พินทุ์อิ (–ิ) ใช้เป็นสระ อิ เมื่ออยู่เหนือพยัญชนะต้น ใช้ประสมสระ เออ เปลี่ยนรูปเมื่อมีพยัญชนะสะกด เช่น เกิด และใช้ประสมสระ อี อึ อือ เอียะ เอีย เอือะ และ เอือ

อักษรไทย
–ิ
รูปพยัญชนะ
รูปสระ
–ั –ํ –ิ ' "
–ุ –ู –็
ฤๅ ฦๅ
รูปวรรณยุกต์
–่ –้ –๊ –๋
เครื่องหมายอื่น ๆ
–์ –๎ –ฺ
เครื่องหมายวรรคตอน
ฯลฯ

การประสมรูป แก้

การประสมรูป ปรากฏ ใช้เป็นสระ สัทอักษรสากล
(พยัญชนะต้น) + พินทุ์อิ –ิ อิ /iʔ/, /i/
(พยัญชนะต้น) + พินทุ์อิ + ฝนทอง –ี อี /iː/
(พยัญชนะต้น) + พินทุ์อิ + นิคหิต –ึ อึ /ɯʔ/, /ɯ/
(พยัญชนะต้น) + พินทุ์อิ + ฟันหนู + (พยัญชนะสะกด) –ื– อือ (มีตัวสะกด) /ɯː/
(พยัญชนะต้น) + พินทุ์อิ + ฟันหนู + ตัวออ –ือ อือ (ไม่มีตัวสะกด) /ɯː/
ไม้หน้า + (พยัญชนะต้น) + พินทุ์อิ + (พยัญชนะสะกด) เ–ิ– เออะ1, เออ (มีตัวสะกด) /ɤ/1, /ɤː/
ไม้หน้า + (พยัญชนะต้น) + สระอี + ตัวยอ เ–ีย เอีย /iaː/
ไม้หน้า + (พยัญชนะต้น) + สระอี + ตัวยอ + วิสรรชนีย์ เ–ียะ เอียะ /iaʔ/
ไม้หน้า + (พยัญชนะต้น) + สระอือ + ตัวออ เ–ือ เอือ /ɯaː/
ไม้หน้า + (พยัญชนะต้น) + สระอือ + ตัวออ + วิสรรชนีย์ เ–ือะ เอือะ /ɯaʔ/
  1. เ–ิ– บางครั้งก็ออกเสียงเป็น เออะ เช่นคำว่า เงิน เปิ่น เกริ่น