อักษรเขมร
อักษรเขมร (เขมร: អក្សរខ្មែរ) คือรูปอักษรที่ดัดแปลงมาจากอักษรหลังปัลลวะ (ราว พ.ศ. 1200-1400) ซึ่งเป็นอักษรที่พัฒนามาจากอักษรปัลลวะ (ราว พ.ศ. 1100-1200) อีกต่อหนึ่ง อักษรปัลลวะนี้ เป็นอักษรที่มาจากอินเดียตอนใต้ ซึ่งเป็นชุดอักษรที่มีกำเนิดมาจากอักษรพราหมี ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (ราว พุทธศตวรรษที่ 3) จารึกอักษรเขมรเก่าสุด พบที่ปราสาทโบเร็ย จังหวัดตาแก้ว ทางใต้ของพนมเปญ อายุราว พ.ศ. 1154 รูปแบบโบราณของอักษรเขมร ที่เรียกอักษรขอม เป็นแม่แบบของ อักษรไทย อักษรลาว อักษรเขมรใช้เขียนภาษาเขมร และมนต์คาถา
อักษรเขมร อักษรกัมพูชา | |
---|---|
Âkkhârôkrâm Khmêr ("อักษรเขมร") เขียนในอักษรเขมร | |
ชนิด | |
ช่วงยุค | ป. ค.ศ. 611 – ปัจจุบัน[1] |
ทิศทาง | ซ้ายไปขวา |
อักษรทางการ | ประเทศกัมพูชา[2] |
ภาษาพูด | |
อักษรที่เกี่ยวข้อง | |
ระบบแม่ | |
ระบบลูก | สุโขทัย, ขอมไทย, ลายตัย |
ระบบพี่น้อง | มอญเก่า, จาม, กวิ, ครันถะ, ทมิฬ |
ISO 15924 | |
ISO 15924 | Khmr (355), Khmer |
ยูนิโคด | |
ยูนิโคดแฝง | Khmer |
ช่วงยูนิโคด |
|
บทความนี้มีอักษรในตระกูลอักษรพราหมีปรากฏอยู่ คุณอาจเห็นสัญลักษณ์อื่นแทนตัวอักษร หรือมองเห็นสระวางผิดตำแหน่ง หากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่สามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้อง |
ต้นกำเนิด
แก้อักษรเขมรดัดแปลงมาจากอักษรปัลลวะที่ใช้งานในอินเดียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 6[3] ซึ่งสืบทอดจากอักษรทมิฬ-พราหมี[4] จารึกภาษาเขมรที่เก่าแก่ที่สุดพบในอำเภออ็องกอร์โบะเร็ย จังหวัดตาแก้ว ทางใต้ของพนมเปญ โดยมีอายุถึง ค.ศ. 611[5] ศิลาจารึกสมัยก่อนพระนครถึงสมัยพระนครที่มีอักษรเขมรพบได้ทั่วบริเวณอดีตจักรวรรดิเขมร ตั้งแต่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงจนถึงบริเวณที่ปัจจุบันคือลาวใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของไทย[6] จารึกอักษรเขมรที่เขียนภาษาสันสกฤตและภาษาเขมรมีคสวามแตกต่างเพียงเล็กน้อย ระบบการเขียนที่ต่างกันสองแบบได้พัฒนาไปเป็นอักษรเขมรแบบอักษรมูลและอักษรเชฺรียงสมัยใหม่ อักษรแบบแรกใช้ในเชิงศาสนา ส่วนอักษรแบบหลังใช้ในงานเขียนทั่วไป[7] อักษรเชฺรียงเป็นแบบเขียนของอักษรมูลที่ดัดแปลงให้เข้ากับภาษาเขมร[8]
