กรมศุลกากร
กรมศุลกากร (อังกฤษ: The Customs Department) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงการคลัง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2417 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีชื่อว่า "หอรัษฎากรพิพัฒน์"[2] มีหน้าที่เก็บภาษีอากรขาเข้าและขาออกเป็นรายได้ของรัฐ
กรมศุลกากร | |
---|---|
The Customs Department | |
![]() | |
ตรากรมศุลกากร | |
ที่ทำการ | |
1 ถนนสุนทรโกษา แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 | |
ภาพรวม | |
วันก่อตั้ง | 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2417 (145 ปี) |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
งบประมาณ | 4,267.7016 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1] |
ผู้บริหารหลัก | กฤษฎา จีนะวิจารณะ, อธิบดี สรศักดิ์ มีนะโตรี, รองอธิบดี กิตติ สุทธิสัมพันธ์, รองอธิบดี บุญเทียม โชควิวัฒน, รองอธิบดี ชลิดา พันธ์กระวี, รองอธิบดี |
ต้นสังกัด | กระทรวงการคลัง |
เว็บไซต์ | |
http://www.customs.go.th |
ประวัติแก้ไข
กิจการศุลกากรในประเทศไทย เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยเรียกว่า "จกอบ" ต่อมาในสมัยอยุธยา ได้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านการตรวจเก็บภาษีขาเข้าเรียกว่า "พระคลังสินค้า"
ในยุครัตนโกสินทร์ ได้มีระบบการประมูลผูกขาดการเรียกเก็บภาษีอากร เรียกว่า "ระบบเจ้าภาษีนายอากร" ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 มีการติดต่อค้าขายมากขึ้น มีการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง เปลี่ยนแปลงการเก็บค่าธรรมเนียมปากเรือมาเป็น "ภาษีร้อยชักสาม" โดยมีโรงเก็บภาษีเรียกว่า "ศุลกสถาน" ต่อมาในปี พ.ศ. 2417 ได้มีการจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นสำนักงานกลางในการรวบรวมรายได้ของแผ่นดิน และได้มีพัฒนาการเรื่อยมาจนเป็นกรมศุลกากร ที่มีบทบาทหน้าที่เน้นการจัดเก็บภาษีอากรจากของที่นำเข้ามาในและส่งออกนอกประเทศ
หน่วยงานในสังกัดแก้ไข
- กองสืบสวนและปราบปราม
- กองบริหารทรัพยากรบุคคล
- กองตรวจสอบอากร
- กองพิกัดอัตราศุลกากร
- กองสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
- กองมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร
- กองกฎหมาย
- กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
- ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- สำนักงานเลขานุการกรม
- สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ
- สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ
- สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง
- สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
- สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
- สำนักงานศุลกากรท่าอากาศดอนเมือง
- สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าลาดกระบัง
- สำนักงานที่ปรึกษาการศุลกากร ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์
- สำนักงานศุลกากรประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง
- งานที่ปรึกษาการศุลกากรประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกวางโจว
- สำนักงานศุลกากรภาคที่ 1-4
ด่านศุลกากรแก้ไข
ด่านศุลกากร ในสังกัดกรมศุลกากรมีจำนวนทั้งสิ้น 48 ด่าน[3] ดังนี้
- สำนักงานศุลกากรภาคที่ 1 มีด่านศุลกากร จำนวน 11 ด่าน ได้แก่ อรัญประเทศ คลองใหญ่ จันทบุรี มาบตาพุด แม่กลอง ประจวบคีรีขันธ์ และสังขละบุรี
- สำนักงานศุลกากรภาคที่ 2 มีด่านศุลกากร จำนวน 10 ด่าน ได้แก่ ท่าลี่ เชียงคาน หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร เขมราฐ ช่องเม็ก ช่องสะงำ และช่องจอม
- สำนักงานศุลกากรภาคที่ 3 มีด่านศุลกากร จำนวน 9 ด่าน ได้แก่ แม่สาย เชียงแสน เชียงของ ทุ่งช้าง แม่สอด แม่สะเรียง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และเชียงดาว
- สำนักงานศุลกากรภาคที่ 4 มีด่านศุลกากร จำนวน 18 ด่าน ได้แก่ ชุมพร เกาะสมุย บ้านดอน ระนอง กระบี่ ภูเก็ต ท่าอากาศยานภูเก็ต กันตัง วังประจัน สตูล ปาดังเบซาร์ สะเดา บ้านประกอบ เบตง บูเก๊ะดา สุไหงโก-ลก ตากใบ ปัตตานี ท่าอากาศยานหาดใหญ่ สงขลา นครศรีธรรมราช และสิชล
อธิบดีกรมศุลกากรแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
- ↑ ประวัติความเป็นมากรมศุลกากร
- ↑ ที่ตั้งสำนักงาน/ด่านศุลกากรกรมศุลกากร สืบค้นวันที่ 2 พ.ย. 2553