ยัติภาค (dash) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง มีลักษณะเป็นขีดแนวนอนกลางบรรทัด ซึ่งเขียนให้ยาวกว่ายัติภังค์ ในคอมพิวเตอร์และงานพิมพ์ ยัติภาคอาจมีความยาวต่างกัน แต่ที่ใช้บ่อยคือ en dash (–) และ em dash (—)

– —
ยัติภาค
วรรคตอน
อะพอสทรอฟี   '
วงเล็บ [ ]  ( )  { }  ⟨ ⟩
ทวิภาค :
จุลภาค ,  ،  
จุดไข่ปลา   ...  . . .      
อัศเจรีย์  !
มหัพภาค .
กิลเลอเมต ‹ ›  « »
ยัติภังค์ -
ยัติภาค   
ปรัศนี  ?
อัญประกาศ ‘ ’  “ ”  ' '  " "
อัฒภาค ;
ทับ /    
ตัวแบ่งคำ
อินเตอร์พังก์ ·
เว้นวรรค     
การพิมพ์ทั่วไป
แอมเพอร์แซนด์ &
ดอกจัน *
แอต @
แบ็กสแลช \
เบสิสพอยต์
บุลเลต
แคเรต ^
แดกเกอร์ † ‡ ⹋
องศา °
บุพสัญญา ” 〃
ดับเบิลไฮเฟน = ⸗
อัศเจรีย์กลับหัว ¡
ปรัศนีกลับหัว ¿
เครื่องหมายอ้างอิง
เครื่องหมายคูณ ×
นัมเบอร์, แฮชแท็ก #
นูเมอโร
ออเบอลุส ÷
ตัวบอกลำดับ º ª
สัญลักษณ์ร้อยละ (เปอร์เซ็นต์)  %
สัญลักษณ์พันละ (เปอร์มิลล์)
พิลโครว์
บวกและลบ + −
บวกหรือลบ ± ∓
ไพรม์     
เซกชัน §
ทิลเดอ, ตัวหนอน ~
อันเดอร์สกอร์ _
เส้นตั้ง |    ¦
ทรัพย์สินทางปัญญา
ลิขสิทธิ์ ©
กอปปีเลฟต์ 🄯
ลิขสิทธิ์การอัดเสียง
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน ®
เซอร์วิสมาร์ก
เครื่องหมายการค้า
สกุลเงิน
เครื่องหมายสัญลักษณ์สกุลเงิน ¤

؋฿¢$֏ƒ£元 圆 圓 ¥

การพิมพ์เฉพาะทาง
แอสเทอริซึม
ฟลอวรอน
ดัชนี
อินเทอร์รอแบง
วรรคตอนไอเรอนี
ลอซินจ์
ไท
ที่เกี่ยวข้อง
ในภาษาอื่น ๆ
ในภาษาไทย
โคมูตร
ตีนครุ
ไปยาลน้อย
ไปยาลใหญ่ ฯลฯ
ฟองมัน
ไม้ยมก
อังคั่น , ฯะ, , ๚ะ

การใช้งาน

แก้
  • ใช้ในความหมายว่า "และ" หรือ "กับ"
    • ฟุตบอลคิงส์คัปชิงชนะเลิศระหว่างไทย–อินโดนีเซีย
  • ใช้ขยายความคำที่อยู่ข้างหน้า เหมือนเช่นไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษ
    • ถิ่น–พายัพ (หมายความว่า เป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคพายัพ)
  • ใช้ในความหมายว่า "ถึง" เช่นเดียวกับยัติภังค์
    • ตั้งแต่วันจันทร์–วันเสาร์
  • ใช้ในความหมายว่า "เป็น"
    • พจนานุกรมฝรั่งเศส–ไทย
  • ใช้เป็นสัญลักษณ์นำหัวข้อย่อยที่ไม่ต้องการเรียงลำดับ
    สาเหตุที่ทำให้คนกรุงเทพฯ เครียด
    – รถติด
    – น้ำมันแพง
    – เป็นหนี้ธนาคาร
    – รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย

อักขระยูนิโคด

แก้

ยัติภาคในรหัสยูนิโคดมีหลายตัวให้เลือกใช้ ดังนี้

โคดพอยต์ อักขระ HTML ความหมาย
U+2010 ไม่มี hyphen (ยัติภังค์)
U+2011 ไม่มี non-breaking hyphen (ยัติภังค์แบบไม่ตัดคำ)
U+2012 ไม่มี figure dash (ยัติภาคสำหรับตัวเลข)
U+2013 – en dash (ยัติภาคที่มีความกว้างเท่ากับอักขระ n)
U+2014 — em dash (ยัติภาคที่มีความกว้างเท่ากับความสูงของไทป์เฟซ)
U+2015 ไม่มี horizontal bar (เส้นแนวนอน เพื่อเปรียบเทียบกับ vertical bar)
U+2053   ไม่มี swung dash (ยัติภาคแบบคลื่น ตั้งแต่ Unicode 4.0.0)

อย่างไรก็ตาม ในคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีรหัสยูนิโคดให้ใช้ สามารถใช้ยัติภังค์สองหรือสามตัวต่อกันแทนได้ (--, ---)