อักษรเขมรสมัยใหม่มีรูปเขียนที่ค่อนข้างแตกต่างจากอักษรเขมรที่พบบนจารึกในซากเมืองพระนคร อักษรไทยและอักษรลาวเป็นอักษรที่สืบทอดจากอักษรเขมรแบบตัวเขียนที่เก่ากว่า ผ่านอักษรสุโขทัย
เมื่อ พ.ศ. 2430 รัชกาลที่ 4 ตรงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนโรดม (นักองค์ราชาวดี) อักษรเขมรแบบใหม่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เรียกว่า อักษรขอมเชรียง (เจรียง)[9][10] เป็นอักษรเขมรแบบหนึ่งมีลักษณะเอนทางขวาเล็กน้อย[11] โดยสมเด็จพระสุคนธาธิบดี (ปาน ปญฺญาสีโล) สมเด็จพระสังฆราชฝ่ายธรรมยุติกนิกาย วัดปทุมวดีราชวราราม กรุงพนมเปญ ได้นำอักษรขอมหวัด (ตัวเกษียน) สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นไปปรับใช้เป็นอักษรเขมรแบบใหม่ซึ่งเป็นอักษรเขมรสำหรับใช้พิมพ์ และเขียนภาษาเขมรในปัจจุบัน ลักษณะเส้นบนหยักลูกเหมือนอักษรขอมบรรจงส่วนตัวเขียนใช้เส้นผมเหยียดยาวเหมือนอักษรขอมหวัดทั้งหมด[12][13] จึงปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าอักษรเขมรน่าจะรับอิทธิพลจากอักษรขอมไทย คือ กลุ่มอักษรขอมบรรจงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเนื่องจากมีความแตกต่างกับอักษรมูลที่วิวัฒนาการจากอักษรเขมรสมัยหลังเมืองพระนคร[10]
อักษร
แก้ยูนิโคดไม่ถือว่าอักษรแต่ละแบบเป็นอักษรคนละชนิด แต่เป็นเพียงอักษรต่างรูป ดังนั้นอักษรมูลจะแสดงผลด้วยไทป์เฟซ MoolBoran[14] และอักษรเชฺรียง-ฌรจะแสดงผลด้วยไทป์เฟซ DaunPenh[15] ซึ่งมีในวินโดวส์วิสตาเป็นต้นไป เพิ่มขนาดเพื่อให้เห็นรายละเอียดรูปร่างชัดเจน
พยัญชนะ
แก้อักษรเขมรมีพยัญชนะ 35 ตัว เลิกใช้ไป 2 ตัว พยัญชนะแบ่งเป็น 2 ชุดคือ พยัญชนะเสียงไม่ก้อง (อโฆษะ) พื้นเสียงเป็น ออ-อา /ɑ/ พยัญชนะเสียงก้อง (โฆษะ) พื้นเสียงเป็น ออ-โอ /ɔ/ เมื่อประสมสระ พยัญชนะต่างชุดกันออกเสียงต่างกัน อักษรเขมรมีทั้งพยัญชนะธรรมดา และพยัญชนะซ้อนที่ใส่ไว้ใต้พยัญชนะตัวอื่น พยัญชนะซ้อนจะใช้เมื่อต้องการตัดพื้นเสียงของพยัญชนะตัวก่อนหน้า อักษรไทยที่กำกับไว้คือการปริวรรตอักษรเขมรมาเป็นอักษรไทย [16] ส่วนเสียงอ่านจะแสดงด้วยสัทอักษรสากล
|
|
- ឝ (ศ) และ ឞ (ษ) เป็นอักษรที่เลิกใช้แล้ว
- พยัญชนะซ้อนของ ឡ (ฬ) ไม่มีในอักษรเขมรปัจจุบัน แต่มีให้แสดงผลได้ในยูนิโคด
นอกจากนี้ยังมีพยัญชนะพิเศษซึ่งประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแทนเสียงคำยืมหรือคำทับศัพท์จากภาษาอื่น เช่นภาษาไทยหรือภาษาฝรั่งเศส ส่วนใหญ่สร้างโดยการซ้อนพยัญชนะไว้ใต้ ហ (ห)
