ภาษาคาซี เป็นภาษากลุ่มออสโตรเอเชียติกใช้พูดในรัฐเมฆาลัย ประเทศอินเดีย อยู่ในสาขามอญ-เขมร และใกล้เคียงกับภาษากลุ่มมุนดาที่เป็นภาษาตระกูลออสโตรเชียติกที่มีผู้พูดในอินเดียกลาง มีผู้พูด 865,000 คน ในรัฐเมฆาลัย มีผู้พูดบางส่วนในหุบเขาตามแนวชายแดนด้านรัฐอัสสัมและในบังกลาเทศตามแนวชายแดนอินเดีย ภาษาคาซีมีเรื่องเล่าพื้นบ้านมากมักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับที่มาของชื่อต่าง ๆ ของภูเขา แม่น้ำ สัตว์ และอื่น ๆ

ภาษาคาซี
Ka Ktien Khasi, ক ক্ত্যেন খসি
ออกเสียง/ka kt̪eːn kʰasi/
ประเทศที่มีการพูดอินเดีย, บังกลาเทศ
ภูมิภาครัฐเมฆาลัย, รัฐอัสสัม
ชาติพันธุ์ชาวคาซี
จำนวนผู้พูด1,512,831  (2011 census)[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรละติน
อักษรเบงกอล-อัสสัม[2]
รหัสภาษา
ISO 639-2kha
ISO 639-3kha
บริเวณที่มีผู้พูดภาษาคาซี

ระบบการเขียน

แก้

ในอดีตภาษาคาซีไม่มีระบบการเขียนเป็นของตนเอง William Carey ดัดแปลงอักษรเบงกอลมาใช้เขียนเมื่อราว พ.ศ. 2356 – 2381 มีหนังสือที่เขียนด้วยอักษรนี้จำนวนมาก เช่น Ka Niyiom Jong Ka Khasi Thomas Jones มิชชันนารีชาวเวลส์ เขียนภาษานี้ด้วยอักษรละตินเมื่อ พ.ศ. 2384 โดยการออกเสียงใกล้เคียงกับภาษาเวลส์ จากจุดนี้จึงมีการพัฒนาอักษรละตินสำหรับภาษาคาซีเองขึ้นมา อักษรละตินที่ใช้เขียนภาษาคาซีได้แก่

  • อักษรตัวใหญ่ A, B, K, D, E, G, Ng, H, I, Ï, J, L, M, N, Ñ, O, P, R, S, T, U, W, Y.
  • อักษรตัวเล็ก a, b, k, d, e, g, ng, h, i, ï, j, l, m, n, ñ, o, p, r, s, t, u, w, y.

อ้างอิง

แก้
  1. "Statement 1: Abstract of speakers' strength of languages and mother tongues – 2011". www.censusindia.gov.in. Office of the Registrar General & Census Commissioner, India. สืบค้นเมื่อ 7 July 2018.
  2. "ScriptSource – Khasi". scriptsource.org. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้