อักษรธรรมล้านนา

อักษรธรรมล้านนา เป็นอักษรสระประกอบ (Abugida) ในตระกูลอักษรพราหฺมี ซึ่งใช้สำหรับเขียน ภาษาไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง) ภาษาไทลื้อ และภาษาไทเขิน รวมไปถึงภาษาสำหรับพระพุทธศาสนาคือ ภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต อักษรธรรมล้านนาแต่เดิมเรียกว่า ตัวธัมม์ หรือ ตั๋วธรรม (ᨲ᩠ᩅᩫᨵᨾ᩠ᨾ᩼​ หรือ ᨲ᩠ᩅᩫᨵᩢᨾ᩠ᨾ᩼) โดย ตัว หรือ ตั๋ว หมายถึง อักษร ส่วน ธัมม์ หรือ ธรรม หมายถึง คัมภีร์ แต่ในประเทศไทย ปัจจุบันนิยมเรียกอย่างเป็นทางการว่า อักษรธรรมล้านนา และเรียกแบบลำลองว่า ตั๋วเมือง (ᨲ᩠ᩅᩫᨾᩮᩬᩥᨦ​; ใช้คู่กับ คำเมือง ซึ่งเป็นชื่อเรียกภาษาพูด) นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอักษรนี้อีกหลายอย่าง เช่น อักษรไทธรรม (Tai Tham script) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกในระบบคอมพิวเตอร์ หรือ อักษรไทลื้อเก่า ซึ่งใช้เรียกในเมืองสิบสองปันนา ประเทศจีน เนื่องจากรัฐบาลจีนได้มีการประดิษฐ์อักษรแบบใหม่สำหรับภาษาไทลื้อ ซึ่งเรียกว่าอักษรไทลื้อใหม่ ส่วนในรัฐฉาน ประเทศพม่า ชาวไทใหญ่เรียกอักษรชนิดนี้ว่า ลิ่กยวน หมายถึงอักษรของชาวไทยวน (ชาวล้านนา) ใช้เขียนเอกสารทางศาสนา

อักษรธรรมล้านนา
"ตัวธัมม์" เมื่อเขียนด้วยอักษรธรรมล้านนา
ชนิด
ช่วงยุค
ป. คริสศตวรรษที่ 13–ปัจจุบัน
ทิศทางซ้ายไปขวา Edit this on Wikidata
ภาษาพูดภาษาไทยถิ่นเหนือ, ภาษาไทลื้อ, ภาษาไทเขิน
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
ระบบลูก
ไทลื้อใหม่
ISO 15924
ISO 15924Lana (351), ​Tai Tham (Lanna)
ยูนิโคด
ยูนิโคดแฝง
Tai Tham
ช่วงยูนิโคด
U+1A20–U+1AAF
[a] ต้นกำเนิดเซมิติกของอักษรพราหมีไม่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ

ในประเทศลาว และภาคอีสานของไทย อักษรธรรมล้านนาได้รับการดัดแปลงรูปแบบให้เข้ากับภาษาลาว นิยมเรียกอักษรรูปแบบนี้ว่า โตธรรมลาว หรือ โตธรรมอีสาน ส่วนอักษรธรรมล้านนาแบบดั้งเดิมนั้น ทางฝ่ายลาวจะนิยมเรียกว่า อักษรยวน หรือ อักษรโยน ซึ่งเป็นชื่อที่เชื่อมโยงกับอาณาจักรโยนกเชียงแสน ซึ่งเป็นอาณาจักรโบราณแห่งหนึ่งของชาวไทยวน (ชาวล้านนา)

ประวัติ

แก้

จารึกอักษรธรรมล้านนาที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบคือจารึกจารึกลานทองสมเด็จพระมหาเถรจุฑามุณิ พ.ศ. 1919 ซึ่งค้นพบที่วัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย[4] ในจารึกมีทั้งภาษาไทยและภาษาบาลี โดยภาษาบาลีจะจารึกเป็นอักษรธรรม ส่วนภาษาไทยจะจารึกเป็นอักษรไทยสุโขทัย จารึกที่เก่ารองลงมาคือจารึกวัดเชียงมั่นปี พ.ศ. 2008 โดยจารึกเป็นภาษาบาลีและภาษาไทย โดยอักษรธรรมในจารึกทั้งสองนี้มีรูปลักษณ์ที่ใกล้เคียงกับอักษรมอญที่ใช้กันในอาณาจักรหริภุญไชยราวพุทธศตวรรษที่ 18 นักวิชาการส่วนมากจึงสรุปว่าอักษรธรรมล้านนามีที่มาจากอักษรมอญโบราณ[5]

ในอาณาจักรล้านนานั้น ยังปรากฏการใช้อักษรไทยฝักขามซึ่งวิวัฒนาการมาจากอักษรไทยสุโขทัยควบคู่กันกับอักษรธรรมไปอีกด้วย (โดยอักษรนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อักษรไทยล้านนา[ต้องการอ้างอิง]) ซึ่งอักษรฝักขามนี้ ก็ได้ส่งอิทธิพลต่ออักษรธรรมล้านนาเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการใช้สัญลักษณ์แทนวรรณยุกต์[6] ต่อมาภายหลังก็ได้เกิดอักษรลูกผสมระหว่างอักษรฝักขามและอักษรธรรมเรียกว่าอักษรไทยนิเทศ ซึ่งพบว่ามีการใช้บันทึกงานวรรณกรรมในช่วงสั้น ๆ ประมาณ พ.ศ. 2100[7]

ในภายหลัง อักษรธรรมล้านนาได้แผ่ขยายออกไปสู่อาณาจักรข้างเคียง ได้แก่ เชียงตุง เชียงรุ่ง และ ล้านช้าง[5] โดยในเชียงตุงและเชียงรุ่ง อักษรธรรมล้านนาได้ถูกปรับอักขรวิธีและรูปลักษณ์ที่มีความกลมมนมากขึ้นจนเป็นเอกลักษณ์ของอักษรธรรมแบบไทเขิน (เชียงตุง) และไทลื้อ (เชียงรุ่ง) เช่นเดียวกับในล้านช้างที่อักษรธรรมล้านนาได้รับการดัดแปลงทั้งอักขระวิธีและรูปลักษณ์อักษรให้ต่างออกไป เรียกว่า โตธรรมลาว โดยนิยมใช้สำหรับงานเขียนเกี่ยวกับพุทธศาสนาเป็นสำคัญ

เนื่องจากนโยบายชาตินิยมของรัฐบาลไทยตั้งแต่สมัยอดีต ทำให้ไม่มีการสอนอักษรธรรมล้านนาในระบบโรงเรียนอย่างเป็นทางการอีกต่อไป ส่งผลให้ผู้รู้อักษรธรรมล้านนาในไทยในปัจจุบันมักมีจำกัดอยู่เฉพาะในแวดวงของพระสงฆ์ นักวิชาการ ช่างศิลป์พื้นเมือง และหมอพื้นบ้าน เท่านั้น ไม่เป็นที่รับรู้ของบุคคลทั่วไปมากนัก อย่างไรก็ดี ในเมืองเชียงตุงและเขตรัฐฉานประเทศเมียนมาร์ ยังพบว่ามีการใช้อักษรธรรมล้านนาในชีวิตประจำวันอยู่อย่างแพร่หลาย

พยัญชนะ

แก้

อักษรธรรมล้านนามีพยัญชนะ 43 ตัว แบ่งเป็นสามกลุ่ม คือ พยัญชนะในวรรค (ᨻ᩠ᨿᩢᨬ᩠ᨩᨶᨶᩲᩅᩢᨣ᩠ᨣ᩼), พยัญชนะอวรรค (ᨻ᩠ᨿᩢᨬ᩠ᨩᨶᩋᩅᩢᨣ᩠ᨣ᩼), และ พยัญชนะเพิ่ม โดยพยัญชนะในวรรคและพยัญชนะอวรรค เป็นกลุ่มอักขระที่วิวัฒนาการมาจากอักษรมอญโบราณซึ่งใช้สำหรับการเขียนภาษาบาลีและสันสกฤต ในทำนองเดียวกับอักษรเทวนาครี อักษรปัลลวะ และ อักษรพม่า พยัญชนะในวรรคจะแบ่งได้เป็น 5 วรรค (ᩅᩢᨣ᩠ᨣ᩼) คือ วรรค ᨠ (ก), วรรค ᨧ (จ), วรรค ᨭ (ฏ), วรรค ᨲ (ต), วรรค ᨷ (ป) ส่วนพยัญชนะเพิ่มนั้น เป็นพยัญชนะที่ประดิษฐ์ขึ้นเพิ่มเติมสำหรับเขียนคำในภาษาตระกูลไท ซึ่งแต่เดิมจะไม่พบในภาษาบาลี อนึ่ง ในพจนานุกรม มักจัดเอาตัว ᩂ​ (ฤ) และ ᩄ (ฦ) เข้าไว้ในหมวดพยัญชนะด้วย โดยมีลำดับถัดมาจากอักษร ᩁ (ร) และ ᩃ (ล) ตามลำดับ แต่กระนั้น อักษรทั้งสองตัวนี้แท้จริงแล้วถือว่าเป็นอักขระแทนพยางค์ (syllabary) ไม่ใช่พยัญชนะแท้ นอกจากนี้อักษรธรรมล้านนายังมีพยัญชนะรูปพิเศษเช่น​ ᩕ​- (ร ควบ) ᩔ (สฺส)​ ᨬ᩠ᨬ (ญฺญ)​ ᩓ (แล) เป็นต้น อีกด้วย

ตารางพยัญชนะ

แก้

อักษรธรรมล้านนามีพยัญชนะ 43 ตัว ได้แก่ พยัญชนะในวรรค 25 ตัว พยัญชนะอวรรค 10 ตัว และ พยัญชนะเพิ่ม 8 ตัว อย่างไรก็ดี อักษรไทยที่ปรากฏเป็นการปริวรรต (ถ่ายอักษร) เท่านั้น เสียงจริงของอักษรแสดงไว้ในสัทอักษร ซึ่งอาจจะออกเสียงต่างไปจากอักษรไทย

นอกจากนี้ ในทำนองเดียวกับอักษรมอญและเขมร อักษรธรรมล้านนายังมีพยัญชนะรูปตัวเชิง ซึ่งเป็นรูปของพยัญชนะที่ใส่ไว้ใต้พยัญชนะหรือสระ เรียกว่า หาง (ᩉᩣ᩠ᨦ) ตัวซ้อน (ᨲ᩠ᩅᩫᨪᩬ᩶ᩁ) ตัวห้อย (ᨲ᩠ᩅᩫᩉᩬ᩠ᨿ᩶) หรือ ตัวเสียบ (ᨲ᩠ᩅᩫᩈ᩠ᨿᨷ) พยัญชนะตัวเชิงใส่ไว้เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวสะกดหรือห้ามไม่ให้พยัญชนะตัวข่ม (อักษรที่อยู่ด้านบนของตัวเชิง) ออกเสียงอะ (ในกรณีที่เขียนภาษาบาลีสันสกฤต) เช่น ᨻᩩᨴ᩠ᨵ (พุทฺธ) จะอ่านเป็น ปุ๊ด-ทะ ไม่อ่านว่า ปุ๊ด-ต๊ะ-ทะ นอกจากนี้ ตัวเชิงของอักษร ᩅ​ (ว) ᨿ​ (ย) และ ᩋ​ (อ) ยังใช้เป็นรูปสระได้ด้วย ทั้งนี้ พยัญชนะในวรรคและอวรรคจะมีตัวเชิงทุกตัว และโดยทั่วไปก็มีลักษณะคล้ายเดิมกับพยัญชนะปกติ ยกเว้นบางตัวซึ่งเปลี่ยนรูปไป เช่น ตัวเชิงของ ᨮ​ (ฐ) ᨻ (พ) ᨷ​ (บ) ᨶ​ (น) ᨾ​ (ม) ᨿ​ (ย)​ ᩁ (ร) ᩋ​ (อ) อย่างไรก็ดี อักษรบางตัวเช่น ᩃ (ล)​ ᨷ (บ)​ ᩁ (ร) อาจจะมีรูปตัวเชิงมากกว่าหนึ่งแบบ ซึ่งตัวเชิงแต่ละแบบอาจมีวิธีการใช้ที่แตกต่างกันในแต่ละปริบทหรือตามความนิยม ตัวอย่างเช่น รูป ◌᩠ᨷ​​​ จะใช้ในกรณีที่เป็นตัวสะกด ส่วนรูป ◌ᩝ จะใช้ในกรณีที่เป็นคำสะกดแบบพิเศษ เช่น ᨣᩴ᩵ᩝ​ (ก็บ่) ส่วนพยัญชนะเพิ่ม (ซึ่งแสดงในแถวตารางสีเหลือง) จะไม่มีรูปตัวเชิงแต่อย่างใดเนื่องจากประดิษฐ์ขึ้นภายหลัง อนึ่ง ในการป้อนอักขระอักษรธรรมด้วยระบบยูนิโคด จะสามารถแปลงพยัญชนะเป็นรูปตัวเชิงได้ด้วยการป้อนสัญลักษณ์ สะกด (รหัสอักขระ U1A60) (◌᩠) ซึ่งในขณะที่ป้อน จะปรากฏเป็นสัญลักษณ์กากบาทอยู่ใต้อักษร[8]

