ศาลยุติธรรม (ประเทศไทย)

ศาลในประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก ศาลยุติธรรม)

ศาลยุติธรรม เป็นศาลที่มีอำนาจพิพากษาคดีความที่เกิดขึ้นในประเทศไทยทั้งหมด ยกเว้นคดีที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหรือกฎหมายไทยบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น มี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา

ราชอาณาจักรไทย
ศาลยุติธรรม
Court of Justice
ตราสัญลักษณ์ศาลยุติธรรม
แผนที่
สถาปนา21 เมษายน พ.ศ. 2425
อำนาจศาลประเทศไทย
ที่ตั้ง55 อาคารสำนักงานศาลยุติธรรม ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
พิกัด13°48′59″N 100°34′30″E / 13.816320849745578°N 100.575010423255°E / 13.816320849745578; 100.575010423255
คติพจน์ศาลยุติธรรม เป็นสถาบันที่อำนวยความยุติธรรม เพื่อให้สังคมสงบสุข เป็นธรรม และเสมอภาคโดยยึดหลักนิติธรรม
วิธีได้มาคัดเลือกโดยคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
เว็บไซต์www.coj.go.th
ประธานศาลฎีกา
ปัจจุบันชนากานต์ ธีรเวชพลกุล
ตั้งแต่1 ตุลาคม พ.ศ. 2567
ประธานศาลอุทธรณ์
ปัจจุบันสุวิชา นาควัชระ
ตั้งแต่1 ตุลาคม พ.ศ. 2566

โครงสร้างศาลยุติธรรม

แก้

ศาลยุติธรรมทั้ง 3 ชั้น มีจำนวนรวม 274 ศาล และ 9 สาขา[1]

  • ศาลชั้นต้น มีจำนวน 262 ศาล (9 สาขา) แบ่งเป็น 3 หมวดหลัก คือ
    • ไม่สังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาประจำภาค 1 - 9 อาทิ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย
      • ศาลแพ่ง เป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น ศาลแพ่งมีเขตตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร นอกจากท้องที่ที่อยู่ในเขตของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลจังหวัดมีนบุรี และศาลยุติธรรมอื่นตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้ ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง และคดีนั้นเกิดขึ้นนอกเขตของศาลแพ่ง ศาลแพ่งอาจใช้ดุลพินิจยอมรับไว้พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลยุติธรรมอื่นที่มีเขตอำนาจ
      • ศาลอาญา เป็นศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร นอกจากท้องที่ที่อยู่ในเขตของศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี และศาลจังหวัดมีนบุรี แต่บรรดาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตอำนาจศาลอาญานั้นจะยื่นฟ้องต่อศาลอาญาก็ได้ ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของศาลอาญาที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นก็ได้ เว้นแต่คดีนั้นจะโอนมาตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่ทำการศาลอาญาตั้งอยู่ที่ ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
    • สังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาประจำภาค 1 - 9
      • ศาลจังหวัด จำนวน 111 ศาล
      • ศาลแขวง จำนวน 39 ศาล
      • ศาลชำนัญพิเศษที่อยู่ในสังกัด ได้แก่ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด จำนวน 76 ศาล
      • ศาลสาขา จำนวน 9 ได้แก่
        • ศาลจังหวัดสีคิ้ว สาขาปากช่อง
        • ศาลจังหวัดมหาสารคาม สาขาพยัคฆภูมิพิสัย
        • ศาลจังหวัดน่าน สาขาปัว
        • ศาลจังหวัดแม่ฮ่องสอน สาขาปาย
        • ศาลจังหวัดเชียงราย สาขาเวียงป่าเป้า
        • ศาลจังหวัดพิษณุโลก สาขานครไทย
        • ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง สาขามีนบุรี
        • ศาลแรงงานภาค 1 สาขาพระนครศรีอยุธยา
        • ศาลแรงงานภาค 2 สาขาระยอง
  • ศาลอุทธรณ์ ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ มีจำนวน 11 ศาล ประกอบไปด้วย
    1. ศาลอุทธรณ์
    2. ศาลอุทธรณ์ภาค 1
    3. ศาลอุทธรณ์ภาค 2
    4. ศาลอุทธรณ์ภาค 3
    5. ศาลอุทธรณ์ภาค 4
    6. ศาลอุทธรณ์ภาค 5
    7. ศาลอุทธรณ์ภาค 6
    8. ศาลอุทธรณ์ภาค 7
    9. ศาลอุทธรณ์ภาค 8
    10. ศาลอุทธรณ์ภาค 9
    11. ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ
 
