ยามักการ หรือ ยามักการ์ (◌๎) มีลักษณะคล้ายเลขอารบิก 3 ที่กลับด้าน (Ɛ) ใช้เติมเหนือพยัญชนะ ที่ต้องการระบุว่าพยัญชนะใดเป็นอักษรนำ หรืออักษรควบกล้ำ เช่น ส๎วากฺขาโต (สะ-หฺวาก-ขา-โต) พ๎ราห๎มณ (พฺราม-มะ-นะ)

อักษรไทย
-๎
รูปพยัญชนะ
รูปสระ
–ั –ํ –ิ ' "
–ุ –ู –็
ฤๅ ฦๅ
รูปวรรณยุกต์
–่ –้ –๊ –๋
เครื่องหมายอื่น ๆ
–์ –๎ –ฺ
เครื่องหมายวรรคตอน
ฯลฯ

ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายทัณฑฆาต (◌์) แต่ยังสามารถพบได้ในหนังสือมนต์พิธี (หนังสือสวดมนต์) ตำราเรียนเก่า ๆ หรือการทับศัพท์ภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยของบางสำนักพิมพ์

การใช้ยามักการ แก้

ใช้เพื่อแสดงว่าพยัญชนะนี้เป็นพยัญชนะซ้อน แก้

พยัญชนะซ้อน คือ พยัญชนะที่จะออกเสียงพยัญชนะตัวหน้าเป็นเสียง อะ เพียงเล็กน้อย แล้วเสียงตัวหลังเต็มเสียง เช่น คำว่า เขม่า จะถูกเขียนเป็น เข๎ม่า เพราะมันอ่านว่า ขะ (เปล่งเสียงอะออกมาเพียงเล็กน้อย) - เหม่า เพื่อแสดงว่ามันเป็นพยัญชนะซ้อน คำที่ปรากฏการใช้พยัญชนะซ้อนมีอยู่มากมาย ยกตัวอย่างเช่น

  • เข๎ม่า
  • แส๎ม
  • ผ๎กา
  • ส๎นาม ที่ต้องใส่เพราะว่าคำว่า นาม มันอ่านว่า หนาม ตามอักษรข้างหน้า ถ้าเกิดเขียนว่า สนาม จะอ่านว่า สะ-นาม
  • ส๎นม (ถ้าไม่ใส่ยามักการจะอ่านว่า สะ-นม)
  • จ๎วัก (ที่เขียนว่า จ๎วัก นั้น เพราะว่าเราจะมองว่าพยัญชนะกลุ่มนี้ ถือเป็นพยัญชนะอักษร สูง กลาง ต่ำ ตามพยัญชนะตัวหน้า ถ้าคำๆนี้ไม่ใส่ยามักการ จะอ่านว่า จะ-วัก แต่มันอ่านว่า จะ-หวัก จึงต้องใส่ยามักการเพื่อให้เสียงสระของพยางค์เป็นตามเสียงตัวพยัญชนะหน้า)
  • เก๎ษียณ (ถ้าไม่ใส่ยามักการจะอ่านว่า เก-สี-ยน)
  • เก๎ษตร

คำบางคำอาจไม่ต้องใส่ก็ได้ เช่น สดับ อาจเขียนเป็น ส๎ดับ ก็ได้ แต่ไม่นิยมเขียน

ใช้เพื่อแสดงพยัญชนะ ห นำ หรือ อ นำ แก้

เช่น ห๎มา ห๎นาม ห๎วู โห๎วงเห๎วง แห๎งน อ๎ย่า อ๎ยู่ อ๎ย่าง อ๎ยาก เป็นต้น