ตีนครุ หรือ ตีนกา (┼) คือเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่งของไทยในสมัยโบราณ มีลักษณะคล้ายเครื่องหมายบวกแต่ใหญ่กว่า ใช้สำหรับบอกจำนวนเงินตรา โดยใช้ตัวเลขกำกับไว้ 6 ตำแหน่งบนเครื่องหมาย ได้แก่ เหนือเส้นตั้งคือชั่ง มุมบนซ้ายคือตำลึง มุมบนขวาคือบาท มุมล่างขวาคือสลึง มุมล่างซ้ายคือเฟื้อง และใต้เส้นตั้งคือไพ วิธีอ่านจะอ่านจาก ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง ไพ ตามลำดับ

อักษรไทย
รูปพยัญชนะ
รูปสระ
–ั –ํ –ิ ' "
–ุ –ู –็
ฤๅ ฦๅ
รูปวรรณยุกต์
–่ –้ –๊ –๋
เครื่องหมายอื่น ๆ
–์ –๎ –ฺ
เครื่องหมายวรรคตอน
ฯลฯ
ชั่ง
ตำลึง บาท
เฟื้อง สลึง
ไพ

จากรูปตัวอย่าง สามารถอ่านจำนวนเงินได้เท่ากับ 2 ชั่ง 4 ตำลึง 3 บาท 2 สลึง 1 เฟื้อง 2 ไพ

สำหรับจำนวนเงินที่มีเฉพาะ ตำลึง บาท สลึง หรือเฟื้อง สามารถเขียนย่อให้เหลือเพียงมุมใดมุมหนึ่งได้ เช่น

หมายถึงจำนวนเงิน 3 สลึง เป็นต้น

หมายเหตุ : ปัจจุบันนี้แพทย์แผนโบราณใช้เครื่องหมายนี้เป็นมาตราชั่งเฉพาะที่เกี่ยวกับเครื่องยาเท่านั้น


อ้างอิง แก้

  • "ตีนกา๒, ตีนครุ". palungjit.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2012.