อักษรสุโขทัย
อักษรสุโขทัย (อังกฤษ: Sukhothai script) หรือ ลายสือไทย[2] บ้างเรียกอักษรไทยดั้งเดิม หรือชุดตัวอักษรพ่อขุนรามคำแหง เป็นชุดตระกูลอักษรพราหมีที่มีต้นกำเนิดในอาณาจักรสุโขทัย พบในจารึกพ่อขุนรามคำแหงและจารึกพระยาลือไทย[1]
อักษรสุโขทัย | |
---|---|
ชนิด | |
ผู้ประดิษฐ์ | พ่อขุนรามคำแหงมหาราช |
ช่วงยุค | ป. ค.ศ. 1283 – คริสต์ศตวรรษที่ 15[1] |
ทิศทาง | ซ้ายไปขวา |
ภาษาพูด | ไทย, ลาว, ไทยถิ่นเหนือ และอื่น ๆ |
อักษรที่เกี่ยวข้อง | |
ระบบแม่ | |
ระบบลูก | ไทย, ฝักขาม |
ระบบพี่น้อง | ขอมไทย, ลายตัย |
ประวัติ
แก้ต้นกำเนิด
แก้อักษรสุโขทัยอิงจากอักษรเขมรแบบลายมือ ซึ่งเกิดจากการแยก ตัด และถอดตัวเสริมออกจากอักษรเขมรดั้งเดิม[3] มีแชล แฟร์ลุส (Michel Ferlus) นักวิชาการ ได้แสดงให้เห็นว่า ลักษณะเฉพาะบางประการของอักษรไทโบราณและสมัยใหม่สามารถอธิบายได้จากความไม่เพียงพอและช่องว่างในอักษรเขมรโบราณ โดยเฉพาะอักษรเขมรสมัยก่อนพระนคร[4] อักษรสุโขทัยได้รับการรับรองครั้งแรกบนจารึกพ่อขุนรามคำแหงที่สลักในช่วง ค.ศ. 1283 ถึง 1290 แต่อักษรนี้เป็นผลจากการดัดแปลงอักษรก่อนหน้าที่ไม่ได้มีการรับรอง ซึ่งอิงจากอักษรเขมร แฟร์ลุสตั้งทฤษฎีว่าอาจมีอักษรก่อนหน้านั้นที่พัฒนาขึ้นในสมัยก่อนพระนคร (คริสต์ศตวรรษที่ 7–8) ซึ่งอยู่ก่อนหน้าความแน่นอนในปัจจุบันประมาณ 4 ศตวรรษ อย่างไรก็ตาม ความเป็นไปได้อีกแบบคืออักษรเขมรสมัยก่อนพระนครอาจมีมาแล้วในบริเวณรอบนอกของอารยธรรมเขมร อักษรไทชนิดแรกอาจต้องมีข้อบกพร่องเช่นเดียวกับอักษรเขมร แต่อักษรไทได้นำนวัตกรรมมาประยุกต์ เช่น การปรับใช้หรือดัดแปลงอักษร เพื่อสร้างอักษรใหม่ให้เสียงที่ไม่ปรากฏในอักษรเขมร[4] ตามธรรมเนียมไทยระบุว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นผู้ประดิษฐ์อักษรสุโขทัยใน ค.ศ. 1283[5]
แฟร์ลุสแบ่งอักษรไทที่มีต้นกำเนิดจากเขมรออกเป็น 2 กลุ่ม: อักษรกลาง ประกอบด้วยอักษรโบราณ (สุโขทัย, ฝักขาม) กับอักษรสมัยใหม่ (ไทย, ลาว) และอักษรไทรอบข้างในประเทศเวียดนาม (ไทดำ, ไทด่อน, ไทแดง, ลายตัย และลายปาว)[4] แฟร์ลุสเสนอแนะว่าชาวไทรับรูปแบบอักษรเขมรทั้งหมดไปใช้โดยขาดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ในเวลาต่อมาเมื่อชาวไทกระจายทั่วภาคพื้นทวีปอุษาคเนย์ ชาวไทที่ไปทางใต้ (ภายหลังกลายเป็นเป็นชาวไทยหรือสยาม) เข้าไปในดินแดนพระนคร แล้วก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย อักษรไทดั้งเดิมถูกทำให้เป็นเขมรในช่วงที่มีการติดต่อกับเขมร ซึ่งก่อให้เกิดอักษรสุโขทัย[ต้องการอ้างอิง] คุณสมบัติอย่างลำดับอักษรและตัวเลขทำมาจากอักษรเขมร แต่มีการเปลี่ยนสัญลักษณ์สระบางส่วน โดยยังคงรักษาลักษณะดั้งเดิมของอักษรเขมรสมัยก่อนพระนครไว้ได้ หากแต่ไม่มีการเรียงลำดับอักษร หรือการใช้ตัวเลข[4] แอนโทนี ดิลเลอร์ (Anthony Diller) รายงานว่า นวัตกรรมที่พบในอักษรสุโขทัยเมื่อเปรียบเทียบกับอักษรเขมร แสดงให้เห็นว่า อักษรสุโขทัยเป็นอักษรที่ผ่านการวางแผนและเป็นเอกภาพ[6]
