จังหวัดพะเยา

จังหวัดในภาคเหนือในประเทศไทย

พะเยา (คำเมือง: ᩕᨻᨿᩣ᩠ᩅ, พยาว)[3] เป็นจังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย แล้วเป็นเมืองเก่าแก่ นครรัฐ และรวมอยู่ในอาณาจักรล้านนา เป็นจังหวัดที่เก่าแก่นับหลายพันปี พะเยามีเมืองใหญ่ ๆ อยู่ 5 แห่ง ได้แก่ อาณาจักรภูกามยาว อาณาจักรเวียงโกมคำนคร อาณาจักรสิงหราช เชียงคำ และเมืองปง และภายหลังก็รวมเป็นแผ่นดินแดนกันได้ในสมัยพะเยา บริเวณที่ตั้งของตัวเมืองพะเยาในปัจจุบันอยู่ติดกับกว๊านพะเยา

จังหวัดพะเยา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Phayao
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
คำขวัญ: 
กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดพะเยาเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดพะเยาเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดพะเยาเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ ว่าที่ร้อยตรี ณรงค์ โรจนโสทร
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2565)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด6,335.060 ตร.กม. (2,445.980 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 34
ประชากร
 (พ.ศ. 2564)[2]
 • ทั้งหมด464,505 คน
 • อันดับอันดับที่ 57
 • ความหนาแน่น73.32 คน/ตร.กม. (189.9 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 65
รหัส ISO 3166TH-56
ชื่อไทยอื่น ๆศาสนา ผี(นับถือผีบรรพบุรุษ) พุทธศาสนา ศริสศาสนา
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้สารภี
 • ดอกไม้สารภี
 • สัตว์น้ำปลาบึก
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งหมู่ที่ 11 ถนนพหลโยธิน ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
 • โทรศัพท์0 5444 9599
 • โทรสาร0 5444 9588
เว็บไซต์http://www.phayao.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดพะเยาเป็นจังหวัดที่มีความหลากหลาย เป็นจังหวัดที่มีความล้านนาแบบดั้งเดิม คงประเพณี วัฒนธรรม ภาษา สำเนียง ตัวธรรม การแสดงต่าง ๆ โบราณสถาน สถานที่ท่องเที่ยว ศิลปะ ทั้ง ลาว พม่า ล้านนา เชียงใหม่ เชียงแสน สุโขทัย อยุธยา ล้านช้าง ลำปาง ลำพูน ชนเผ่า หลายชาติพันธุ์ เช่นไทลื้อ ไทเขิน ไทยวน ไทวน ไต คนเมียง เงี้ยว มอญ ลั๊วะ ม้ง เมี้ยน อาข่า ลาหู่ แม้ว จนกำเกิดเป็นวัฒนธรรมที่เฉพาะตัวของจังหวัดพะเยา

จังหวัดพะเยา
"พะเยา" ในภาษาไทย (บน)
และในคำเมืองอักษรธรรมล้านนา (ล่าง)
ชื่อภาษาไทย
อักษรไทยพะเยา
อักษรโรมันPhayao
ชื่อคำเมือง
อักษรธรรมล้านนาᩕᨻᨿᩣ᩠ᩅ
อักษรไทยพยาว

อาณาจักรสิงหราชศรีมฑเทียน

ปัจจุบันอยู่บริเวณ อำเภอดอกคำใต้ ราชธานีของอาณาจักร คือ สิงหราชศรีมฑเทียน เป็นอาณาจักรโบราณก่อนพุทธกาล ภายหลังถูกปกครองด้วยพญาจอมธรรมมิกราช และถูกเปลี่ยนชื่อตามลักษณะของภูมิศาสตร์การตั้งเมือง ว่าภูกามยาว

อาณาจักรภูกามยาว ปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณ อำเภอดอกคำใต้ นับตั้งแต่ บ้านปิน ตามแนวเทือกเขายาวไปถึงจังหวัดเชียงราย สถาปนาขึ้นในสมัย พญาจอมธรรมมิกราช กษัตริย์จากเมืองหิรัญนครเงินยางเชียงแสน มาเจอเมืองหลวงของอาณาจักรที่รกร้างแต่ผังเมือง ทุกอย่างสมบูรณ์ พร้อมที่จะอยู่อาศัยทำการปกครอง แต่เมืองเงียบสงบเนื่องจากเกิดอุทกภัยอย่างยิ่งใหญ่ กษัตริย์ เจ้าบ้านเจ้าเมือง พากันมาต้อนรับ พญาจอมธรรมมิกราช เนื่องจากสภาวะการเมืองการปกครองในตอนนั้นไม่พร้อมทำสงคราม จึงผูกสัมพันธ์ไมตรีกับพญาจอมธรรม พญาจอมธรรมมิกราช พาชาวบ้านชาวเมือง สร้างบ้านแปงเมืองใหม่ โดยอิงตามผังเมืองเดิมของอาณาจักรเพื่อเป็นการให้เกียรติว่าเราไม่ได้ยึดเมืองของท่านแต่เรามาสถาปนาเมืองให้เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มากขึ้น ภายหลังรวมเมืองต่างๆ เป็นผืนแผ่นเดียวได้ และเปลี่ยนชื่อจากอาณาจักรสิงหราชศรีมฑเทียน เป็น อาณาจักรภูกามยาว

ราชธานีภูกามยาว คือ สิงหราชศรีมฑเทียน (นครงิ้วหงก ต.บ้านปิน ในปัจจุบัน) ยังคงใช้ราชธานีเดิมของอาณาจักรสิงหราชเพื่อเป็นการให้เกียรติและยกย่องบรรพชนของอาณาจักรสิงหราช

อาณาจักรเวียงโกมคำนคร เป็นอาณาจักรทับกับอาณาจักรสิงหราช แปลว่า อาณาจักรที่มีโคมไฟส่องแสงด้วยสีทอง ปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณ อำเภอดอกคำใต้ อาณาจักรเวียงโกมคำเป็นชื่อเรียกอีกหนึ่งชื่อของอาณาจักรสิงหราชศรีมฑเทียน ก่อนจะถูกเปลี่ยนเป็น อาณาจักรภูกามยาว

