มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข [1] (ชื่อเล่น: ติ่ง, มอลลี่; เกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516) เป็นนักการเมืองสตรีชาวไทย ดํารงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 ครั้งแรกแทนนายไชยยศ จิรเมธากร ที่ลาออก เป็นอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์)[2] และ อดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์[3] เป็นอดีตรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ และในอดีตเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และนักข่าว ผู้ประกาศข่าว พิธีกรรายการร่วมมือร่วมใจ รายการสน.ไอทีวี สถานีโทรทัศน์ไอทีวี นอกจากนี้ยังเป็นประธานมูลนิธิมัลลิกาเพื่อประชาชน[4][5] และประธานชมรมนักรบไซเบอร์ (ขจัดเว็บหมิ่นผิดกฎหมาย)[6]

มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
27 กันยายน พ.ศ. 2565 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 174 วัน)
ก่อนหน้าไชยยศ จิรเมธากร (ลาออก)
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
13 สิงหาคม พ.ศ. 2562 – 27 กันยายน พ.ศ. 2565
(3 ปี 45 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
มัลลิกา บุญมีตระกูล

22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 (51 ปี)
อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา
พรรคการเมืองมหาชน (2547–2550)
ประชาธิปัตย์ (2550–2566)
คู่สมรสณัฐพล มหาสุข
บุพการี
  • บุญมี บุญมีตระกูล (บิดา)
  • สายสมร บุญมีตระกูล (มารดา)
ความสัมพันธ์มนัสชาย บุญมีตระกูล (น้องชาย)
มนัสศักดิ์ บุญมีตระกูล (น้องชาย)
ศิษย์เก่าโรงเรียนปงรัชดาภิเษก
โรงเรียนพะเยาพิทยาคม
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
มหาวิทยาลัยรังสิต
อาชีพสื่อมวลชน, นักการเมือง

ประวัติ แก้

มัลลิกาเกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 ที่อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา มีเชื้อสายไทลื้อ จากแม่และผู้เป็นตาและยาย[7] จบการศึกษาจากโรงเรียนปงรัชดาภิเษก โรงเรียนพะเยาพิทยาคม ปริญญาตรีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต จบการศึกษาปริญญาเอก[8] วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นอดีตนักกีฬาจักรยานทีมชาติไทย และเป็นนักกีฬายิงปืนสมัครเล่นของชมรมยิงปืนรบพิเศษ และจบหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงมหานคร3 กับ นมธ.9 หรือหลักสูตรธรรมศาสตร์เพื่อสังคม

ด้านชีวิตส่วนตัว มัลลิกา บุญมีตระกูล ได้เข้าพิธีมงคลสมรสกับ นายณัฐพล มหาสุข ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัลกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 โดยก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ปีเดียวกัน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกอบพิธีสมรสพระราชทานแก่คู่บ่าวสาว ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา พร้อมการจดทะเบียนสมรส ณ วังสวนจิตรลดา ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้นามสกุลของสามีตามที่ได้จดทะเบียนและนำนามสกุลเดิมจดทะเบียนเป็นชื่อกลางจึงมีชื่อตามบัตรประชาชนใหม่ว่า นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข[1]

การทำงาน แก้

เป็นที่รู้จักจากการเป็นพิธีกรและผู้ประกาศข่าวทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ต่อมาได้ลาออก และลงสมัครในโดยในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคมหาชน การเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ โดยทั้งหมดเป็นการลงสมัคร ส.ส. ในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยา แต่ไม่เคยได้รับการเลือกตั้ง

โดยเคยมีประสบการณ์ทางการเมืองเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติปี พ.ศ. 2549 หลังการรัฐประหารในกลางปีเดียวกัน และเป็นผู้ช่วย เลขานุการ รัฐมนตรีหลายกระทรวง อาทิ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และนายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ล่าสุดได้ประกอบธุรกิจส่วนตัวผลิตภัณฑ์ด้านความงามและเป็นประธานบริหารธุรกิจศูนย์การค้า เป็นต้น[9]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เธอลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 30 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[10] ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์) จนเมื่อ พ.ศ. 2565 เมื่อไชยยศ จิรเมธากร ได้ขอลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ ทำให้มัลลิกาได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน ไชยยศ[11]ซึ่งนางมัลลิกาได้ลาออกจากตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์) [12]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 มิลลิกาได้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 19[13] แต่ภายหลักจาการเลือกตั้งไม่ได้ดํารงตําแหน่ง เพราะสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ มี 3 คน

เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2566 มัลลิกาได้ลาออกจาก พรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 hilight.kapook.comพระราชทานน้ำสังข์ข้างที่ มัลลิกา บุญมีตระกูล ณัฐพล มหาสุข
  2. สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 13 สิงหาคม 2562
  3. เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน
  4. มูลนิธิมัลลิกาฯ รวมข้อเสนอประชาชน ชงนายกฯ เจรจาทุกสถาบันการเงิน ผ่อนชำระหนี้ 1 ปี
  5. ‘มัลลิกา’เผยคนคาดหวังรัฐบาลใหม่แก้ปัญหาปากท้อง เชื่อมั่นรัฐบาลอยู่ครบ4ปีแน่!
  6. "มัลลิกา" โต้ กสม.กระทรวงดิจิตอลฯ จี้ หยุดให้น้ำหนักปกป้องคนหมิ่นฯ
  7. "วิเคราะห์คอลัมนิสต์ 24 04 60". ฟ้าวันใหม่. 2017-04-24. สืบค้นเมื่อ 2017-04-25.
  8. ขอบคุณ-ยินดี “มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข”
  9. "ประวัติจากพรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-22. สืบค้นเมื่อ 2014-08-31.
  10. เปิด 150 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์พรรคประชาธิปัตย์
  11. ราชกิจจาฯ ประกาศ “เจือ-มัลลิกา” เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อประชาธิปัตย์แล้ว
  12. ขอบคุณ-ยินดี “มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข”
  13. "เผยเซฟโซนปาร์ตี้ลิสต์ ปชป. "จุรินทร์-ชวน" นำทีม "ตั๊น" ที่ 10 เบียด "เดียร์" พร้อมใส่เฝือกหาเสียง". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-04-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
  14. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี 2553" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-01-24. สืบค้นเมื่อ 2014-08-31.
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เก็บถาวร 2010-02-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนที่ 16ข วันที่ 4 ธันวาคม 2552

แหล่งข้อมูลอื่น แก้