(เรือ) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 35 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก (ยักษ์) และก่อนหน้า (ลิง) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ร เรือ”

อักษรไทย
รูปพยัญชนะ
รูปสระ
–ั –ํ –ิ ' "
–ุ –ู –็
ฤๅ ฦๅ
รูปวรรณยุกต์
–่ –้ –๊ –๋
เครื่องหมายอื่น ๆ
–์ –๎ –ฺ
เครื่องหมายวรรคตอน
ฯลฯ

อักษร ร เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /r/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /n/

ร ที่เป็นพยัญชนะสะกดซึ่งตามหลังสระ ออ จะไม่ปรากฏตัวออ ให้ใช้ ร ต่อท้ายพยัญชนะต้นไปได้เลย เช่น กร (กอน) พร (พอน) ละคร (ละ-คอน) เป็นต้น

เสียง

แก้

อักษร "ร" ตรงกับตัวเทวนาครี "र" ภาษามคธและภาษาสันสฤกตเป็นเสียงเปิดลิ้นม้วน [ɻ] แต่ปัจจุบันภาษาฮินดีกลายเป็นเสียงกระดกลิ้นปุ่มเหงือก [ɾ]

ร หัน

แก้

คำไทยบางคำที่ยืมมาจากภาษาเขมรและภาษาสันสกฤต จะมี ร ซ้อนกันสองตัวเรียกว่า ร หัน (รร) เมื่อตามหลังพยัญชนะต้นจะออกเสียงคล้ายมีสระ อะ และสะกดด้วยแม่กนหรือพยัญชนะตัวถัดไป เช่น บรรพชา (บัน-พะ-ชา) สรรพ (สับ) ธรรมะ (ทัม-มะ) เป็นต้น โดยมีหลัก หรือความนิยมในการใช้ ร หัน ดังนี้

  1. ใช้ในคำแผลงที่แผลงมาจาก ประ คระ กระ เช่น บรรทม บรรจุ ครรไล บรรจง กรรชิง
  2. ใช้ในคำแผลงที่แผลงมาจากคำที่มีตัวสะกดเป็นอย่างอื่น เช่น ภรรยา (บาลี ภริยา, สันสกฤต ภารยา) มรรค (บาลี มคฺค, สันสกฤต มารฺค) บรรยาย บรรษัท ฯลฯ
  3. ใช้เขียนคำที่รับมาจากภาษาสันสกฤต ซึ่งมีรูปศัพท์เดิม เป็น ร เรผะ เช่น กรรม (กรฺม) ธรรม (ธรฺม) วรรค (วรฺค) ฯลฯ