ฟองมัน หรือ ตาไก่ (๏) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนที่นิยมใช้ในหนังสือไทยสมัยโบราณ ใช้เมื่อขึ้นต้นบท ตอน หรือเรื่อง ทั้งคำประพันธ์ร้อยกรองและร้อยแก้ว โดยไม่จำเป็นต้องย่อหน้าหรือขึ้นบรรทัดใหม่ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้นิยมใช้ฟองมันเมื่อขึ้นต้นบทร้อยกรองเท่านั้น

อักษรไทย
รูปพยัญชนะ
รูปสระ
–ั –ํ –ิ ' "
–ุ –ู –็
ฤๅ ฦๅ
รูปวรรณยุกต์
–่ –้ –๊ –๋
เครื่องหมายอื่น ๆ
–์ –๎ –ฺ
เครื่องหมายวรรคตอน
ฯลฯ
ฟองมัน
วรรคตอน
อะพอสทรอฟี   '
วงเล็บ [ ]  ( )  { }  ⟨ ⟩
ทวิภาค :
จุลภาค ,  ،  
จุดไข่ปลา   ...  . . .      
อัศเจรีย์  !
มหัพภาค .
กิลเลอเมต ‹ ›  « »
ยัติภังค์ -
ยัติภาค   
ปรัศนี  ?
อัญประกาศ ‘ ’  “ ”  ' '  " "
อัฒภาค ;
ทับ /    
ตัวแบ่งคำ
อินเตอร์พังก์ ·
เว้นวรรค     
การพิมพ์ทั่วไป
แอมเพอร์แซนด์ &
ดอกจัน *
แอต @
แบ็กสแลช \
เบสิสพอยต์
บุลเลต
แคเรต ^
แดกเกอร์ † ‡ ⹋
องศา °
บุพสัญญา ” 〃
ดับเบิลไฮเฟน = ⸗
อัศเจรีย์กลับหัว ¡
ปรัศนีกลับหัว ¿
เครื่องหมายอ้างอิง
เครื่องหมายคูณ ×
นัมเบอร์, แฮชแท็ก #
นูเมอโร
ออเบอลุส ÷
ตัวบอกลำดับ º ª
สัญลักษณ์ร้อยละ (เปอร์เซ็นต์)  %
สัญลักษณ์พันละ (เปอร์มิลล์)
พิลโครว์
บวกและลบ + −
บวกหรือลบ ± ∓
ไพรม์     
เซกชัน §
ทิลเดอ, ตัวหนอน ~
อันเดอร์สกอร์ _
เส้นตั้ง |    ¦
ทรัพย์สินทางปัญญา
ลิขสิทธิ์ ©
กอปปีเลฟต์ 🄯
ลิขสิทธิ์การอัดเสียง
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน ®
เซอร์วิสมาร์ก
เครื่องหมายการค้า
สกุลเงิน
เครื่องหมายสัญลักษณ์สกุลเงิน ¤

؋฿¢$֏ƒ£元 圆 圓 ¥

การพิมพ์เฉพาะทาง
แอสเทอริซึม
ฟลอวรอน
ดัชนี
อินเทอร์รอแบง
วรรคตอนไอเรอนี
ลอซินจ์
ไท
ที่เกี่ยวข้อง
ในภาษาอื่น ๆ
ในภาษาไทย
โคมูตร
ตีนครุ
ไปยาลน้อย
ไปยาลใหญ่ ฯลฯ
ฟองมัน
ไม้ยมก
อังคั่น , ฯะ, , ๚ะ
๏ เดือนสิบเอ็ดเสร็จธุระพระวสา
รับกฐินภิญโญโมทนา
ชุลีลาลงเรือเหลืออาลัย
จาก นิราศภูเขาทอง

นอกจากเครื่องหมายฟองมันที่เป็นรูปวงกลมแล้ว ในสมัยโบราณยังนิยมใช้เครื่องหมาย ฟองมันฟันหนู ( ๏) นั่นคือ มีเครื่องหมาย ฟันหนู (") วางอยู่บนฟองมัน ใช้กำกับเมื่อจะขึ้นต้นบท หรือตอน โดยมีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น ฟันหนูฟองมัน หรือ ฝนทองฟองมัน บางแห่งใช้เครื่องหมายวงกลมเล็ก ( ๐) มีฟันหนูวางอยู่ข้างบน เรียกว่า ฟองดัน ก็มี

รูปแบบ

แก้

เครื่องหมายฟองมันที่พบทั้งหมด มี 3 แบบ คือ[1]