ในส่วนของมาตราตัวสะกด อักษรธรรมล้านนาก็มีแม่ตัวสะกดเช่นดียวกับอักษรไทย คือ แม่กก แม่กบ แม่กด แม่กง แม่กม แม่เกย และ แม่เกอว โดยนิยมเรียกว่า แม่กัก แม่กับ แม่กัด แม่กัง แม่กัม แม่กัย และ แม่กัว อย่างไรก็ดีจะมีความแตกต่างจากอักษรไทยเล็กน้อย ตัวอย่างเช่น ตัว ᨫ (ฌ) ในอักษรธรรมล้านนาสามารถเป็นตัวสะกดในมาตราแม่กดได้ แต่กับอักษรไทยจะทำเช่นนี้ไม่ได้ อนึ่งอักษรธรรมล้านนาสามารถจัดหมวดหมู่ไตรยางศ์ได้ในทำนองเดียวกับอักษรไทยและอักษรลาว

 
ป้ายชื่อวัดหม้อคำตวง ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เขียนด้วยอักษรธรรมล้านนา (ᩅᩢ᩠ᨯᩉ᩠ᨾᩬᩴᩢᨤᩣᩴᨴ᩠ᩅᨦ᩼)
ปริวรรตเป็นอักษรไทย : "วัดหม้อฅำทวง"
คำอ่าน : "วัดหม้อคำตวง"
วรรค อักษร รูปตัวเชิง ชื่ออักษร ปริวรรตเป็นอักษรไทย ปริวรรตเป็นอักษรละติน สัทอักษร ไตรยางศ์
คำอ่าน สัทอักษร พยัญชนะต้น ตัวสะกด พยัญชนะต้น ตัวสะกด พยัญชนะต้น ตัวสะกด
  1. วรรค 
  ◌᩠ᨠ ก๋ะ [kǎ] แม่กก k k [k] [k̚] สูง
  ◌᩠ᨡ ข๋ะ [xǎ], [kʰǎ] แม่กก x, kh k [x], [kʰ] [k̚] สูง
[a]   ฃ๋ะ [xǎ] แม่กก x, kh [x] [k̚] สูง
  ◌᩠ᨣ ก๊ะ [ka᷇] แม่กก k k [k] [k̚] ต่ำ
[a]   คะ, ฅะ [xa᷇] แม่กก x, kh [x] [k̚] ต่ำ
  ◌᩠ᨥ ฆะ [xa᷇], [kʰa᷇] แม่กก x, kh k [x], [kʰ] [k̚] ต่ำ
  ◌᩠ᨦ งะ [ŋa᷇] แม่กง ng ng [ŋ] [ŋ] ต่ำ
2. วรรค    ◌᩠ᨧ จ๋ะ [t͡ɕǎ] แม่กด j, c t [t͡ɕ] [t̚] สูง
  -᩠ᨨ ส๋ะ, ฉ๋ะ [sǎ], [t͡ɕʰǎ] - s, ch [s], [t͡ɕʰ] สูง
  -᩠ᨩ จ๊ะ [t͡ɕa᷇] แม่กด j, c t [t͡ɕ] [t̚] ต่ำ
[a]   ซะ [sa᷇] แม่กด s t [s] [t̚] ต่ำ
 ,  ,   -᩠ᨫ ซะ, ชะ, ฌะ [sa᷇], [t͡ɕʰa᷄] แม่กด s, ch t [s], [t͡ɕʰa᷄] [t̚] ต่ำ
  -᩠ᨬ ญะ

(เสียงนาสิก)

[ɲa᷇] แม่กน ny, y n [ɲ], [j][b] [n] ต่ำ
3. วรรค    -᩠ᨭ ระฏ๋ะ [lǎ.tǎ] ฏ, ฎ แม่กด t t [t] [t̚] สูง
 ,   -᩠ᨮ , -ᩛ ระฐ๋ะ [lǎ.tʰǎ] แม่กด th t [tʰ] [t̚] สูง
  -᩠ᨯ ระฑะ, ด๊ะ [dǎ] ฎ, ฑ, ด แม่กด d, th[c] t [d], [tʰ][c] [t̚] กลาง
  -᩠ᨰ ระฒะ [lǎ.tʰa᷇] แม่กด th t [tʰ] [t̚] ต่ำ
  -᩠ᨱ ระณะ [lǎ.na᷇] แม่กน n n [n] [n] ต่ำ
4. วรรค    -᩠ᨲ ต๋ะ [tǎ] แม่กด t t [t] [t̚] สูง
  -᩠ᨳ ถ๋ะ [tʰǎ] แม่กด th t [tʰ] [t̚] สูง
  -᩠ᨴ ต๊ะ [ta᷇] แม่กด t t [t] [t̚] ต่ำ
  -᩠ᨵ ธะ [tʰa᷇] แม่กด th t [tʰ] [t̚] ต่ำ
  -᩠ᨶ นะ [na᷇] แม่กน n n [n] [n] ต่ำ
5. วรรค    -᩠ᨷ , -ᩝ บ๋ะ [a] [bǎ] แม่กบ b p [b][d] [p̚] กลาง
-᩠ᨷ ป๋ะ[e] [pǎ] แม่กบ p p [p][e][9][10] [p̚] สูง[10][9]
[a][f]    – ป๋ะ [pǎ] แม่กบ p p [p] [p̚] สูง
  -᩠ᨹ ผ๋ะ [pʰǎ] - ph  – [pʰ]  – สูง
[a]    – ฝ๋ะ [fǎ] - f  – [f]  – สูง
  -᩠ᨻ , -ᩛ ป๊ะ [pa᷇] แม่กบ p p [p] [p̚] ต่ำ
[a]    – ฟะ [fa᷇] แม่กบ f p [f] [p̚] ต่ำ
  -᩠ᨽ ภะ [pʰa᷇] แม่กบ ph p [pʰ] [p̚] ต่ำ
  -᩠ᨾ , -ᩜ มะ [ma᷇] แม่กม m m [m] [m] ต่ำ
6. อวรรค ᨿ   -᩠ᨿ ญะ

(เสียงนาสิก)

[ɲa᷇] แม่เกย ny, y  – [ɲ], [j][b]  – ต่ำ
[a]    – ยะ, อยะ [jǎ] อย - y  – [j]  – กลาง
[g]   -᩠ᩁ , -ᩕ ระ, ละ, ฮะ [la᷇] ร, ล, ฮ แม่กน r,[h] l, h n [r],[c] [l],[c] [h] [n] ต่ำ
  -᩠ᩃ​ , -ᩖ ละ [la᷇] แม่กน l n [l] [n] ต่ำ
  -᩠ᩅ วะ [wa᷇] แม่เกอว w [w] ต่ำ
  -᩠ᩆ ศ๋ะ [sǎ] แม่กด s t [s] [t̚] สูง
  -᩠ᩇ ษ๋ะ [sǎ] แม่กด s t [s] [t̚] สูง
  -᩠ᩈ , -ᩞ ส๋ะ [sǎ] แม่กด s t [s] [t̚] สูง
  -᩠ᩉ หะ [hǎ] - h  – [h]  – สูง
  -᩠ᩊ ฬะ [la᷇] แม่กน l n [l] [n] ต่ำ
 ,   -ᩬ อ๋ะ [ʔǎ] -  –  – [ʔ]  – กลาง
[a]    – ฮะ [ha᷇] - h  – [h]  – ต่ำ
หมายเหตุ
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 พยัญชนะเพิ่มซึ่งประดิษฐ์ขึ้นสำหรับเขียนคำในภาษาตระกูลไท พยัญชนะเหล่าแท้จริงจะไม่จัดอยู่ในวรรค และไม่มีรูปตัวเชิง แต่ในที่นี้จะแทรกไว้ในแต่ละวรรคเพื่อให้เทียบเคียงกับอักษรไทยได้ง่าย โดยจะมีชื่อว่า บะวรรค (ตั้งชื่อตาม บ)
  2. 2.0 2.1 การออกเสียงเฉพาะในภาษาไทลื้อ
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 อิทธิพลจากภาษาไทยมาตรฐาน และภาษาบาลีสันสฤต
  4. สำหรับเขียนคำในภาษาตระกูลไท
  5. 5.0 5.1 สำหรับเขียนคำที่รากศัพท์มาจากภาษาบาลีสันสฤต
  6. สำหรับเขียนคำที่มาจากภาษาตระกูลไทเท่านั้น ไม่ใช้สำหรับคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีสันสฤต
  7. หากนำตัวอักษรนี้ไปเขียนบนตัวพยัญชนะอื่นๆ สามารถทำเป็นทัณฑฆาตได้ โดยจะเรียกตัวนี้ว่า ระห้าม
  8. นิยมปริวรรตเป็นอักษร ร สำหรับอักษรไทย หรือ r สำหรับอักษรละติน เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาไทยมาตรฐานหรือภาษาบาลีสันกฤต


 
รูปพยัญชนะตัวเต็มเทียบพยัญชนะตัวเชิงของอักษรธรรมล้านนาตามแบบอักษร LN Tilok ซึ่งได้รับการจัดสร้างโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พยัญชนะกลุ่ม ห นำ

แก้

อักษรต่ำบางตัว ได้แก่ ᨦ​ (ง) ᨶ​ (น)​​ ᨾ (ม)​ ᨿ (ย) ᨬ​ (ญ) ᩁ​ (ร) ᩃ​ (ล) ᩅ​ (ว) จะไม่มีคู่อักษรสูงสำหรับผันเสียงวรรณยุกต์ได้ครบ อักษรเหล่านี้เรียกว่าอักษรต่ำเดี่ยว ดังนั้นเพื่อให้สามารถผันเสียงวรรณยุกต์ได้ครบ คู่อักษรสูงของอักษรเหล่านี้จะอยู่ในรูป ᩉ​ (ห) นำ โดยมีอักษรตัวตามอยู่ในรูปตัวเชิง ดังแสดงในตาราง โดยสำหรับอักษร ᨬ​ (ญ) จะนิยมใช้รูป ᩉ᩠ᨿ (หย) แทน[11]

อักษร ชื่ออักษร การปริวรรต สัทอักษร ไตรยางศ์
คำอ่าน สัทอักษร อักษรไทย อักษรละติน
ᩉ᩠ᨦ หง๋ะ [ŋǎ] หง ng [ŋ] สูง
ᩉ᩠ᨶ หน๋ะ [nǎ] หน n [n] สูง
ᩉ᩠ᨾ หม๋ะ [mǎ] หม m [m] สูง
ᩉ᩠ᨿ หญ๋ะ

(เสียงนาสิก)

