ภาษาญัฮกุร (ญัฮกุร: พาซา ญัฮกุร) เป็นภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก กลุ่มมอญ-เขมร กลุ่มย่อยมอญ ถือว่าใกล้เคียงกับภาษามอญโบราณในสมัยทวารวดี มีผู้พูดคือชาวญัฮกุรในจังหวัดนครราชสีมา เพชรบูรณ์ และชัยภูมิ บางส่วนเริ่มเปลี่ยนมาพูดภาษาไทย

ภาษาญัฮกุร
พาซา ญัฮกุร
ประเทศที่มีการพูดไทย
ภูมิภาคจังหวัดเพชรบูรณ์, จังหวัดชัยภูมิ, จังหวัดนครราชสีมา
จำนวนผู้พูด1,500 คน  (2549[1])
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษามอญเก่า
  • ภาษาญัฮกุร
ระบบการเขียนอักษรไทย
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ไทย
รหัสภาษา
ISO 639-3cbn

ภาษาญัฮกุรเดิมเป็นเพียงภาษาพูดไม่มีตัวเขียน ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2548 ได้มีการสร้างระบบตัวเขียนขึ้นใหม่โดยใช้อักษรไทย และเพิ่มสัทอักษรสากล ʔ และรวบรวมคำศัพท์เอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อไม่ให้สูญหาย มีพยัญชนะ 26 เสียง เป็นตัวสะกดได้ 15 เสียง มีสระ 21 เสียง เป็นสระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 3 เสียง ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ ใช้ระบบน้ำเสียงแทน มีระบบการเติมหน่วยคำเติมแต่ปัจจุบันเหลือใช้ไม่มากนัก เรียงประโยคแบบประธาน–กริยา–กรรม

สัทวิทยา

แก้

พยัญชนะ

แก้
หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาญัฮกุรถิ่นบ้านไร่ จังหวัดชัยภูมิ[2]
ลักษณะการออกเสียง ตำแหน่งเกิดเสียง
ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
เสียงนาสิก ก้อง m n ɲ ŋ
ไม่ก้อง ŋ̊
เสียงหยุด ก้อง b d
ไม่ก้อง ไม่พ่นลม p t c k ʔ
พ่นลม
เสียงเสียดแทรก (f) (s) ç h
เสียงรัว ก้อง r
ไม่ก้อง
เสียงข้างลิ้น ก้อง l
ไม่ก้อง
เสียงกึ่งสระ ก้อง w j
ไม่ก้อง ʍ
  • หน่วยเสียงที่เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้ายมี 14 หน่วยเสียง ได้แก่ /m/, /n/, /ɲ/, /ŋ/, /p/, /t/, /c/, /k/, /ʔ/, /h/, /r/, /l/, /w/ และ /j/
  • หน่วยเสียงพยัญชนะควบมี 16 หน่วยเสียง ได้แก่ /bl/, /pr/, /pʰr/, /pʰl/, /tr/, /tʰr/, /tʰl/, /cr/, /cl/, /cʰr/, /kr/, /kl/, /kw/, /kʰr/, /kʰl/ และ /kʰw/ เกิดในตำแหน่งต้นพยางค์เท่านั้น นอกเหนือจากนี้จะกลายเป็น 2 พยางค์โดยมี /a/ คั่นกลาง
  • พยางค์นาสิกจะตามด้วยพยัญชนะในฐานเดียวกัน เช่น /m̩p/, /n̩t/ ฯลฯ (ดูหมายเหตุท้ายตารางด้านล่าง)
  • ผู้พูดรุ่นใหม่อาจออกเสียง /cʰ/ เป็น [s]
  • หน่วยเสียง /f/ และ /s/ พบในคำยืมจากภาษาไทย โดยผู้พูดรุ่นเก่าจะออกเสียง /f/ เป็น [kʰw] เช่น /faj.faːʔ/ > [kʰwaj.kʰwaːʔ] 'ไฟฟ้า, ไฟฉาย'
  • หน่วยเสียง /ç/ เกิดในตำแหน่งท้ายพยางค์เท่านั้น

