงาน
สำนักนโยบายและแผนมหาดไทย
สำนักผังเมือง
สำนักงานประกันสังคม
สำนักเร่งรัดพัฒนาชนบท
กระทรวงยุติธรรม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมบังคับคดี
สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมวิทยาศาสตร์บริการ
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
สำนักงานพลังงานแห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการฝึกหัดครู
กรมการศาสนา
กรมการศึกษานอกโรงเรียน
กรมพลศึกษา
กรมวิชาการ
กรมศิลปากร
กรมสามัญศึกษา
กรมอาชีวศึกษา
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการแพทย์
กรมควบคุมโรคติดต่อ
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กรมอนามัย
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมทรัพยากรธรณี
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดทบวง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
มหาวิทยาลัยบูรพา
มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มหาวิทยาลัยศิลปากร
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สถาบันเทคโนโลยีเกษตรแม้โจ้
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ราชบัณฑิตยสถาน ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักพระราชวัง ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักราชเลขาธิการ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานอัยการสูงสุด ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม

ต่อมามีการแก้ไขตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม อีก 22 ฉบับ คือ

1. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 แยกกรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศเป็น กรมยุโรป กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กรมเอเชียตะวันออก และกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา

2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 เพิ่มสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี และกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน แล้วยุบสำนักงานพลังงานแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน

3. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535 เพิ่มกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์

4. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2535 ยุบสำนักนโยบายและแผนมหาดไทยและกรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ในสำนักนายกรัฐมนตรี กรมพัฒนาฝีมือแรงงานและกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม

5. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2535 เปลี่ยนชื่อกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน เป็น กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่วแวดล้อม ยุบสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ แล้วจัดตั้งกรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม แทน

6. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2535 ตั้งสถาบันสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

7. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2536 ย้ายกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมประชาสงเคราะห์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และสำนักงานประกันสังคม ออกจากกระทรวงมหาดไทย แล้วเพิ่มสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง และกรมการจัดหางานขึ้นรวมกันเป็นกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

8. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2536 จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในสำนักนายกรัฐมนตรี

9. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2537 เปลี่ยนสถาบันสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เป็น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

10. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2537 เปลี่ยนสำนักผังเมือง กระทรวงมหาดไทย เป็น กรมการผังเมือง กระทรวงมหาดไทย

11. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2538 จัดตั้งสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ กระทรวงศึกษาธิการ

12. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2538 เพิ่มมหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยามหาสารคาม ในทบวงมหาวิทยาลัย

13. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2539 เปลี่ยนชื่อสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เป็น มหาวิทยาลัยแม่โจ้

14. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2541 จัดตั้งกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

15. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2541 จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี

16. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2541 จัดตั้งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นหน่วยงานราชการอิสระตามรัฐธรรมนูญ

17. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 จัดตั้งสำนักงานศาลปกครอง เป็นหน่วยงานราชการอิสระตามรัฐธรรมนูญ

18. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2542 จัดตั้งสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักนายกรัฐมนตรี

19. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2542 ยกเลิกสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี แล้วจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นหน่วยงานราชการอิสระตามรัฐธรรมนูญ

20. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2542 ย้ายสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินไปเป็นหน่วยงานราชการอิสระตามรัฐธรรมนูญ พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

21. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2543 เก็บถาวร 2015-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ยกเลิกสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ กระทรวงยุติธรรม

22. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2536 จัดตั้งกรมราชองครักษ์ กระทรวงกลาโหม

ยุคปัจจุบัน แก้

ยุคปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2545 เก็บถาวร 2011-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดยมีการจัดตั้งดังนี้