[ɲǎ] หย, หญ ny [ɲ], [j][a] สูง
ᩉᩕ หร๋ะ, หล๋ะ, ห๋ะ [rǎ], [lǎ], [hǎ] หร r,[b] l, h [r],[c] [l],[c] [h] สูง
ᩉᩖ​, ᩉ᩠ᩃ หล๋ะ [lǎ] หล l [l] สูง
ᩉ᩠ᩅ หว๋ะ [wǎ] หว w [w] สูง
หมายเหตุ
  1. การออกเสียงเฉพาะในภาษาไทลื้อ
  2. นิยมปริวรรตเป็นอักษร ร สำหรับอักษรไทย หรือ r สำหรับอักษรละติน เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาไทยมาตรฐานหรือภาษาบาลีสันกฤต
  3. 3.0 3.1 อิทธิพลจากภาษาไทยมาตรฐาน และภาษาบาลีสันสฤต

พยัญชนะรูปพิเศษ

แก้
อักษร ชื่ออักษร หน่วยเสียงทางสัทอักษร หมายเหตุ
อักษรธรรม ปริวรรตเป็นอักษรไทย ปริวรรตเป็นอักษรละติน สัทอักษร
 ,
 
ᩃᩯᩡ, ᩃᩯ และ, แล lae [lɛ̄ː] [lɛʔ], [lɛ̄ː] อักษร ᩃ (ล) เชื่อมกับรูปสระ ᩮ​ (เ) ซึ่งเขียนเป็นตัวยกไว้ด้านบน อักษร แล ยังมีรูปตัวเชิงด้วยคือ ◌᩠ᩓ จัดว่าเป็นอักขรวิธีพิเศษ สำหรับเขียนคำว่า​ ᨩ᩠ᩓ (ชะแล ย่อมาจาก เช่นนั้นแล)
ᨶᩣ   ᨶᩣ นา naa [nāː] [nāː] อักษร ᨶ (น) เชื่อมกับรูปสระ ᩣ (า). จะสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ นะหัวแตก (ᨶ ᩉᩫ᩠ᩅᩯᨲ᩠ᨠ) ก็ได้
ᨬ᩠ᨬ   ᨬᨬ ญะญะ nya nya [ɲa᷇ʔ ɲa᷇ʔ] [n.ɲ] อักษร ᨱ​ (ณ) เชื่อมกับ ᨬ​ (ญ) สำหรับแทนตัว ᨬ ซ้อนสองตัว
   ᩈᩬᨦᩉᩬ᩶ᨦ สะสองห้อง sa song hong [sǎː sɔ̌ːŋ hɔ᷇ːŋ] [t̚.s], [s̚.s] อักษร ᩈ​​ (ส) สองตัวเชื่อมติดกัน
  ᩁᩁᩰᩫ᩠ᨦ,​ ᩁ​​​ᩅᩫ᩠ᨦ ระโรง, ระโฮง, ระวง rarong, rahong, rawong [la᷇.hōːŋ] [r], [l], [ʰ] ระโรงจะใช้เป็นเป็นตัวเชิง (ra) เพื่อควบกล้ำ ร เช่น ᨷᩕ (ปฺร) ᨻᩕ (พฺร) ในขณะที่รูปเชิงซึ่งเป็นตัวสะกดจะใช้ -᩠ᩁ

พยัญชนะควบ

แก้

อักษรธรรมล้านนามีพยัญชนะควบ 3 รูป คือ พยัญชนะควบตัวละ (ᩃ) พยัญชนะควบตัวระโรง (ᩕ) และ พยัญชนะควบตัววะ (ᩅ) โดยมีเพียงพยัญชนะควบตัววะเท่านั้นที่เป็นพยัญชนะควบแท้ ส่วนพยัญชนะควบตัวละ และควบตัวระโรง เป็นพยัญชนะควบไม่แท้ สาเหตุที่มีรูปพยัญชนะควบ 3 รูป (เหมือนภาษาไทย) แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ได้เกิดการผันแปรของเสียงอ่านไปมากจนเหลือแต่เสียงควบ ว ที่ยังเป็นพยัญชนะควบแท้ ก็เนื่องด้วยว่าสิ่งเหล่านี้เป็นร่องรอยของเสียงพยัญชนะต้นควบกล้ำในภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม (ต่อมาได้วิวัฒนาการเป็นภาษาล้านนา, ไทย ฯลฯ) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันในดินแดนล้านนาและไทยในช่วงเวลาก่อน พ.ศ. 2000​ และคาบเกี่ยวกับช่วงต้นของการประดิษฐ์อักษรธรรม[12]

พยัญชนะต้นควบตัวละ

แก้

การเขียนพยัญชนะต้นควบตัวละ (ᩃ) จะใช้รูปตัวเชิงตัวละหน้อย (◌ᩖ) หรือรูปตัวละเสียบ​ (-᩠ᩃ) ซ้อนไว้ใต้พยัญชนะ อย่างไรก็ตาม ในภาษาล้านนาปัจจุบันนั้น พยัญชนะควบตัวละถือเป็นพยัญชนะควบไม่แท้ เพราะจะไม่ออกเสียงควบกล้ำ ล แต่อย่างใด โดยยังคงออกเสียงตามเสียงพยัญชนะต้นเช่นเดิม เสมือนไม่มีการควบ เช่น คำว่า ​ᨸᩖᩦ (ปลี) หรือ​ ᨸᩦ (ปี) ก็ล้วนแต่ออกเสียงว่า ปี๋ ทั้งคู่

อักษร ชื่ออักษร ปริวรรตเป็นอักษรไทย ปริวรรตเป็นอักษรละติน สัทอักษร ไตรยางศ์
คำอ่าน สัทอักษร แบบเน้นเสียงอ่าน แบบเน้นนิรุกติ
ᨠᩖ ᨠ᩠ᩃ ก๋ะ [kǎ] กฺล k kl [k] สูง
ᨣᩖ ᨣ᩠ᩃ ก๊ะ [ka᷇] คฺล k kl [k] ต่ำ
ᨸᩖ ᨸ᩠ᩃ ป๋ะ [pǎ] ปฺล p pl [p] สูง
ᨹᩖ ᨹ᩠ᩃ ผ๋ะ [pʰǎ] ผฺล ph phl [pʰ] สูง
ᨻᩖ ᨻ᩠ᩃ ป๊ะ [pa᷇] พฺล p pl [p] ต่ำ
ᨽᩖ ᨽ᩠ᩃ ภะ [pʰa᷇] ภฺล ph phl [pʰ] ต่ำ
ᨾᩖ ᨾ᩠ᩃ มะ [ma᷇] มฺล m ml [m] ต่ำ

พยัญชนะต้นควบระโรง (ระโฮง หรือ ระวง)

แก้

การควบตัวระโรงเป็นรูปที่พิเศษที่ใช้เขียนการควบกล้ำด้วยตัว ᩁ (ร) ในทำนองเดียวกับอักขรวิธีของอักษรขอมไทย และอักษรเขมร ในขณะที่รูปเชิงซึ่งเป็นตัวสะกดจะใช้ -᩠ᩁ โดยระโรงอาจเรียกได้หลายอย่าง ซึ่งจะเรียกว่า ระโฮง (ตามการอ่านแบบล้านนา) หรือ ระวง ก็ได้

พยัญชนะควบตัวระโรงถือเป็นพยัญชนะควบไม่แท้ การควบด้วยตัวระโรงนั้น แม้จะเทียบเคียงได้กับการควบพยัญชนะ ร ในภาษาไทย แต่ในภาษาล้านนานั้นไม่มีเสียง ร ดังนั้นการควบด้วยระโรงจึงไม่ใช่การควบเสียง ร อย่างที่ปรากฏในภาษาไทย ในทางตรงกันข้าม การควบด้วยระโรงจะมีกฎการผันเสียงโดยเฉพาะ สามารถแบ่งได้เป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่เกิดการผันเสียง และกลุ่มที่ไม่เกิดการผันเสียง และในบางกรณีอาจมีการเติมหน่วยเสียง ล เข้าไปแทรกในทำนองเดียวกับอักษรนำด้วย เช่น ᨴᩕᩣ᩠ᨿ (ทฺราย; หมายถึงทะลายมะพร้าว) อาจออกเสียงเป็น ทาย หรือ ทะลาย ก็ได้ (ไม่ออกเสียงว่า ซาย แบบภาษาไทย) แต่กรณีเป็นการอักษร ทร ควบกล้ำแท้และอ่านแบบไทยแท้ก็อ่านได้เหมือนกัน เช่น ᨧᩢᩕᨶᩣ᩠ᨴ (อ่านว่า จัน-ทฺรา; หมายถึง ดวงจันทร์) ก็ออกเสียงเป็น จั๋น-ทา ได้

การเขียนคำยืมที่มาจากภาษาต่างประเทศ ที่มีเสียงควบ ร หรือ r ก็อาจอนุโลมให้ใช้การควบด้วยรูประโรงก็ได้ เช่น ฟรี หรือ free สามารถเขียนเป็น ᨼᩕᩦ โดยอาจออกเสียงเป็น ฟี หรือ ฟรี ตามการออกเสียงในภาษาดั้งเดิมก็ได้[13]

การควบระโรงแบบมีการผันเสียง
แก้

ในกรณีที่พยัญชนะต้นมีเสียงอโฆษะสิถิล ได้แก่ เสียง ก (ᨠ,​ ᨣ); ต​ (ᨲ​, ᨴ); ป​ (ᨷ,​​ ᨻ) การควบด้วยระโรงจะทำให้เกิดการผันเสียงเป็นเสียงอโฆษะธนิต ได้แก่ เสียง ค, ท, พ ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ในเอกสารโบราณอาจพบรูปที่มีการควบระโรงซ้ำซ้อนได้เช่นรูป ᨡᩕ​ (ขฺร) และ ᨹᩕ​ (ผฺร) หรือแม้แต่การควบ ปฺร ด้วยรูป ᨸᩕ อย่างไรก็ดี มักถือว่าเป็นการเขียนที่ไม่ตรงกับหลักอักขรวิธี

อักษร ชื่ออักษร ปริวรรตเป็นอักษรไทย ปริวรรตเป็นอักษรละติน สัทอักษร ไตรยางศ์
คำอ่าน สัทอักษร แบบเน้นเสียงอ่าน แบบเน้นนิรุกติ
ᨠᩕ ข๋ะ, ฃ๋ะ [xǎ], [kʰǎ] กฺร kh, x kr [x] สูง
ᨡᩕ ข๋ะ, ฃ๋ะ [xǎ], [kʰǎ] ขฺร kh, x khr [x] สูง
ᨣᩕ คะ, ฅะ [xa᷇], [kʰa᷇] คฺร kh, x khr [x] ต่ำ
ᨲᩕ ถะหล๋ะ [tʰa.lǎ] ตฺร thl tr [tʰa.l] สูง
ถ๋ะ [tʰǎ] th [tʰ]
ᨴᩕ ทะละ [tʰa᷇.la᷇] ทฺร thl thr [tʰa᷇.l] ต่ำ
ทะ [tʰa᷇] th [tʰ]
ᨷᩕ ผ๋ะ [pʰǎ] ปฺร ph pr [pʰ] สูง
ᨹᩕ ผ๋ะ[14] [pʰǎ] ผฺร ph phr [pʰ] สูง
ᨻᩕ พะ [pʰa᷇] พฺร ph phr [pʰ] ต่ำ
การควบระโรงแบบไม่มีการผันเสียง
แก้

ในกรณีที่พยัญชนะต้นมีเสียงอื่นนอกจากเสียงอโฆษะสิถิล จะไม่มีการผันเสียงพยัญชนะ แต่มักจะนิยมเติมหน่วยเสียง ล เข้าไปในทำนองเดียวกับอักษรนำ เช่น ᩈᩕᩦ (สฺรี)​ อ่านว่า สะ-หลี เป็นต้น (แต่ในหนังสือบางตำราอาจมีการเล่นคำ ในการอ่านว่า สะหลี โดยจะมีการเขียน ᩕᩈᩦ หลากหลายรูปแบบ เช่น ᩕᩈᩦ᩠ᩃ หรือ ᩕᩔᩦ᩠ᩃ ก็อ่านว่า สะ-หลี ได้เหมือนกัน แต่บางครั้งคำว่า ᩕᩈᩦ เดิมจะอ่านว่า สี แทน)