สระ

แก้

สระเดี่ยว

แก้
หน่วยเสียงสระเดี่ยวภาษาญัฮกุรถิ่นบ้านไร่ จังหวัดชัยภูมิ[3]
ระดับลิ้น ตำแหน่งลิ้น
หน้า กลาง หลัง
สูง i, iː ɯ, ɯː u, uː
กึ่งสูง e, eː ɤ, ɤː o, oː
กึ่งต่ำ æ, æː ʌ ɔ, ɔː
ต่ำ a, aː

สระประสม

แก้

หน่วยเสียงสระประสมภาษาญัฮกุรถิ่นบ้านไร่มี 3 หน่วยเสียง[3] ได้แก่ /ia/, /ɯa/ และ /ua/

ลักษณะน้ำเสียง

แก้

ภาษาญัฮกุรถิ่นบ้านไร่มีลักษณะน้ำเสียงที่ทำให้ความหมายของคำต่างกัน 2 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะน้ำเสียงที่ 1 ซึ่งเป็นลักษณะน้ำเสียงปกติโดยมักออกเป็นเสียงสูง และลักษณะน้ำเสียงที่ 2 ซึ่งมักออกเป็นเสียงต่ำ[4] ในการถอดเสียงเป็นสัทอักษรใช้เครื่องหมาย ⟨◌̀⟩ หรือ ⟨◌̤⟩

ระบบการเขียน

แก้

ตัวเขียนภาษาญัฮกุรอักษรไทยตามที่คณะกรรมการจัดทำระบบเขียนภาษาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยอักษรไทย สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้กำหนดไว้ มีดังนี้

