พินทุ (◌ฺ) มีลักษณะคล้ายจุด ใช้เติมใต้พยัญชนะ เพื่อใช้ระบุอักษรนำหรืออักษรควบกล้ำ ในการเขียนคำอ่านของคำในภาษาไทย เช่น สุเหร่า อ่านว่า สุ-เหฺร่า, ปรากฏ อ่านว่า ปฺรา-กด เป็นต้น

อักษรไทย
-ฺ
รูปพยัญชนะ
รูปสระ
–ั –ํ –ิ ' "
–ุ –ู –็
ฤๅ ฦๅ
รูปวรรณยุกต์
–่ –้ –๊ –๋
เครื่องหมายอื่น ๆ
–์ –๎ –ฺ
เครื่องหมายวรรคตอน
ฯลฯ

ในการเขียนภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตด้วยอักษรไทย จะเติมพินทุไว้ที่พยัญชนะสะกดของคำ เช่น ธมฺมา (ทัม-มา) อญฺชลี (อัน-ชะ-ลี) และเติมที่อักษรนำหรืออักษรควบกล้ำ เช่น สฺวากฺขาโต (สะ-หวาก-ขา-โต) เชตฺวา (เช-ตะ-วา) ในการแยกแยะว่าพินทุใดใส่เพื่อพยัญชนะสะกดหรืออักษรนำ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้อ่าน เนื่องจากคำที่ใช้พินทุสำหรับอักษรนำนั้นมีอยู่น้อยคำ

ในการเขียนคำทับศัพท์อาหรับด้วยอักษรไทย จะเติมพินทุไว้ที่พยัญชนะเพื่อเน้นว่า พยัญชนะต้องออกเสียงเสมือนว่าเป็นอักษรนำ เช่น อะบูบักรฺ (อะ-บู-บัก-ร) และ อัลลอฮฺ (อัล-ลอ-ฮฺ)