ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (อังกฤษ: Austroasiatic languages) เป็นภาษากลุ่มใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบางส่วนในอินเดียและบังกลาเทศ ชื่อนี้มาจากคำในภาษาละตินที่แปลว่า "ใต้" และชื่อทวีปเอเชียในภาษากรีก ดังนั้นชื่อของภาษาตระกูลนี้จึงหมายถึงเอเชียใต้ ในบรรดาภาษากลุ่มนี้ทั้งหมด ภาษาเวียดนาม ภาษาเขมร และภาษามอญเป็นภาษาที่มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ยาวนาน และเฉพาะภาษาเวียดนามและภาษาเขมรเท่านั้นที่เป็นภาษาทางการ ภาษาที่เหลือมักเป็นภาษาที่พูดโดยชนกลุ่มน้อย
ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก | |
---|---|
ภูมิภาค: | เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
การจําแนก ทางภาษาศาสตร์: | หนึ่งในตระกูลภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดในโลก |
ภาษาดั้งเดิม: | ออสโตรเอเชียติกดั้งเดิม |
กลุ่มย่อย: | |
ISO 639-5: | aav |
กลอตโตลอก: | aust1305[1] |
![]() แผนที่แสดงการกระจายของภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก |
ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกมีการแพร่กระจายตั้งแต่อินเดีย บังกลาเทศ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แยกจากกันด้วยบริเวณที่มีผู้พูดภาษาตระกูลอื่นอยู่ จึงเชื่อกันว่าภาษาตระกูลนี้เป็นภาษาดั้งเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดียตะวันออก ส่วนภาษากลุ่มอื่นในบริเวณนี้ได้แก่ตระกูลอินโด-ยูโรเปียน ขร้า-ไท ดราวิเดียนและจีน-ทิเบตเป็นผลจากการอพยพเข้ามา มีตัวอย่างคำในภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกอยู่ในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าในเนปาลตะวันออก นักภาษาศาสตร์บางคนเชื่อว่า ภาษานี้เกี่ยวข้องกับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนและจัดเป็นตระกูลใหญ่ออสตริก
การจัดจำแนก แก้ไข
นักภาษาศาสตร์โดยทั่วไปจัดภาษานี้เป็นสองกลุ่มใหญ่คือภาษากลุ่มมุนดาที่พบในอินเดียตะวันออกและอินเดียกลางกับบางส่วนของบังกลาเทศและภาษากลุ่มมอญ-เขมร ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือและหมู่เกาะนิโคบาร์ จากภาษาในตระกูลนี้ทั้งหมด 168 ภาษา อยุ่ในกลุ่มมอญ-เขมร 147 ภาษาและอยู่ในกลุ่มมุนดา 21 ภาษา การแบ่งย่อยลงไปอีกมีความแตกต่างกันดังนี้
Grérard Diffloth (1974) แก้ไข
เป็นการจัดแบ่งที่มีผู้นำไปอ้างอิงมากที่สุด แต่ภาษาที่ยังไม่พบในขณะนั้นไม่ได้รวมไว้ด้วย
- มุนดา
- มุนดาเหนือ
- กอร์กู
- เคอร์วาเรียน
- มุนดาใต้
- คาเรีย-จวา
- โกราปุต มุนดา
- มุนดาเหนือ
- มอญ-เขมร
- มอญ-เขมรตะวันออก
- ภาษาเขมร
- เปียริก
- ภาษากลุ่มบะห์นาริก
- ภาษากลุ่มกะตู
- ภาษากลุ่มเวียตติก (รวมภาษาเวียดนาม)
- มอญ-เขมรเหนือ
- ภาษาคาซี (รัฐเมฆาลัย, อินเดีย)
- ปะหล่อง
- ขมุ
- มอญ-เขมรใต้
- ภาษามอญ
- อัสเลียน
- นิโคบาร์ (หมู่เกาะนิโคบาร์)
- มอญ-เขมรตะวันออก
Ilia Peiros (2004) แก้ไข
เป็นการแบ่งโดยใช้ข้อมูลจากการใช้คำศัพท์ร่วมกัน
- นิโคบาร์
- มุนดา-เขมร
- มุนดา
- มอญ-เขมร
- ภาษาคาซี
- มอญ-เขมรศูนย์กลาง
- ม้ง (ม้งและปยู)
- เวียตติก
- มอญ-เขมรเหนือ ประกอบด้วยกลุ่มปะหล่องและขมุ
- มอญ-เขมรกลาง
- ภาษาเขมรสำเนียงต่างๆ
- เปียริก
- อัสลี-บะห์นาริก
- อัสเลียน
- มอญ-บะห์นาริก
- มอญ
- กะตู-บะห์นาริก
- กะตู
- บะห์นาริก
Grérard Diffloth (2005) แก้ไข
- มุนดา
- กลุ่มโกวาปุต
- กลุ่มมุนดาแกนกลาง
- กลุ่มคาเรีย-จวา 2 ภาษา
- กลุ่มมุนดาเหนือ
- กลุ่มกอร์กู, กลุ่มคาวาเรีย 12 ภาษา
- กลุ่มคาซี-เขมร
- กลุ่มคาซี 3 ภาษาในอินเดียและบังกลาเทศ
- กลุ่มปะหล่อง-ขมุ
- กลุ่มขมุ มี 13 ภาษาในลาวและไทย
- กลุ่มปะหล่อง-ปะกัน
- กลุ่มปะกันหรือปยู มี 2 ภาษาในจีนตอนใต้
- กลุ่มปะหล่อง มี 21 ภาษาในพม่า จีนตอนใต้และไทย รวมภาษาม้งในเวียดนาม
- กลุ่มมอญ-เขมรศูนย์กลาง
- กลุ่มเขมร-เวียตติก
- กลุ่มเวียต-กะตู
- กลุ่มเวียตติก มี 10 ภาษาในเวียดนามและลาวรวทั้งภาษาเวียดนามซึ่งเป็นภาษาเดียวในตระกูลออสโตรเอเชียติกที่มีเสียงวรรณยุกต์
- กลุ่มกะตู มี 19 ภาษาในลาว เวียดนามและไทย
- กลุ่มเขมร-บะห์นาริก
- กลุ่มบะห์นาริก มี 40 ภาษาในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา
- กลุ่มเขมร ซึ่งได้แก่ภาษาเขมรสำเนียงต่าง ๆ ในไทย กัมพูชา เวียดนามและกลุ่มเปียริกที่มี 6 ภาษาในกัมพูชา
- กลุ่มเวียต-กะตู
- กลุ่มนิโคบาร์-มอญ
- กลุ่มนิโคบาร์ มี 6 ภาษาในหมุ่เกาะนิโคบาร์
- กลุ่มอัสลี-มอญ
- กลุ่มอัสเลียน มี 19 ภาษาในไทยและมาเลเซีย
- กลุ่มมอญ มี 2 ภาษาคือภาษามอญในพม่าและภาษาญัฮกุรในไทย
- กลุ่มเขมร-เวียตติก
และยังมีอีกหลายภาษาที่ยังจัดแบ่งไม่ได้ในจีนตอนใต้
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Austroasiatic". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.