ในประวัติศาสตร์และตำนาน อาณาจักรตั้งอยู่บริเวณ ห้วยดินแดง(แม่น้ำร่องช้าง) แม่น้ำร่องขุย แม่น้ำร่องสัก น้ำแม่ต๋ำหลวง มี 4 สาย แม่น้ำทั้ง4สายมีหน้าที่ต่างกัน ดังนี้

1.แม่น้ำร่องขุย (คูเวียงคำหลง) เป็นคูเมืองชั้นนอก ทางทิศตะวันตกของอาณาจักร ทำหน้าที่เป็นคูเมืองและมีแนวดินกั้น ความกว้างของคูเมือง30-40เมตร ความลึกท่วมหลังช้าง 1-2 ตัว

2.แม่น้ำร่องสัก (คูเวียงคำปุระก๋าระ) เป็นแนวคูเมืองชั้นในของเมืองหลวงราชธานีของอาณาจักร ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทำหน้าที่เป็นแนวคูเมืองชั้นในมีแนวดินกั้นสูงถึง 5 ศอก คูเมืองกว้าง 30-40 เมตร ความลึกท่วมหลังช้าง 1-2 ตัว

3.แม่ต๋ำหลวง (คูเมืองแม่ต๋ำหลวง) เป็นแนวคูเมืองชั้นนอกทางด้านทิศใต้และทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอาณาจักร และเป็นคูเมืองกั้น ตั้งแต่ แม่กา - บ้านร่มจิต หนองหล่ม จรดดอยภูนาง ในปัจจุบัน คูเมืองกว้าง 30-60 เมตร ลึกท่วมหลังช้าง 5-7 เชือก เนื่องจากเป็นคูเมืองที่อยู่ระหว่างเทือกเขาเนินเขาสลับซับซ้อน

4.แม่น้ำฮ่องจ้างมหานที (ห้วยดินแดง) เป็นสายเลือดหล่อเลี้ยงชีวิตของอาณาจักรเป็นลำห้วยที่ไหลผ่านตรงอาณาจักรและไปรวมกับแม่น้ำอิงในเวียงภูกามยาว มีหน้าที่เป็นเส้นทางคมนาคมและเส้นทางการค้าที่สำคัญ และยังเป็นคูเมืองของ เวียงโกมคำนครราชธานีของอาณาจักรการะปุระนคร(อาณาจักรโกมคำนคร)

อาณาจักรเวียงโกมคำ

ลักษณะผังเมืองและการวางแบบผังเมือง

ผังเมืองตัวอาณาจักร มีลักษณะเป็นรูปไม่แน่ชัด เหตุผลเพราะ ตามภูมิภาคของพื้นดินและการตั้งอาณาจักร

กำแพงและป้อมปราการ คูเมือง

ทิศเหนือ มีกำแพงความยาวตั้งแต่ตีนดอยภูนางบ้านใหม่ ตำบลหนองหล่มในปัจจุบัน ผ่านมาตามห้วยเสือหยาด ตำบลบ้านปิน ถึงจนสบกับแม่น้ำร่องช้างในตำบลคือเวียง และหักมุมเป็นแนวทิศเหนือตามถนนเส้นบ้านปาง-วัดร่องขุย มีคูเมือง ยาวประมาณ 15-20 กิโล มีกำแพงเมืองทิศเหนือ เป็นคันดินสูง 5ศอก กับการสร้างกำแพงไม้ผสมอิฐ สูง 15 ศอก มีประตูเมือง 2 ประตู 1.ประตูศรีคำ 2.ประตูไจยมงคล 3.ประตูคำเหนือ (ประตูเวียงห้าว ในปัจจุบัน) ป้อมปราการ 1.ป้อมราชเสือหยาด 2.ป้อมสะหรี๋ หลวง 3.ป้อมคำดินแดง

ทิศใต้ มีใช้เทือกเขาเป็นแนวกำแพงและมีคูเมืองเป็นน้ำแม่ต๋ำหลวง ความยาวตั้งแต่อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำในปัจจุบัน ผ่านมาตามน้ำแม่ต๋ำหลวง ตำบลบ้านปิน ถึงจนตีนดอยภูนาง บ้านร่มจิตในตำบลหนองหล่ม มีป้อมปราการ 2 ป้อม ที่สร้างขึ้นเพื่อสังเกตการ ขบวนกองทัพจากเมืองใต้ 1.ป้อมศรีแม่ต๋ำหลวง 2.ป้อมต้นแม่ต๋ำ

ทิศตะวันออก มีกำแพงและคูเมืองมีความยาวตั้งแต่อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ ผ่านเลียบกับห้วยหมูเฒ่าไปสบกับร่องขุย ตรงวัดร่องขุย มีคูเมืองและกำแพงเมืองยาวประมาณ 15-25 กิโล สร้างกำแพงไม้ผสมอิฐ สูง 15 ศอก กว้าง 10 ศอก คันดินสูง 5 ศอก กว้าง 17 ศอก มีประตูเมือง 4 ประตู 1.ประตูฮ่องขุยหลวง 2.ประตูเทพนิมิต 3.ประตูแจ้โว้ 4.ประตูแจ่งต๋ำเหนือ ป้อมปราการ 1.ป้อมศรีวังเหนือ 2.ป้อมขุยวราราม 3.ป้อมหลวงแจ้โว้ 4.ป้อมสบขุย 5.ป้อมบูจาเวียงหาบ


