ก
ก เป็นพยัญชนะตัวที่ 1 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับก่อนหน้า ข จัดอยู่ในกลุ่มอักษรกลางในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า "ก ไก่"
อักษรไทย | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ก | |||||||
รูปพยัญชนะ | |||||||
ก | ข | ฃ | ค | ฅ | ฆ | ง | จ |
ฉ | ช | ซ | ฌ | ญ | ฎ | ฏ | ฐ |
ฑ | ฒ | ณ | ด | ต | ถ | ท | ธ |
น | บ | ป | ผ | ฝ | พ | ฟ | ภ |
ม | ย | ร | ล | ว | ศ | ษ | ส |
ห | ฬ | อ | ฮ | ||||
รูปสระ | |||||||
ะ | –ั | า | –ํ | –ิ | ' | " | |
–ุ | –ู | เ | โ | ใ | ไ | –็ | |
อ | ว | ย | ฤ | ฤๅ | ฦ | ฦๅ | |
รูปวรรณยุกต์ | |||||||
–่ | –้ | –๊ | –๋ | ||||
เครื่องหมายอื่น ๆ | |||||||
–์ | –๎ | –ฺ | |||||
เครื่องหมายวรรคตอน | |||||||
ฯ | ฯลฯ | ๆ | |||||
๏ | ๚ | ๛ | ┼ |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
อักษร ก เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น แทนเสียง [k] และพยัญชนะสะกด แทนเสียง [k̚] เมื่อเป็นพยัญชนะต้น สามารถควบกับอักษร ร ล ว ได้ เมื่อเป็นตัวสะกด นับเป็นตัวสะกดแม่กก และนับเป็นตัวแทนของตัวสะกดแม่กกด้วย ในหนังสือโบราณ มีการใช้ "ก หัน" คือ อักษร ก สองตัว แทนไม้หันอากาศและตัว ก สะกด ดังนี้ รกก (รัก), หกก (หัก)
อักษร ก นี้ เทียบได้กับอักษรในระบบอักษรอื่น ๆ ของอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายระบบ เช่น ระบบอักษรเทวนาครี ระบบอักษรมอญพม่า ระบบอักษรขอม เป็นต้น โดยอักษร ก ถือเป็นพยัญชนะตัวแรกเสมอ
ก เพียงตัวเดียวแล้วเติมไม้ไต่คู้ โดยไม่มีสระ สามารถเป็นคำได้หนึ่งคำ คือ ก็ (อ่านว่า เก้าะ) เป็นคำสันธานแปลว่า แล้ว, จึง, ย่อม
ประวัติ
แก้ก ไก่ เป็นพยัญชนะตัวแรกในประวัติศาสตร์ไทย ที่เชื่อกันว่าดัดแปลงมาจากอักษรปัลลวะของอินเดีย แต่เดิมมีรูปอักษร แต่ไม่มีคำกำกับ เพิ่งมาก่อรูปเมื่อสมัยรัชกาลที่ 3 ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 4 จึงเริ่มมีคำกำกับ ก ไก่ ข ไข่ สำหรับให้นักเรียนท่องครบทั้ง 44 ตัว
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เสียง
แก้ลักษณะเสียงทางสัทศาสตร์ จัดเป็นเสียงกัก อโฆษะ (ไม่ก้อง) มีแหล่งกำเนิดเสียงที่โคนลิ้นและเพดานอ่อน สัญลักษณ์แทนเสียงด้วยสัทอักษรสากล คือ /k/
ในตำราภาษาไทยแต่เดิม ถือว่า ก นั้นเป็นพยัญชนะวรรค กะ เรียกว่า กัณฐชะ คือ มีฐานเสียงจากคอ หรือเสียงลงคอ และอยู่ในกลุ่มอโฆษะ ธนิต (เสียงไม่ก้อง ลมน้อย)
ในภาษาถิ่นบางถิ่น เช่น ภาษาถิ่นย่อยของภาษาผู้ไท หรือภาษาไทยถิ่นใต้ ไม่ออกเสียง /ก/ เมื่อเป็นตัวสะกดในพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เช่น โลก, ลูก, แยก
การเขียน
แก้การเขียนอักษร ก ในหนังสือไทย นิยมเริ่มจากด้านล่าง ชิดเส้นบรรทัด ลากขึ้นไปข้างบน วกด้านขวาเล็กน้อย แล้ววกออกซ้าย จากนั้นโค้งขึ้นข้างบน แล้วลดลงไปด้านขวา จากนั้นลากตรงลงด้านลง ขนานกับเส้นที่ลากขึ้นตอนแรก จากนั้นลากลงไปชิดกับเส้นบรรทัด ในแนวเดียวกับจุดเริ่ม (ดูภาพประกอบ)
อ้างอิง
แก้- จินดามณี ฉบับหมอบลัดเล. กรุงเทพฯ : โฆษิต,