อักษร ชื่ออักษร ปริวรรตเป็นอักษรไทย ปริวรรตเป็นอักษรละติน สัทอักษร ไตรยางศ์
คำอ่าน สัทอักษร แบบเน้นเสียงอ่าน แบบเน้นนิรุกติ
ᨧᩕ จะหล๋ะ[15] [t͡ɕa.lǎ] จฺร chl, jl chr, jr [t͡ɕa.l] สูง
จ๋ะ [t͡ɕʰǎ] ch, j [t͡ɕʰ]
ᨩᩕ จะ[16] [t͡ɕa] ชฺร ch, j chr, jr [t͡ɕʰ] ต่ำ
ᨪᩕ ซะละ[17] [sa᷇.la᷇] ซฺร sl sr [sa᷇.l] ต่ำ
ᩈᩕ สะหล๋ะ [sa.lǎ] สฺร sl sr [sa.l] สูง
ᩆᩕ ศะหล๋ะ [sa.lǎ] ศฺร sl sr [sa.l] สูง

พยัญชนะต้นควบตัววะ

แก้

พยัญชนะควบตัววะถือเป็นพยัญชนะควบแท้ เพียงหนึ่งเดียว

อักษร ชื่ออักษร การปริวรรต สัทอักษร ไตรยางศ์
คำอ่าน สัทอักษร อักษรไทย อักษรละติน
ᨠ᩠ᩅ กว๋ะ [kwǎ] กว kw [kw] สูง
ᨡ᩠ᩅ ขว๋ะ, ฃว๋ะ [xwǎ] ขว khw, xw [xw] สูง
ᨢ᩠ᩅ ขว๋ะ, ฃว๋ะ [xwǎ] ฃว khw, xw [xw] สูง
ᨣ᩠ᩅ กว๊ะ [kwa᷇] คว kw [kw] ต่ำ
ᨤ᩠ᩅ ควะ, ฅวะ [xwa᷇] ฅว khw, xw [xw] ต่ำ
ᨦ᩠ᩅ งวะ [ŋwa᷇] งว ngw [ŋw] ต่ำ
ᩉ᩠ᨦ᩠ᩅ หฺงวะ [ŋwǎ] หฺงว ngw [ŋw] สูง
ᨧ᩠ᩅ จว๋ะ [t͡ɕwǎ] จว jw, chw [t͡ɕw] สูง
ᨩ᩠ᩅ จว๊ะ [t͡ɕwa᷇] ชว jw, chw [t͡ɕw] ต่ำ
ᨪ᩠ᩅ ซวะ [swa᷇] ซว sw [sw] ต่ำ
ᨯ᩠ᩅ ดว๋ะ [dwǎ] ดว dw [dw] กลาง
ᨲ᩠ᩅ ตว๋ะ [twǎ] ตว tw [tw] สูง
ᨴ᩠ᩅ ตว๊ะ [tʰwa᷇] ทว thw [tʰw] ต่ำ
ᨶ᩠ᩅ นวะ [nwa᷇] นว nw [nw] ต่ำ
ᩀ᩠ᩅ ยว๋ะ, อฺยว๋ะ [jwǎ] อฺยว yw [jw] กลาง
ᨿ᩠ᩅ ญวะ (เสียงนาสิก) [ɲwa᷇] ยว nyw, yw, gnw [ɲw] ต่ำ
ᩉ᩠ᨿ᩠ᩅ หฺญวะ (เสียงนาสิก) [ɲwǎ] หฺยว, หฺญว nyw, yw, gnw [ɲw] สูง
ᩁ᩠ᩅ ลวะ [lwa᷇] รว rw, lw [lw] ต่ำ
ᩃ᩠ᩅ ลวะ [lwa᷇] ลว lw [lw] ต่ำ
ᩈ᩠ᩅ สว๋ะ [swǎ] สว sw [sw] สูง
ᩋ᩠ᩅ อว๋ะ [ʔwǎ] อว ʔw [ʔw] ต่ำ

สระ

แก้

สระลอย

แก้

สระลอยคือรูปสระที่ออกเสียงได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องประสมกับพยัญชนะ สระลอยในอักษรธรรมล้านนามีใช้สำหรับเขียนภาษาบาลีสันสกฤตเป็นหลัก เว้นแต่รูปสระ ᩐᩣ (เอา) ซึ่งเป็นรูปสระพิเศษแทนคำว่า เอา ซึ่งเป็นคำภาษาตระกูลไท ไม่ใช้กับคำภาษาบาลีสันสกฤต[18]

อักษรธรรม คำอ่าน การปริวรรต
ถอดเสียง สัทอักษร อักษรไทย อักษรละติน
  อ๋ะ /áʔ/ อะ a
ᩋᩣ   อา /āː/ อา aa
  อิ๋ /íʔ/ อิ i
  อี /īː/ อี ii
  อุ๋ /úʔ/ อุ u
  อู /ūː/ อู uu
  เอ /ēː/ เอ e
  โอ /ōː/ โอ o
  ลิ, ลึ,

ลือ, เลอ

/li/, /lɯ̄ː/,

/lɯ᷇ʔ/, /lɤː/[19]

ฤ, ฤๅ, รึ,

รือ, ริ, เรอ[19]

rue, ruue,

ri, roe[19]

  ฦ, ฦๅ, ลึ,

ลือ, ลิ, เลอ[19]

lue, luue,

li, loe[19]

ᩐᩣ   เอา /aw/ เอา aw, au, ao

สระจม

แก้

เป็นสระที่ไม่สามารถออกเสียงได้ด้วยตัวเอง ต้องนำไปผสมกับพยัญชนะก่อนจึงจะสามารถออกเสียงได้ การเรียกชื่อสระจมจะเรียกชื่อคล้ายสระในอักษรไทยทุกประการ แต่ในอักษรธรรมจะเรียกโดยขึ้นต้นด้วยคำว่าไม้ เช่นว่า ไม้ก๋ะ ไม้ก๋า ไม้กิ ไม้กี๋ ฯลฯ

สระเสียงสั้น
(ใช้กับพยัญชนะ ᨠ)
สระเสียงยาว
(ใช้กับพยัญชนะ ᨠ)
สระ ไม่มีตัวสะกด มีตัวสะกด (ᨦ)[a] สระ ไม่มีตัวสะกด มีตัวสะกด (ᨦ)[a]
สระเดี่ยว
อะ /a/ ᨠ​, ᨠᩡ ᨠᩢ᩠ᨦ อา /aː/ ᨠᩣ[b] ᨠᩣ᩠ᨦ
อิ /i/ ᨠᩥ ᨠᩥ᩠ᨦ อี /iː/ ᨠᩦ ᨠᩦ᩠ᨦ
อึ /ɯ/ ᨠᩧ,​ ᨠᩨᩡ ᨠᩧ᩠ᨦ,​ ᨠᩨ᩠ᨦᩡ อื /ɯː/ ᨠᩨ ᨠᩨ᩠ᨦ
อุ /u/ ᨠᩩ ᨠᩩᨦ,​ ᨠᩩᨦ᩼[c] อู /uː/ ᨠᩪ ᨠᩪᨦ,​ ᨠᩪᨦ᩼[c]
เอะ /e/ ᨠᩮᩡ, ᨠᩮᩬᩡ ᨠᩮᩢ᩠ᨦ, ᨠᩮᩬᨦᩡ เอ /eː/ ᨠᩮ ᨠᩮ᩠ᨦ
แอะ /ɛ/ ᨠᩯᩡ, ᨠᩯᩬᩡ ᨠᩯᩢ᩠ᨦ,​​ ᨠᩯᩬᨦᩡ แอ /ɛː/ ᨠᩯ ᨠᩯ᩠ᨦ
โอะ /o/ ᨠᩰᩡ ᨠᩫ᩠ᨦ [d] โอ /oː/ ᨠᩰ,ᨠᩮᩣ[b][e] ᨠᩰᩫ᩠ᨦ,​ ᨠᩰ᩠ᨦ
เอาะ /ɔ/ ᨠᩰᩬᩡ ᨠᩬᩢᨦ,​ ᨠᩬᨦᩡ ออ /ɔː/ ᨠᩬᩴ, ᨠᩳ[f] ᨠᩬᨦ, ᨠᩬᨦ᩼[c]
เออะ /ɤ/ ᨠᩮᩬᩥᩡ ᨠᩮᩥᩢ᩠ᨦ,​ ᨠᩮᩥ᩠ᨦᩡ เออ /ɤː/ ᨠᩮᩥᩬ ᨠᩮᩥ᩠ᨦ
สระเสียงควบ
เอียะ /iaʔ/ ᨠᩮ᩠ᨿᩡ ᨠ᩠ᨿᩢᨦ, ᨠ᩠ᨿᨦᩡ เอีย /ia/ ᨠᩮ᩠ᨿ ᨠ᩠ᨿᨦ
เอือะ /ɯaʔ/ ᨠᩮᩬᩥᩋᩡ ᨠᩮᩬᩥᩢᨦ,​ ᨠᩮᩬᩥᨦᩡ เอือ /ɯa/ ᨠᩮᩬᩥᩋ ᨠᩮᩬᩥᨦ
ᨠᩮᩬᩨᩋᩡ ᨠᩮᩬᩨᩢᨦ,​ ᨠᩮᩬᩨᨦᩡ ᨠᩮᩬᩨᩋ ᨠᩮᩬᩨᨦ
อัวะ /uaʔ/ ᨠ᩠ᩅᩫᩡ ᨠ᩠ᩅᩢᨦ,​ ᨠ᩠ᩅᨦᩡ อัว /ua/ ᨠ᩠ᩅᩫ ᨠ᩠ᩅᨦ,​ ᨠ᩠ᩅᨦ᩼[c]
สระเสียงควบตามหลักสัทศาสตร์
เอา /aw/ ᨠᩮᩢᩣ,[b] ᨠᩮᩫᩢᩣ, ᨠᩳ,[g] ᨠᩪᩦ[h] - อาว /aːw/ ᨠᩣ᩠ᩅ -
อิว /iw/ ᨠᩥ᩠ᩅ -
เอ็ว /ew/ ᨠᩮ᩠ᩅᩡ,​ ᨠᩮᩢ᩠ᩅ - เอว /eːw/ ᨠᩮ᩠ᩅ,​ ᨠ᩠ᨿᩅ,​ ᨠ᩠ᨿᩴ -
แอ็ว /ɛw/ ᨠᩯ᩠ᩅᩡ,​ ᨠᩯᩢ᩠ᩅ - แอว /ɛːw/ ᨠᩯ᩠ᩅ -
เอียว /iaw/ ᨠ᩠ᨿᩅ,​ ᨠ᩠ᨿᩴ -
ไอ /aj/ ᨠᩱ, ᨠᩲ, ᨠᩱ᩠ᨿ, ᨠᩱᨿ᩠ᨿ, ᨠᩮᨿ᩠ᨿ,[20] ᨠᩢ᩠ᨿ[10] - อาย /aːj/ ᨠᩣ᩠ᨿ -
อึย /ɯj/ ᨠᩧ᩠ᨿ,​ ᨠᩨ᩠ᨿᩡ - อืย /ɯːj/ ᨠᩨ᩠ᨿ -
อุย /uj/ ᨠᩩ᩠ᨿ - อูย /uːj/ ᨠᩪ᩠ᨿ -
โอย /oːj/ ᨠᩰᩫ᩠ᨿ,​ ​ᨠ᩠ᩅ᩠ᨿ -
อ็อย​/ɔj/ ᨠᩬ᩠ᨿᩡ,​ ᨠᩬᩢ᩠ᨿ - ออย /ɔːj/ ᨠᩭ,[f][i] ᨠᩬ᩠ᨿ -
เอย /ɤːj/ ᨠᩮᩥ᩠ᨿ,​ ᨠᩮᩬᩥ᩠ᨿ,​ ᨠᩮᩬᩨ᩠ᨿ -
อวย /uaj/ ᨠ᩠ᩅ᩠ᨿ -
เอือย /ɯaj/ ᨠᩮᩬᩥ᩠ᨿ,​ ᨠᩮᩬᩨ᩠ᨿ -
สระรูปพิเศษ
อํ /aŋ/ ᨠᩴ,[e] ᨠᩘ[e][j]
อำ /am/ ᨠᩣᩴ[b]
หมายเหตุ
  1. 1.0 1.1 เป็นการสะกดที่จำลองขึ้นเพื่อแสดงตำแหน่งของสระและพยัญชนะ
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 สระอาในรูป ◌ᩤ นิยมใช้กับอักษรที่มีรูปร่างกลมมน ได้แก่ ᨣ​ ᨧ​ ᨵ​ ᨰ​ ᨴ​ ᨷ​ ᩅ เพื่อให้อ่านง่าย ในที่นี้จะมีชื่อว่าไม้ก๋าหลวงหรือไม้ก๋าโว้ง (ᩱᨾ᩶ᨠᩣᩉᩖ᩠ᩅᨦ,​ ᩱᨾ᩶ᨠᩣᩰᩅᩫ᩠᩶ᨦ)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 ตัวอักษร ᩁ ที่อยู่บนตัวสะกดนี้ ( ᩺ , ᩼) เรียกว่า ระห้าม (ᩁᩉ᩶ᩣ᩠ᨾ) ทำหน้าที่เป็นทัณฑฆาต ( ์) หรือ ระสะกด (ᩁ ᩈᨠᩫ᩠ᨯ)
  4. เรียกว่า ไม้ก๋ง (ᩱᨾᩢᨠᩫ᩠ᨦ)
  5. 5.0 5.1 5.2 ใช้สำหรับการเขียนภาษาบาลีเท่านั้น
  6. 6.0 6.1 เป็นการสะกดแบบลื้อและขืน
  7. เรียกว่าไม้เก๋าห่อหนึ้ง (ᨾᩱ᩶ᨠᩮᩢᩣᩉᩬᩴ᩵ᩉ᩠ᨶᩧ᩶ᨦ)
  8. เรียกว่าไม้เก๋าจู้จี้ (ᨾᩱ᩶ᨠᩮᩢᩣᨧᩪ᩶ᨧᩦ᩶)
  9. ᩭ เรียกว่า ไม้ก๋อย (ᩱᨾ᩶ᨠᩬ᩠ᨿ)
  10. เรียกว่าไม้กั๋งไหล (ᩱᨾ᩶ᨠᩢ᩠ᨦᩱᩉᩖ) จะใช้เป็นตัวข่มในพยัญชนะวรรค กะ เท่านั้น

