ไม้หันอากาศ, ไม้ผัด หรือ หางกังหัน[1] (–ั) ใช้เป็นสระอะลดรูปเมื่อมีพยัญชนะสะกด และใช้ประสมสระ อัวะ และ อัว

อักษรไทย
◌ั
รูปพยัญชนะ
รูปสระ
–ั –ํ –ิ ' "
–ุ –ู –็
ฤๅ ฦๅ
รูปวรรณยุกต์
–่ –้ –๊ –๋
เครื่องหมายอื่น ๆ
–์ –๎ –ฺ
เครื่องหมายวรรคตอน
ฯลฯ

แต่เดิมในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมิได้ใช้ไม้หันอากาศหรือสัญลักษณ์อื่น เมื่อต้องการสะกดสระอะที่มีพยัญชนะสะกด จะซ้อนพยัญชนะสะกดเข้าไปอีกตัวหนึ่งเช่น มนน อ่านว่า มัน, ท๋งง อ่านว่า ทั้ง รวมไปถึงสระอัวก็ใช้ ว ซ้อนสองตัวเช่น หวว อ่านว่า หัว, ตวว อ่านว่า ตัว [2] ไม้หันอากาศเริ่มปรากฏใช้ในจารึกหลักที่ 5 ในรัชสมัยพระยาลิไท เมื่อ พ.ศ. 1904 [3]

การประสมรูป

แก้
การประสมรูป ปรากฏ ใช้เป็นสระ สัทอักษรสากล
(พยัญชนะต้น) + ไม้หันอากาศ + (พยัญชนะสะกด) –ั– อะ (มีตัวสะกด) /a/
(พยัญชนะต้น) + ไม้หันอากาศ + ตัววอ –ัว อัว (ไม่มีตัวสะกด) /ua/
(พยัญชนะต้น) + ไม้หันอากาศ + ตัววอ + วิสรรชนีย์ –ัวะ อัวะ /uaʔ/

อ้างอิง

แก้
  1. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ เก็บถาวร 2009-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (สืบค้นออนไลน์)
  2. "ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ด้านที่ 1 ถอดเป็นตัวอักษรไทยปัจจุบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-19. สืบค้นเมื่อ 2011-03-30.
  3. จารึกภาพชาดกวัดศรีชุม (อัตถัสสทวารชาดก)[ลิงก์เสีย]