|
|
สระ
แก้สระในอักษรเขมรมีสองแบบคือ สระลอยและสระจม สระลอยใช้เขียนเมื่อมิได้ผสมกับพยัญชนะ (เปรียบเหมือนขึ้นต้นด้วย อ) ส่วนสระจมใช้ประกอบกับพยัญชนะอื่น พยัญชนะที่ไม่มีสระกำกับจะออกเสียงตามเสียงเดิมของพยัญชนะดังที่กล่าวไว้ด้านบน (เทียบได้กับ ออ) เสียงสระจะแตกต่างจากอักษรไทย และขึ้นอยู่กับว่าพยัญชนะเป็นอโฆษะหรือโฆษะด้วย ต่อไปนี้เป็นสระลอย
|
|
- ឣ (อ) (U+17A3), ឤ (อา) (U+17A4), ឨ (U+17A8) เป็นอักขระที่ยูนิโคดไม่แนะนำให้ใช้ เนื่องจากสามารถประสมขึ้นได้จากพยัญชนะ สระ หรือเครื่องหมายอื่นโดยแยกกัน แต่ยังคงมีไว้เพื่อรองรับระบบการเขียนในคอมพิวเตอร์แบบเก่า
ต่อไปนี้คือสระจม บรรทัดแรกคือการปริวรรต บรรทัดที่สองหมายถึงเสียงสระเมื่อผสมกับพยัญชนะอโฆษะ และบรรทัดที่สามหมายถึงเสียงสระเมื่อผสมกับพยัญชนะโฆษะ
|
|
*คำอ่านสระที่เป็นภาษาไทยในตารางข้างต้น เป็นเพียงการเลียนเสียงเป็นภาษาไทยให้ใกล้เคียงที่สุดเท่านั้น หากต้องการออกเสียงให้ตรงกับเสียงภาษาเขมรจริงๆ ควรดูวิธีอ่านจากสัทอักษรสากล(IPA)
- ះ (อะ) สามารถผสมกับสระอื่นได้โดยนำไปต่อท้าย ซึ่งจะให้เสียง [ʰ] และปริวรรตด้วยวิสรรชนีย์ (ะ)
- ុំ (อุ) และ ាំ (อำ) เมื่อผสมกับพยัญชนะ นิคหิต ំ (อํ) จะอยู่เหนือพยัญชนะหรือสระตัวสุดท้ายของคำ
เครื่องหมายเสริมอักษร
แก้เครื่องหมาย | ชื่อเขมร | การใช้งาน |
---|---|---|
ំ | និគ្គហិត (นิคฺคหิต) | (นิคหิต) เพิ่มเสียงนาสิกลงท้ายเสียงสระ มาจาก อนุสวาร |
ះ | រះមុខ (ระมุข) វិសជ៌នី (วิสรฺชนี) |
(วิสรรชนีย์) เพิ่มเสียงหายใจ [ʰ] ลงท้ายเสียงสระ มักจะถูกละไว้ (ต่างกับการใช้ในภาษาไทย) |
ៈ | យុគលពិន្ទុ (ยุคลพินฺทุ) | เพิ่มเสียงกัก เส้นเสียง /ʔ/ ลงท้ายเสียงสระ มักจะถูกละไว้ |
៉ | មូសិកទន្ត (มูสิกทนฺต) ធ្មេញកណ្ដុរ (เธฺมญ-กณฺฎุร) |
(มูสิกทันต์) เปลี่ยนพยัญชนะที่มีพื้นเสียง /ɔ/ ให้เป็น /ɑ/ |
៊ | ត្រីស័ព្ទ (ตฺรีสพฺท) | เปลี่ยนพยัญชนะที่มีพื้นเสียง /ɑ/ ให้เป็น /ɔ/ |
ុ | ក្បៀសក្រោម (เกฺบียสโกฺรม) បុកជើង (บุกเชีง) |
เหมือนกับ มูสิกทนฺต และ ตฺรีสพฺท ใช้ในกรณีที่มีสระบนอยู่แล้ว |
់ | បន្តក់ (บนฺฎก่) រស្សសញ្ញា (รสฺสสญฺญา) |
ทำให้เสียงสระบางชนิดสั้นลง ใส่ไว้ที่พยัญชนะสะกด |
៌ | របាទ (รบาท) រេផៈ (เรผะ) |
เดิมคือการเติม รฺ (ร หัน) ก่อนพยัญชนะ ใช้ในคำบาลีสันสกฤต ปัจจุบันใช้งานเหมือนทัณฑฆาต |
៍ | ទណ្ឌឃាដ (ทณฺฑฆาฎ) បដិសេធ (บฎิเสธ) |
(ทัณฑฆาต) ใช้กำกับอักษรบางตัวที่ไม่ออกเสียง |