พยัญชนะ
อักษรไทย/
สัญลักษณ์
เสียง ตัวอย่างคำ ความหมาย
/k/ าʔ ปลา
วัก่ แขวน
/kʰ/ คุย่ กุ้ง
/ŋ/ งียก่ ฟัน
ชว ขวาน
/c/ จี ช้าง
คลี หมู
/cʰ/ ชุ หมา
/s/ ส้ม
/ç/ ลัซ่ ผลิใบ
/ɲ/ ญ็ ใกล้
ปู นอน
/d/ ดิ กระบอกไม้ไผ่
/t/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) มัด่ นัยน์ตา
/t/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) ะดาจ หวาน
/tʰ/ ทีʔ เต่า
/n/ จ่ ผ้า
กว ลูก
/b/ บู มีด
/p/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) ทึบ่ โง่
/p/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) ข้าวสุก
/pʰ/ อง่ ไข่
/f/ ฟัาʔ ไฟฟ้า, ไฟฉาย
/m/ มียว่ แมว
คะยาม่ จิ้งหรีด
/j/ ยุยุ ชะนี
ชาย่ แย้
/r/ รูย่ แมลงวัน
กะมุ หลังคา
/l/ ลูง่ พระสงฆ์
ตะบั แก้ม
/w/ วี กระด้ง
กา ดอกไม้
/ʔ/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) อี อึ่งอ่าง
/h/ ฮุ ต่อ (แมลง)
ริฮ่ รากไม้
ฮง /ŋ̊/ ฮงุ กระบะไฟ
ฮน /n̥/ ฮนู ลิง
ฮม /m̥/ ฮมุ หมี
ฮร /r̥/ ฮร็จ่ เกี่ยว (ข้าว)
ฮล /l̥/ ฮลี ข้าวโพด
ฮว /ʍ/ ฮวาซ่ ก้าว
ไม่มีรูป /ʔ/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย
และตามหลังสระเสียงสั้น)
เตะ นั้น
ควะ่ อาย
ʔ /ʔ/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย
และตามหลังสระเสียงยาว)
ฮึโลʔ หอย
ปาʔนาน ทำไม
  • ฮง, ฮน, ฮม, ฮร, ฮล และ ฮว เป็นทวิอักษร
  • พยางค์นาสิกเขียนแทนด้วยรูป ฮึ เช่น /peːɲ/ ฮึเปญ 'เสือ',
    /taːm/ ฮึตาม 'ปู', /ɲ̍ciam/ ฮึเจียม 'นก', /ŋ̍kaːç/ ฮึกาซ 'ฟ้า'
สระ
อักษรไทย เสียง ตัวอย่างคำ ความหมาย
–ะ /a/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย
และอยู่ในคำหลายพยางค์
หรือเมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/)
ครุง่ หัวเราะ
โตกปตุล หกคะเมนตีลังกา
ะ่ พ่อ
–ั /a/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย
ที่ไม่ใช่ /ʔ/, /w/)
ญั คน, กลุ่มชน
นั ดี
–า /aː/ ฮนʔ กระแต
–ิ /i/ ริฮ่ รากไม้
–ี /iː/ นี หวี
–ึ /ɯ/ ลึ แตงโม
–ื /ɯː/ ชุร่พืน่ แมงป่องช้าง
–ุ /u/ รุจ่ ผักหวาน
–ู /uː/ ชู ห้า
เ–ะ /e/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) นั้น
เ–็ /e/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) เพ็ฮ่ เธอ, คุณ
เ– /eː/ ฮึปญ เสือ
แ–ะ /æ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) คล เละ
แ–็ /æ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) แช็ ม้า
แ– /æː/ นาเปียก
โ–ะ /o/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) ะโะ่ ฟัง
โ–็ /o/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) โพ็ เห่า
โ– /oː/ ปรก กระรอก
เ–าะ /ɔ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) าะ สวย
–็อ /ɔ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) ล็อ เปิดทางน้ำ
–อ /ɔː/ กะชʔ บอก
เ–อะ /ɤ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) กะทอะ่ ข้นคลั่ก
เ–อ /ɤː/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) ใน
เ–ิ /ɤː/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) เคิ ข้อง
เ–็อฺ /ʌ/ เต็อฺ ถือ
เ–า /aw/ มดแดง
เ–ีย /ia/ รีย ควาย
เ–ือ /ɯa/ เลือย่ เลื่อย
–ัว /ua/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) นัว เข้มข้น (มีเนื้อมาก)
–ว– /ua/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) ผิวปาก
  • ในกรณีที่รูปสระสั้นมีวิสรรชนีย์ประกอบ เช่น คล เมื่อมีพยัญชนะท้าย
    (นอกเหนือจาก /ʔ/) ให้เปลี่ยนวิสรรชนีย์เป็นไม้ไต่คู้ เช่น แช็
  • ในกรณีที่พยัญชนะต้นควบปรากฏร่วมกับรูปสระหน้า , ,
    ในคำบางคำจะเลื่อนพยัญชนะตัวแรกไปไว้หน้ารูปสระนั้น เพื่อไม่ให้
    เข้าใจผิดว่าพยัญชนะตัวที่สองเป็นพยัญชนะท้าย เช่น
  • ไม่ใช้รูปสระ –ำ หรือ ไ– แต่ใช้รูป –ัม และ –ัย แทน
ลักษณะน้ำเสียง
อักษรไทย ลักษณะ
น้ำเสียง
ตัวอย่างคำ ความหมาย
ไม่มีรูป ปกติ ชุร หมา
ฮนีʔ หนู
กะเตาแด็ร ร้อนจัด
–่ ต่ำ ชุร่ แมลง
เคล็อฺง่ มาก
กะเทอะ่ ข้นคลั่ก
  • เครื่องหมายแสดงลักษณะน้ำเสียงต่ำ
    จะปรากฏเหนือรูปพยัญชนะหรือรูปสระท้ายพยางค์
  • พยัญชนะ ʔ เติมเครื่องหมายแสดงลักษณะน้ำเสียง
    ไว้ข้างบนไม่ได้ ให้ใส่บนตัวอักษรก่อนหน้านั้นแทน

อ้างอิง

แก้
  1. Nyah Kur at Ethnologue (18th ed., 2015)
  2. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2559). คู่มือระบบเขียนภาษาญัฮกุรอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 24.
  3. 3.0 3.1 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2559). คู่มือระบบเขียนภาษาญัฮกุรอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 28.
  4. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2559). คู่มือระบบเขียนภาษาญัฮกุรอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 31.
  • อภิญญา บัวสรวง และสุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2541). สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย : ญัฮกุ้ร. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.