  • วงกลมวงเดียว
  • วงกลม 2 วงซ้อนกัน
  • วงกลมและมีจุดตรงกลาง

แบบแรกพบในสมัยสุโขทัย สองแบบหลังพบในสมัยอยุธยา ส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์พบทั้ง 3 แบบ ในสมัยสุโขทัยจะมีการเขียนอักษรอยู่ 2 ลักษณะ คือ เขียนเรียงต่อไปจนจบเรื่องโดยไม่มีการเว้นวรรค หรือ มีการเว้นวรรคควบคู่กับการใช้เครื่องหมายฟองมัน ศิลาจารึกที่พบว่ามีการใช้เครื่องหมายเหล่านี้ อาทิ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (ด้านที่ 3 และ 4), ศิลาจารึกวังชิ้น, ศิลาจารึกนครชุม, ศิลาจารึกเขาสุมณกูฏ, ศิลาจารึกวัดช้างล้อม, ศิลาจารึกวัดลำปางหลวง การใช้ฟองมันสมัยสุโขทัยมีดังนี้

  • ใช้คั่นข้อความต่างภาษากัน เช่น ขึ้นต้นภาษาบาลีพอจะแปลเป็นภาษาไทยก็ใช้ฟองมันคั่นไว้ หรือเมื่อจบภาษาไทยจะขึ้นภาษาบาลีก็คั่นข้อความไว้
  • ใช้นำหน้าข้อความตอนใหม่ คือเขียนติดกันไปเรื่อย ๆ เมื่อขึ้นความตอนใหม่ก็คั่นด้วยฟองมัน แล้วเขียนต่อเลย ไม่ขึ้นบรรทัดใหม่หรือย่อหน้าใหม่
  • ใช้นำหน้าข้อความที่เป็นกฎหมายแต่ละมาตรา โดยจะใช้ฟองมันคั่นข้อความแล้วตามด้วยมาตรา เช่น "...ไว้กลางเมือง ๐ มาตราหนึ่ง..."
  • ใช้นำหน้าข้อความที่กล่าวถึงศักราช เช่น "...สรรพานตราย ๐ สักราชแก่พระเจ้า..."
  • ใช้นำหน้ารายการต่าง ๆ เพื่อแยกออกเป็นส่วน ๆ เช่น "...๐ จรามขันอันหนึ่ง ๐ ฟูก้อนหนึ่ง ๐ หมอนอันหนึ่ง ๐ บังงาอันหนึ่ง ๐ ...."
  • ใช้แยกคำที่มีรูปเดียวกันและอยู่ชิดกัน เช่น "...ญิบหมื่นสี่พันหกสิบเดือน ๐ เดือนอันพระได้เป็นพระพุท..."
  • ใช้แยกอักษรซึ่งมีรูปเดียวกันและอยู่ชิดกัน เช่น "...กระทำบุนยธรรมบ่ขาดสักเมื่อ ๐ อยู่ในสองแควได้เจ็ดเข้า..."

ในสมัยอยุธยามีการเพิ่มการใช้สำหรับเริ่มเรื่องขึ้นมา และสมัยต้นรัตนโกสินทร์ใช้สำหรับนำหน้าข้อย่อยแต่ละข้อเพิ่มขึ้น ชื่ออื่นที่ปรากฏในเอกสารเก่านอกจากฟองมันแล้วมี ฟองมัณฑ์ ฟองมันท์ ฟองดัน ตาไก่ ตานกแก้ว[2]

ฟองมันไม่มีปรากฏบนแป้นพิมพ์ภาษาไทย แต่มีอยู่ในรหัสอักขระ TIS 620 ที่ 0xEF (239) และรหัสยูนิโคดที่ U+0E4F [3]

ฟองมันในภาษาอื่น

แก้

ภาษาอื่นที่ใช้ฟองมันคือภาษาเขมร () มีชื่อเรียกว่า กุกฺกุฎเนตฺร (เขมร: កុក្កុដនេត្រ) หรือ แภนฺกมาน่ (เขมร: ភ្នែក​មាន់) ซึ่งแปลว่า ตาไก่ ใช้เมื่อขึ้นต้นบทเหมือนกับภาษาไทย ปัจจุบันใช้น้อย

อ้างอิง

แก้
  1. กอบกุล ถาวรานนท์ (2521). "บทที่ 2 ประวัติความเป็นมาของการเว้นวรรค". การเว้นวรรคในการเขียนหนังสือไทย (PDF) (อ.ม.). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2562. {{cite thesis}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. นิยะดา เหล่าสุนทร (2552). วัตนาการของแบบเรียนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ลายคำ. ISBN 9789746438452.
  3. Unicode chart: Range 0E00–0E7F
  • หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ หลักเกณฑ์การเว้นวรรค หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ. ราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 5 (แก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ. 2533.