៎ | កាកបាទ (กากบาท) | แสดงการเพิ่มน้ำเสียงสำหรับคำอุทาน |
៏ | អស្តា (อสฺฎา) | (ไม้ไต่คู้) แสดงการเพิ่มน้ำเสียงสำหรับคำที่มีพยัญชนะเพียงตัวเดียว [17] |
័ | សំយោគសញ្ញា (สํโยคสญฺญา) | ใช้แสดงสระเสียงสั้นในคำบาลีสันสกฤต มักจะถูกละไว้ |
៑ | វិរាម (วิราม) | สัญลักษณ์ใช้แทน วิราม (virāma) ในอักษรตระกูลพราหมี |
្ | ជើង (เชีง) | สัญลักษณ์ที่สร้างโดยยูนิโคดเพื่อป้อนพยัญชนะซ้อนด้านล่าง ลักษณะปรากฏอาจแตกต่างกันไปตามฟอนต์ |
៓ | Bathamasat | เดิมใช้ประกอบกับเลข ๘ เพื่อแสดงเดือนแปดแรกทางจันทรคติ ៨៓ เมื่อมีเดือนแปดสองหน [18] แต่ขณะนี้มีสัญลักษณ์ใช้แทนแล้วคือ ᧠ (U+19E0) |
៝ | Atthacan |
เครื่องหมายอื่น ๆ
แก้เครื่องหมาย | ชื่อเขมร | การใช้งาน |
---|---|---|
។ | ខណ្ឌ (ขณฺฑ) ខណ្ឌសញ្ញា (ขณฺฑสญฺญา) |
(ไปยาลน้อย, อังคั่นเดี่ยว) ใช้คั่นข้อความเมื่อจบประโยค (ต่างกับการใช้ในภาษาไทย) |
៕ | ខណ្ឌចប់ (ขณฺฑจบ่) | (อังคั่นคู่) ใช้คั่นข้อความเมื่อจบตอน |
៖ | ទ្វិពិន្ទុលេខ (ทฺวิพินฺทุเลข) ចំណុចពីរគូស (จํณุจพีรคูส) |
(ทวิภาค, วิภัชภาค) ข้อความต่อจากนี้คือรายชื่อหรือรายการเป็นข้อ ๆ |
ៗ | លេខទោ (เลขโท) | (ไม้ยมก) ซ้ำคำที่อยู่ข้างหน้า |
៘ | បេយ្យាលៈ (เบยฺยาละ) លៈ (ละ) |
(ไปยาลใหญ่) ยังมีสิ่งอื่นอีกนอกเหนือจากที่ยกมา |
៙ | កុក្កុដនេត្រ (กุกฺกุฎเนตฺร) ភ្នែកមាន់ (แภฺนกมาน่) |
(ฟองมัน) ใช้ขึ้นต้นข้อความขนาดยาว |
៚ | ខណ្ឌបរិយោសាន (ขณฺฑบริโยสาน) គោមូត្រ (โคมูตฺร) |
(โคมูตร) ใช้ลงท้ายเมื่อจบเรื่อง สามารถใช้คู่กับ ขณฺฑ หรือ ขณฺฑจบ่ ได้ |
៛ | រៀល (เรียล) | เครื่องหมายสกุลเงิน เรียลกัมพูชา |
ៜ | Avakrahasanya |
ตัวเลข
แก้ตัวเลขในอักษรเขมรมีลักษณะคล้ายเลขไทยมาก ไม่ว่าจะเป็นอักษรแบบใด ได้แก่
- ០ ១ ២ ៣ ៤ ៥ ៦ ៧ ៨ ៩
วิธีใช้เหมือนกับเลขฮินดูอารบิกทั่วไป มีเครื่องหมายคั่นหลักพันเป็นจุลภาค และมีจุดทศนิยมเป็นมหัพภาค
นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์อีกแบบหนึ่งสำหรับแทนตัวเลข
- ៰ ៱ ៲ ៳ ៴ ៵ ៶ ៷ ៸ ៹
ลักษณะ
แก้อักษรเขมรมีลักษณะที่แตกต่างกันหลายชนิด ซึ่งใช้ในจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน
- อักษรเชฺรียง (อ่านว่า เจฺรียง) (เขมร: អក្សរជ្រៀង) หรือ อักษรเฉียง เป็นอักษรในลักษณะตัวเอน ไม่ได้ใช้เพื่อการเน้นคำในภาษา แต่จะนำไปใช้เขียนเนื้อหาทั้งหมด เช่นนิยายและการตีพิมพ์อื่น ๆ ที่สามารถใช้อักษรเชฺรียงได้