กระทรวง กรม หมายเหตุ
สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
กรมประชาสัมพันธ์
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
สำนักงบประมาณ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
กระทรวงกลาโหม สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมราชองครักษ์
กองบัญชาการทหารสูงสุด มีหน่วยงานภายใน คือกองทัพบก
กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และอื่นๆ
กระทรวงการคลัง สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
กรมธนารักษ์
กรมบัญชีกลาง
กรมศุลกากร
กรมสรรพสามิต
กรมสรรพากร
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการกงสุล
กรมพิธีการทูต
กรมยุโรป
กรมวิเทศสหการ
กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย
กรมสารนิเทศ
กรมองค์การระหว่างประเทศ
กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้
กรมอาเซียน
กรมเอเชียตะวันออก
กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ
สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
สำนักงานส่งเสริมสัวสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน
ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงอายุ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมชลประทาน
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
กรมประมง
กรมปศุสัตว์
กรมป่าไม้
กรมพัฒนาที่ดิน
กรมวิชาการเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมส่งเสริมสหกรณ์
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
กระทรวงคมนาคม สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี
กรมการขนส่งทางบก
กรมการขนส่งทางอากาศ
กรมทางหลวง
กรมทางหลวงชนบท
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมควบคุมมลพิษ
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
กรมทรัพยากรธรณี
กรมทรัพยากรน้ำ
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมไปรษณีย์โทรเลข
กรมอุตุนิยมวิทยา
สำนักงานสถิติแห่งชาติ
กระทรวงพลังงาน สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
กรมธุรกิจพลังงาน
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการค้าต่างประเทศ
กรมการค้าภายใน
กรมการประกันภัย
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กรมทรัพย์สินทางปัญญา
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
กรมส่งเสริมการส่งออก
กระทรวงมหาดไทย สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการปกครอง
กรมการพัฒนาชุมชน
กรมที่ดิน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กรมโยธาธิการและผังเมือง
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
กระทรวงยุติธรรม สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมคุมประพฤติ
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
กรมบังคับคดี
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
กรมราชทัณฑ์
กรมสอบสวนคดีพิเศษ
สำนักงานกิจการยุติธรรม
สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
กระทรวงแรงงาน สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการศาสนา
กรมศิลปากร
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมวิทยาศาสตร์บริการ
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการแพทย์
กรมควบคุมโรค
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ในปัจจุบัน
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
กรมสุขภาพจิต
กรมอนามัย
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ราชบัณฑิตยสถาน ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักพระราชวัง ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักราชเลขาธิการ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานอัยการสูงสุด ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานคณะกรรมพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม

ต่อมามีการแก้ไขตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม อีก ฉบับ คือ

1. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 ตั้งกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550 เก็บถาวร 2012-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เปลี่ยนกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ เป็นสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

3. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 ตั้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี

4. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2552 ตั้งกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

5. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2553 เปลี่ยนสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม เป็น กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

6. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2553 เปลี่ยนสำนักงานอัยการสูงสุดไปเป็นหน่วยงานราชการอิสระตามรัฐธรรมนูญ

7. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2553 ตั้งกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

8. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2556 ตั้งสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

9. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2558 ตั้งกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

10. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2558 ตั้งสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์

11. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2558 แก้ไขหน่วยงานในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยเปลี่ยนสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และสำนักงานส่งเสริมสัวสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงอายุ เป็น กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมกิจการผู้สูงอายุ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ แทน

12. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช 2551 เปลี่ยนชื่อกองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น กองทัพไทย และเพิ่มกองบัญชาการกองทัพไทย ในส่วนราชการของกองทัพไทยระดับเดียวกับกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ

13. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2556 ตั้งหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม

14. พระราชกฤษฎีการเปลี่ยนชื่อกรมการขนส่งทางอากาศ เป็นกรมการบินพลเรือน พุทธศักราช 2552 เปลี่ยนกรมการขนส่งทางอากาศ กระทรวงคมนาคม เป็น กรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม

15. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559 เก็บถาวร 2016-09-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เปลี่ยนชื่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และเพิ่มสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

16. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2562 ตั้งกรมการขนส่งทางรางขึ้นในกระทรวงคมนาคม

17. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2562 เก็บถาวร 2019-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ยกเลิกกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แล้วจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมทั้งโอนย้ายหน่วยงานเดิมในกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ต่อมาได้ยกเลิกและให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นส่วนราชการขึ้นตรงกับกระทรวงการอุดมศึกษาฯ แทน) และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ) มาขึ้นกับกระทรวงการอุดมศึกษาฯ

อ้างอิง แก้

  1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 108 ตอนที่ 156 ลงวันที่ 4 กันยายน 2534 ฉบับพิเศษ
  2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เก็บถาวร 2011-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 119 ตอนที่ 99ก ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2545 หน้าที่ 14
  3. พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 9ก ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 หน้าที่ 5
  4. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เก็บถาวร 2011-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 119 ตอนที่ 99 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2545 หน้า 14
  5. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เก็บถาวร 2011-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 119 ตอนที่ 99 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2545 หน้า 14
  6. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เก็บถาวร 2011-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 119 ตอนที่ 99 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2545 หน้า 14
  7. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เก็บถาวร 2011-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 119 ตอนที่ 99 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2545 หน้า 14
  8. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๕๘ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 132 ตอนที่ 104 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 หน้า 51
  9. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๖) พ.ศ. ๒๕๕๙ราชกิจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนที่ 38 ก วันที่ 29 เมษายน 2559
  10. ผู้เป็นใหญ่ในหมู่คนเสรี[ลิงก์เสีย]
  11. "บันทึกเรื่องการปกครองของไทย สมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์", พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี