อำเภอสุไหงโก-ลก
สุไหงโก-ลก เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส เป็นเมืองที่ประชากรมากเป็นอันดับสองในจังหวัดนราธิวาส เป็นศูนย์กลางทางการค้า การคมนาคม การลงทุน การเงิน และธนาคารที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของชายแดนภาคใต้ เนื่องด้วยเป็นหัวเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญมีด่านศุลกากร ที่เป็นศูนย์กลางการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าทั้งนำเข้าและส่งออกไปยังประเทศมาเลเซีย และเป็นปลายทางของทางรถไฟสายใต้ที่สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ของทางรถไฟสายใต้และสถานีสุดท้ายของทางรถไฟสายใต้ โดยสุดเขตแดนเมืองรันตูปันยัง ประเทศมาเลเซีย และมีระยะทางห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพมากที่สุด ถึง 1,142 กิโลเมตร
อำเภอสุไหงโก-ลก | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Su-ngai Kolok |
คำขวัญ: สุไหงโก-ลกใต้สุดแดนสยาม วัฒนธรรมงามสองศาสนา ปาเต๊ะ-บาติกดูงามตา แหล่งศึกษาป่าพรุสิรินธร | |
แผนที่จังหวัดนราธิวาส เน้นอำเภอสุไหงโก-ลก | |
พิกัด: 6°1′46″N 101°57′58″E / 6.02944°N 101.96611°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นราธิวาส |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 134.8 ตร.กม. (52.0 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 78,543 คน |
• ความหนาแน่น | 582.66 คน/ตร.กม. (1,509.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 96120 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 9610 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอสุไหงโก-ลก ถนน ทรายทอง 2 ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส 96120 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ปัจจุบันอำเภอสุไหงโก-ลกมีความเจริญและเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภาคใต้ตอนล่าง มีด่านการค้าชายแดนที่ใหญ่ที่สุดของฝั่งตะวันออก เป็นศูนย์กลางของการค้าขายส่งสินค้าทั้งพืชผักผลไม้ ตลอดจนไม้ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และขนมนมเนยจากประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นศูนย์กลางทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ที่ผ่านเข้าออกด่านสุไหงโก-ลกกว่าปีละหลายแสนคน
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอสุไหงโก-ลกมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสุไหงปาดีและอำเภอตากใบ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับรัฐกลันตัน (ประเทศมาเลเซีย)
- ทิศใต้ ติดต่อกับรัฐกลันตัน (ประเทศมาเลเซีย) และอำเภอแว้ง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสุไหงปาดี
ประวัติ