สระพิเศษสำหรับภาษาสันสกฤต

แก้

อักษรธรรมล้านนานั้นแต่หนเดิมได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้เขียนภาษาบาลีก่อนเป็นเบื้องแรก ดังนั้นจึงใช้เขียนภาษาบาลีได้อย่างราบรื่น แต่ทว่าการณ์มิได้เป็นเช่นนั้นสำหรับภาษาสันสกฤต เนื่องจากการใช้อักษรธรรมเขียนภาษาสันสกฤตนั้นได้เกิดขึ้นในสมัยหลัง และแม้โดยพื้นฐานแล้วภาษาสันสกฤตจะใกล้เคียงกับภาษาบาลีมาก แต่ก็มีเสียงสระที่เพิ่มขึ้นมาคือ สระไอ และ สระเอา เพื่อให้สามารถเขียนภาษาสันสกฤตได้ จึงมีการดัดแปลงไม้แก๋ (รูปสระแอ) สำหรับใช้แทนเสียง สระไอ และ สระเอา ในภาษาสันสกฤต ดังตารางด้านล่าง จากหลักฐานจะพบเพียงรูปสระจมของสระทั้งสองนี้เท่านั้น ไม่พบรูปสระลอย และรูปสระ ᩐᩣ​ ก็จะไม่นำไปใช้กับภาษาสันสฤต นอกจากนี้ยังมีการประดิษฐ์รูปสระจมของตัว ฤ ขึ้นใช้สำหรับภาษาสันสกฤตด้วย โดยอักขระนี้อาจมีรูปลักษณ์คล้ายหางป๊ะ (◌ᩛ) หรือเขียนเป็นตัว ᩂ อยู่ใต้พยัญชนะ ​[19]

สระ รูปสระจม

(จำลองการสะกดด้วยตัว ᨠ)

ไอ /ai/ ᨠᩯ
เอา /au/ ᨠᩯᩣ
ฤ /ṛ/ ᨠ᩠ᩂ

วรรณยุกต์

แก้

รูปวรรณยุกต์

แก้

อักษรธรรมล้านนามีรูปวรรณยุกต์หลัก ๆ คือไม้เหยาะ (ᨾᩱ᩶ᩀᩰᩬᩡ) และไม้ขอจ๊าง (ᨾᩱ᩶ᨡᩬᩴᨩ᩶ᩣ᩠ᨦ) ซึ่งเทียบเท่ากับไม้เอกและไม้โทของอักษรไทย โดยไม่มีรูปที่เทียบเท่าไม้ตรีและจัตวา ทำให้การผันเสียงวรรณยุกต์มีระบบที่แตกต่างจากภาษาไทยมาตรฐานค่อนข้างมาก เนื่องจากภาษาล้านนามีเสียงวรรณยุกต์ถึง 6 เสียง แต่ในการเขียน จะผันเสียงโดยใช้รูปวรรณยุกต์เพียงสองรูปเท่านั้น ขณะที่ภาษาไทยมาตรฐานมีเสียงวรรณยุกต์ 5 เสียง แต่ก็มีการประดิษฐ์รูปวรรณยุกต์ให้ใช้ได้ครบทุกเสียง อนึ่ง ในภาษาไทเขิน ก็ได้มีความพยายามในการประดิษฐ์รูปวรรณยุกต์เพิ่มเติมอีก 3 รูป คือ ไม้ก๋อเหนือ (ᨾᩱ᩶​ᨠᩬᩴ​ᩮᩉᩬ᩠ᨶᩥᩋ,ᨾᩱ᩶​ᨠᩳᩮᩉᩬ᩠ᨶᩥᩋ) ไม้สองเหนือ (ᨾᩱ᩶​ᩈᩬᨦ ᩮᩉᩬ᩠ᨶᩥᩋ) และไม้สามเหนือ (ᨾᩱ᩶​ᩈᩣ᩠ᨾ​ᩮᩉᩬ᩠ᨶᩥᩋ) สำหรับใช้กับกลุ่มอักษรกลาง ᩋ​ (อ) ᨷ​ (บ) ᨯ​ (ด) ᩀ​ (อย) อย่างไรก็ตาม รูปวรรณยุกต์ที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่นี้ ยังจำกัดใช้เฉพาะในภาษาไทเขินแบบเชียงตุง ซึ่งมีการออกเสียงวรรณยุกต์ต่างจากภาษาล้านนาที่ใช้ในภาคเหนือของไทย ทั้งยังมีรูปแบบการใช้ที่สับสนและไม่เป็นระบบมากนัก จึงไม่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายนัก[21]

รูป​วรรณยุกต์ ชื่อเรียก หมายเหตุ
ชื่อภาษาล้านนา ถอดเสียง สัทอักษร
  ᨾᩱ᩶ᩀᩢ᩠ᨠ, ᨾᩱ᩶ᩀᩰᩬᩡ[22] ไม้หยัก, ไม้เหยาะ /máj.jǎk/, /máj.jɔ́ʔ/ เทียบได้กับไม้เอก
  ᨾᩱ᩶ᨡᩬᩴᨩ᩶ᩣ᩠ᨦ[22] ไม้ขอจ๊าง /máj.xɔ̌ː.t͡ɕáːŋ/ เทียบได้กับไม้โท
  ᨾᩱ᩶ᨪᩢ᩠ᨯ[21] ไม้ซัด /máj.sát/ เป็นรูปไม้หันอากาศ แต่สามารถใช้เป็นรูปไม้โทได้เช่นกัน และมักพบใช้ปะปนกันได้โดยทั่วไป รวมถึงการเขียนสะกดด้วย ก จะเรียกว่า ไม้กัก (ᩲᨾ᩶ᨠᩢ᩠ᨠ)
  ᨾᩱ᩶​ᨠᩴᩬᩮᩉᩬ᩠ᨶᩥᩋ,ᨾᩱ᩶​ᨠᩳᩮᩉᩬ᩠ᨶᩥᩋ[23] ไม้ก๋อเหนือ /máj.kɔ̌.nɯa̯/ ประดิษฐ์ขึ้นใช้กับภาษาไทเขิน, รูปร่างเหมือนไม้ก๋อ (สระออ) -ᩴᩬ,-ᩳ ใช้สำหรับบังคับเสียงวรรณยุกต์อักษรกลาง แต่การใช้ยังลักลั่นอยู่มาก เนื่องจากบางตำราถือว่าใช้สำหรับเสียงวรรณยุกต์สามัญ แต่บางตำราก็ว่าให้ใช้สำหรับวรรณยุกต์ที่ใกล้เคียงกับเสียงตรีในภาษาไทยมาตรฐาน [21]
  ᨾᩱ᩶​ᩈ᩠ᩋᨦ ᩮᩉᩬ᩠ᨶᩥᩋ[23] ไม้สองเหนือ /máj.sɔ̌ːŋ.nɯa̯/ ประดิษฐ์ขึ้นใช้กับภาษาไทเขิน, รูปร่างเหมือนเลขสอง ใช้สำหรับเสียงวรรณยุกต์จัตวาของอักษรกลาง เพื่อป้องกันความสับสนในการออกเสียง[21]
  ᨾᩱ᩶​ᩈᩣ᩠ᨾ​ᩮᩉᩬ᩠ᨶᩥᩋ[23] ไม้สามเหนือ /máj.sǎːm.nɯa̯/ ประดิษฐ์ขึ้นใช้กับภาษาไทเขิน, รูปร่างเหมือนเลขสาม ใช้สำหรับเสียงวรรณยุกต์ของอักษรกลาง ซึ่งมีเสียงใกล้เคียงกับเสียโทในภาษาไทยมาตรฐาน[21]
  - - ยืมจากอักษรไทยรูปไม้จัตวา สำหรับใช้ในภาษาไทเขิน เทียบได้กับไม้สองเหนือ[21]
  - - ยืมจากอักษรไทยรูปไม้โท สำหรับใช้ในภาษาไทเขิน เทียบได้กับไม้สามเหนือ[21]

การผันวรรณยุกต์

แก้

คำเมืองสำเนียงเชียงใหม่มีวรรณยุกต์ 6 เสียง โดยพื้นฐานจะใกล้เคียงกับภาษาไทยมาตรฐานคือมีเสียง 5 เสียง ได้แก่ สามัญ เอก โท ตรี และ จัตตา แต่มีเสียงครึ่งโทครึ่งตรีเพิ่มมาอีกหนึ่งเสียง ซึ่งในวงวิชาการมักเรียกว่า เสียงโทพิเศษ วรรณยุกต์สำเนียงเชียงใหม่มีระดับเสียงที่ค่อนข้างใกล้เคียงกับเสียงวรรณยุกต์ของภาษาไทยมาตรฐาน แต่สำเนียงในถิ่นอื่นอาจจะมีความแตกต่างไปจากภาษาไทยมาตรฐานได้มาก และอาจจะมีเสียงวรรณยุกต์มากถึง 8 เสียง

เสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยมาตรฐานเทียบภาษาล้านนาสำเนียงเชียงใหม่
วรรณยุกต์ ภาษาไทย
มาตรฐาน[24]
ภาษาล้านนา
สำเนียงเชียงใหม่[24]
สามัญ 33 or ˧˧ 33 or ˧˧
เอก 21 or ˨˩ 21 or ˨˩
โท 43 or ˦˧ 42 or ˦˨
โทพิเศษ 44ʔ or ˦˦ʔ
ตรี 44 or ˦˦ 45 or ˦˥
จัตวา 323 or ˧˨˧ 24 or ˨˦