แพร่กระจายและรุ่นลูก
แก้หลังการประดิษฐ์อักษรสุโขทัย อักษรนี้ได้กระจายไปทั่วอาณาจักรไทในล้านช้าง (ลาว) ล้านนา และอยุธยา จารึกสุโขทัยที่เก่าแก่ที่สุดพบในจังหวัดลำปาง (ล้านนา) มีรูปร่างเกือบคล้ายกับอักษรเก่าที่สุดที่พบในสุโขทัย จารึกนั้นมีต้นกำเนิดที่จังหวัดลำพูน แต่เขียนโดยพระสงฆ์สุโขทัยที่น่าจะนำอักษรสุโขทัยเข้าสู่ล้านนา หลังจากนั้นอักษรนี้แพร่กระจายไปทั่วภูมิภาคทางเหนือและใต้ เมื่อเวลาผ่านไปจึงมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง Finot (1959) รายงานว่า อักษรสุโขทัยตัวอย่างแรกสุดพบในหลวงพระบาง โดยมีอายุถึง ค.ศ. 1548 ซึ่งเขียนขึ้นหลังจากจารึกพ่อขุนรามคำแหงถึง 265 ปี[5]
อักษรสุโขทัยที่กระจายไปทางใต้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย เช่นเดียวกันกับอักษรไทยสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงจากอักษรสุโขทัยน้อยมาก[5] อักษรสุโขทัยได้รับการพัฒนาเป็นอักษรไทยในลุ่มน้ำตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากการพัฒนานี้สามารถสืบย้อนไปได้ตลอดหลายศตวรรษ[1] ในรัชสมัยพระยาลิไทช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 ผู้ที่อ่านหนังสือออกยังคงคุ้นเคยกับอักษรเขมรและไม่ยอมเขียนในอักษรสุโขทัย เพื่อแก้ไขปัญหานี้ จึงมีการแก้ไขอักษรให้เขียนสระใกล้เคียงกับอักษรเขมรมากขึ้น[7] โดยก่อให้เกิดอักษรใหม่ใน ค.ศ. 1375 ที่มีชื่อว่า "อักษรพระยาลิไท" โดยอักษรนี้เขียนสระทั้งบน ล่าง ด้านหน้าหรือด้านหลังพยัญชนะต้น จากนั้นใน ค.ศ. 1680 อักษรนี้จึงพัฒนาไปเป็น "อักษรพระนารายณ์" ซึ่งภายหลังพัฒนาและคงรูปเป็นอักษรไทยสมัยใหม่[8]
ส่วนทางเหนือ อักษรนี้พัฒนาไปเป็นอักษรฝักขาม[5] อักษรฝักขามใช้กันอย่างแพร่หลายในอาณาจักรล้านนาระหว่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16[9] จากนั้นอักษรฝักขามเริ่มยาวขึ้นและมีมุมกลมมากกว่าที่จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและตั้งฉากเหมือนอักษรสุโขทัยก่อนหน้า ตัวอักษรหลายตัวมี "หาง" ที่เห็นได้ชัดเจน ซึ่งทอดยาวทั้งเหนือและใต้บรรทัดเขียนหลัก[5]
-
รายละเอียดจากจารึกพ่อขุนรามคำแหง
-
จารึกพ่อขุนรามคำแหง
-
จารึกพ่อขุนรามคำแหง
ลักษณะ