ภาพศาลฎีกา - ศาลยุติธรรมชั้นสูงสุดของประเทศไทย
  • ศาลฎีกา ซึ่งเป็นศาลยุติธรรมสูงสุด
    • ศาลฎีกา ในประเทศไทยที่มีอยู่เพียงศาลเดียว

สำนักงานศาลยุติธรรม

แก้

สำนักงานศาลยุติธรรม เป็นองค์กรอิสระที่ดูแลงานธุรการของศาลยุติธรรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอิสระในการบริหารงานบุคคลการงบประมาณและการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา ซึ่งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมจะต้องได้รับการแต่งตั้งโดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมก่อน โดยในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 นายธีรชัย เจริญวงศ์ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม แทนนาย ธานี สิงหนาท ที่โอนกลับไปเป็นข้าราชการตุลาการ

ปัจจุบันมีสำนักงานศาลยุติธรรมที่ทำการตั้งอยู่ที่เลขที่ 55 อาคารสำนักงานศาลยุติธรรม ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ด้านหลังอาคารศาลอุทธรณ์ โดยมีพิธีบวงสรวงและอัญเชิญตราแผ่นดินขึ้นประดิษฐานบนอาคารเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566[2] จากนั้นสำนักงานศาลยุติธรรมได้ย้ายที่ทำการจากอาคารศาลอาญาเดิมมาตั้งอยู่ที่อาคารใหม่ตั้งแต่เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2567[3] และพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์และทรงเปิดอาคารนี้เมื่อวันที่ 21 กันยายน[4]

โครงสร้างสำนักงานศาลยุติธรรม

แก้

ศาลยุติธรรม ประธานศาลฎีกา

  • สำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.)
  • สำนักคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.)
  • สำนักคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม (ก.ศ.)

ศาลยุติธรรม ประธานศาลฎีกา

  • สำนักงานศาลยุติธรรม เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
    • รองเลขาธิการ สำนักงานศาลยุติธรรม
    • สำนักตรวจสอบภายใน
  • สำนักอำนวยการประธานศาลฎีกา
  • สำนักประธานศาลฎีกา
  • สำนักงานศาลยุติธรรมประจำภาค 1 - 9
  • สำนักอำนวยการประจำศาล
  • สำนักงานประจำศาล

สำนักงานศาลยุติธรรม เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม

  • สำนักคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
  • สถาบันวิจัยและพัฒนารพีพัฒนศักดิ์
  • สำนักการเจ้าหน้าที่
  • สำนักบริหารทรัพย์สิน
  • สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการวินิฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
  • ศูนย์รักษาความปลอดภัย
    • เจ้าพนักงานตำรวจศาล
  • สำนักงานคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
  • สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
  • สำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม
  • สำนักกิจการคดี
  • ศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรม
  • กองสวัสดิการศาลยุติธรรม
  • สำนักการแพทย์
  • สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม
  • สำนักแผนงานและงบประมาณ
  • สำนักการคลัง
  • สำนักบริหารงานออกแบบและก่อสร้าง
  • สำนักการต่างประเทศ
    • ศูนย์วิเทศอาเซียน
  • สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สำนักส่งเสริมงานตุลาการ
  • สำนักอนุญาโตตุลาการ (หรือสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม)
  • กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์
  • สำนักบริหารกลาง
    • ศูนย์ข้อมูลข่าวสารสำนักงานศาลยุติธรรม

อ้างอิง

แก้
  1. "โครงสร้างศาลยุติธรรม". oppb.coj.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-19. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  2. "สำนักงานศาลยุติธรรม จัดบวงสรวง-อัญเชิญองค์ครุฑ ขึ้นประดิษฐานอาคารหลังใหม่". เดลินิวส์. 31 สิงหาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "สำนักงานศาลยุติธรรมย้ายอาคารที่ทำการจากเดิมอาคารศาลอาญา มายัง อาคารสำนักงานศาลยุติธรรม ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2567 เป็นต้นไป". สื่อศาล. 5 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2024 – โดยทาง เฟซบุ๊ก.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "ในหลวง พระราชินี ทรงวางศิลาฤกษ์ และทรงเปิดที่ทําการสํานักงานศาลยุติธรรม". โพสต์ทูเดย์. 21 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้