แก้สุไหงโก-ลกเดิมเป็นป่าดงดิบรกร้างว่างเปล่าในเขตตำบลปูโยะ อำเภอสุไหงปาดี ความเป็นป่าทึบทำให้ชาวบ้านเรียกว่า "ป่าจันตุหลี" หมายความว่า ทึบจนเรียกไม่ได้ยิน เหมือนหูหนวก เมื่อเริ่มมีผู้เข้ามาหักร้างถางพง จากชื่อป่าจันตุหลีเปลี่ยนเป็น "สุไหงโก-ลก" ซึ่งเป็นภาษามลายู มาจากคำว่า "สุไหง" แปลว่า แม่น้ำ ลำคลอง และคำว่า "โก-ลก" แปลว่า คดเคี้ยว ถ้าเป็นคำนามหมายถึง มีดพร้า (ที่คนพื้นเมืองนิยมใช้) เมื่อนำคำว่าสุไหงรวมกับโก-ลก จึงหมายถึง แม่น้ำที่คดเคี้ยว หรือ แม่น้ำมีดอีโต้ ชาวบ้านคงเรียกชื่อเมืองตามแม่น้ำที่ไหลผ่านพื้นที่ ปัจจุบันแม่น้ำสายนี้เป็นเส้นกั้นพรมแดนประเทศไทยกับรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
เมื่อปี พ.ศ. 2460 ได้มีการกรุยทางเพื่อก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมไปรัฐกลันตันโดยกำหนดตั้งสถานีรถไฟในเขตป่าจันตุหลี ซึ่งต่อมาก็คือสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นสถานีรถไฟสถานีสุดท้ายของประเทศไทยที่มีระยะทางไกลที่สุด ชาวบ้านปูโยะที่เห็นการณ์ไกลได้เริ่มเข้ามาจับจองที่ดิน บ้างก็ขออนุญาตทำสวนยางพาราแต่ยังไม่มีการปลูกสร้างบ้านเรือน ชุมชนที่ชาวปูโยะติดต่อค้าขายมีเฉพาะรันตูปันยังของกลันตันซึ่งมีราษฎรอยู่อาศัยและประกอบอาชีพค้าขายเป็นหลักแหล่งแล้ว
แม้ว่าจะเปิดการเดินรถไฟเป็นรถรวมจากหาดใหญ่ไปสิ้นระยะที่สุไหงโกลกเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2464 แต่ราษฎรก็ยังไม่ได้รับความสะดวก เนื่องจากป่าถูกจับจองไว้โดยมิได้ก่อประโยชน์ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2468 นายวงศ์ ไชยสุวรรณ อาศัยที่ดินของนายฉ่ำที่หลังสถานีรถไฟ พร้อมนายฮวด นายซั้ว นายกวาซ่อง นายเจ๊ะหมัด นายหลีหลง และนายหวัง รวม 7 คน เป็นเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงซึ่งมีทั้งคนไทย คนมุสลิม และคนจีนร่วมกันพัฒนาเมือง (สุนทรธรรมพาที: 2501) นับเป็นต้นแบบแห่งสังคมพหุลักษณ์ที่มีเสน่ห์ยิ่ง ปี พ.ศ. 2472 กำนันตำบลปูโยะถึงแก่กรรม นายวงศ์ ไชยสุวรรณจึงได้รับแต่งตั้งเป็นกำนันได้พัฒนาจนเริ่มกลายเป็นเมือง ได้อาศัยเงินจากเพื่อน 5 คน ได้ 500 บาท ตัดถนนถึง 31 สาย ลักษณะถนนตัดพาดผ่านกันเป็นตาหมากรุก จึงมีสี่แยกจำนวนมาก แต่เชื่อว่านั่นคือแนวคิดการป้องกันการลุกลามของไฟเมื่อเกิดอัคคีภัย ดังนั้นจึงมีผู้คนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพมากมาย ตำบลปูโยะมีประชากรถึง 12,300 คน ทางราชการจึงแยกเป็น 2 ตำบล คือ ตำบลปูโยะและตำบลสุไหงโก-ลก
ต่อมาเมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ล่องใต้มาตรวจราชการที่ตำบลสุไหงโก-ลก นายวงศ์ ไชยสุวรรณได้ร้องขอให้ตั้งท้องถิ่นนี้ขึ้นเป็นเทศบาล ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเห็นด้วย จึงได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลสุไหงโก-ลก เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 มีนายวงศ์ ไชยสุวรรณ เป็นนายกเทศมนตรีคนแรก เหตุการณ์นี้พระครูสุนทรธรรมภาณีได้เขียนคำกลอนบันทึกไว้ว่า