แก้อักษรสุโขทัยเขียนจากซ้ายไปขวา ไม่มีการเว้นว่างระหว่างคำ อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ หรือเครื่องหมายจุดที่ท้ายประโยค อักษรนี้มีพยัญชนะ 39 ตัว[8] เมื่อเทียบกับอักษรเขมรแล้ว อักษรสุโขทัยประดิษฐ์นวัตกรรม 4 ประการ นวัตกรรมประการแรกคือการนำตัวอักษรใหม่มารองรับความแตกต่างทางสัทศาสตร์ภาษาไทที่ไม่มีในอักษรเขมร ซึ่งรวมถึงเสียง /e/ กับ /ae/, /pʰ/ กับ /f/, และ /kʰ/ กับ /x/ ตัวอักษรใหม่สร้างขึ้นด้วยการปรับเปลี่ยนตัวอักษรที่ใช้สำหรับเสียงที่คล้ายคลึงกันด้วยการเพิ่มส่วน เช่น ส่วนท้ายหรือรอยหยักให้กับตัวอักษร[6] อักษรสุโขทัยถือเป็นอักษรแรกของโลกที่เพิ่มสัญลักษณ์วรรณยุกต์ในการระบุตำแหน่งวรรณยุกต์ ซึ่งไม่ปรากฏในอักษรมอญ-เขมร (ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก) และกลุ่มภาษาอินโด-อารยันที่ใช้อักษรที่มีมาก่อนอักษรสุโขทัย[6] นอกจากนี้ การเพิ่มเติมอีกแบบคือพยัญชนะควบกล้ำ (consonant cluster) ที่เขียนในแนวนอนและต่อเนื่องกันในบรรทัดเดียว แทนที่จะเขียนพยัญชนะตัวที่สองด้านล่างบรรทัดแรก[6]
พยัญชนะ
แก้พยัญชนะเดี่ยว
แก้พยัญชนะคู่
แก้รายการพยัญชนะคู่ | |||
---|---|---|---|
หง [ŋ̊] | หญ [ɲ̊] | หน [n̥] | หม [m̥] |
หย [j̊] | หร [r̥] | หล [l̥] | หว [w̥] |
อย [ʔj] |
ตัวเลข
แก้ตัวเลขข้างล่างคือตัวเลขสุโขทัยที่ยืมมาจากตัวเลขเขมร[4]
รายการตัวเลข | ||||
---|---|---|---|---|
๐ 0 |
๑ 1 |
๒ 2 |
๓ 3 |
๔ 4 |
๕ 5 |
๖ 6 |
๗ 7 |
๘ 8 |
๙ 9 |
สระ
แก้รูปสระเขียนอยู่บนบรรทัดหลัก แต่ในภายหลังหันกลับมาเขียนแบบเดิม (ทำให้คล้ายกับเขมร)[5] เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ได้มีการเพิ่มเครื่องหมายเสริมสัทอักษรกำกับเสียงสระหลายตัวในอักษรสุโขทัยแบบก่อน ตามที่พบในจารึกพ่อขุนรามคำแหง เพื่อเขียนสระทั้งหมด สระบางตัวถือเป็นสระโดยธรรมชาติในอักษรสุโขทัยแบบก่อนหน้าที่มีเครื่องหมายชัดเจน[6]
สระลอย | |||
---|---|---|---|
สระลอย | สัทอักษรสากล | เทียบกับสมัยใหม่ | ตัวอย่างพยางค์ |
สระอิ |
[i] | อิ | อิก |
สระอี | [iː] | อี | อีก |
สระอึ/สระอือ | [ɨ(ː)] | อึ, อือ | อืก |
เครื่องหมายเสริมสัทอักษร
แก้เครื่องหมายเสริมสัทอักษร | คุณลักษณะ | เทียบกับสมัยใหม่ | ตัวอย่าง |
---|---|---|---|
ระบจุดเริ่มต้นของข้อความ | ๏ | ๏ กูกำ | |
ระบุเป็นวรรณยุกต์แหบแห้ง (croaky tone) | ่ | ||
ระบุเป็นวรรณยุกต์ลมแทรก (breathy tone) | ้ |
ตัวอย่าง
แก้อักษรสุโขทัย | ปริวรรตเป็นอักษรไทย | สัทอักษรสุโขทัย | แปลไทยสมัยใหม่ |
---|---|---|---|
พ่กูชื่สรีอินทราทิตยแม่กูชื่เสือง
พี่(กู)ชื่บานเมืองตูพี่น้องท้องดยว ห้าคนผู้ชายสามผู้ญิงโสงพี่เผือ ผู้อ้ายตายจากเผือตยมแฏ่ญงงเลก |
