สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา เป็นส่วนราชการอิสระในฝ่ายบริหารของประเทศไทย มีหน้าที่ค้นคว้า วิจัย และบำรุงวิชาการด้านต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สาธารณะ[4] เป็นที่รู้จักจากบทบาทในการควบคุมภาษาไทย ผ่านการจัดทำพจนานุกรม และการบัญญัติหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในทางภาษา
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 |
หน่วยงานก่อนหน้า |
|
สำนักงานใหญ่ | สนามเสือป่า แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร |
งบประมาณต่อปี | 112,488,700 บาท (พ.ศ. 2566)[1] |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
เอกสารหลัก |
|
เว็บไซต์ | สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ราชบัณฑิตยสภา |
ในทางประวัติศาสตร์นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ทรงก่อตั้ง ราชบัณฑิตยสภา ขึ้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2469 ต่อมาในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2476 มีการยุบราชบัณฑิตยสภาแยกไปจัดตั้งเป็น ราชบัณฑิตยสถาน กับกรมศิลปากร ราชบัณฑิตยสถานมีการดำเนินงาน 2 ส่วน คือ สภาราชบัณฑิต ซึ่งทำหน้าที่ด้านวิชาการ กับข้าราชการประจำ ซึ่งทำหน้าที่ด้านธุรการสนับสนุนงานของสภาราชบัณฑิต กระทั่งวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 จึงเปลี่ยนชื่อ ราชบัณฑิตยสถาน เป็น สำนักงานราชบัณฑิตยสภา และเปลี่ยนชื่อ สภาราชบัณฑิต เป็น ราชบัณฑิตยสภา ตามชื่อดั้งเดิมสมัยรัชกาลที่ 7[4]
ตามโครงสร้างปัจจุบัน ราชบัณฑิตยสภามีสมาชิก 3 ประเภท คือ ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิต และราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์[5]
เดิมสำนักงานตั้งอยู่ที่ถนนหน้าพระลานในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาย้ายไปที่สนามเสือป่าตั้งแต่ พ.ศ. 2549
อำนาจหน้าที่และผลงาน
แก้อำนาจหน้าที่
แก้สำนักงานราชบัณฑิตยสภาเป็นสถาบันหลักของเครือข่ายทางปัญญาแห่งชาติ และเป็นองค์การพัฒนาความรู้ที่สามารถเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ โดยมีพันธกิจดังต่อไปนี้
- ค้นคว้า วิจัย และบำรุงสรรพวิชา แล้วนำผลงานที่ได้สร้างสรรค์ออกเผยแพร่ให้เป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน
- ติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้ และประสานงานทางวิชาการกับองค์กรปราชญ์และสถาบันทางวิชาการอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
- ให้ความเห็น คำแนะนำ และคำปรึกษาทางวิชาการแก่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี
- ให้บริการทางวิชาการแก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์การมหาชน หน่วยงานอื่นของรัฐ สถาบันการศึกษา หน่วยงานของเอกชนและประชาชน
- ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำพจนานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม อนุกรมวิธาน การบัญญัติศัพท์วิชาการสาขาต่าง ๆ รวมทั้งการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วิชาการภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย และงานวิชาการอื่น ๆ
- กำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย การอนุรักษ์ภาษาไทยมิให้เปลี่ยนไปในทางที่เสื่อม และการส่งเสริมภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้ปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้น
- ปฏิบัติการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของราชบัณฑิตยสภา
สำนักงานราชบัณฑิตยสภามีหน้าที่ในการค้นคว้า วิจัย และนำเสนอผลงานอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ทั้งให้คำแนะนำทางวิชาการแก่หน่วยงานราชการและประชาชน ทั้งนี้ยังมีหน้าที่สำคัญ คือ การจัดทำพจนานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม อนุกรมวิธานธรรมชาติวิทยา การบัญญัติศัพท์วิชาการ และงานวิชาการอื่น ๆ
ผลงาน
แก้ผลงานหลัก
แก้สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจะเสนอผลงานเหล่านี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อออกเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้ใช้เป็นมาตรฐานในทางราชการและการศึกษา
- พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
- หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง
- หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่าง ๆ
- ชื่อจังหวัด เขต อำเภอ และกิ่งอำเภอ เป็นอักษรไทยและอักษรโรมัน
- ชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง
- ศัพท์บัญญัติชื่อแร่และชื่อธาตุ
ผลงานอื่น ๆ
แก้- อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร
- ลักษณนาม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
- หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ หลักเกณฑ์การเว้นวรรค หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ
- ภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
- พจนานุกรมและสารานุกรมซึ่งบัญญัติและอธิบายศัพท์วิชาการสาขาต่าง ๆ เป็นภาษาไทย เช่น ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ศัพท์รัฐศาสตร์ ศัพท์นิติศาสตร์ ศัพท์สังคมวิทยา ศัพท์ปรัชญา ศัพท์ศาสนาสากล ศัพท์จิตวิทยา ศัพท์คณิตศาสตร์ ศัพท์วิทยาศาสตร์ ศัพท์วิศวกรรมเครื่องกล ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ศัพท์ธรณีวิทยา ศัพท์ภูมิศาสตร์ ศัพท์ภาษาศาสตร์ ศัพท์สถาปัตยกรรมศาสตร์ ศัพท์ศิลปะ ศัพท์วรรณกรรมไทย ศัพท์ดนตรีไทย ศัพท์ดนตรีสากล ศัพท์การกีฬาและวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นต้น
- พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมท้องถิ่นไทย ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้
- สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
- สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทยและสารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ ภูมิภาคเอเชีย ภูมิภาคยุโรป และภูมิภาคอเมริกา
- อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทยและพจนานุกรมชื่อภูมิศาสตร์สากล
- อักขรานุกรมวิธานพืชและอนุกรมวิธานสัตว์
- พจนานุกรมคำใหม่และพจนานุกรมศัพท์ต่างประเทศที่ใช้คำไทยแทนได้
- คู่มือระบบเขียนภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เป็นอักษรไทย เช่น ภาษาชอง ภาษาเขมรถิ่นไทย ภาษาเลอเวือะ ภาษาญัฮกุร เป็นต้น
- เห็ดกินได้และเห็ดมีพิษในประเทศไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
- ฯลฯ
หน่วยงาน
แก้การแบ่งส่วนราชการ
แก้ราชบัณฑิตยสภาแบ่งส่วนราชการภายใน ดังนี้
- สำนักงานเลขานุการกรม
- กองธรรมศาสตร์และการเมือง
- กองวิทยาศาสตร์
- กองศิลปกรรม
สำนัก
แก้สำนักในราชบัณฑิตยสภามีด้วยกัน 3 สำนัก แต่ละสำนักประกอบด้วยคณะราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกสาขาวิชาต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 137 สาขา
กองธรรมศาสตร์และการเมือง
แก้
|
|
กองวิทยาศาสตร์
แก้กองศิลปกรรม
แก้
|
|
ผู้บริหาร
แก้ผู้บริหารในราชบัณฑิตยสภาแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ
- ฝ่ายราชบัณฑิต มี นายกราชบัณฑิตยสภา เป็นผู้บริหารสูงสุด
- ฝ่ายข้าราชการประจำ มี เลขาธิการราชบัณฑิตยสภา เป็นผู้บริหารสูงสุด
สมาชิก
แก้สมาชิกของราชบัณฑิตยสภา มี 3 ประเภทดังนี้
ราชบัณฑิต
แก้ราชบัณฑิต ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง โดยราชบัณฑิตจากทุกสำนักจะเป็นผู้คัดเลือกจากภาคีสมาชิก แล้วนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง มีได้จำกัดจำนวน 118 ตำแหน่ง ปัจจุบันมีราชบัณฑิตจำนวน 110 คน[6]
ภาคีสมาชิก
แก้ภาคีสมาชิก ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ที่สมัครเข้าทำการร่วมกับราชบัณฑิตยสภา และราชบัณฑิตยสภาได้รับสมัครเป็นภาคีสมาชิกของสำนักใดสำนักหนึ่งแล้ว จำนวนภาคีสมาชิกมีจำกัดได้ไม่เกิน 84 คน แบ่งเป็น สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง 33 คน สำนักวิทยาศาสตร์ 55 คน สำนักศิลปกรรม 30 คน ปัจจุบันมีภาคีสมาชิก 74 คน[6]
ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์
แก้ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ซึ่งนายกรัฐมนตรี โดยคำแนะนำของราชบัณฑิตยสภา ได้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง โดยไม่จำกัดจำนวน ปัจจุบันมีราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ที่ยังมีชีวิตอยู่ จำนวน 8 คน เรียงตามลำดับการได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ดังนี้
คำนำหน้าชื่อ | รายชื่อ | ปีที่ได้รับแต่งตั้ง | สาขาวิชา | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
พลตรี | เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ | 2486 | - | [7] |