อักษรธรรมล้านนาแบ่งเป็นระบบไตรยางศ์สำหรับผันวรรณยุกต์ได้เช่นเดียวกับอักษรไทย แต่ก็มีความแตกต่างค่อนข้างมาก เนื่องจากอักษรธรรมมีรูปวรรณยุกต์เพียง 2 รูป คือ ไม้เหยาะ (เทียบเท่าไม้เอก) และ ไม้ขอจ๊าง (เทียบเท่าไม้โท) แต่ต้องผันเสียงถึง 6 เสียง อีกทั้งพยัญชนะหลายตัวก็ออกเสียงต่างจากอักษรไทย ดังนั้นในการผันวรรณยุกต์ดัวยอักษรธรรม จะเป็นการผันในลักษณะที่ผันอักษรต่ำคู่ไปกับอักษรสูงให้ครบ 6 เสียง และในส่วนของอักษรต่ำเดียว ก็จะมีรูป ᩉ​ (ห) นำ สำหรับเป็นคู่อักษรสูงเช่นเดียวกับอักษรไทย อย่างไรก็ดีเสียงพยัญชนะของอักษรธรรมจะต่างจากอักษรภาษาไทย เช่น รูป ᨠ​ (ก) กับ ᨣ​ (ค) มีเสียง ก เหมือนกัน และจะใช้ผันเป็นเสียง ก คู่กันจนครบ 6 เสียง คือ ​ᨣᩤ​ ᨠ᩵ᩣ​ ᨣ᩵ᩤ​ ᨠ᩶ᩣ​ ᨣ᩶ᩤ​ ᨠᩣ ดังนั้น คู่ของอักษรที่จะใช้ผันวรรณยุกต์คู่กันจะแตกต่างจากอักษรไทย ซึ่งจะได้แสดงไว้ในตารางข้างล่างนี้[25]

คู่อักษรสูงและอักษรต่ำที่ใช้ในการผันเสียงวรรณยุกต์ด้วยอักษรธรรมล้านนา
เสียงตามสัทอักษร อักษรธรรม อักษรไทย (เทียบเคียง)
อักษรสูง อักษรต่ำ อักษรสูง อักษรต่ำ
[k] (อักษรกลาง)
[x] ᨡ, ᨢ ᨤ, ᨥ ข, ฃ ค, ฅ
[ŋ] ᩉ᩠ᨦ หง
[t͡ɕ] (อักษรกลาง)
[s] ᨨ, ᩆ, ᩇ, ᩈ ᨪ, ᨫ ส, ศ, ษ
[ɲ] ᩉ᩠ᨿ ᨬ, ᨿ หญ (เสียงนาสิก) (เสียงนาสิก)
[t] ᨭ, ᨲ ต, ฏ (อักษรกลาง)
[tʰ] ᨮ, ᨳ ᨰ, ᨵ ถ, ฐ ท, ฒ, ธ
[n] ᩉ᩠ᨶ ᨱ, ᨶ หน
[p] [a] (อักษรกลาง)
[pʰ] พ, ภ
[f]
[m] ᩉ᩠ᨾ หม
[r] ᩉᩕ หร
[l] ᩉᩖ, ᩉ᩠ᩃ, ᩉᩕ ᩃ, ᩊ, ᩁ หล ล,​ ฬ
[h] ᩉ, ᩉᩕ ᩌ, ᩁ
[w] ᩉ᩠ᩅ หว
Notes
  1. ออกเสียง ป ในภาษาบาลี

อย่างไรก็ตาม อักษรกลาง ได้แก่ ᩋ​ (อ) ᨷ (บ)​ ᨯ (ด)​ ᩀ​​ (อย) ไม่มีคู่สำหรับผันให้ครบ 6 เสียง ดังนั้นจึงอนุโลมให้รูปวรรณยุกต์เดียวใช้ผันได้หลายเสียง เช่น ᩋᩩ᩠ᨿ​ (อุย) สามารถออกเสียงเป็น อุย หรือ อุ๋ย ก็ได้ ขึ้นอยู่กับปริบท อนึ่งในภาษาไทเขิน ได้มีการประดิษฐ์รูปวรรณยุกต์เพิ่มอีก 3 ตัวสำหรับอักษรกลาง คือ ไม้ก๋อเหนือ (᩷) ไม้สองเหนือ (᩸) และ ไม้สามเหนือ (᩹) เพื่อให้สามารถผันเสียงได้ครบ 6 เสียง แต่อย่างไรก็ดี วรรณยุกต์ที่ประดิษฐ์ใช้ใหม่นี้ไม่ได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย และการใช้ยังไม่เป็นระเบียบแบบแผนมากนัก เนื่องจากภาษาไทเขินเองก็มีหลายสำเนียง และมีเสียงวรรณยุกต์ที่ต่างจากคำเมืองพอสมควร

การผันวรรณยุกต์ยังต้องคำนึงถึงมาตราตัวสะกด กับคำเป็นคำตาย อีกด้วย คำเป็น คือคำที่มีมาตราตัวสะกด แม่กม แม่กง แม่กน แม่เกย เแม่กอว และ แม่ ก กา (เฉพาะสระเสียงยาว) และ คำตาย คือ คำที่มีมาตราตัวสะกด แม่กก แม่กบ แม่กด และแม่ ก กา (เฉพาะสระเสียงสั้น) ซึ่งเมื่อรวมกับไตรยางศ์แล้ว ก็สามารถสร้างตารางการผันวรรณยุกต์แบบสมบูรณ์ได้ดังตารางข้างล่างนี้ โดยในแง่ของสัญลักษณ์แทนวรรณยุกต์ กำหนดให้ช่องสีเหลือง เป็นรูปไม้เหยาะ, ช่องสีส้ม เป็นรูปไม้ขอจ๊าง, และช่องสีฟ้า ไม่มีรูปวรรณยุกต์ นอกจากนี้ อักษรสูงกับอักษรต่ำจะเรียงแถวไว้คู่กันเพื่อให้เห็นลักษณะการผันแบบคู่อักษรสูงอักษรต่ำที่สลับกันไปมา

อนึ่ง ในส่วนของการผันคำตายนั้น มีลักษณะที่ค่อนข้างเฉพาะ และนักภาษาศาสตร์บางท่านก็อาจะถือว่าเป็นระบบการผันเสียงวรรณยุกต์ที่แยกออกอีกระบบต่างหาก

มาตราตัวสะกด เสียงสระ ไตรยางศ์ ระดับเสียงวรรณยุกต์ (สำเนียงเชียงใหม่)
สามัญ เอก โท โทพิเศษ ตรี จัตวา
คำเป็น

แม่กม, แม่กง,
แม่กน, แม่เกย,
แม่เกอว, และ
แม่ ก กา
(เฉพาะสระเสียงยาว)

สระเสียงยาว
และ
สระเสียงสั้น
ต่ำ ᨴᩣ
/ตา/
"ทา"
ᨴ᩵ᩣ
/ต้า/
"ท่า"
ᨴ᩶ᩣ
/ต๊า/
"ท้า"
สูง ᨲ᩵ᩣ᩠ᨦ

/ต่าง/
"ต่าง"

ᨲ᩶ᩣ᩠ᨶ

/ต้าน*/
"ต้าน"

ᨲᩣ

/ต๋า/
"ตา"

กลาง ᩋᩩ᩠ᨿ
/อุย/
"ขนอ่อน"
ᩋᩩ᩠᩵ᨿ
/อุ่ย/
"โปรย"
ᩋᩩ᩠᩶ᨿᩌᩩ᩠᩵ᨿ[a][26]
/อุ้ยหุ้ย/
"สีเขียวปี๋"
ᩋᩩ᩠᩶ᨿ[26]

/อุ้ย*/
"โคนขา"

ᩋᩩ᩠᩶ᨿ[a][27]

/อุ๊ย/
"พ่ออุ๊ย, แม่อุ๊ย"

ᩋᩩ᩠ᨿ[a][28]

/อุ๋ย/
"หน้าอก"

คำตาย[b]

แม่กก, แม่กบ,
แม่กด, และ แม่ ก กา
(เฉพาะสระเสียงสั้น)

สระเสียงยาว ต่ำ ᨴᩣ᩠ᨠ

/ต้าก/
"ทาก"

ᨶᩰ᩠᩶ᨴ[a][c][29]

/โน๊ด/

"โน้ต"

สูง ᨲᩣ᩠ᨠ
/ตาก/
"ตาก"
กลาง ᨯᩣ᩠ᨷ
/ดาบ/
"ดาบ"
ᩋᩪ᩶ᨯ[a][30]
/อู้ด/
"บวม"
ᩋ᩶ᩬᨷ[a][31]
/อ๊อบ/
"คอขวด"
สระเสียงสั้น ต่ำ ᨴᩢ᩠ᨠ
/ตั๊ก/
"ทัก"
สูง ᨲᩢ᩠ᨷ
/ตั๋บ/
"ตับ"
กลาง ᩋᩩ᩶ᨠ[a][32]
/อุ๊ก/
"บ่ม"
ᨯᩢ᩠ᨷ
/ดั๋บ/
"ดับ"
Notes
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 เป็นรูปการสะกดที่ถือเป็นรูปแบบรอง พบได้น้อยกว่า ตำราบางเล่มอาจจะไม่บันทึกรูปการสะกดนี้ไว้ อย่างไรก็ตามเป็นรูปการสะกดที่พบได้ในพจนานุกรม โดยเฉพาะในคำที่ขึ้นต้นด้วยตัว (อ)
  2. นักภาษาศาสตร์บางสำนักนับว่าเป็นระบบการผันเสียงวรรณยุกต์ที่แยกออกไปเฉพาะ
  3. โดยส่วนมากจะเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ตัวเลข

แก้

อักษรธรรมมีตัวเลขสองชุด ชุดแรกคือ "เลขในธรรม" นิยมใช้กับงานเขียนเรื่องทางธรรมะหรืองานเขียนภาษาบาลี อีกชุดคือ "เลขโหรา" ซึ่งนิยมใช้ในงานเขียนเรื่องทางโลกย์ เช่น ตำราโหร เลขยันต์ วรรณกรรม ฯลฯ แต่เดิมนั้นจะใช้เป็นเลขในธรรมอย่างเดียว แต่เมื่ออาณาจักรล้านนาได้ถูกเป็นเมืองประเทศราชในอาณาจักรพม่า จึงทำให้ใช้เลขโหราเป็นเลขที่นิยมใช้โดยทั่วไป และเลขในธรรมก็จะเป็นเลขที่นิยมใช้ในเรื่องทางธรรมรวมถึงภาษาบาลี โดยเลขในธรรมจะมีลักษณะคล้ายตัวเลขลาว ส่วนเลขโหรามีลักษณะคล้ายกับตัวเลขพม่า นอกจากนี้ในปัจจุบันเมื่อใช้ภาษาไทยกลางเป็นภาษาหลัก จึงทำให้ใช้ตัวเลขไทยซึ่งคล้ายกับตัวเลขเขมรมาใช้แทนในปัจจุบัน

เลขอารบิก 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
เลขโหรา
เลขในธรรม
เลขไทย
เลขลาว
เลขพม่า
เลขเขมร

เครื่องหมายวรรคตอน

แก้

อักษรธรรมมีเครื่องหมายวรรคตอนคล้ายอักษรไทย เช่น ไม้ซ้ำคำ (᩻) (มีลักษณะคล้ายกับ ) ทำหน้าที่เหมือนไม้ยมก เช่นหากจะเขียนคำว่า ต่างๆ นาๆ จะเขียนว่า ᨲ᩵ᩣ᩠ᨦ᩻ ᨶᩣ᩻ เป็นต้น