ใน พ.ศ. สองสี่แปดสิบสาม นายกนามจอมพล ป. พิบูลย์ศรี ออกเที่ยวตรวจราชการงานที่มี มาถึงแดนโก-ลกโชคดีแรง กำนันวงศ์ร้องขอต่อ ฯพณฯ ท่าน ขอเปิดการเทศบาลขึ้นในแขวง จอมพล ป. เห็นตามความชี้แจง คุณวงศ์แต่งเปิดเขตเทศบาล ฯลฯ ในเจ็ดปีที่คุณวงศ์เป็นนายก สร้างโก-ลกให้สง่าหรูหราแสน ทำประโยชน์มากมายเมืองชายแดน ตามแบบแปลนที่จะเล่ากล่าวต่อไป หนึ่งขอตั้งไปรษณีย์โทรเลข งานชิ้นเอกสร้างสรรค์ทันสมัย เรื่องที่สองร้องขอตั้งต่อไป โรงเรียนใหม่ถึงขั้นชั้นมัธยม ทางกระทรวงศึกษาอนุญาต ความมุ่งมาตรมั่นหมายก็ได้ผล ฯลฯ ประการสี่มีข้อขอเสนอ ตั้งเป็นอำเภอปรารถนา เพราะโก-ลกคนมากหากเป็นป่า กิจธุระต้องไปติดต่อสุไหงปาดี รัฐบาลเห็นพ้องอนุญาต แจ้งประกาศบอกกระบวนมาถ้วนถี่ ให้ตั้งก่อนเป็นกิ่งจึงจะดี แต่บัดนี้เป็นอำเภอเสมอกัน
หลังจากตั้งเทศบาลแล้ว 7 ปี ตำบลสุไหงโก-ลกจึงได้ยกฐานะเป็น กิ่งอำเภอสุไหงโก-ลก[1] ขึ้นกับอำเภอสุไหงปาดี โดยมีเขตปกครอง 4 ตำบล คือ ตำบลสุไหงโก-ลก ตำบลปูโยะ ตำบลปาเสมัส ของอำเภอสุไหงปาดี และตำบลมูโนะ (รับโอนมาจากอำเภอตากใบ) ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม ปีเดียวกัน
กระทั่งวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2496 กิ่งอำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส จึงได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอสุไหงโก-ลก[2] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม ปีเดียวกัน มีนายนอบ นพสงค์ เป็นนายอำเภอคนแรก เขตการปกครอง 4 ตำบลเท่าเดิม
ส่วนตำบลสุไหงโก-ลกอยู่ในเขตเทศบาล ความน่าภูมิใจของเทศบาลนี้คือ เป็นเทศบาลเดียวในประเทศไทยที่จัดตั้งก่อนอำเภอถึง 13 ปีและเกิดจากความต้องการของประชาชน ปัจจุบันเทศบาลตำบลสุไหงโก-ลกได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกเมื่อ ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา ปัจจุบันอำเภอสุไหงโก-ลกมีความเจริญและเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภาคใต้ตอนล่าง มีด่านการค้าชายแดนที่ใหญ่ที่สุดของฝั่งตะวันออก เป็นศูนย์กลางของการค้าขายส่งสินค้าทั้งพืชผักผลไม้ ตลอดจนไม้ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และขนมนมเนยจากประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นศูนย์กลางทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ที่ผ่านเข้าออกด่านสุไหงโก-ลกกว่าปีละหลายแสนคน
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้การปกครองของอำเภอสุไหงโก-ลกมี 4 ตำบล 19 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | สุไหงโก-ลก | (Su-ngai Kolok) | - | |||||||
2. | ปาเสมัส | (Pase Mat) | 8 หมู่บ้าน | |||||||
3. | มูโนะ | (Muno) | 5 หมู่บ้าน | |||||||
4. | ปูโยะ | (Puyo) | 6 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอสุไหงโก-ลกประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสุไหงโก-ลกทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลปาเสมัส ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปาเสมัสทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมูโนะทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปูโยะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปูโยะทั้งตำบล
หน่วยกู้ภัย
แก้- มูลนิธิเซิ่งหมู่ธารน้ำใจสุไหงโก-ลก
- มูลนิธิสว่างอารมย์สุไหงโก-ลก
ประชากร