ทิศตะวันตก 9ป้อม ดังนี้ 1.ป้อมเทพวราราม(ป้อมปราการประตูใหญ่ ที่ต้อนรับเข้าเมืองทางทิศเหนือ มีผู้รักษาป้อมเป็นเทพวัดป่าเทพวราราม) 2.ป้อมถ้ำเหนือ 3.ป้อมสุวรรณคูหา 4.ป้อมเสือหยาด 5.ป้อมราชะปุระนคะระโกมคำสะหรี (ป้อมปราการที่ใหญ่และสูงศักดิ์ที่สุด เป็นป้อมต้อนรับประตูหลวง พร้อมรับสงครามในทุกรูปแบบ แข็งแก่ง และงดงาม สร้างเมื่อพญาแก้วคำหลวง เฉลิมฉลองการได้ช้างคู่บ้านคู่เมืองบารมี ช้างปู้คำ มีงาเป็นคำ ดวงตาใสเหมือนแก้ว สูง 15 ศอก มีพละกำลังมหาศาล เพื่อเป็นการประกาศและเตรียมพร้อมการรับกองทัพต่างบ้านต่างเมืองที่จะเข้ามารุกรานทำสงครามกับเมือง พระองค์ทรงมีพระบัญชาสั่งสร้างประตูโกมคำงิ้วหงกหลวงขึ้นพร้อมป้อมปราการ โดยตอนแรกใช้ชื่อว่า การะโกมคะนาคำหลวง ภายหลังถูกเปลี่ยนชื่อในยุคต่อๆมา ป้อมราชะปุระนครโกมคำสะหรี มีแค่กษัตริย์เท่านั้นถึงจะใช้ป้อมปราการนี้ได้ ห้ามผู้ใดใช้ เว้นแต่ยามจำเป็นเท่านั้น) 6.ป้อมศรีเวียงไชยแสนคำ (ป้อมประตูหลวง ป้อมใหญ่ที่สอง สมัยพระนางแสนคำมหาเทวีขึ้นครองราช พระนางทรงสั่งสร้างป้อมปราการขึ้นคู่กับป้อมปราการราชะปุระนคร ที่พระบิดาของพระนางสร้างไว้แต่ก่อน เพื่อเป็นการทำให้ทางเข้าเมืองสมบูรณ์ และยิ่งใหญ่ และแข็งแกร่งและเป็นป้อมที่ผู้หญิงสามารถใช้ได้ทุกคนในยามสงคราม)7.ป้อมบานเย็น(สร้างเมื่อสมัยพญาบานเย็น เพื่อเป็นจุดสังเกตการและป้อมกันการเกิดความเสียหายแก่ป้อมหลวง *ป้อมราชะปุระโกมคำสะหรี *ป้อมศรีเวียงไชยแสนคำ ) 8.ป้อมศรีขจร 9.ป้อมขุยหลงหลวง(ป้อมหลวงคูเมือง ตรงแจ่งศรีขุยหลง)

กำแพงทิศเหนือ มีความยาวตั้งแต่ 3 แยก บ้านถ้ำ-บ้านจำไก่ ถึง จรดดอยจอมศีล ระยะทางประมาณ 2 กิโล ความสูงกำแพง ท่วมหลังช้างสาร กว้างช้างพลาย 1เชือก มีป้อมปราการ ดังนี้ 1.ป้อมวระสุรียะล้านจ้างวังใต้(ป้อมปราการของเชื้อราชวงค์ล้านช้าง) 2.ป้อมสันทราย 3.ป้อมถ้ำเพรช

กำแพงทิศใต้ มีความยาวตั้งแต่คูเมืองขุยหลง เฉียงทิศใต้ตามลำนำแม่ต๋ำหลวงจรดตีนดอยภูนาง ระยะทาง ไม่ทราบ ความสูง ไม่ทราบ ความกว้าง ไม่ทราบ ป้อมปราการ ข้อมูลไม่แน่ชัด ป้อมแก้ว ป้อมต๋ำหลวง ป้อมสักกะระ ป้อมสระเป็ดหงส์ ป้อมแม่พริก …

กำแพงพิเศษทิศตะวันตก เป็นแนวกั้นกำแพงชั้นนอกของอาณาจักร บริเวณตั้งแต่ คูเมืองขุยหลง ถึง คูเมืองเวียงห้าว บ้านปาง-ดอกคำใต้ ใช้แม่น้ำร่องขุยและขุยหลง เป็นคูเมือง ภายหลังขุดเพิ่มจาก ตำนานจ้างปู่ก่ำงาเขียว มีป้อมปราการ ดังนี้ 1.ป้อมขุยหลงน้อย 2.ป้อมสบขุย 3.ป้อมแจโว้ (ป้อมปู่ย่า)4.ป้อมปางนคร 5.ป้อมคือเวียงหลวง(ป้อมใหญ่ เมืองหน้าด่าน) 6.ป้อมสะหรีเวียงห้าวปุระ (ศรีเวียงห้าวหลวง ป้อมปราการของเจ้าผู้ครองนครเวียงห้าวสมัยล้านนา พญาลิ้นก๋าน) 7.ป้อมเวียงห้าวใต้ (ป้อมหลวงเวียงใหม่)8.ป้อมบ้านราชะก๋าน

ลำดับและยุคสมัย

1.ยุคโกมคำนคร ราชวงค์ก๋าระคำ (*สันนิธาน พระองค์ได้เดินทางมาตามลำห้วยในหน้าแล้งและได้พบกับดินแดนที่อุดมสมบูณร์ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ เหมาะแก่การสร้างบ้านแปงเมือง ขบวนเสด็จจึง เลือกตั้งบ้านเมืองที่นี่ ซึ่งบริเวณนี้มีชาวบ้านชาวเมืองอยู่จำนวนหนึ่ง และได้สร้างอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ภายใน 7 ปี ครบพร้อมทุกด้าน เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง)

กษัตริย์ 1.ลาวก๋าระคำ *พญาแก้วคำ จากราชวงค์ลวจักราชปู่เจ้าลาวจก ราชวงค์ลาว 2.ลาวจาง *พญาดวงคำ 3.นางแสนคำ *พระนางแสนคำมหาเทวี พระชายาพญาคำแก้ว จากชาวบ้านท้องถิ่นในอาณาจักร

