ทางรถไฟสายเด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ
ทางรถไฟสายชุมทางเด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ เป็นหนึ่งในโครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย และเป็น 1 ใน 2 ส่วนต่อขยายของทางรถไฟสายเหนือ มีวัตถุประสงค์รองรับการเดินทางและขนส่งสินค้าภาคเหนือ รวมถึงรองรับศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าเชียงของที่กำลังก่อสร้างจะเชื่อมการค้าระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ–ใต้จากไทยไปลาว จีน เวียดนาม และเขตเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาล เดิมมีกำหนดการสร้างในปี พ.ศ. 2560 แต่เลื่อนออกไปในปี พ.ศ. 2564 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 ครม. มีมติอนุมัติโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ รวมระยะทาง 323 กม. วงเงินรวม 85,345 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 7 ปี[6] กระทรวงคมนาคมเร่งให้การรถไฟแห่งประเทศไทย เริ่มเวรคืนที่ดินและเปิดการประมูลภายในปี 2564 และมีกำหนดการก่อสร้าง 5 ปี เปิดบริการในปี 2571[7]
ทางรถไฟสายเด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | กำลังก่อสร้าง[1] |
เจ้าของ | การรถไฟแห่งประเทศไทย |
ปลายทาง | |
การดำเนินงาน | |
รูปแบบ | รถไฟระหว่างเมือง |
ระบบ | รถไฟทางไกล ของการรถไฟแห่งประเทศไทย |
ผู้ดำเนินงาน | การรถไฟแห่งประเทศไทย และบริษัทเอกชนในส่วน ของสถานีขนถ่ายสินค้า |
ประวัติ | |
เปิดเมื่อ | เริ่มก่อสร้าง พ.ศ. 2565[2][3] เปิดบริการพ.ศ. 2571[4] |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
ระยะทาง | 323.1 กม. (200.77 ไมล์)[5] |
รางกว้าง | ราง 1 เมตร ทางคู่ |
ประวัติทางรถไฟสายชุมทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของแก้ไข
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายชุมทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กิโลเมตร ในอดีตรัฐบาลไทยได้ทำการศึกษาเส้นทางนี้มาตั้งแต่ปี 2503 และสำรวจพื้นที่ปี 2512 โดยกำหนดให้ใช้เส้นทางเด่นชัย – แพร่ – สอง – เชียงม่วน – ดอกคำใต้ – พะเยา – ป่าแดด – เชียงราย ระยะทางรวม 273 กิโลเมตร
ต่อมาปี 2537-2538 การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาทำการทบทวนผลการศึกษาได้ข้อสรุปว่าเส้นทางชุมทางเด่นชัย – แพร่ – สอง – งาว (ลำปาง) – พะเยา – เชียงราย ย่นระยะทางเหลือประมาณ 246 กิโลเมตร ทำให้ในปี 2539–2541 ใช้งบประมาณราว 2.2 ล้านบาท ทาง รฟท.จึงได้ว่าจ้างเอกชนให้สำรวจออกแบบและศึกษาผลกระทบ จนมีพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินในปี 2544 กระทั่งปี 2547 รัฐบาลในขณะนั้นได้ให้ศึกษาความเหมาะสมอีกโดยให้เหตุผลว่าเพื่อให้เชื่อมกับจีนตอนใต้ กระทั่งปี 2551 ยังให้ศึกษาเพื่อให้เชื่อมชายแดน จ.เชียงราย และระบบรางของจีนได้
จนถึงปี 2553–2554 จึงเริ่มศึกษารถไฟแบบทางคู่ เพื่อให้มีขนาดกว้างขึ้นเป็น 1.435 เมตร และกรณีเส้นทางใน จ.เชียงราย ให้แยกเส้นทางไปยังท่าเรือแม่น้ำโขงเชียงแสนแห่งที่ 2 ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน และสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาว ที่ อ.เชียงของ อีกด้วย