แก้- เชื้อชาติ มีชาวไทยเชื้อสายกวางตุ้งเป็นหลัก และมีชนกลุ่มอื่นๆอีกเช่น ชาวมลายูปัตตานี ชาวไทยใต้ และชาวมาเลเซีย เป็นต้น
- ศาสนา ประชาชนชาวไทยและไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่ในเขตเมืองจะนับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ ชาวไทยเชื้อสายมลายูนับถือศาสนาอิสลาม
- อาชีพ ส่วนใหญ่ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกจะประกอบอาชีพธุรกิจค้าขาย ส่งออกสินค้า ไม้แปรรูป ผลิตผลทางเกษตรกรรม แลกเปลี่ยนสินค้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ งานบริการการท่องเที่ยว ธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม และประกอบการร้านค้าบันเทิงทั่วไป ข้าราชการ ส่วนรอบนอกประกอบอาชีพเกษตรกร โดยมากจะนิยมปลูกลองกองและยางพารา
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้- ด่านการค้าชายแดนสุไหงโก-ลก (ไทย-มาเลเซีย) โดยมีศูนย์กลางการค้าขายอยู่ในตัวเมืองสุไหงโก-ลกที่ศูนย์พาณิชกรรมเก็นติ่งหลังโรงแรมเก็นติ่งเยื้องสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก
- ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชายไทยเชื้อสายจีน จะมีพิธีสมโภชองค์เจ้าแม่โต๊ะโมะ ในระหว่างวันที่ 3 เดือน 3 ตามปฏิทินจีนของทุกปี ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวมาก
- ป่าพรุสิรินธร ป่าพรุธรรมชาติผืนสุดท้ายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกอีกไปประมาณ 6 กิโลเมตร มีศูนย์พัฒนาและวิจัยป่าพรุสิรินธรซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เปิดด้วยพระองค์เอง
- สวนสิรินธร สวนภูมินทร์ สวนรื่นอรุณ สวนมิ่งขวัญประชา และสวนสาธารณะเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ทั้งหมดเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในหลายพื้นที่ของอำเภอสุไหงโก-ลก มีความสวยงามและน่าท่องเที่ยวพักผ่อนมาก
- พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ประดิษฐานอยู่ ณ บริเวณกลางสวนภูมินทร์ เป็นที่เคารพและสักการะของชาวเมืองและจังหวัดใกล้เคียง
- แหล่งท่องเที่ยวในตัวเมืองยามค่ำคืน ตั้งแต่บริเวณถนนเจริญเขต ถนนประชาวิวัฒน์ ถนนวรคามินทร์ ตลอดจนสุดสายถนนเป็นที่ตั้งของแหล่งช้อปปิ้ง ร้านกาแฟ คาเฟ่ ร้านอาหารกึ่งผับ บาร์ เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวยามค่ำคืนที่ไม่ยอมหลับใหล
สถานที่สำคัญ
แก้- เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
- เทศบาลตำบลปาเสมัส
- สนามกีฬาจังหวัดนราธิวาส
- ด่านศุลกากรสุไหง-โกลก
- สำนักงานขนส่งจังหวัดนราธิวาส สาขาอำเภอสุไหงโกลก
- สำนักงานสรรพากรอำเภอสุไหงโกลก
- สำนักงานที่ดินอำเภอสุไหงโกลก
- สำนักงานประกันสังคมจังหวัดนราธิวาส สาขาอำเภอสุไหงโกลก
- สำนักงานเกษตรอำเภอสุไหงโกลก
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนราธิวาส 2
- สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและตำรวจตรวจคนเข้าเมือง
- สำนักงานด่านตรวจคนเข้าเมืองภาคใต้
- สำนักงานด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดนราธิวาส
- สถานีตำรวจภูธรสุไหงโก-ลก
- สถานีตำรวจภูธรมูโนะ
- สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก
- ด่านตรวจพืช
- สำนักงานปศุสัตว์อำเภอสุไหงโก-ลก
- ที่ว่าการอำเภอสุไหงโก-ลก
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสุไหงโก-ลก
- โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
- สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสุไหงโก-ลก
- สำนักงานการประปาส่วนภูมิภาคสุไหงโก-ลก
- ศูนย์โทรคมนาคม
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- โรงพยาบาลเทพสิรินธร
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- ธนาคาร
- ออมสิน
- ออมสิน สาขาถนนประชาวิวัฒน์
- เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส)
- เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส) สาขาทรายทอง
- ไทยพาณิชย์
- ไทยพาณิชย์ สาขาถนนเจริญเขต3
- กรุงไทย
- กรุงไทย สาขาถนนเทศปฐม
- กรุงเทพ
- กสิกรไทย
- ทหารไทย
- ธนชาต
- กรุงศรีอยุธยา
- อาคารสงเคราะห์
- ยูโอบี
- เอเซีย
- อิสลามแห่งประเทศไทย
- สถานปฏิบัติการชั้นคลินิก โรงพยาบาลเทพสิรินธร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
โรงแรมและสถานที่พัก
แก้โรงแรมและสถานที่พักอำเภอสุไหงโก-ลกมีหลายหลายให้เลือกโดยมีห้องพักทั้งหมดประมาณมากกว่า 5,000 กว่าห้อง (พ.ศ. 2549)
- โรงแรมเก็นติ้ง ถนนเอเซีย 18 (ตั้งอยู่เยื้องสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก)
- โรงแรมเซ็นเตอร์พ้อยท์ สุไหงโก-ลก)
- โรงแรมมารีน่าสายธาร ถนนเจริญเขต 3 (ซอยภูธร)
- โรงแรมแกรนการ์เดนร์ ถนนประชาวิวัฒ
- โรงแรมอินเตอร์ทาวเวอร์ ถนนประชาวิวัฒ
- โรงแรมธารารีเจน ถนนเจริญเขต 3 (ซอยภูธร)
- โรงแรมซิตี้
- โรงแรมเวนิส พาเลซ โฮเทล
- โรงแรมเมอลินร์ แมนดาลิน โอเต็ล
- โรงแรมแพน แปซิฟิค
- โรงแรมแกรนด์ มิลเลนเนียม สุไหงโก-ลก
- โรงแรมริเวียร่า
- โรงแรมปาร์คสัน
- โรงแรมแชงกรีลา
- โรงแรมเดอะ แกรนด์ โฟร์วิงส์ คอนเวนชั่น
- โรงแรมทักษิณ 1
- โรงแรมทักษิณ 2
- โรงแรมอิมเพรส
- โรงแรมพลาซ่า โอเต็ล
- โรงแรมพิมานโฮเต็ล
- โรงแรมวาเลนไทน์โฮเต็ล
- โรงแรมแกรนด์ เซ็นเตอร์พอยต์ สุไหงโก-ลก
- โรงแรมเบิร์จอาราเบียน แอนด์ เปอร์เซีย
- โรงแรมเซ็นทรัลซีตี้
- โรงแรมรอยัลปาร์ค (ถนนชื่นมรรคา)
- บังกะโลโก-ลก (12 หลัง) และโรงแรมอื่น ๆ อีกประมาณ 30 แห่ง (รวมทั้งเมืองมีโรงแรมประมาณ 54 แห่ง)
- โรงแรมรามัน ริเวอร์แพน (จำนวน 185 ห้อง) ถนนประชานิเวศ
อ้างอิง
แก้- ↑ [1] เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ
- ↑ [2] เก็บถาวร 2012-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอจักราช อำเภอสัตตหีบ อำเภอศรีสงคราม อำเภอชะอวด อำเภอหนองแซง อำเภอภาชี อำเภอเขาไชยสน อำเภอชุมพลบุรี อำเภอวาริชภูมิ อำเภอสบปราบ และอำเภอสุไหงโกลก พ.ศ. ๒๔๙๖
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้6°04′22″N 101°59′30″E / 6.07269°N 101.99158°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ อำเภอสุไหงโก-ลก
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย