สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (อังกฤษ: Office of the National Anti-Corruption Commission) เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระ มีฐานะเทียบเท่ากรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
Office of the National Anti-Corruption Commission
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้งพ.ศ. 2542
หน่วยงานก่อนหน้า
  • สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
    (พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2542)[1]
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่361 ถนนนนทบุรี 1 ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
งบประมาณประจำปี1,798.6666 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[2]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • วรวิทย์ สุขบุญ[3], เลขาธิการ
  • รองเลขาธิการ
  • ยงยุทธ มะลิทอง[4], รองเลขาธิการ
  • รองเลขาธิการ
  • นิวัติไชย เกษมมงคล[5], รองเลขาธิการ
  • พิเชฐ พุ่มพันธ์ [6], รองเลขาธิการ
  • สิทธิพงษ์ ปึงวงศานุรักษ์ [7], รองเลขาธิการ

สำนักงานประจำจังหวัด แก้

สำนักงาน ป.ป.ช. มีสำนักงานประจำจังหวัดครบทั้ง 76 จังหวัด[8]

รายนามเลขาธิการ แก้

การแต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และวุฒิสภาไทย

  1. นายกล้านรงค์ จันทิก (พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2546)
  2. นายศราวุธ เมนะเศวต (พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2549)
  3. นายปรีชา เลิศกมลมาศ (พ.ศ. 2552)
  4. นายอภินันทน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา (พ.ศ. 2553 - 2555)
  5. นายณรงค์ รัฐอมฤต (พ.ศ. 2555 - 2556)
  6. นายสรรเสริญ พลเจียก (2 ธันวาคม พ.ศ. 2556 [9]- 29 สิงหาคม พ.ศ. 2560[10])
  7. นายวรวิทย์ สุขบุญ (24 ธันวาคม 2560 - ปัจจุบัน)

ข้าราชการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ แก้

บุคคลผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งได้รับเงินเดือนประจำเรียกว่า "ข้าราชการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ" เป็นข้าราชการซึ่งได้รับบรรจุ และแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554 โดยการกำหนดตำแหน่งและการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำ ตำแหน่งของข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับ โดยอนุโลม ทั้งนี้ คำว่า "ก.พ." ให้หมายถึง คณะกรรมการ ป.ป.ช. และ คำว่า "ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี" ให้หมายถึงสำนักงาน ป.ป.ช.

ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้าราชการในสายกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ ข้าราชการซึ่งปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย และข้าราชการทั่วไป ซึ่งแบ่งเป็น ประเภทวิชาการ และประเภททั่วไป [11]

ใน วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565 พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ได้มีคำสั่งไล่ออกจากราชการ นาย ประหยัด พวงจำปา รองเลขาธิการ[12]

อ้างอิง แก้

  1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พุทธศักราช 2542 จัดทำโดย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2560 (โปรดติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่บทเฉพาะกาล มาตรา 131)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. (นายวรวิทย์ สุขบุญ)
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/050/1.PDF
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/096/2.PDF
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-11. สืบค้นเมื่อ 2012-02-12.
  9. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/E/172/1.PDF
  10. เลขาธิการปปช.ลาออก หลังสนช.เห็นชอบนั่งบอร์ด 'คตง.'
  11. ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2555
  12. ไล่ออกจากราชการ

แหล่งข้อมูลอื่น แก้