พระเจ้าอโศกมหาราช
จักรพรรดิอโศก (พราหมี: 𑀅𑀲𑁄𑀓, Ashoka,[2] IAST: Aśoka) หรือ อโศกมหาราช เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเมารยะ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย ตั้งแต่ป. 268 ถึง 232 ปีก่อนคริสตกาล[3][4] ท่านเป็นหลานของจันทรคุปต์ เมารยะ ปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์ และเป็นผู้มีบทบาทมากต่อการเผยแผ่ศาสนาพุทธไปทั่วเอเชียโบราณ[5] และได้รับการยกย่องโดยทั่วไปว่าเป็นหนึ่งในจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของประวัติศาสตร์อินเดีย จักรพรรดิอโศกขยายดินแดนของจักรวรรดิจากสมัยของพระเจ้าจันทรคุปตเมารยะไปถึงพื้นที่ที่ปัจจุบันคืออัฟกานิสถานจนถึงบังกลาเทศ เกือบทั่วทั้งอนุทวีปอินเดีย ยกเว้นเพียงบางส่วนของที่ซึ่งปัจจุบันคือรัฐทมิฬนาฑู, กรณาฏกะ และเกรละ ราชธานีในรัชสมัยคือปาฏลีบุตร (ใน มคธ, ปัจจุบันคือปัฏนา) และราชธานีชนบทที่ตักศิลา และ อุชไชนะ
พระเจ้าอโศกมหาราช | |
---|---|
![]() | |
จักรพรรดิแห่งโมริยะ องค์ที่ 3 | |
ครองราชย์ | ประมาณ 268–232 ปีก่อนคริสตกาล[1] |
ราชาภิเษก | 269 ปีก่อนคริสตกาล[1] |
ก่อนหน้า | พระเจ้าพินทุสาร |
ถัดไป | พระเจ้าทศรถ |
ประสูติ | ประมาณ 304 ปีก่อนคริสตกาล ณ ปัฏนา |
สวรรคต | 232 ปีก่อนคริสตกาล (71–72 พรรษา) ณ ปัฏนา |
อัครมเหสี | พระนางอสันธิมิตรา |
พระสนม | 5 นาง |
ราชวงศ์ | โมริยะ |
พระราชบิดา | พระเจ้าพินทุสาร |
พระราชมารดา | พระนางสุภัทรางคี |
ศึกครั้งสำคัญของจักรพรรดิอโศกคือศึกต่อรัฐกลิงคะ (ปัจจุบันอยู่ในรัฐโอริสา)[6] ซึ่งท้ายที่สุดทรงยึดครองได้เมื่อ 260 ปีก่อนคริสตกาล[7] ข้อมูลจากการตีความจารึกพระเจ้าอโศก ระบุว่าพระองค์เปลี่ยนศาสนาเป็นศาสนาพุทธ[6] หลังต้องเผชิญกับการล้มตายครั้งใหญ่ในสงครามกลิงคะ ซึ่งมีรายงานเสียชีวิตอยู่ที่ราว 100,000 รายเป็นอย่างต่ำ[8] จักรพรรดิอโศกเป็นที่จดจำในฐานผู้ตั้งอโศกสตมภ์ และเผยแผ่จารึกของพระองค์[9] และจากการส่งพระสงฆ์ไปยังศรีลังกาและเอเชียกลาง[5] รวมถึงการสร้างวิหารขึ้นเพื่อบูชาและเป็นอนุสรณ์ต่อช่วงชีวิตสำคัญของพระโคตมพุทธเจ้า[10]

อ้างอิง แก้
- ↑ 1.0 1.1 Upinder Singh 2008, p. 331.
- ↑ In his contemporary Maski Minor Rock Edict his name is written in the Brahmi script as Devanampriya Asoka.Inscriptions of Asoka. New Edition by E. Hultzsch (ภาษาสันสกฤต). 1925. pp. 174–175.
- ↑ Chandra, Amulya (14 May 2015). "Ashoka | biography – emperor of India". Britannica.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2015. สืบค้นเมื่อ 9 August 2015.
- ↑ Thapar 1980, p. 51.
- ↑ 5.0 5.1 Strong, John S. (2002–2003). Faure, Bernard (บ.ก.). "Aśoka's Wives and the Ambiguities of Buddhist Kingship". Cahiers d'Extrême-Asie. Paris: École française d'Extrême-Orient. 13: 35–54. doi:10.3406/asie.2002.1176. eISSN 2117-6272. ISSN 0766-1177. JSTOR 44167352. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2021. สืบค้นเมื่อ 8 August 2021.
- ↑ 6.0 6.1 Bentley 1993, p. 44.
- ↑ Kalinga had been conquered by the preceding Nanda Dynasty but subsequently broke free until it was reconquered by Ashoka c. 260 BCE. (Raychaudhuri, H. C.; Mukherjee, B. N. 1996. Political History of Ancient India: From the Accession of Parikshit to the Extinction of the Gupta Dynasty. Oxford University Press, pp. 204–9, pp. 270–71)
- ↑ Bentley 1993, p. 45.
- ↑ Bisschop, Peter C.; Cecil, Elizabeth A. (May 2019). Copp, Paul; Wedemeyer, Christian K. (บ.ก.). "Columns in Context: Venerable Monuments and Landscapes of Memory in Early India". History of Religions. University of Chicago Press for the University of Chicago Divinity School. 58 (4): 355–403. doi:10.1086/702256. ISSN 0018-2710. JSTOR 00182710. LCCN 64001081. OCLC 299661763.
- ↑ Bentley 1993, p. 46.
แหล่งข้อมูลอื่น แก้
- สุรพศ ทวีศักดิ์. (2560). ความคิดทางการเมืองของพุทธศาสนายุคต้น: กำเนิดและพัฒนาการรัฐพุทธศาสนายุคอโศกและยุคกลาง. ใน ความ (ไม่) เป็นสมัยใหม่: ความเปลี่ยนแปลงและย้อนแย้งของไทย. บรรณาธิการโดย ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. น. 115-39. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์, 2560.
ก่อนหน้า | พระเจ้าอโศกมหาราช | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าพินทุสาร | กษัตริย์แห่งราชวงศ์โมริยะ (ประมาณ 268–232 ปีก่อนคริสตกาล) |
พระเจ้าทศรถ เมารยะ |