ภาษาไทลื้อ หรือ ภาษาลื้อ (ไทลื้อใหม่: ᦅᧄ ᦺᦑ ᦟᦹᧉ กำไตหลื่อ; ไทยถิ่นเหนือ: ᨣᩤᩴᨴᩱ᩠ᨿ กำไต; จีน: 傣仂语 Dǎilèyǔ ไต่หยวื่อ; เวียดนาม: tiếng Lự, tiếng Lữ เตี๊ยงหลื่อ, เตี๊ยงหลือ; ไทใหญ่: လိၵ်ႈလိုဝ်ႉ, ၵႂၢမ်းလိုဝ်ႉ; พม่า: ကြွေပြား) เป็นภาษาไทถิ่นแคว้นสิบสองปันนาหรือเมืองลื้อ อยู่ในตระกูลภาษาขร้า-ไท และมีคำศัพท์และการเรียงคำศัพท์คล้ายกับภาษาไทยถิ่นอื่น ๆ ผู้พูดภาษาไทลื้อเรียกว่าชาวไทลื้อหรือชาวลื้อ ภาษาไทลื้อมีผู้พูดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 2,000,000 คน โดยมีจำนวนผู้พูดในประเทศจีน 300,000 คน ในประเทศพม่า 200,000 คน ในประเทศไทย 1,200,000 คน และในประเทศเวียดนาม 5,000 คน

ภาษาไทลื้อ
ภาษาลื้อ
ᦅᧄ ᦺᦑ ᦟᦹᧉ และ ᨣᩤᩴᨴᩱ᩠ᨿᩃᩨ᩶
วลี คำไทลื้อ (ภาษาไทลื้อ) ในอักษรไทลื้อ
ประเทศที่มีการพูดจีน (สิบสองปันนา) พม่า (รัฐฉาน) ไทย (ภาคเหนือ) ลาว (ทางตอนเหนือ) เวียดนาม (จังหวัดลายเจิว)
ภูมิภาคทวีปเอเชีย
ชาติพันธุ์ชาวไทลื้อ
จำนวนผู้พูด2,000,000 คน (จีน 300,000 คน; พม่า 200,000 คน; ไทย 1,200,000 คน; เวียดนาม 5,000 คน)  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ขร้า-ไท
ระบบการเขียนอักษรธรรมล้านนา, อักษรไทย, อักษรไทลื้อใหม่
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ลาว
 ไทย
 จีน
รหัสภาษา
ISO 639-3khb

ระบบเสียง

แก้

พยัญชนะ

แก้

พยัญชนะต้น

แก้

ตัวอักษรไทยที่กำกับ หมายถึงเสียงที่ใกล้เคียงในภาษาไทย มิใช่การถอดอักษร

Labial Alveolar Palatal Velar Glottal
Nasal [m] (ม)() [n] (น)(ᨶ ᨱ) [ŋ] (ง)()
Plosive tenuis [p] (ป)(ᨸ ᨻ) [t] (ต)(ᨲ ᨴ) [k] (ก)(ᨠ ᨣ) [ʔ] (อ)()
aspirated [pʰ] (พ)(ᨹ ᨽ) [tʰ] (ท)(ᨳ ᨭ)
voiced [b] (บ)() [d] (ด)()
labialized [kʷ] (กฺว)(ᨠ᩠ᩅ)
Affricate [ts] (~จ)(ᨧ ᨩ)
Fricative voiceless [f] (ฟ)(ᨼ ᨺ) [s] (ซ)(ᩈ ᨪ ᩆ ᩇ) [x] (ฅ)(ᦃ ᨢ ᨤ ᨥ) [h] (ฮ)(ᩁ ᦠ)
voiced [v] (~ว)()
labialized [xʷ] (ฅฺว)(ᨤ᩠ᩅ)
Approximant [l] (ล)() [j] (ย)(ᨿ ᩀ ᨬ)


พยัญชนะท้าย

แก้
Labial Alveolar Palatal Velar Glottal
Nasal [m] (มฺ)() [n] (นฺ)(ᩁ ᨶ) [ŋ] (งฺ)()
Plosive [p] (บฺ)() [t] (ดฺ)() [k] (กฺ)() [ʔ] (-)()
Approximant [w] (วฺ)() [j] (ยฺ)(​ᨿ)

สระ

แก้
Front Central-Back Back
/i/ (อี)(ᩋᩥ ᩋᩦ) /ɨ/~/ɯ/ (อือ)(ᩋᩧ ᩋᩨ) /u/ (อู)(ᩋᩩ ᩋᩪ)
/e/ (เอ)(ᩮᩋᩡ ᩮᩋ) /ə/~/ɤ/ (เออ)(ᩮᩋᩬᩥᩡ ᩮᩋᩬᩥ) /o/ (โอ)(ᩰᩋᩡ ᩰᩋ)
/ɛ/ (แอ)(ᩯᩋᩡ ᩯᩋ) /a/ (อะ)(ᩋᩡ)
/aː/ (อา)(ᩋᩣ)
/ɔ/ (ออ)(ᩰᩋᩬᩡ ᩋᩬᩳ)