อักขระวิธีพิเศษ

แก้

อักขระวิธีพิเศษ คือการสะกดคำโดยใช้รูปพิเศษที่ไม่ตรงกับหลักอักขรวิธี โดยส่วนมากมักเป็นไปในลักษณะของการสะกดคำแบบย่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้รูปตัวเชิงซึ่งไม่ตรงกับอักขรวิธีปกติ มักมีจุดประสงค์เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนคำที่ใช้บ่อย และมักจะพบคำประเภทนี้ได้ทั่วไปในงานเขียนด้วยอักษรธรรมล้านนา ตัวอย่างที่พบบ่อยเช่นคำว่า ᨧᩢ᩠ᨠ​ (จัก) ซึ่งมักจะย่อเป็น ᨧᩢ (จั) ทั้งนี้ ในบางครั้งอาจมีการประดิษฐ์สัญลักษณ์พิเศษขึ้นมาแทนคำ เช่น สัญลักษณ์ ᪠​ (เวียง) แทนคำว่า เวียง หรือ เมือง โดยตัวอย่างของอักขระวิธีพิเศษ จะแสดงไว้ในตารางดังนี้

ตัวอย่างคำที่สะกดด้วยอักขรวิธีพิเศษ
อักขรวิธีพิเศษ อักขรวิธีปกติ ปริวรรตอักษรไทย ความหมาย
ᨧᩢ[a],ᨧᩢᩡ[b] ᨧᩢ᩠ᨠ จัก จะ
ᨣᩴᩝ ᨣᩴ᩵ᨷᩴ᩵ ค็บ่ ก็ไม่
ᨣ᩠ᨯᩦ ᨣᩴ᩵ᨯᩦ ค็ดี ก็ดี
ᨷ᩠ᨯᩦ ᨷᩴ᩵ᨯᩦ บ่ดี ไม่ดี
ᩓ᩠ᩅ ᩃᩯ᩠ᩅ᩶ แล้ว แล้ว
ᨻᩱ᩠ᨾᩣ ᨻᩱᨾᩣ ไพมา ไปมา
ᩅ᩠ᨿᨦ เวียง เวียง
᪭ᩣ ᨩ᩶ᩣ᩠ᨦ ช้าง ช้าง
᪒᪂ ᨡᩮᩢ᩶ᩣᨡᩬᨦᨦᩮᩥ᩠ᨶᨤᩣᩴ เข้าของเงินฅำ ทรัพย์สินเงินทอง
ᨡᨲᨯᨾ ᨡᩮᩢ᩶ᩣᨲᩬᨠᨯᩬᨠᨾᩱ᩶ เข้าตอกดอกไม้ ข้าวตอกดอกไม้
ᩁᩧ,ᩁᩨ ᩋᩢ᩠ᨶᩅ᩵ᩤ อันว่า หรือว่า,เป็นอันว่า
ᨴᩢᩗᩣ᩠ᨿ [c],ᨴᩴ᩠ᩃᩣ᩠ᨿ,ᨴ᩠ᩃᩘᩣ᩠ᨿ ᨴᩢ᩠ᨦᩉᩖᩣ᩠ᨿ,ᨴᩢ᩠ᨦᩉ᩠ᩃᩣ᩠ᨿ ทังลาย ทั้งหลาย
ᩁᩂ ᩁᩨ ฤๅ ฤๅ,หรือ
ᩁᩂᨠ᩠ᩇ᩺ ᩂᨠ᩠ᩇ᩺ ฤกษ์ ฤกษ์
ᩕᨯᩪᩣ ,ᨯᩪᩕᨠᩣ ᨯᩪᩁᩣ ,ᨯᩪᨠᩣ ดูรา ,ดูกรา ดูก่อน
ᩕᨠ᩠ᨴᩣᩴ ᩕᨠᨴᩣᩴ ขะทำ กระทำ
ᨷᩴ᩵ᩜᩣ ᨷᩴ᩵ᨾᩣ บ่มา ไม่มา
ᩈ᩠ᩅᩢᩁ᩠ᨣ᩺ สวันค์ สวรรค์
ᩕᨷ᩠ᨿᩣ ᨹ᩠ᨿᩣ ผญา ผญา,ปัญญา
ᩓ᩠ᨶᩣ ᩯᩃᨶᩣ แลนา แลนา (แหละนะ)
ᩕᨻᨵᨾ᩠ᨾᩮᨴᩈ᩠ᨶ᩻ᩣ,
ᩕᨻᨵᨾ᩠ᨾᩮᨴᩔ᩠ᨶᩣ
ᩕᨻᨵᩢᨾ᩠ᨾᩮᨴᩔᨶᩣ พระธัมมเทสนา พระธรรมเทศนา
ᨾᩢ᩠᩵ᩅᩣ[a] ᨾᩢ᩠ᨠᩅ᩵ᩤ มักว่า มักจะว่า
ᨧᩢ᩠᩵ᩅᩣ[a] ᨧᩢ᩠ᨠᩅ᩵ᩤ จักว่า จะว่า
ᨽ᩠ᨿᩢᩕᨶᩣ᩠ᨲ᩠ᨿ ᨽᨿᩢ᩠ᨶᩕᨲᩣ᩠ᨿ ภยันตราย ภยันตราย (ภัยอันตราย)
ᩋᨶᩕ᩠ᨲᩣ᩠ᨿ ᩋᩢ᩠ᨶᩕᨲᩣ᩠ᨿ อันตราย อันตราย
ᩈᩣᩈ᩠᩻ᨶᩣ ᩈᩣᩈᨶᩣ สาสนา ศาสนา
ᨯᩦᩖ ,ᨯᩦ᩠ᩃ ᨯᩦᩉᩖᩦ ,ᨯᩦᩉᩦ᩠ᩃ ดีหลี ดีมาก
ᨣᩨ᩠᩵ᩅᩣ ᨤᩨᩅ᩵ᩣ คืว่า คือว่า
ᨧᩢ᩠ᨾᩣ[a] ᨧᩢ᩠ᨠᨾᩣ จักมา จะมา
ᨩᩨ᩠᩵ᩅᩣ ᨩᩨ᩵ᩅ᩵ᩤ ชื่ว่า ชื่อว่า
ᨷᩦᩜ ,ᨷᩦ᩠ᨾ ᨷᩴ᩵ᨾᩦ บ่มี ไม่มี
หมายเหตุ
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ᩢ เป็นอักษรที่มีการเล่นคำ ซึ่งเรียกว่า ไม้กัก (ᩲᨾ᩶ᨠᩢ᩠ᨠ) ซึ่งแทนเสียงสะกดด้วยพยัญชนะ ก มีการเขียนเหมือนไม้ซัด เช่น ดอกไม้ เขียนเป็น ᨯᩬᩢᩱᨾᩢ พบในคัมภีร์หนังสือตำราโบราณ
  2. ᩢᩡ เป็นอักษรที่มีการเล่นคำ ซึ่งเรียกว่า ก๊ะปู๋ยาด (ᨠᨸᩪᨿᩣ᩠ᨯ) ซึ่งแทนเสียงสะกดด้วยพยัญชนะ ก เช่น ดอกไม้ เขียนเป็น ᨯᩬᩢᩡᩲᨾᩢ พบในคัมภีร์หนังสือตำราโบราณ
  3. ᩗ เป็นพยัญชนะในรูปพิเศษที่มีเสียง อํ-ล อยู่ในตัว ซึ่งเรียกว่า ไม้กั๋งน็อต (ᩱᨾ᩶ᨠᩢ᩠ᨦᨶᩬᨲ) พบในการเขียนหนังสือแบบไทลื้อ

ทั้งนี้สามารถดูเพิ่มเติมได้ เนื่องจากคำอักขรวิธิพิเศษมักเขียนแล้วจะอ่านยาก เนื่องจากเป็นคำเฉพาะตัว[33]

สิ่งที่ต้องรู้เพิ่มเติม

แก้

ในการเขียนคำว่า พระ ในภาษาล้านนามีข้อจำกัดความด้วย ถ้าจะเขียนตัวอักษร ᩕᨻ จะใช้เฉพาะพระพุทธเจ้า พระมหากษัตริย์ พระธาตุ ฯลฯ รวมถึงพระสงฆ์ที่ดำรงสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตรที่มีราชทินนามขึ้นไป แต่ว่าพระสงฆ์ทั่วไป เช่น พระมหา พระภิกษุที่ดำรงสมณศักดิ์ที่เป็นพระครูสัญญาบัตรลงมาหรือไม่ได้ดำรงสมณศักดิ์ จะใช้ ᨽᩁᩡ หรือ ᨽᩡ แทน

ผังยูนิโคด

แก้

อักษรธรรมล้านนาได้รับการบรรจุลงในยูนิโคดตั้งแต่รุ่น 5.2 ดังนั้นจึงสามารถใช้อักษรธรรมล้านนาในคอมพิวเตอร์ได้โดยที่ไม่ต้องอาศัยช่วงรหัสของอักษรอื่นดังเช่นที่เคยทำกันในอดีตอีกต่อไป

ผังยูนิโคดสำหรับอักษรธรรมล้านนาอยู่ในช่วง U+1A20–U+1AAF:

Tai Tham[1][2]
Official Unicode Consortium code chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+1A2x
U+1A3x ᨿ
U+1A4x
U+1A5x  ᩖ  ᩘ  ᩙ  ᩚ  ᩛ  ᩜ  ᩝ  ᩞ
U+1A6x   ᩠   ᩢ  ᩥ  ᩦ  ᩧ  ᩨ  ᩩ  ᩪ  ᩫ  ᩬ
U+1A7x  ᩳ  ᩴ  ᩵  ᩶  ᩷  ᩸  ᩹  ᩺  ᩻  ᩼  ᩿
U+1A8x
U+1A9x
U+1AAx
หมายเหตุ
1.^ แม่แบบ:Unicode version
2.^ พื้นที่สีเทาไม่ได้ระบุตัวรหัส

ฟอนต์

แก้
 
ฟอนต์ Lanna Alif กับ Lanna Unicode UI

ในปัจจุบันนี้ โปรแกรมสำหรับทำงานเอกสารที่สำคัญเช่น ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ยังรองรับระบบการป้อนอักษรธรรมแบบยูนิโค้ดได้อย่างไม่สมบูรณ์[34] ทำให้เกิดการใช้งานฟอนต์อักษรธรรมแบบนอกระบบยูนิโคด (non-Unicode) อย่างแพร่หลาย ฟอนต์อักษรธรรมที่เผยแพร่โดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภาและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เองก็เป็นฟอนต์นอกระบบยูนิโคด ทั้งนี้ก็เพื่อแก้ปัญหาการไม่รองรับของโปรแกรมต่าง ๆ ดั้งที่กล่าวมา และเพื่อให้ฟอนต์สามารถแสดงผลข้อความอักษรธรรมจากบันทึกโบราณได้ โดยบันทึกเหล่านี้มักประกอบด้วยอักษรพิเศษและสัญลักษณ์ที่ช่วงรหัสยูนิโคดของอักษรไทธรรม (Tai Tham) ยังไม่รองรับ [35][36] ฟอนต์อักษรธรรมนอกระบบยูนิโคดมักใช้ช่วงรหัสยูนิโคดของอักษรไทยและอักษรละตินประสมกันสำหรับแสดงผล เพื่อแก้ปัญหาการไม่รองรับอักษรธรรมในระบบไมโครซอฟท์ออฟฟิศ อย่างไรก็ตาม ฟอนต์เหล่านี้อาจมีปัญหาในการแสดงผลบนเว็บเบราว์เซอร์หรือคอมพิวเตอร์ที่ไม่รองรับฟอนต์ดังกล่าว โดยอาจเกิดปัญหาการแสดงผลเป็นภาษาต่างดาวได้

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการพัฒนาฟอนต์อักษรธรรมแบบยูนิโคดขึ้นอย่างแพร่หลายเพื่อใช้สำหรับแสดงผลบนเว็บไซต์และเพื่อการสื่อสารผ่านสมาร์ทโฟน โดยฟอนต์ Noto Sans Tai Tham ซึ่งจัดทำโดยกูเกิล ได้กลายเป็นฟอนต์เริ่มต้นสำหรับแสดงผลอักษรธรรมในระบบแมคโอเอสและไอโอเอส[37] กระนั้น ฟอนต์ดังกล่าวในรุ่นปัจจุบันยังคงมีปัญหา กล่าวคือยังแสดงผลอักษรธรรมล้านนาได้ไม่ถูกต้อง และมีรูปทรงที่อ่านยาก