ทั้งนี้ แนวเส้นทางล่าสุดที่ศึกษาจึงมีระยะทางรวมประมาณ 323.1 กิโลเมตร กำหนดให้มีทั้งหมด 26 สถานีผ่าน จ.แพร่ ลำปาง พะเยา และเชียงราย และมีการเจาะภูเขาเป็นอุโมงค์เพื่อเชื่อมเส้นทาง อ.เชียงของ
พ.ศ. 2561 ครม. มีมติอนุมัติโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ ประกอบด้วย สถานี 26 สถานี ลานขนถ่ายสินค้า 4 แห่ง ลานกองเก็บตู้สินค้า 1 แห่ง ก่อสร้างอุโมงค์รถไฟ 4 อุโมงค์ ก่อสร้างถนนยกข้ามทางรถไฟ 40 แห่ง และถนนลอดใต้ทางรถไฟ 102 แห่ง โครงการเริ่มเริ่มต้นจาก จ.แพร่, จ.ลำปาง, จ.พะเยา, จ.เชียงราย จนถึงเชียงของ
19 มีนาคม 2564 การรถไฟแห่งประเทศไทยเริ่มเปิดซองประมูลด้วยระบบจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ (e–bidding) ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคมถึง วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 และยื่นข้อเสนอวันที่ 18 พ.ค. 2564 แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 3 สัญญา คือ สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย–งาว ระยะทาง 103 กม. สัญญาที่ 2 ช่วงงาว–เชียงราย ระยะทาง 132 กม. และสัญญาที่ 3 ช่วงเชียงราย–เชียงของ ระยะทาง 87 กม. โดยมีกำหนดการก่อสร้าง 5 ปี กำหนดเปิดให้บริการปี 2571
27 มิถุนายน 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่บางส่วนในท้องที่ อ.เด่นชัย อ.สูงเม่น อ.เมืองแพร่ อ.หนองม่วงไข่ อ.สอง จ.แพร่ อ.งาว จังหวัดลำปาง อ.เมืองพะเยา อ.ดอกคำใต้ อ.ภูกามยาว จ.พะเยา และ อ.ป่าแดด อ.เทิง อ.เมืองเชียงราย อ.เวียงชัย อ.เวียงเชียงรุ้ง อ.ดอยหลวง อ.เชียงของ จ.เชียงราย เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ พ.ศ. 2564 ทั้งนี้ พรฎ.ฉบับนี้มีผลบังคับใช้วันถัดไปนับตั้งแต่ประกาศในราชกฤษจานุเบกษา (28พ.ค.64) โดยมีพื้นที่ที่จะเวนคืนกว่า 10,000 ไร่ ที่ดิน 7,000 แปลง [8]
16 ธันวาคม 2564 นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย อนุมัติสั่งจ้างก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ วงเงินก่อสร้าง 72,920 ล้านบาท จากผู้รับจ้างก่อสร้าง จำนวน 3 สัญญา คือ สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย–งาว มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ร่วมกับ บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ สัญญาที่ 2 งาว–เชียงราย มีกลุ่มกิจการร่วมค้า CKST ประกอบด้วย บมจ. ช.การช่างร่วมกับ และบมจ.ซิโน–ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และสัญญาที่ 3 เชียงราย–เชียงของ กลุ่มกิจการร่วมค้า CKST ประกอบด้วย บมจ. ช.การช่างร่วมกับ และบมจ.ซิโน–ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น [9]
29 ธันวาคม 2564 ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ร่วมลงนามสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ ตลอดจนมีการลงนามข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการ [10]
เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะรองรับการเดินทาง การค้าชายแดน การท่องเที่ยว และโลจิสติกส์ภาคเหนือตอนบน รวมถึงรองรับศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าเชียงของ เชื่อมการค้าระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ–ใต้จากประเทศไทย ไปยังลาว พม่า และจีนตอนใต้ และจะช่วยผลักดันเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงรายที่รัฐบาลกำลังผลักดันให้เกิดได้เร็วขึ้น[11]
รายชื่อสถานีรถไฟเส้นทางชุมทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของแก้ไข
ชื่อสถานี / ที่หยุดรถ | ชื่อภาษาอังกฤษ | เลขรหัส | ระยะทางจาก กท. | ชั้นสถานี | ตัวย่อ | อาณัติสัญญาณ | ระบบบังคับประแจ | จำนวนรางในย่านสถานี | จำนวนชานชาลา | ที่ตี้ง | จำนวนขบวนที่หยุดรับส่งผู้โดยสาร | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ตำบล | อำเภอ | จังหวัด | ||||||||||||
เด่นชัย – เชียงของ | ||||||||||||||
มาจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯอนาคตจะยกเลิกสถานีกรุงเทพและย้ายสถานีกรุงเทพเป็นสถานีกลางบางซื่อ | ||||||||||||||
ชุมทางเด่นชัย | Den Chai | 1164 | 533.94 กม. | 1 | ดช. | หางปลา ใช้สัญญาณเข้าเขตนอก ใช้ห่วงทางสะดวก | สายลวด | 11 | 3 | เด่นชัย | เด่นชัย | แพร่ | 16 | *เป็นสถานีต้นทางของส่วนต่อขยาย เชื่อมต่อกับทางรถไฟสายเหนือ |
สูงเม่น | Sung Men | 547.80 กม. | 2 | พระหลวง | สูงเม่น | *เป็นสถานีย่อย สถานีประจำอำเภอ | ||||||||
แพร่ | Phrae | 560.50 กม. | 1 | ทุ่งกวาว | เมืองแพร่ | *เป็นสถานีขนาดใหญ่ | ||||||||
แม่คำมี | Mae Kham Mi | 572.00 กม. | 3 | แม่คำมี | *เป็นสถานีย่อย สถานีประจำอำเภอหนองม่วงไข่ | |||||||||
หนองเสี้ยว | Nong Siao | 584.10 กม. | ป้ายหยุดรถ | หัวเมือง | สอง | |||||||||
สอง | Song | 591.00 กม. | 2 | บ้านหนุน | *เป็นสถานีย่อย สถานีประจำอำเภอ | |||||||||
- เข้าอุโมงค์ อ.สอง แห่งที่ 1 ยาว 1125.00 เมตร กม.ที่ 606.200-607.325 | ||||||||||||||
- เข้าอุโมงค์ อ.สอง แหงที่2 ยาว 6375.00 เมตร กม.ที่ 609.050-615.425 | ||||||||||||||
แม่ตีบ | Mae Tip | 618.00 กม. | ป้ายหยุดรถ | แม่ตีบ | งาว | ลำปาง | *เข้าเขตจังหวัดลำปาง | |||||||
งาว | Ngao | 637.00 กม. | 2 | หลวงเหนือ | *เป็นสถานีย่อย สถานีประจำอำเภอ | |||||||||
ปงเตา | Pong Tao | 642.25 กม. | ป้ายหยุดรถ | ปงเตา | ||||||||||
- เข้าอุโมงค์ มหาวิทยาลัยพะเยา ยาว 2825.00 เมตร กม.ที่ 663.400-666.225 | ||||||||||||||
มหาวิทยาลัยพะเยา | University of Phayao | 670.60 กม. | 2 | แม่กา | เมืองพะเยา | พะเยา | *เข้าเขตจังหวัดพะเยา | |||||||
บ้านโทกหวาก | Ban Thok Wak | 677.55 กม. | ป้ายหยุดรถ | |||||||||||
พะเยา | Phayao | 683.40 กม. | 1 | จำป่าหวาย | *เป็นสถานีขนาดใหญ่ | |||||||||
ดงเจน | Dong Chen | 689.75 กม. | ป้ายหยุดรถ | ท่าวังทอง | *เป็นสถานีย่อย สถานีประจำอำเภอ | |||||||||
บ้านร้อง | Ban Rong | 696.55 กม. | ป้ายหยุดรถ | ดงเจน | ภูกามยาว | |||||||||
บ้านใหม่ (พะเยา) | Ban Mai | 709.90 กม. | ป้ายหยุดรถ | ห้วยแก้ว | ||||||||||
ป่าแดด | Pa Daet | 724.55 กม. | 2 | โรงช้าง | ป่าแดด | เชียงราย | *เข้าเขตจังหวัดเชียงราย *เป็นสถานีย่อย สถานีประจำอำเภอ | |||||||
ป่าแงะ | Pa Ngae | 732.20 กม. | ป้ายหยุดรถ | ป่าแงะ | ||||||||||
