ภาษาสันถาลี
ภาษาสันถาลี (ออกเสียง: [santaɽi], ᱥᱟᱱᱛᱟᱲᱤ) มีอีกชื่อว่า ภาษาสันถัล เป็นภาษาที่มีผู้พูดแพร่หลายที่สุดในกลุ่มภาษามุนดาที่อยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ใกล้เคียงกับภาษาโฮและภาษามุนดารี มีผู้พูดส่วนใหญ่เป็นชาวสันถัลในรัฐอัสสัม รัฐพิหาร รัฐฌารขัณฑ์ รัฐมิโซรัม รัฐโอฑิศา รัฐตรีปุระ และรัฐเบงกอลตะวันตก[5] ภาษานี้ได้รับการรับรองเป็นภาษาประจำภูมิภาคของอินเดียตามกำหนดรายการที่แปดในรัฐธรรมนูญอินเดีย[6] ภาษาสันถาลีมีผู้พูดประมาณ 7.6 ล้านคนในประเทศอินเดีย, บังกลาเทศ, ภูฏาน และเนปาล ทำให้เป็นภาษาออสโตรเอเชียติกที่มีผู้พูดมากเป็นอันดับ 3 เป็นรองเพียงภาษาเวียดนามและภาษาเขมร[5]
ภาษาสันถาลี | |
---|---|
ᱥᱟᱱᱛᱟᱲᱤ, সাওঁতালী, ସାନ୍ତାଳୀ, চাওঁতালি, संताली | |
ศัพท์ "สันถาลี" ในอักษรสันถาลี | |
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศอินเดีย, บังกลาเทศ, เนปาล |
ชาติพันธุ์ | ชาวสันถัล |
จำนวนผู้พูด | 7.6 ล้านคน (2011 census[1])[2] |
ตระกูลภาษา | ออสโตรเอเชียติก
|
ภาษาถิ่น | Mahali (Mahili)
Kamari-Santali
Khole
Lohari-Santali
Manjhi
Paharia
|
ระบบการเขียน | ทางการ: อักษรสันถาลี[3] อื่น ๆ: อักษรเบงกอล-อัสสัม,[4] อักษรโอริยา, อักษรโรมัน |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | อินเดีย
|
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | sat |
ISO 639-3 | อย่างใดอย่างหนึ่ง:sat – Santalimjx – Mahali |
ภาษาสันถาลีเคยเป็นภาษาพูดอย่างเดียว จนกระทั่งมิชชันนารีชาวยุโรปพัฒนาให้เขียนภาษานี้ในอักษรเบงกอล, อักษรโอริยา และอักษรโรมัน และท้ายที่สุด มีการประดิษฐ์อักษรสันถาลีโดย Raghunath Murmu ใน ค.ศ. 1925
ประวัติ
แก้พอล ซิดเวลล์ นักภาษาศาสตร์ รายงานว่า ภาษากลุ่มมุนดาน่าจะเข้ามายังชายฝั่งรัฐโอฑิศาจากอินโดจีนประมาณ 4000–3500 ปีก่อน แล้วกระจายไปหลังการอพยพของชาวอินโด-อารยันเข้ามายังรัฐโอฑิศา[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Statement 1: Abstract of speakers' strength of languages and mother tongues – 2011". www.censusindia.gov.in. Office of the Registrar General & Census Commissioner, India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2019. สืบค้นเมื่อ 7 July 2018.
- ↑ Santali ที่ Ethnologue (21st ed., 2018)
Mahali ที่ Ethnologue (21st ed., 2018) - ↑ "P and AR & e-Governance Dept". wbpar.gov.in. สืบค้นเมื่อ 10 January 2021.
- ↑ "Redirected". 19 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2019. สืบค้นเมื่อ 9 May 2019.
- ↑ 5.0 5.1 Santali ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
Mahali ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก) - ↑ "Distribution of the 22 Scheduled Languages". censusindia.gov.in. Census of India. 20 May 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2013. สืบค้นเมื่อ 26 February 2018.
- ↑ Sidwell, Paul. 2018. Austroasiatic Studies: state of the art in 2018. เก็บถาวร 22 พฤษภาคม 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Presentation at the Graduate Institute of Linguistics, National Tsing Hua University, Taiwan, 22 May 2018.
ผลงานอ้างอิง
แก้- Ghosh, Arun (2008). "Santali". ใน Anderson, Gregory D.S. (บ.ก.). The Munda Languages. London: Routledge. pp. 11–98.