2.ยุคล่มสลายโกมคำ วันราชาภิเษก ของพระธิดา พระนางแสนคำมหาเทวีแลพญาแก้วคำหลวง พระธิดาพระนามพระนางแสงแก้วเมืองมาคำมหาเทวี อายุ 20 พรรษา เชิญขึ้นครองราชเป็นเจ้าเมืองโกมคำนคร และสืบราชวงค์ก๋าระคำ แต่วันที่ขึ้นครองราช จัดในพกค่ำ เป็นงานยิ่งใหญ่มาก มีโคมไฟนับล้านดวงห้อยประดับ มีผางประทีปจุดทั่วพระนคร มีวงเครื่องเสียงหลวง มีอาหารขันโตก เชิญเจ้าเมืองต่างๆมาร่วมงานด้วย ดอกไม้นานาพรรณจัดขันดอกถวายพระเจ้า จัดสะเหรี่ยง ขบวนอันเชิญพระธิดาขึ้นครองราช มีทั้งขบวนช้าง ม้า วัว ควาย ขบวนขันดอก ขบวนโคมหลวง ขบวนฟ้อนผาง ขบวนดาบ ขบวนล้อ ขบวนสายสิน ขบวนผลไม้ ขบวนวงเครื่องเสียง ขบวนตุง ขบวนพาน ขบวนแก้ว ขบวนคำ ขบวนเงิน ขบวนพุ่มคำ ขบวนวี ขบวนดอก ขบวนน้ำมนต์ ขบวนน้ำทิพย์ ขบวนผ้าซิ่น ขบวนชาวบ้านชาวเมือง ขบวนถวาย ยิ่งใหญ่อลังการ พอกำลังจะทำพิธีก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด ทั้งๆที่ดูฤกษ์ดูยามมรอล้ว “ณ ไจยก๋างเวียง คุ้มเฮือนเอื้องศรี บุญบารมี เชิญนางแสงแก้ว ขึ้นครองนครา เวลาค่ำแล้ว เดือนเพ็ญกินแก้ว ตะขาบกินเดือน ลมปลิวธงไสว ต้นไม้ก่นเปียง เกิดเหตุฮุนเฮียง อาเพศฝนฟ้า สายฟ้าผ่าลง ก๋างกงไจยเวียง พระธาตุไจยก๋างเวียง หักเกิ่งก่นลง แก้วแหวนเงินคำ ไหลออกธาตุเจ้า จาวบ้านฟั่งเอาลูกหลานหนีไป ตามไฟตะเกียง โกมไฟหวั่นไหว ปุดปลิวตางใด ลมแล้งปลิวเสี้ยว ขันดอกขันเจ้า บูจาบุญเฮียง ผถานาต่อเสียง พระเจ้าจงจวยเฮา เสียงไม้ก่นหัก เสียงน้ำไหลเสียว ไหลตกดอยเดียว เข้าท่วมนคร สิ้นแล้วกษัตริย์ สิ้นแล้วโกมคร เมืองแห่งนคร งดงามตามสิ้น สิ้นสุดบ้านเฮือน สิ้นสุดเวียงคิน สิ้นสุดตราบสิ้น จมปื้นบาดาล นับเป็น100ปี เมืองแห่งนที ค่อยลดลงที จนเห็นปื้นดิน แผ่นดินนคร โกมคำเวียงงาม สาปหายติดตาม เหลือไว้แต่น้อย กำแพงเมืองสูง เหลือเพียงถานน้อย ดินกี่ดินดอย ประตูเมืองพรหายไป โกมคำสุดสิ้น เหลือเพียงตำนาน เล่าไขเล่าขาน เวียงโกมคำนครแล…”

3.ยุคเวียงห้าว มีเมืองหน้าด่านสำคัญ อยู่ 3 แห่งคือ เวียงห้าว เวียงคำปวน เวียงดอกคำใต้ กษัตริย์ พระองค์แรกที่ปกครองอาณาจักรเวียงโกมคำนคร คือ พญาเก้วคำหลวง จากราชวงค์ลวจักรปู่เจ้าลาวจก ภายหลังเกิดประสบภัยธรรมชาติ ทำให้เมืองจมอยู่ใต้บาดาลนับหลายเดือน ชาวบ้านชาวเมืองต่างพากันหนีไปอยู่เมืองบริเวณเมืองที่สูง ได้แก่ เวียงป่าสัก(เวียงห้าว) เวียงหม้าย เวียงจอมศีล(คุ้มหลวงเจ้าพ่อล้านช้าง) ภายหลังน้ำลดเมืองก็เสียหาย มีหญ้าขึ้นรกมากมาย มีต้นมะปิน ต้นมะต้องขึ้นทั่วบริเวณ ทำให้ชาวบ้านชาวเมืองปล่อยทิ้งร้าง นับหลายร้อยปี และแต่งตั้งราชธานีใหม่ขึ้น เป็นเวียงป่าสัก ภายหลังเปลี่ยนชื่อ เป็นเวียงห้าว จากตำนานปู้จ้างก่ำงาเขียว พ่อขุนรามคำแห่งก็เสด็จมาเยี่ยมสหายพญางำเมืองที่เมืองภูกามยาว ทำให้เดินทางผ่านเมืองร้างที่เก่าผุพัง เสด็จเดินทางมาตามลำห้วยดินแดงในหน้าแล้ง และเกิดเป็นร่องแม่น้ำที่ใหญ่ขึ้น จนฝนตกกลายเป็นสายน้ำไหลเต็มลำห้วย ชาวบ้านจึงเรียกว่าแม่น้ำร่องช้าง ภายหลังเมืองภูกามยาวขอเป็นไมตรีกับอาณาจักรเวียงโกมคำนคร และเชิดชูในเป็นเมืองนาย เมืองเอก ของแคว้นพะเยา จนปัจจุบันสิ้นสุดยุคล้านนา บริเวณอาณาจักรเวียงโกมคำนคร ก็กลายเป็นอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา และหลงเหลือ สถานที่ วัด ประวัติศาสตร์อยู่บางแห่ง เช่น วัดงิ้วหงกศรีโกมคำ วัดต้นต้องศรีโกมคำ วัดเวียงห้าวเทพนิมิต วัดจอมคีรีศรีเวียงหม้าย วัดพระธาตุแจโว้ วัดร่องขุย วัดจอมศีล วัดห้วยชมภู วัดพระธาตุจอมไคร้