- อักษรฌร (อ่านว่า โช) (เขมร: អក្សរឈរ) หรือ อักษรตรง (เขมร: អក្សរត្រង់) เป็นอักษรในลักษณะตัวตรง การใช้อักษรตัวตรงไม่เป็นที่นิยมเท่าอักษรเชฺรียง แต่ปัจจุบัน แบบอักษรในคอมพิวเตอร์ได้เลือกใช้อักษรตัวตรงเพื่อให้อ่านข้อความได้ง่าย ซึ่งสามารถปรับให้เป็นตัวเอนได้
- อักษรมูล (อ่านว่า โมล) (เขมร: អក្សរមូល) เป็นอักษรในลักษณะตัวโค้งมน ใช้สำหรับขึ้นต้นหัวเรื่องในเอกสาร หนังสือ ป้ายประกาศ ป้ายร้านค้า โทรทัศน์ และการเขียนบทสวดมนต์ทางศาสนา บางครั้งใช้เขียนพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ในขณะที่ข้อความรอบข้างใช้ตัวหนังสือธรรมดา (อักษรเชฺรียง-ฌร) พยัญชนะโดดและพยัญชนะซ้อนหลายตัวของอักษรแบบนี้ จะมีรูปแบบที่ต่างออกไปจากอักขรวิธีมาตรฐาน
- อักษรขอม (เขมร: អក្សរខម หรือ អក្សរខំ) เป็นลักษณะที่ต่างจากอักษรมูลเล็กน้อย ดูเพิ่มที่ อักษรขอม
-
อักษรเชฺรียง
-
อักษรฌร
-
อักษรขอม
-
อักษรมูล
ยูนิโคด
แก้ในยูนิโคด อักษรเขมรมีช่วงหลักที่ U+1780–U+17FF และมีสัญลักษณ์เกี่ยวกับวันที่ทางจันทรคติในช่วง U+19E0–U+19FF
เขมร Unicode.org chart (PDF) | ||||||||||||||||
0 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | A | B | C | D | E | F | |
U+178x | ក | ខ | គ | ឃ | ង | ច | ឆ | ជ | ឈ | ញ | ដ | ឋ | ឌ | ឍ | ណ | ត |
U+179x | ថ | ទ | ធ | ន | ប | ផ | ព | ភ | ម | យ | រ | ល | វ | ឝ | ឞ | ស |
U+17Ax | ហ | ឡ | អ | ឣ | ឤ | ឥ | ឦ | ឧ | ឨ | ឩ | ឪ | ឫ | ឬ | ឭ | ឮ | ឯ |
U+17Bx | ឰ | ឱ | ឲ | ឳ | ឴ | ឵ | ា | ិ | ី | ឹ | ឺ | ុ | ូ | ួ | ើ | ឿ |
U+17Cx | ៀ | េ | ែ | ៃ | ោ | ៅ | ំ | ះ | ៈ | ៉ | ៊ | ់ | ៌ | ៍ | ៎ | ៏ |
U+17Dx | ័ | ៑ | ្ | ៓ | ។ | ៕ | ៖ | ៗ | ៘ | ៙ | ៚ | ៛ | ៜ | ៝ | ||
U+17Ex | ០ | ១ | ២ | ៣ | ៤ | ៥ | ៦ | ៧ | ៨ | ៩ | ||||||
U+17Fx | ៰ | ៱ | ៲ | ៳ | ៴ | ៵ | ៶ | ៷ | ៸ | ៹ |
เขมร สัญลักษณ์ Unicode.org chart (PDF) | ||||||||||||||||
0 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | A | B | C | D | E | F | |
U+19Ex | ᧠ | ᧡ | ᧢ | ᧣ | ᧤ | ᧥ | ᧦ | ᧧ | ᧨ | ᧩ | ᧪ | ᧫ | ᧬ | ᧭ | ᧮ | ᧯ |
U+19Fx | ᧰ | ᧱ | ᧲ | ᧳ | ᧴ | ᧵ | ᧶ | ᧷ | ᧸ | ᧹ | ᧺ | ᧻ | ᧼ | ᧽ | ᧾ | ᧿ |
อ้างอิง
แก้- ↑ Herbert, Patricia; Anthony Crothers Milner (1989). South-East Asia: languages and literatures : a select guide. University of Hawaii Press. pp. 51–52. ISBN 0-8248-1267-0.
