อุทยานแห่งชาติดอยหลวง

อุทยานแห่งชาติดอยหลวง มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่รอยต่อของ 3 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง และ จังหวัดพะเยา เป็นอุทยานแห่งชาติที่ได้ยกฐานะมาจาก(วนอุทยานน้ำตกปูแกง, วนอุทยานน้ำตกผาเกล็ดนาค, แกงวนอุทยานน้ำตกจำปาทอง, และวนอุทยานน้ำตกวังแก้ว) รวม 4 แห่ง ที่มีพื้นที่ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน มีสภาพธรรมชาติและจุดเด่นเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่งของภาคเหนือ มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 731,250 ไร่ หรือ 1,170 ตารางกิโลเมตร[1]

อุทยานแห่งชาติดอยหลวง
น้ำตกปูแกง
แผนที่
ที่ตั้งจังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง และ จังหวัดพะเยา
พิกัด19°12′N 99°43′E / 19.20°N 99.71°E / 19.20; 99.71
พื้นที่1,169 ตารางกิโลเมตร (731,000 ไร่)
จัดตั้ง16 เมษายน พ.ศ. 2533
ผู้เยี่ยมชม41,016 (2562)
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
น้ำตกปูแกงตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยหลวง

ลักษณะภูมิประเทศ แก้

เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน โดยมีเทือกเขาทอดตัวเป็นแนวยาว ในแนวเหนือ - ใต้ ความยาวประมาณกว่า 70 กิโลเมตร มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 400-1,700 เมตร มีบริเวณ "ยอดดอยหลวง" เป็นพื้นที่สูงที่สุดประมาณ 1,694 เมตร และสภาพดินเป็นดินลูกรังผสมหินโดยเฉพาะบนยอดเขา ส่วนบริเวณหุบเขาจะมีดินสีดำอุดมไปด้วยแร่ธาตุ และหินมีลักษณะเป็นหินกรวดหรือหินปูนทราย เป็นป่าต้นกำเนิดของแม่น้ำวัง น้ำแม่ลาวใน จังหวัดเชียงราย และกว๊านพะเยา ในจังหวัดพะเยา

อุทยานดอยหลวงได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 61 ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2533

ลักษณะภูมิอากาศ แก้

ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปของ อุทยานแห่งชาติดอยหลวง ประกอบไปด้วยฤดูกาล 3 ฤดูกาล คือ

  • ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - มกราคม จะมีอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ โดยอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดประมาณ 12 องศาเซลเซียส
  • ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดประมาณ 34.9 องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 1,743.9 มม.

ความเร็วลมสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 2 นอต ความเร็วลมต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 0.8 นอต ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 73 %

ทรัพยากรป่าไม้ แก้

ประกอบด้วยป่าชนิดต่างๆ 5 ประเภท ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง และป่าสนเขา มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น สัก เสลา อินทนิน มะขามป้อม มะกอกป่า มะม่วงป่า ตะเคียนหิน ตะเคียนทอง ชิงชัน ประดู่ กระบก ยมหิน ยมหอม บุนนาค เต็ง รัง เหียง พลวง ยางนา หว้า ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อกำยาน สนสามใบ รวมถึงไผ่ขาว ไผ่บง กล้วยป่า เฟินก้านดำ ขิง ข่า กล้วยไม้ดิน เฟินชายผ้าสีดา กระแตไต่ไม้ เอื้องผึ้ง หวายป่า เท้าสิงห์โต เอื้องหมายนา ค้างคาวดำ ดุสิตา แววมยุรา และ กระดุมเงิน เป็นต้น

ทรัพยากรสัตว์ป่า แก้

สัตว์ป่าที่พบมากในอุทยานแห่งชาติดอยหลวง ประกอบด้วย

แหล่งท่องเที่ยว แก้

มีสถานที่ท่องเที่ยว เช่น น้ำตกปูแกง น้ำตกวังแก้ว ซึ่งเป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ อุทยานแห่งชาติดอยหลวงยังมีเส้นทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวเมื่ออยู่บนดอยหนอก (เป็นดอยที่สูงที่สุดของดอยหลวง) สามารถมองเห็นทะเลหมอกและทิวทัศน์ที่สวยงาม มีศูนย์บริการท่องเที่ยวให้ความรู้และเข้าใจแก่นักท่องเที่ยว มีร้านค้าไว้บริการ สถานที่กางเต็นท์ และมีเต็นท์ให้เช่า[2][3]

อ้างอิง แก้

  1. "ข้อมูลพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ที่ประกาศในราชกิจจานุบกษา 133 แห่ง". กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. December 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-03. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022, no 61{{cite web}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  2. Bangkok Post: Travel - Doi Luang National Park
  3. Trekthailand - Doi Luang National Park

แหล่งข้อมูลอื่น แก้