เมื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ใน พ.ศ. 2386 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 เมืองพะเยาถูกตั้งขึ้นใหม่พร้อมเมืองเชียงรายและเมืองงาวเพื่อเป็นเมืองหน้าด่านต่อตีกับกองทัพพม่าที่ตั้งอยู่ที่เมืองเชียงแสน โดยให้เมืองพะเยาขึ้นตรงต่อ นครลำปาง (พื้นที่บางส่วนของจังหวัดพะเยาปัจจุบัน ได้แก่ อำเภอเชียงม่วน อำเภอปง อำเภอเชียงคำ และอำเภอภูซางขึ้นตรงต่อนครน่าน) และในท้ายที่สุดก่อนที่พะเยาจะถูกยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด พะเยาอยู่ใต้การปกครองของจังหวัดเชียงรายในฐานะ อำเภอพะเยา และเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520 อำเภอพะเยาได้ยกฐานะขึ้นเป็น จังหวัดพะเยา นับเป็นจังหวัดที่ 72 ของประเทศไทย

ประวัติศาสตร์ แก้ไข

จังหวัดพะเยาจัดตั้งเมื่อ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520 โดยแยกออกจากจังหวัดเชียงราย[4]

ภูมิศาสตร์ แก้ไข

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้ไข

จังหวัดพะเยา เป็นจังหวัดชายแดน ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีเขตระหว่างเส้นรุ้งที่ 18 องศา 44 ลิปดาเหนือ ถึง 19 องศา 44 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 40 ลิปดาตะวันออก ถึง 100 องศา 40 ลิปดาตะวันออก โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ภูมิประเทศ แก้ไข

สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดพะเยา เป็นที่ราบสูงและภูเขา มีระดับความสูงตั้งแต่ 300–1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีเทือกเขาอยู่ทางทิศตะวันตก ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้และตอนกลางของพื้นที่จังหวัด มีเนื้อที่ประมาณ 6,335.06 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,959,412 ไร่ มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เป็นลำดับที่ 15 ของภาคเหนือ และมีพื้นที่ป่าไม้ (จากภาพถ่ายดาวเทียม ปี 2542) ประมาณ 1,503,174 ไร่ หรือร้อยละ 37.96 ของพื้นที่จังหวัด สภาพเป็นป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณ ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้ชิงชัน ไม้ยาง ไม้เต็ง ไม้รัง ฯลฯ จังหวัดพะเยามีพื้นอยู่ทั้งในที่ลุ่มแม่น้ำโขงและลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนที่อยู่ในลุ่มน้ำโขง คือพื้นที่อำเภอเมืองพะเยา อำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอปง อำเภอเชียงคำ และอำเภอแม่ใจ ส่วนที่อยู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา คือ อำเภอปง และ อำเภอเชียงม่วน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำยม

ภูมิอากาศ แก้ไข

จังหวัดพะเยาแบ่งฤดูกาลออกเป็น 3 ฤดู คือ

  • ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม อากาศร้อน แห้ง ความชื้นน้อย อากาศร้อนจัดในเดือนเมษายน อุณหภูมิสูง สุดเฉลี่ย 39 องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน ระหว่าง เดือนมิถุนายน – ตุลาคม มีปริมาณน้ำฝนมากพอสมควร ความชื้นสัมพัทธ์ ประมาณ 50–97 % ฝนจะตกชุกมากระหว่าง เดือน สิงหาคม – กันยายน ซึ่งเป็นฝนที่ได้รับอิทธิ พลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และพายุหมุน จากทะเลจีนใต้ ตอนต้นฤดูฝน จะมีลม กรรโชกแรง บางครั้งทำให้เกิดความเสียหายแก่ ทรัพย์สิน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปี ประมาณ 1,062 มิลลิเมตร
  • ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ อากาศจะ เริ่มหนาวในเดือนพฤศจิกายน และจะหนาวมากในปลาย เดือนธันวาคม – ต้นเดือนมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนมกราคม -2 องศาเซลเซียส