bɔː kuː dʑɯ siː.iːndraːdiːt mɛː kuː dʑɯ naːŋ sɯaŋ
biː kuː (dʑɯ) baːn mɯaŋ tuː biː nɔːŋ dɔːŋ ʔdiaw haː gɔːn pʰuː.dʑai saːm pʰuː.ɲiŋ soːŋ biː bɯa pʰuː aːj taj tɕaːk pʰɯa tiam tɛː ɲaŋ lek |
พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่(กู)ชื่อบานเมือง ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงสอง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็ก.... [ข้อความมีต่อ] |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Lorrillard, Michel (2009-03-31). "Scripts and History : the Case of Laos". Senri Ethnological Studies. 74. doi:10.15021/00002575.
- ↑ "ลายสือไทย". museumthailand.com. มิวเซียมไทยแลนด์. สืบค้นเมื่อ 9 December 2023.
...ก่อนปีพ.ศ. 1826 ไม่เคยมีรูปอักษรไทยมาก่อน พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงคิดประดิษฐ์รูปอักษรไทยขึ้นนับแต่พุทธศักราชนั้น ซึ่งพระองค์ทรงกำหนดให้รูปอักษรแตกต่างไปจากรูปอักษรโบราณอื่นๆ ที่มีใช้มาก่อน และเรียกตัวอักษรไทยนั้นว่า“ลายสือไทย”...
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Hartmann, John F. (1986). "Varieties of Tai Dam Scripts". Crossroads: An Interdisciplinary Journal of Southeast Asian Studies. 3 (1): 97–103. JSTOR 40860234.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Ferlus, Michel (Sep 1999). "Sur l'ancienneté des écritures thai d'origine indo-khmère".
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Hartmann, John F. (1986). "The spread of South Indic scripts in Southeast Asia": 8.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Diller, Anthony V.N. (1996). "Thai orthography and the history of marking tone" (PDF): 228–248. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-03. สืบค้นเมื่อ 2023-12-08.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Virunhaphol, Farida (2017). "Designing Khom Thai Letterforms for Accessibility (Doctoral dissertation). University of Huddersfield" (PDF): 156.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ 8.0 8.1 Danvivathana, Nantana (1981). "THE THAI WRITING SYSTEM".
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Lorrillard, Michel (Jan 2004). "The Diffusion of Lao Scripts. The literary heritage of Laos".
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)