รายการฟอนต์อักษรธรรมที่ได้เผยแพร่ต่อสาธารณะแล้ว ได้จัดรวบรวมไว้ในตารางข้างล่างนี้

ชื่อฟอนต์ ระบบการป้อน รูปลักษณะอักษร ตระกูลฟอนต์ ผู้จัดสร้าง
(พร้อมลิงก์หน้า)
ยูนิโคด[a] นอกระบบยูนิโคด[b]
A Tai Tham KH New V3 ใช่ ไม่ ไทเขิน ไม่มีเชิง Arloka Tai Tham Unicode group
A Tai Tham LN ใช่ ไม่ ล้านนา มีเชิง Arloka
Chiangsaen Alif ใช่ ไม่ ล้านนา ไม่มีเชิง Alif Silapachai
CR Insom Lanna ใช่ ใช่ ล้านนา มีเชิง Worawut Thanawatanawanich
Hariphunchai ใช่ ไม่ ล้านนา มีเชิง TragerStudio, Richard Wordingham
Kotthabun ใช่ ไม่ ลาว มีเชิง Theppitak Karoonboonyanan Tai Tham Unicode group
Lanna Alif ใช่ ไม่ ล้านนา ไม่มีเชิง Alif Silapachai
Lamphun ใช่ ไม่ ล้านนา มีเชิง Richard Wordingham
LN Mon Saen ไม่ ใช่ ไทเขิน มีเชิง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (page link), Pichai Saengboon
LN Tilok ไม่ ใช่ ล้านนา มีเชิง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (page link), Pichai Saengboon
LN Wat Inda ไม่ ใช่ ไทเขิน มีเชิง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (page link), Pichai Saengboon
Noto Sans Tai Tham ใช่ ไม่ ไทเขิน ไม่มีเชิง Google Fonts
Pali-Kotthabun เฉพาะภาษาบาลี ใช่ ลาว มีเชิง Worawut Thanawatanawanich, Theppitak Karoonboonyanan
Pali-Tilok เฉพาะภาษาบาลี ใช่ ล้านนา มีเชิง Worawut Thanawatanawanich, Pichai Saengboon
Payap Lanna ใช่ ไม่ ล้านนา มีเชิง SIL International
RST-ISAN ไม่ ใช่ ลาว มีเชิง สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (page link)
RST-LANNA ไม่ ใช่ ล้านนา มีเชิง สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (page link)
Tai Tham BXL ใช่ ไม่ ไทลื้อ มีเชิง Tai Tham Unicode group
Tai Tham Kammattana ใช่ ไม่ ไทเขิน มีเชิง Tai Tham Unicode group
Tai Tham Kasem ใช่ ไม่ ล้านนา มีเชิง Tai Tham Unicode group
Tai Tham Kruba Promma ใช่ ไม่ ล้านนา มีเชิง Tai Tham Unicode group
Tai Tham Nang Kham ใช่ ไม่ ไทเขิน มีเชิง Tai Tham Unicode group
Tai Tham Sripanyawut ใช่ ไม่ ล้านนา มีเชิง Tai Tham Unicode group
Tai Tham Thatdaokham ใช่ ไม่ ไทลื้อ มีเชิง Tai Tham Unicode group
VS Tham Lanxang ใช่ ใช่ ลาว มีเชิง Worawut Thanawatanawanich
หมายเหตุ
  1. ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศไม่รองรับ
  2. ใช้ผังยูนิโคด Thai รองรับในไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Diringer, David (1948). Alphabet a key to the history of mankind. p. 411.
  2. Hartmann, John F. (1986). "The spread of South Indic scripts in Southeast Asia". Crossroads: An Interdisciplinary Journal of Southeast Asian Studies. 3 (1): 6–20. JSTOR 40860228.
  3. Penth, Hans (1986). "On the History of Thai scripts" (PDF). Siam Society Newsletter. Vol. 2 no. 3.
  4. "จารึกลานทองสมเด็จพระมหาเถรจุฑามุณิ". ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2025.
  5. 5.0 5.1 โปร่งธุระ, นัยนา (1982). อักษรธรรมล้านนา. มหาวิทยาลัยศิลปากร. pp. 13–26.
  6. วิมลเกษม, กรรณิการ์ (1981). อักษรฝักขามที่พบในศิลาจารึกภาคเหนือ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
  7. เครือไทย, พรรณเพ็ญ (2002). อักษรไทยนิเทศ. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
  8. Chew, P., Saengboon, P., & Wordingham, R. (2015). "Tai Tham: A Hybrid Script that Challenges Current Encoding Models". Presented at the Internationalization and Unicode Conference (IUC 39).
  9. 9.0 9.1 The Lanna Dictionary. Chiang Mai: Chiang Mai Rajabhat University. 2007. pp. 305–314. ISBN 9789747793567.
  10. 10.0 10.1 10.2 Rungruangsri, Udom (2004). พจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง (Revised ed.). Chiang Mai: Chiang Mai University. ISBN 9789746851756.
  11. Watcharasastr, Boonkid (2005). แบบเรียนภาษาเมืองล้านนา ᨷᩯ᩠ᨷᩁ᩠ᨿᩁᨽᩣᩇᩣᨾᩮᩬᩨᨦᩃ᩶ᩣ᩠ᨶᨶᩣ. Chiang Mai: Thara Thong Publishing. p. 20. ISBN 9748547205.
  12. Tangsiriwattanakul, Shinnakrit (4 Oct 2024) [27 Feb 2024]. "From Proto-Southwestern Tai to Modern Lanna Tai: Implications From the 16th-Century Phonology". Manusya: Journal of Humanities. 26. doi:10.1163/26659077-26010011.{{cite journal}}: CS1 maint: date and year (ลิงก์)
  13. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม (17 มกราคม 2546). รายงานการสัมมนาแนวทางการเขียนศัพท์วิชาการด้วยอักษรธรรมล้านนา (PDF) (Report). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. p. 44.
  14. วิเชียรเขียว, อรุณรัตน์ (1996). พจนานุกรมศัพท์ล้านนาเฉพาะคำที่ปรากฏในใบลาน. เชียงใหม่: สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์. p. 440. ISBN 9747047772.
  15. พจนานุกรมภาษาล้านนา ᨻᨧᨶᩣᨶᩩᨠᩕᩫ᩠ᨾᨽᩣᩇᩣᩃ᩶ᩣ᩠ᨶᨶᩣ (2nd ed.). เชียงใหม่: สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 2007. p. 106. ISBN 9789747793567.
  16. วิเชียรเขียว, อรุณรัตน์ (1996). พจนานุกรมศัพท์ล้านนาเฉพาะคำที่ปรากฏในใบลาน. เชียงใหม่: สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์. p. 201. ISBN 9747047772.
  17. วิเชียรเขียว, อรุณรัตน์ (1996). พจนานุกรมศัพท์ล้านนาเฉพาะคำที่ปรากฏในใบลาน. เชียงใหม่: สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์. p. 225. ISBN 9747047772.
  18. Watcharasastr, Boonkid (2005). แบบเรียนภาษาเมืองล้านนา ᨷᩯ᩠ᨷᩁ᩠ᨿᩁᨽᩣᩇᩣᨾᩮᩬᩨᨦᩃ᩶ᩣ᩠ᨶᨶᩣ. Chiang Mai: Thara Thong Publishing. p. 24. ISBN 9748547205.
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 19.4 19.5 นาคสุข, ยุทธพร (4 สิงหาคม 2563). "อักษรธรรมล้านนาที่ประดิษฐ์ขึ้นเพิ่มเติมเพื่อใช้เขียนภาษาสันสกฤต". Humanities & Social Sciences. 37: 297–344.
  20. Watcharasastr, Boonkid (2005). แบบเรียนภาษาเมืองล้านนา ᨷᩯ᩠ᨷᩁ᩠ᨿᩁᨽᩣᩇᩣᨾᩮᩬᩨᨦᩃ᩶ᩣ᩠ᨶᨶᩣ. Chiang Mai: Thara Thong Publishing. p. 178. ISBN 9748547205.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 21.5 21.6 Owen, R. Wyn (2017). "A description and linguistic analysis of the Tai Khuen writing system". Journal of the Southeast Asian Linguistics Society. 10 (1): 140–164. hdl:10524/52403.
  22. 22.0 22.1 Rungruangsri, Udom (2004). พจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง (Revised ed.). Chiang Mai: Chiang Mai University. ISBN 9789746851756.
  23. 23.0 23.1 23.2 Buddhism Summer Curriculum Level 1 Book 2 (ᩉᩖᩢᨠᩈᩪᨲ᩠ᨲ᩼ᨻᩕᨻᩩᨴ᩠ᨵᩈᩣᩈᨶᩣᨽᩣ᩠ᨣᩁᩬ᩶ᩁ ᨩᩢ᩠᩶ᨶ ᪑ ᩃᩮ᩠᩵ᨾ ᪒). Vol. 2. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University Press. 2010. สืบค้นเมื่อ 3 August 2022.
  24. 24.0 24.1 The Lanna Dictionary. Chiang Mai: Chiang Mai Rajabhat University. 2007. pp. ต. ISBN 9789747793567.
  25. Watcharasastr, Boonkid (2005). แบบเรียนภาษาเมืองล้านนา ᨷᩯ᩠ᨷᩁ᩠ᨿᩁᨽᩣᩇᩣᨾᩮᩬᩨᨦᩃ᩶ᩣ᩠ᨶᨶᩣ. Chiang Mai: Thara Thong Publishing. ISBN 9748547205.
  26. 26.0 26.1 Sunthornsing, Charee. "พจนานุกรมภาษาล้านนา-ไทย ฉบับมรดกล้านนา". มรดกล้านนา. สืบค้นเมื่อ 27 December 2022.
  27. The Lanna Dictionary. Chiang Mai: Chiang Mai Rajabhat University. 2007. p. 625. ISBN 9789747793567.
  28. Sunthornsing, Charee. "พจนานุกรมภาษาล้านนา-ไทย ฉบับมรดกล้านนา". มรดกล้านนา. สืบค้นเมื่อ 27 December 2022.
  29. "รายงานสัมมนา แนวทางการเขียนศัพท์วิชาการด้วยอักษรธรรมล้านนา" [Seminar report: guidelines for writing technical terms using Lanna script.] (PDF). The Center for the Promotion of Arts and Culture, Chiang Mai University. 17 January 2004. p. 44. สืบค้นเมื่อ 6 August 2022.
  30. The Lanna Dictionary. Chiang Mai: Chiang Mai Rajabhat University. 2007. p. 628. ISBN 9789747793567.
  31. The Lanna Dictionary. Chiang Mai: Chiang Mai Rajabhat University. 2007. p. 612. ISBN 9789747793567.
  32. The Lanna Dictionary. Chiang Mai: Chiang Mai Rajabhat University. 2007. p. 624. ISBN 9789747793567.
  33. http://www.maekhu.go.th/img_update/download/44_398_Test-003.pdf
  34. "Creating and supporting OpenType fonts for the Universal Shaping Engine". Microsoft technical documentation. 16 June 2022. สืบค้นเมื่อ 5 August 2022.
  35. "Lanna Fonts (ฟอนต์ล้านนา)". The Center for the Promotion of Arts and Culture, Chiang Mai University. สืบค้นเมื่อ 5 August 2022.
  36. "Six fonts for ancient scripts (ชุดแบบอักษรหรือฟอนต์อักษรโบราณ ๖ ชุด)". The Royal Society of Thailand. สืบค้นเมื่อ 5 August 2022.
  37. "System Fonts". Apple Developer. สืบค้นเมื่อ 5 August 2022.

อ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้