การเมืองการปกครอง แก้ไข

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด แก้ไข

รายนามผู้ว่าราชการจังหวัด แก้ไข

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง จำนวนปี
1 นายสัญญา ปาลวัฒน์วิไชย 28 ส.ค. 2520 - 30 ก.ย. 2524 4 ปี 1 เดือน
2 นายอรุณ รุจิกัณหะ 1 ต.ค. 2524 - 30 ก.ย. 2526 2 ปี
3 นายสุดจิตร คอวนิช 1 ต.ค. 2526 - 30 ก.ย. 2530 4 ปี
4 นายศักดา ลาภเจริญ 1 ต.ค. 2530 - 30 ก.ย. 2532 2 ปี
5 นายทองคำ เขื่อนทา 1 ต.ค. 2532 - 30 ก.ย. 2533 1 ปี
6 นายสวัสดิ์ ส่งสัมพันธ์ 1 ต.ค. 2533 - 30 ก.ย. 2536 3 ปี
7 นายวิจารณ์ ไชยนันทน์ 5 ต.ค. 2536 - 30 ก.ย. 2539 3 ปี
8 นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา 1 ต.ค. 2539 - 30 ก.ย. 2540 1 ปี
9 นายกำพล วรพิทยุต 20 ต.ค. 2540 - 29 ก.พ. 2543 2 ปี 5 เดือน
10 นายสันต์ ภมรบุตร 1 มี.ค. 2543 - 30 ก.ย. 2543 7 เดือน
11 นายพิพัฒน์ วงศาโรจน์ 1 ต.ค. 2543 - 30 ก.ย. 2545 2 ปี
12 นายสมศักดิ์ บุญเปลื้อง 1 ต.ค. 2545 - 30 ก.ย. 2546 1 ปี
13 นายบวร รัตนประสิทธิ์ 1 ต.ค. 2546 - 1 ธ.ค. 2548 2 ปี 2 เดือน
14 นายวิทยา ปิณฑะแพทย์ 2 ธ.ค. 2548 - 30 ก.ย. 2549 10 เดือน
15 นายธนเษก อัศวานุวัตร 13 พ.ย. 2549 - 5 พ.ค. 2551 1 ปี 6 เดือน
16 นางสาวเรืองวรรณ บัวนุช 6 พ.ค. 2551 - 30 ก.ย. 2552 1 ปี 5 เดือน
17 นายเชิดศักดิ์ ชูศรี 1 ต.ค. 2552 - 30 ก.ย. 2553 1 ปี
18 นายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ 1 ต.ค. 2553 - 27 พ.ย. 2554 1 ปี 2 เดือน
19 นายไมตรี อินทุสุต 28 พ.ย. 2554 - 7 ต.ค. 2555 10 เดือน
20 นายชูชาติ กีฬาแปง 8 ต.ค. 2555 - 30 ก.ย. 2558 3 ปี
21 นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ 1 ต.ค. 2558 - 30 ก.ย. 2559 1 ปี
22 นายณรงค์ศักดิ์ เฉลิมเกียรติ 1 ต.ค. 2559 - 30 ก.ย. 2560 1 ปี
23 นายประจญ ปรัชญ์สกุล 1 ต.ค. 2560 - 29 มิ.ย. 2561 9 เดือน
24 นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร 29 มิ.ย. 2561 - 30 ก.ย. 2562 1 ปี 3 เดือน
25 นายกมล เชียงวงค์ 1 ต.ค. 2562 - 12 ก.พ. 2564 1​ ปี​ 4​ เดือน
26 นายโชคดี​ อมรวัฒน์​ 25 พ.ค.​ 2564​ -​ 30 ก.ย. 2564 4​ เดือน
27 นายศักดิ์ฤทธิ์ สลักคำ 15 ธ.ค. 2564​ -​ 30 ก.ย. 2565 10 เดือน
28 ว่าที่ร้อยตรี ณรงค์ โรจนโสทร 1 ต.ค. 2565 -​ ปัจจุบัน

หน่วยการปกครอง แก้ไข

การปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ 68 ตำบล 779 หมู่บ้าน 2 เทศบาลเมือง 33 เทศบาลตำบล 36 องค์การบริหารส่วนตำบล

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้ไข

ที่ ชื่ออำเภอ ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนตำบล จำนวนประชากร[5]
1. เมืองพะเยา   Mueang Phayao 15 126,934
2. จุน   Chun 7 50,984
3. เชียงคำ   Chiang Kham 10 76,798
4. เชียงม่วน   Chiang Muan 3 19,210
5. ดอกคำใต้   Dok Khamtai 12 71,403
6. ปง   Pong 7 52,824
7. แม่ใจ   Mae Chai 6 34,910
8. ภูซาง   Phu Sang 5 31,492
9. ภูกามยาว   Phu Kamyao 3 21,749

 

 
แผนที่อำเภอในจังหวัดพะเยา

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้ไข

อำเภอเมืองพะเยา

อำเภอจุน

อำเภอเชียงคำ

  • เทศบาลตำบลเชียงคำ
  • เทศบาลตำบลบ้านทราย
  • เทศบาลตำบลฝายกวาง
  • เทศบาลตำบลหย่วน

อำเภอเชียงม่วน

  • เทศบาลตำบลเชียงม่วน

อำเภอดอกคำใต้

อำเภอปง

  • เทศบาลตำบลงิม
  • เทศบาลตำบลปง
  • เทศบาลตำบลแม่ยม

อำเภอแม่ใจ

  • เทศบาลตำบลแม่ใจ
  • เทศบาลตำบลบ้านเหล่า
  • เทศบาลตำบลรวมใจพัฒนา
  • เทศบาลตำบลป่าแฝก
  • เทศบาลตำบลเจริญราษฎร์
  • เทศบาลตำบลศรีถ้อย

อำเภอภูซาง

  • เทศบาลตำบลสบบง

อำเภอภูกามยาว

  • เทศบาลตำบลดงเจน

การคมนาคม แก้ไข

ทางถนน แก้ไข

โดยรถยนต์สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง เช่น

  • 1. ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านกำแพงเพชร ตาก ลำปาง แล้วเข้าสู่ตัวเมืองพะเยา ระยะทาง 969 กิโลเมตร
  • 2. ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 117 จนถึงพิษณุโลก แยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 12 ไปจนถึงสุโขทัย เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 101 ผ่านอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 103 ผ่านอำเภอร้องกวาง เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านอำเภองาว เข้าสู่ตัวเมืองพะเยา ระยะทาง 782 กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทาง

บริษัทขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารปรับอากาศและธรรมดา ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2

พะเยา-ภาคกลาง

·        สาย 662 พิษณุโลก-เชียงราย-แม่สาย (พิษณุโลก-สุโขทัย-สวรรคโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สุโขทัยวินทัวร์

·        สาย 663 นครสวรรค์-เชียงราย (นครสวรรค์-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ คิงส์ด้อมทัวร์

พะเยา-ภาคใต้

·        สาย 780 ภูเก็ต-เชียงราย (ภูเก็ต-สุราษฎร์ธานี-ชุมพร-ประจวบฯ-หัวหิน-ชะอำ-เพชรบุรี-อยุธยา-นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด

·        สาย 877 แม่สาย-ด่านนอก (แม่สาย-เชียงราย-พะเยา-แพร่-อุตรดิตถ์-พิษณุโลก-ทุ่งสง-พัทลุง-หาดใหญ่-ด่านนอก) ปิยะชัยพัฒนา จำกัด