พลตรี | ประยูร ภมรมนตรี | 2486 | - | [7] |
พลอากาศโท | มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ | 2486 | - | [7] |
พลตรี | วิจิตร วิจิตรวาทการ | 2486 | - | [7] |
หม่อมหลวง | เดช สนิทวงศ์ | 2486 | - | [7] |
ศาสตราจารย์ | เดือน บุนนาค | 2486 | - | [7] |
พลโท | หลวงละออภูมิลักษณ์ (ลออ บุนนาค) | 2521 | - | [8] |
พระอัพภันตราพาธพิศาล (กำจร พลางกูร) | 2524 | - | [9] | |
หม่อมหลวง | ปิ่น มาลากุล | 2529 | วรรณศิลป์ | [10] |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | เฟื้อ หริพิทักษ์ | 2529 | วิจิตรศิลป์ | [11] |
บุญมา วงศ์สวรรค์ | 2536 | เศรษฐศาสตร์ทั่วไป | [12] | |
ศาสตราจารย์ | ประเวศ วะสี | 2548 | แพทยศาสตร์ | [13] |
ศาสตราจารย์ | สิปปนนท์ เกตุทัต | 2548 | ฟิสิกส์ | [13] |
ศาสตราจารย์พิเศษ | สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) | 2550 | ศาสนศาสตร์ | [14] |
มีชัย ฤชุพันธุ์ | 2550 | นิติศาสตร์ | [14] | |
ศาสตราจารย์ คุณหญิง | กุหลาบ มัลลิกะมาส | 2550 | วรรณคดีเปรียบเทียบ | [14] |
ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิง | พูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา | 2552 | ศึกษาศาสตร์ | [15] |
ศาสตราจารย์ | ยงยุทธ ยุทธวงศ์ | 2552 | เคมี | [15] |
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ | พูนพิศ อมาตยกุล | 2552 | ดุริยางคกรรม | [15] |
ศาสตราจารย์ | พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) | 2552 | อัคฆวิทยา | [16] |
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ | กุสุมา รักษมณี | 2562 | วรรณศิลป์ | [17] |
ศาสตราจารย์ | ไพรัช ธัชยพงษ์ | 2563 | วิศวกรรมศาสตร์ | [18] |
ผู้ได้รับแต่งตั้งที่ยังมีชีวิตอยู่
วิทยาการที่ราชบัณฑิตยสภาจัดเผยแพร่ทางเว็บไซต์
แก้คลังความรู้
แก้- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- สังคมศาสตร์
- ภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม
หลักเกณฑ์ต่าง ๆ
แก้- การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
- การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน
- การอ่านตัวเลขต่าง ๆ
- การอ่านเครื่องหมาย
- การอ่านคำวิสามานยนาม
- เครื่องหมายวรรคตอน
- การเว้นวรรค
- การเขียนคำย่อ
- ชื่อจังหวัด เขต อำเภอ
- ชื่อทะเล
- ชื่อธาตุ
- ชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง
- ลักษณนาม
- ราชาศัพท์
สิ่งพิมพ์
แก้- ราชบัณฑิตยสภามีสิ่งพิมพ์ทางวิชาการเกือบทุกสาขาไว้จำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เล่ม 139 ตอนที่ 57 ก วันที่ 19 กันยายน 2565
- ↑ พระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2558
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกราชบัณฑิตยสภาและอุปนายกราชบัณฑิตยสภา
- ↑ 4.0 4.1 "สำนักงานราชบัณฑิตยสภา". www.orst.go.th.
- ↑ "สำนักงานราชบัณฑิตยสภา". www.orst.go.th.
- ↑ 6.0 6.1 รายชื่อราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกปัจจุบัน
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-25. สืบค้นเมื่อ 2018-01-18.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (นายเฟื้อ หริพิทักษ์)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (นายบุญมา วงศ์สวรรค์)
- ↑ 13.0 13.1 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศาสตราจารย์ประเวศ วะสี, ศาสตราจารย์สิปปนนท์ เกตุทัต)
- ↑ 14.0 14.1 14.2 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พระพรหมคุณาภรณ์ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ศาสตราจารย์ คุณหญิงกุหลาบ มัลลิกะมาส)
- ↑ 15.0 15.1 15.2 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศาสตราจารย์ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา ศาสตราจารย์ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ศาสตราจารย์พูนพิศ อมาตยกุล)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, เล่ม 126, ตอนพิเศษ 62 ง, 23 เมษายน 2552, หน้า 31
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, เล่ม 136, ตอนพิเศษ 115 ง, 10 พฤษภาคม 2562, หน้า 11
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, เล่ม 137, ตอนพิเศษ 222 ง, 23 กันยายน 2563, หน้า 2
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- องค์กร
- สิ่งพิมพ์