- ↑ "Constitution of the Kingdom of Cambodia". Office of the Council of Ministers. អង្គភាពព័ត៌មាន និងប្រតិកម្មរហ័ស. สืบค้นเมื่อ 26 September 2020.
- ↑ Punnee Soonthornpoct: From Freedom to Hell: A History of Foreign Interventions in Cambodian Politics And Wars. Page 29. Vantage Press.
- ↑ Handbook of Literacy in Akshara Orthography, R. Malatesha Joshi, Catherine McBride(2019), p.28
- ↑ Russell R. Ross: Cambodia: A Country Study. Page 112. Library of Congress, USA, Federal Research Division, 1990.
- ↑ Lowman, Ian Nathaniel (2011). The Descendants of Kambu: The Political Imagination of Angkorian Cambodia (วิทยานิพนธ์). UC Berkeley.
- ↑ Angkor: A Living Museum, 2002, p. 39
- ↑ Jensen, Hans (1970). Sign, symbol and script: an account of man's efforts to write. p. 392.
- ↑ วิโรจน์ ผดุงสุนทรารักษ์. (2547). อักษรไทยและอักษรขอมไทย THAI SCRIPTS & KHMER SCRIPTS FL348. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง. หน้า 137. ISBN 974-9676-23-8
- ↑ 10.0 10.1 ศานติ ภักดีคำ. (2562). "อักษรขอมกับเอกสารตัวเขียนสมัยรัตนโกสินทร์," แลหลังคำเขมร-ไทย. กรุงเทพฯ: มติชน. หน้า 125–126. ISBN 978-974-02-1687-2
- "เขมรได้รับเอาอักษรขอมหวัด (ตัวเกษียน) สมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้นไปปรับใช้เป็นอักษรเขมรแบบใหม่ที่เรียกว่า อักษรเชรียง (คืออักษรเขมรปัจจุบัน) แต่ว่ามีรูปพยัญชนะแปลก ไปจากอักษรขอมอื่น ๔ ตัว คือ ง ท น ฬ และใช้อักษร อ เป็น ทุ่นแทนสระลอยในบางคำ"
- "อักษรเชรียงนี้สมเด็จพระสุคนธาธิบดี (ปัญญาสีโล ปาน) สมเด็จพระสังฆราชฝ่ายธรรมยุติกนิกาย วัดปทุมวดี กรุงพนมเปญ เป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ราว พ.ศ. ๒๔๓๐ ในรัชกาลสมเด็จพระนโรดม เพื่อใช้พิมพ์และเขียนภาษาเขมร"
- ↑ ศานติ ภักดีคำ. (2545). เขมรรบไทย. กรุงเทพฯ: มติชน. หน้า 33 เชิงอถรรถ ๑๙. ISBN 978-974-02-0810-5
- ↑ ประยูร ทรงศิลป์. (2526). การเปลี่ยนแปลงของภาษา: คำยืมในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครูธนบุรี. หน้า 129.
- ↑ กตัญญู ชูชื่น. (2525). ภาษาเขมรในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช. หน้า 17. ISBN 978-974-0-75178-6
- ↑ "MoolBoran font family". Microsoft Corp. 20 October 2017.
- ↑ "DaunPenh font family". Microsoft Corp. 20 October 2017.
- ↑ วิไลศักดิ์ กิ่งคำ (2007). ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ISBN 978-974-9934-31-9.
- ↑ "Unicode Character 'KHMER SIGN AHSDA' (U+17CF)". Fileformat.info.
- ↑ "Unicode Character 'KHMER SIGN BATHAMASAT' (U+17D3)". Fileformat.info.