พะเยา-ภาคตะวันออก

·        สาย 660 ระยอง-เชียงราย-แม่สาย (ระยอง-พัทยา-ชลบุรี-ฉะเชิงเทรา-สระบุรี-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครชัยแอร์

·        สาย 660 ระยอง-เชียงราย-แม่สาย (สายเก่า-รถด่วน) (ระยอง-พัทยา-ชลบุรี-ฉะเชิงเทรา-นครสวรรค์-ตาก-ลำปาง-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครชัยแอร์

พะเยา-ภาคอีสาน

·        สาย 661 เชียงราย-นครพนม (นครพนม-สกลนคร-อุดรธานี-หนองบัวลำภู-เลย-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สมบัติทัวร์

·        สาย 633 ขอนแก่น-เชียงราย (ขอนแก่น-ชุมแพ-หล่มสัก-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ อีสานทัวร์ สมบัติทัวร์

·        สาย 651 นครราชสีมา-แม่สาย (นครราชสีมา-สระบุรี-โคกสำโรง-ตากฟ้า-เขาทราย-วังทอง-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครชัยทัวร์

·        สาย 841 บึงกาฬ-แม่สาย (บีงกาฬ-หนองคาย-อุดรธานี-ขอนแก่น-ชุมแพ-หล่มสัก-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด

.        สาย 587 อุบลราชธานี-เชียงราย (อุบลฯ-ศีรษะเกษ-สุรินทร์-บุรีรัมย์-ชัยภูมิ-พิษณุโลก-แพร่-พะเยา-พาน-เชียงราย) บริษัท นครชัยแอร์ จำกัด

พะเยา-ภาคเหนือ

·        สาย 671 เชียงใหม่-เชียงของ (เชียงใหม่-แม่ขะจาน-วังเหนือ-พะเยา-ดอกคำใต้-จุน-เชียงคำ-เทิง-เชียงของ) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด

·        สาย 198 เชียงใหม่-พะเยา (เชียงใหม่-แม่ขะจาน-วังเหนือ-พะเยา) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด

·        สาย 113 เชียงใหม่-น่าน (เชียงใหม่-แม่ขะจาน-วังเหนือ-พะเยา-ดอกคำใต้-ปง-เชียงม่วน-น่าน) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด

·        สาย 148 เชียงใหม่-เชียงราย (เชียงใหม่-ลำพูน-ดอยติ-ลำปาง-งาว-พะเยา-พาน-เชียงราย) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด

·        สาย 149 เชียงใหม่-แม่สาย (เชียงใหม่-ลำพูน-ดอยติ-ลำปาง-งาว-พะเยา-พาน-เชียงราย-แม่จัน-แม่สาย) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด

·        สาย 150 เชียงใหม่-สามเหลี่ยมทองคำ (ข) (เชียงใหม่-ลำพูน-ดอยติ-ลำปาง-งาว-พะเยา-พาน-เชียงราย-แม่จัน-เชียงแสน-สามเหลี่ยมทองคำ) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด

·        สาย 146 ลำปาง-เชียงราย (ลำปาง-งาว-พะเยา-แม่ใจ-พาน-เชียงราย) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด

·        สาย 2160 พะเยา-เชียงคำ (พะเยา-ดอกคำใต้-จุน-เชียงคำ) บริษัท ดอกคำใต้เดินรถ จำกัด

·        สาย 197 พะเยา-ปง (พะเยา-ดอกคำใต้-จุน-ปง) บริษัท อารยะเดินรถ จำกัด

·        สาย 612 พะเยา-น่าน (พะเยา-ดอกคำใต้-จุน-ปง-เชียงม่วน-บ้านหลวง-น่าน) บริษัท พะเยาขนส่ง จำกัด

·        สาย 679 เชียงราย-จุน (เชียงราย-เทิง-ป่าแดด-จุน) บริษัท สหกิจเดินรถเชียงราย จำกัด

·        สาย 620 เชียงราย-เชียงคำ (เชียงราย-เทิง-เชียงคำ) บริษัท ก.สหกิจเดินรถเชียงราย จำกัด

·        สาย 686 เชียงราย-เชียงคำ (เชียงราย-แม่ลอยไร่-ร่องแมด-เชียงคำ) บริษัท บุญณัฐเดินรถ จำกัด

·        สาย 621 เชียงราย-พะเยา (เชียงราย-พาน-แม่ใจ-พะเยา) บริษัท ก.สหกิจเดินรถเชียงราย และ พะเยาขนส่ง จำกัด

·        สาย 144 เชียงราย-แพร่ (เชียงราย-พาน-พะเยา-แพร่) บริษัท แพร่ยานยนต์ขนส่ง (หนานคำทัวร์) จำกัด

·        สาย 672 แม่สาย-แม่สอด (แม่สาย-เชียงราย-พะเยา-งาว-ลำปาง-เถิน-ตาก-แม่สอด) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด

·        สาย 1131 เชียงใหม่-เชียงม่วน (เชียงใหม่-แม่ขะจาน-วังเหนือ-พะเยา-ดอกคำใต้-จุน-ปง-เชียงม่วน) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด

พะเยา-กรุงเทพฯ

  • กรุงเทพ-พะเยา (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-งาว-พะเยา) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ เชิดชัยทัวร์ นครชัยแอร์
  • กรุงเทพ-เชียงราย (ก) (กรุงเทพ-นครสวรรค์-ตาก-ลำปาง-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สมบัติทัวร์ เชิดชัยทัวร์ นครชัยแอร์ อินทราทัวร์
  • กรุงเทพ-เชียงราย (ข) (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ เชิดชัยทัวร์
  • กรุงเทพ-แม่สาย (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. บุษราคัมทัวร์ เชิดชัยทัวร์
  • กรุงเทพ-เชียงของ (กรุงเทพ-นครสวรรค์-แพร่-ดอกคำใต้-เชียงคำ-เชียงของ) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ เชิดชัยทัวร์ 
  • กรุงเทพ-เชียงคำ-ภูซาง(บ้านฮวก) (กรุงเทพ-พิษณุโลก-แพร่-เชียงม่วน-ปง-เชียงคำ-ภูซาง) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส.
การเดินทางจากพะเยาสู่อำเภอต่าง ๆ
การเดินทางจังหวัดพะเยากับจังหวัดภาคเหนือ

