กระทรวงพาณิชย์ (ประเทศไทย)

หน่วยงานราชการ
(เปลี่ยนทางจาก กระทรวงเศรษฐการ)

กระทรวงพาณิชย์ (อังกฤษ: Ministry of Commerce) เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย ที่หน้าที่เกี่ยวกับการค้า ธุรกิจบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา และราชการอื่นๆ ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพาณิชย์

กระทรวงพาณิชย์
ตราพระวิศนุกรรม
ภาพรวมกระทรวง
ก่อตั้ง20 สิงหาคม พ.ศ. 2463; 104 ปีก่อน (2463-08-20)[1]
กระทรวงก่อนหน้า
  • กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม
    (พ.ศ. 2469–2475)
  • กระทรวงเกษตรพาณิชยการ
    (พ.ศ. 2475–2476)
  • กระทรวงเศรษฐการ
    (พ.ศ. 2476–2484;
    พ.ศ. 2495–2514)
  • กระทรวงเศรษฐกิจ
    (พ.ศ. 2484–2485)
สำนักงานใหญ่เลขที่ 563 ถนนนนทบุรี 1 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
13°52′59″N 100°29′12″E / 13.88315°N 100.48679°E / 13.88315; 100.48679
งบประมาณต่อปี7,192.5847 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[2]
รัฐมนตรี
รัฐมนตรีช่วย
ฝ่ายบริหารกระทรวง
  • วุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ [3], ปลัดกระทรวง
  • ร้อยตรี จักรา ยอดมณี, รองปลัดกระทรวง
  • วันชัย วราวิทย์, รองปลัดกระทรวง
  • เอกฉัตร ศีตวรรัตน์, รองปลัดกระทรวง
  • โสรดา เลิศอาภาจิตร์, รองปลัดกระทรวง
ลูกสังกัดกระทรวง
เว็บไซต์www.moc.go.th

ประวัติ

กระทรวงพาณิชย์เดิมเรียก "กระทรวงเศรษฐการ" ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2463 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อแรกตั้งกระทรวงพาณิชย์นั้น ยังไม่มีที่ทำการกระทรวง เสนาบดีจึงมักจะใช้บ้านของตนเป็นสถานที่ทำงาน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์พระองค์แรก จึงได้มีการสร้างอาคารที่ทำการอย่างถาวร บริเวณวัง 3 แห่ง คือ วังกรมหลวงอดิศรอุดมเดช วังกรมหลวงบดินทร์ไพศาลโสภณ และวังกรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ และใช้ทำการมาเป็นเวลากว่า 70 ปี

ต่อมาเมื่อสภาพบ้านเมืองเจริญขึ้น รัฐบาลเริ่มมีนโยบายขยับขยายหน่วยงานราชการออกไปยังชานเมืองมากขึ้น เพื่อลดปัญหาความแออัดของตัวเมืองภายในพื้นที่ของเกาะรัตนโกสินทร์ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2532 อนุมัติให้กระทรวงพาณิชย์ใช้ที่ดินราชพัสดุจำนวนเนื้อที่ 48 ไร่เศษ บริเวณตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี สำหรับก่อสร้างอาคารที่ทำการกระทรวงพาณิชย์แห่งใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของกระทรวงจนถึงปัจจุบัน

บทบาทหน้าที่หลัก

  1. ภารกิจด้านในประเทศ มีหน้าที่ดูแลราคาสินค้าเกษตรและรายได้เกษตรกร ดูแลผู้บริโภคภายใต้กรอบกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจการค้า ทั้งการค้าสินค้าและธุรกิจบริการ รวมทั้งธุรกิจประกันภัย และคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา
  2. ภารกิจด้านต่างประเทศ มีหน้าที่เจรจาการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วยการเจรจาภายใต้กรอบ WTO FTA อนุภูมิภาค ภูมิภาค ฯลฯ จัดระเบียบและบริหารการนำเข้าส่งออก รวมทั้งการขายข้าวรัฐต่อรัฐ การค้ามันสำปะหลัง สินค้าข้อตกลงต่างๆ แก้ไขปัญหา และรักษาผลประโยชน์ทางการค้า เช่น การดูแลเรื่อง GSP การเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด ส่งเสริมและเร่งรัดการส่งออก

หน่วยงานในสังกัด

ส่วนราชการ

กระทรวงพาณิชย์มีหน่วยงานระดับกรมในสังกัด 9 หน่วยงาน ได้แก่

รัฐวิสาหกิจ

องค์การมหาชน

ส่วนราชการในอดีต

  • กรมการประกันภัย[5]

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น