บ้านโป่งเกลือ | Ban Pong Kluea | 743.20 กม. | ป้ายหยุดรถ | ดอยลาน | เมืองเชียงราย | |||||||||
สันป่าเหียง | San Pa Hiang | 756.10 กม. | ป้ายหยุดรถ | ห้วยสัก | ||||||||||
เชียงราย | Chiang Rai | 771.80 กม. | 1 | เวียงชัย | เวียงชัย | *จุดจอดขนถ่ายตู้สินค้า เป็นสถานีขนาดใหญ่ | ||||||||
ทุ่งก่อ | Thung Ko | 785.50 กม. | ป้ายหยุดรถ | ทุ่งก่อ | ||||||||||
เวียงเชียงรุ้ง | Waing Chiang Rung | 796.45 กม. | 2 | ทุ่งก่อ | เวียงเชียงรุ้ง | *เป็นสถานีย่อย สถานีประจำอำเภอ | ||||||||
ชุมทางบ้านป่าซาง | Pa Sang Junction | 807.43 กม. | 3 | ป่าซาง | *ส่วนต่อขยาย ช่วงชุมทางบ้านป่าซาง-เชียงแสน | |||||||||
- เข้าอุโมงค์ อ.ดอยหลวง ยาว 3600.00 เมตร กม.ที่ 816.600-820.200 | ||||||||||||||
บ้านเกี๋ยง | Ban Kiang | 829.25 กม. | ป้ายหยุดรถ | ห้วยซ้อ | เชียงของ | เชียงราย | ||||||||
ศรีดอนชัย | Si Don Chai | 839.19 กม. | ป้ายหยุดรถ | ศรีดอนชัย | ||||||||||
เชียงของ | Chiang Khong | 853.79 กม. | 2 | สถาน | *จุดเชื่อมต่อกับสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4 (เชียงของ–ห้วยทราย)
| |||||||||
ชุมทางบ้านป่าซาง-เชียงแสน | ||||||||||||||
ชุมทางบ้านป่าซาง | Pa Sang Junction | 807.43 กม. | 3 | ป่าซาง | เวียงเชียงรุ้ง | เชียงราย | *เชื่อมต่อกับทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงของ (เส้นทางหลัก) | |||||||
โชคชัย | Chok Chai | 814.25 กม. | 3 | โชคชัย | ดอยหลวง | |||||||||
เชียงแสน | Chiang San | 830.00 กม. | 2 | เวียง | เชียงแสน | *เป็นสถานีปลายทาง |
พื้นที่ที่เส้นทางผ่านแก้ไข
เขต / อำเภอ | จังหวัด |
---|---|
เชียงแสน / ดอยหลวง / เวียงเชียงรุ้ง / เชียงของ / เวียงชัย / เมืองเชียงราย / ป่าแดด / เทิง | เชียงราย |
ภูกามยาว / เมืองพะเยา / ดอกคำใต้ | พะเยา |
งาว | ลำปาง |
สอง / หนองม่วงไข่ / เมืองแพร่ / สูงเม่น / เด่นชัย | แพร่ |
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ https://mgronline.com/business/detail/9650000072424
- ↑ http://www.manager.co.th/Local/viewnews.aspx?NewsID=9600000027874[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.komchadluek.net/news/economic/265671
- ↑ https://www.prachachat.net/property/news-103319
- ↑ http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2631&start=240
- ↑ ครม.ไฟเขียว รถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ สร้างปี 62
- ↑ ครม.อนุมัติทางคู่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ
- ↑ "คลอดแล้วพรฎ.เวนคืน ทางคู่เด่นชัย-เชียงของหมื่นไร่". thansettakij (ภาษาอังกฤษ). 2021-05-28.
- ↑ "เคาะแล้ว 2 ทางคู่ "เด่นชัย/บ้านไผ่" 1.28 แสนล้านลงนามสร้าง ม.ค.65". Prachachat. 25 ธันวาคม 2021.
- ↑ "สิ้นสุดการรอคอย การรถไฟฯ ลงนามสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟสายใหม่ 2 เส้นทาง สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม". ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย. 29 ธันวาคม 2021.
- ↑ ลงพื้นที่เวนคืน 4 จังหวัดเหนือ สร้างรถไฟทางคู่สายมาราธอน เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