วรรณยุกต์

แก้

วรรณยุกต์ในพยางค์ไม่หยุด

แก้
คำอธิบาย ระดับ เสียง เครื่องหมาย ตัวอย่าง อักษรไทลื้อใหม่ อักษรธรรม ความหมาย
สูง 55 ตรี á /ká/ (ก๊า) ᦂᦱ ᨠᩣ นกกา
ยกขึ้น (กลาง-สูง) 35 จัตวา (สามัญ-ตรี) a᷄ /ka᷄/ (ก๋า) ᦂᦱᧈ ᨠ᩵ᩣ ไป
ยกขึ้น (ต่ำ-กลาง) 13 จัตวา (เอก-สามัญ) a᷅ /ka᷅/ (ก๋า°) ᦂᦱᧉ ᨠ᩶ᩣ/ᨠᩖ᩶ᩣ ข้าวกล้า
ตกลง (สูง-ต่ำ) 51 โท â /kâ/ (ก้า) ᦅᦱ ᨣᩤ คา, ติดอยู่
กลาง 33 สามัญ a (ไม่เติม) /ka/ (กา) ᦅᦱᧈ ᨣ᩵ᩤ ค่า, ราคา
ต่ำ 11 เอก à /kà/ (ก่า) ᦅᦱᧉ ᨣ᩵ᩤ ค้า

วรรณยุกต์ในพยางค์หยุด

แก้
คำอธิบาย เสียง ตัวอย่าง การออกเสียง ความหมาย
ยกขึ้น (กลาง-สูง) ตรี ᦜᧅ ᩉᩖᩢᨠ/ᩉᩖᩢ /la᷄k/ (ลัก) หลัก, เสา
กลาง สามัญ ᦟᧅ ᩃᩢ᩠ᨠ/ᩃᩢ /lāk/ (ลัก°) ลัก, ขโมย
ยกขึ้น (กลาง-สูง) ตรี ᦜᦱᧅ ᩉᩖᩣ᩠ᨠ/ᩉᩖᩢᩣ /la᷄ːk/ (ล้าก) หลาก, หลาย
กลาง สามัญ ᦟᦱᧅ ᩃᩣ᩠ᨠ/ᩃᩢᩣ /lāːk/ (ลาก°) ลาก

สำเนียง

แก้

ภาษาไทลื้อในตระกูลเผ่าไททั้ง 5 เผ่า นั้นแบ่งสำเนียงภาษาการพูดออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ โดยอาศัยสภาพทางภูมิศาสตร์ของแม่น้ำล้านจ้าง(โขง) เป็นตัวแบ่ง สำเนียงแรก คือ สำเนียงเชียงรุ่ง และสำเนียงเมืองล้า

1. สำเนียงเชียงรุ่ง หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ สำเนียงคนยองถือว่าเป็นสำเนียงภาษากลางของชาวไทลื้อ คือเป็นภาษาของชาวเชียงรุ่ง เป็นสำเนียงที่พูดช้าและฟังดูสุภาพ มักมีคำว่า "เจ้า" ต่อท้ายเหมือนคนล้านนา สำเนียงนี้เป็นสำเนียงที่ใช้ในบริเวณสิบสองปันนาตอนกลาง และตะวันตกของสิบสองปันนา ครอบคลุ่มถึงรัฐฉาน ประเทศพม่า ประกอบด้วย (เมืองยอง, เมืองหลวย, เมืองยู้, เมืองเชียงลาบ, เมืองเลน, เมืองพะยาก และเมืองไฮ) เลยมาถึงประเทศลาวแถบเมืองสิงห์ (เชียงทอง), เชียงแขง, เวียงภูคา, บ่อแก้ว, ไชยบุรี, เชียงฮ่อน, เชียงลม และหงสา โดยมีสำเนียงจะออกกลางๆ การผันสำเนียงเสียง จะอยู่ในระดับกลางๆ ขึ้นๆ ลงๆ ค่อนข้างน้อย แต่มักตัดคำพูดควบกันให้สั้นลง และมักเอื้อนเสียงพูด หรือลากเสียงยาว ภาษาชาวไทลื้อกลุ่มนี้พูดกันมากในจังหวัดลำพูน เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ เชียงราย น่าน (นับแต่ ตำบลยม อำเภอท่าวังผา, อำเภอปัว ขึ้นไปจนถึงเมืองเงิน และหลวงพระบาง, เมืองสิงห์ ของประเทศลาว)

2. สำเนียงภาษาไทลื้อกลุ่มเมืองล้า ได้รับอิทธิพลสำเนียงมาจากภาษาลาว หรือภาษาพวน มาค่อนข้างมาก สำเนียงการพูดออกไปทางภาษาลาว การผันสำเนียงขึ้นลงค่อนข้างเร็ว แต่ต่างกันที่สำเนียงพูดยังคงเป็นภาษาลื้อที่ไม่มี สระ อัว อัวะ เอีย สำเนียงการพูดนี้จะพูดในกลุ่มของชาวไทลื้อเมืองหล้า เมืองพง เมืองมาง เมืองเชียงบาน โดยในประเทศไทย ภาษากลุ่มนี้จะพูดใน อำเภอเชียงม่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา, อำเภอสองแคว อำเภอท่าวังผา (เฉพาะตำบลป่าคา และตำบลยอด อำเภอสองแคว) จังหวัดน่าน)

นอกจากนี้คำบางคำในภาษาไทลื้อยังแตกต่างกันไปตามสภาพของภูมิศาสตร์ และอิทธิพลของภาษากลุ่มที่ใกล้เคียง