ลากข้าง (า) ใช้เป็นสระ อา เมื่ออยู่หลังพยัญชนะต้น ​และใช้ประสมสระ เอาะ อำ และ เอา

อักษรไทย
รูปพยัญชนะ
รูปสระ
–ั –ํ –ิ ' "
–ุ –ู –็
ฤๅ ฦๅ
รูปวรรณยุกต์
–่ –้ –๊ –๋
เครื่องหมายอื่น ๆ
–์ –๎ –ฺ
เครื่องหมายวรรคตอน
ฯลฯ

สำหรับรูปสระที่ประกอบใน ฤๅ และ ฦๅ จะเรียกว่า ลากข้างยาว (ๅ)[1] แต่ไม่ถือเป็นรูปสระอย่างโดดๆ เนื่องจาก ฤๅ และ ฦๅ เป็นรูปสระในตัวเองอยู่แล้ว ในแป้นพิมพ์ภาษาไทย ลากข้างยาว อยู่บนปุ่มเดียวกับเลข "1" (จะพิมพ์ได้เฉพาะหลัง ฤ และ ฦ เท่านั้น)

การประสมรูป

แก้
การประสมรูป ปรากฏ ใช้เป็นสระ สัทอักษรสากล
(พยัญชนะต้น) + ลากข้าง –า อา /aː/
(พยัญชนะต้น) + นิคหิต + ลากข้าง –ำ อำ /am/, /aːm/
ไม้หน้า + (พยัญชนะต้น) + ลากข้าง เ–า เอา /aw/, /aːw/
ไม้หน้า + (พยัญชนะต้น) + ลากข้าง + วิสรรชนีย์ เ–าะ เอาะ (ไม่มีตัวสะกด) /ɔʔ/

เชิงอรรถ

แก้
  1. "ลากข้างยาว" เป็นชื่อที่ปรากฏใน TIS-620 และยูนิโคด ภาษาไทยไม่มีการเรียกรูปอักษรตัวนี้