(มณโฑ) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 17 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก (ฐาน) และก่อนหน้า (ผู้เฒ่า) ออกเสียงอย่าง ท (ทหาร) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ฑ มณโฑ” (บางคนก็เรียกว่า ฑ นางมณโฑ)

อักษรไทย
รูปพยัญชนะ
รูปสระ
–ั –ํ –ิ ' "
–ุ –ู –็
ฤๅ ฦๅ
รูปวรรณยุกต์
–่ –้ –๊ –๋
เครื่องหมายอื่น ๆ
–์ –๎ –ฺ
เครื่องหมายวรรคตอน
ฯลฯ

ปัจจุบันมีคำที่ขึ้นต้นด้วย ฑ อยู่น้อยคำ ได้แก่ ฑังส, ฑาก, ฑาหก, ฑาหะ นอกเหนือจากนั้นใช้ประกอบกับคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต

ประวัติ

แก้

พยัญชนะไทยที่ปรากฏในจารึกหลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง มีจํานวน 39 ตัว ไม่ปรากฏตัว ฑ ในสมัยอยุธยาพบตัวอักษร ฑ ครั้งแรกในสมุดไทยเรื่อง นันโทปนันทสูตรคำหลวง ซึ่งแต่งขึ้นใน พ.ศ. 2279 ในสมุดไทยนี้พบคำว่า กุมภัณฑาสูร บัณฑรหัศดินทร กรัณฑ มณฑล โกณฑัญ มุณฑก บัณฑุกําพล และ สัต์ตบริภัณฑ ในลักษณะอักษรไทยย่อ[1]

เสียงอ่าน

แก้

อักษร "ฑ" ตรงกับตัวเทวนาครี "ड" ในภาษาบาลีสันสกฤตเป็นเสียง "ด" ที่ม้วนลิ้น /ɖ/

แต่สำหรับภาษาไทยกลางและไทยใต้ โดยทั่วไปเมื่อ ฑ เป็นพยัญชนะต้นจะออกเสียง "ท" /tʰ/ แต่ก็มีบางคำที่ออกเสียง "ด" /d/ คล้ายเสียงดั้งเดิมในภาษาบาลีสันสกฤต /ɖ/ หลักเกณฑ์เดิมของ กำชัย ทองหล่อ ได้ระบุไว้ในหนังสือ หลักภาษาไทย (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2495) ว่าให้ออกเสียงเป็น ด เมื่อเป็นคำตาย [2] แต่ถึงกระนั้นในปัจจุบัน คำเป็นบางคำก็ออกเสียง ด และในทางตรงข้าม คำตายหลายคำก็ออกเสียง ท อีกด้วย

รายชื่อคำที่ ฑ ออกเสียง ด มีดังต่อไปนี้

นอกจากนี้ก็ยังมีคำที่ ฑ ออกเสียงได้ทั้ง ท และ ด ได้แก่

  • บุณฑริก, ปุณฑริก

อ้างอิง

แก้
  1. จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ (มิถุนายน 2555 - ตุลาคม 2555). "อักษรไทยย่อในสมุดไทยเรื่องนันโทปนันทสูตรคําหลวงฯ". วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10 (1). {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. จำนงค์ ทองประเสริฐ. การออกเสียงตัว ฑ ที่มาจากบาลีและสันสกฤต.