บาท
บาท ตามภาษาสันสกฤต पाद (ปาท, “หนึ่งในสี่”) ดังนั้น 4 บาทเป็นหนึ่งตำลึงในหน่วยเงินตรา หรือ โคลงหนึ่งบทมี 4 บาท เป็นต้น ในภาษาไทยอาจหมายถึง
- ในระบบเงินตรา บาท เป็นสกุลเงินตราของประเทศไทย
- ในหน่วยเวลา 1 บาท= 6 นาที ดังนั้น ใน 1 ชั่วโมง= คือ 10 บาท = 10 ช่วงเวลา ซึ่งเป็นการคำนวณเพื่อใช้ในการวางฤกษ์ของโหรโบราณในสมัยที่ระบบนาฬิกายังไม่แพร่หลาย โดยยังใช้วิธีการวัดเงาแดด และใช้นาฬิกา (กะโหลกมะพร้าวหรือกะลามะพร้าว ด้านที่มีรู) ลอยน้ำประกอบ
- ในหน่วยการชั่งตวงวัด บาท เป็น หน่วยมาตราชั่งน้ำหนักโบราณของประเทศไทย มีค่าโดยประมาณเท่ากับน้ำหนักของมวลประมาณ 15.2 กรัม (15.16 ถึง 15.244 กรัม) ใช้เป็นหน่วยชั่งของโลหะมีค่ารวมถึงสมุนไพรในประเทศไทย
- บาท - ส่วนหนึ่งของคำประพันธ์ มีขนาดรองจากบทหรือเท่ากับบท ขึ้นอยู่กับประเภทของร้อยกรอง
- บาท - หมายถึงเท้า
- ใช้เป็นคำราชาศัพท์ อาจประกอบกับคำอื่น เช่น ใต้ฝ่าละอองพระบาทเป็นสรรพนามบุรุษที่สอง บาทบริจาริกา หมายถึงพระภรรยาเจ้าที่เป็นสามัญชน
- ทวิบาทและจตุบาท หมายถึง สัวต์สองเท้าและสี่เท้าตามลำดับ
- บาท แปลว่าเส้นทาง หรือหลักการ เช่น อิทธิบาท 4 คือ หลักการไปสู่ความสำเร็จ
ดูเพิ่ม
แก้วิกิพจนานุกรม มีความหมายของคำว่า บาท
หน้าแก้ความกำกวมนี้รวมบทความที่มีชื่อเหมือนหรือใกล้เคียงกัน ถ้าลิงก์ภายในใดนำคุณมาหน้านี้ คุณอาจต้องการแก้ไขลิงก์ให้ชี้ไปยังหน้าที่ต้องการโดยตรง |