ทางรถไฟ แก้ไข

ทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ (กำลังก่อสร้าง)

  • สถานีพะเยา
  • สถานีมหาวิทยาลัยพะเยา
  • สถานีบ้านโทกหวาก
  • สถานีดงเจน
  • สถานีบ้านร้อง
  • สถานีบ้านใหม่(พะเยา)

ทางอากาศ แก้ไข

สถานที่สำคัญและแหล่งท่องเที่ยว แก้ไข

 
อนุสาวรีย์พญางำเมือง
 
เทศบาลเมืองพะเยา
 
กว๊านพะเยายามเย็น
 
น้ำตกภูซาง

เศรษฐกิจ แก้ไข

ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของจังหวัดพะเยา ได้แก่

  • ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมมะลิของจังหวัดพะเยาจัดอยู่ในสินค้าระดับ Premium Grade เพราะจะมีเพียงฤดูนาปีเท่านั้น จังหวัดพะเยามีดินดีที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก กล่าวคือ ดินเหนียวใกล้เชิงภูเขาไฟและเป็นดินจากภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว ทำให้ข้าวมีรวงแข็งแรง เมล็ดสมบูรณ์ใหญ่ยาว เมื่อสีข้าวแล้วจะได้ข้าวเมล็ดเรียวยาว ขาวเป็นมัน เมื่อหุงสุกแล้วจะเหนียวนุ่มกลิ่นหอมตามธรรมชาติคล้าย ๆ กับกลิ่นใบเตย แม้ทิ้งไว้นานก็ยังคงสภาพกลิ่นหอม หุงแล้วนุ่ม
  • ลำไย ลำไยส่วนใหญ่ที่ปลูกในจังหวัดพะเยา คือ พันธุ์อีดอ ลักษณะผลใหญ่ รูปทรงแป้นเบี้ยว เนื้อหวานสีขาวขุ่นค่อนข้างเหนียว รสหวาน มีปริมาณน้ำตาลประมาณร้อยละ 18.7 ผลจะแก่เร็วกว่าผลพันธุ์อื่น ต้นเดือนกรกฎาคมก็เก็บผลผลิตได้ นิยมปลูกในทุกอำเภอ แหล่งที่ปลูกมากคืออำเภอเชียงคำและอำเภอจุน ผลผลิตส่วนใหญ่จะผลิตเป็นลำไยอบแห้งทั้งเปลือก
  • ลิ้นจี่ เนื่องจากสวนลิ้นจี่ส่วนใหญ่ของจังหวัดพะเยาปลูกอยู่ระหว่างหุบเขาที่มีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปีและปลูกในดินที่มีปริมาณธาตุโพแทสเซียมสูง ส่งผลให้ลิ้นจี่ของจังหวัดพะเยามีลักษณะเด่น คือ ลูกใหญ่ สีผิวสวยตามชนิดพันธุ์ รสชาติหวาน เนื้อแห้งกรอบ ไม่มีน้ำมาก เมื่อแกะรับประทานสด สามารถเก็บเกี่ยวได้ก่อนจังหวัดอื่น ๆ ในภาคเหนือ

การศึกษา แก้ไข

 
มหาวิทยาลัยพะเยา
สถาบันอุดมศึกษา
สถาบันอาชีวศึกษาเอกชน
โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา
ดูที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดพะเยา

สาธารณสุข แก้ไข

  • โรงพยาบาลพะเยา
  • โรงพยาบาลพะเยาราม (เอกชน)
  • โรงพยาบาลค่ายขุนเจืองธรรมิกราช
  • โรงพยาบาลเชียงคำ
  • โรงพยาบาลเชียงม่วน
  • โรงพยาบาลดอกคำใต้

บุคคลที่มีชื่อเสียง แก้ไข

พระเกจิอาจารย์
เจ้านายฝ่ายเหนือ
นักการเมือง
ข้าราชการ นักวิชาการ
แวดวงนักธุรกิจ
บุคคลในวงการบันเทิง
บุคคลในวงการกีฬา
สโมสรกีฬาฟุตบอลในจังหวัด
  • สโมสรฟุตบอลพะเยา สโมสรพะเยา เอฟซี เคยอยู่ ไทยลีก 3 ปี 2560 - โซนตอนบน อันดับที่ 5 แล้วพักทีมไป 2 ปี เลยโดนลดชั้นมาแข่งคัดเลือกใหม่
  • ป้จจุบัน สโมสรฟุตบอลพะเยา เอฟซี ส่งเข้าร่วมการแข่งขัน ในนาม สโมสรโรงสีแม่ใจธนะโชติวัตฒน์ ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก โซนภาคเหนือ และได้เลื่อนขึ้นชั้น ไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ ในฤดูกาล 2565 - 2566
  • สโมสรฟุตบอลโรงสีแม่ใจธนะโชติวัฒน์ พะเยา

ดูเพิ่ม แก้ไข

อ้างอิง แก้ไข

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564
  3. ชื่อเขียนตามที่ปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับวัดพระงาม จ.ศ. 1216
  4. "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. ๒๕๒๐" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2018-08-14.
  5. จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดพะเยา ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  6. "พะเยาชวนเที่ยว "บ่อสิบสอง" จุดชมตะวันเช้าวันใหม่ เห็นวิวเมืองสวย-ชัด!". มติชน. 30 ตุลาคม 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2015. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข

พิกัดภูมิศาสตร์: 19°10′N 99°55′E / 19.17°N 99.91°E / 19.17; 99.91