มนตรี ยอดปัญญา
มนตรี ยอดปัญญา (8 สิงหาคม พ.ศ. 2493 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554) ประธานศาลฎีกาคนที่ 40
มนตรี ยอดปัญญา | |
---|---|
ประธานศาลฎีกา คนที่ 40 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 | |
ก่อนหน้า | สบโชค สุขารมณ์ |
ถัดไป | ไพโรจน์ วายุภาพ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 สิงหาคม พ.ศ. 2493 |
เสียชีวิต | 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 (61 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติ
แก้นายมนตรี ยอดปัญญา เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2493 จบการศึกษาประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาล 1 (พะเยาประชานุกูล) มัธยมศึกษาต้นโรงเรียนพะเยาพิทยาคม พ.ศ. 2503-2508 มัธยมศึกษาปี 3 โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร พ.ศ. 2509 มัธยมปีที่ 4-5 โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ พ.ศ. 2511[1] ก็ได้เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา สำเร็จการศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2516 และเนติบัณฑิตไทยจากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา สมัยที่ 27 พ.ศ. 2516[2]
การทำงาน
แก้เข้ารับราชการเริมตำแหน่งเป็นอัยการผู้ช่วย จนกระทั่งได้เป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดขอนแก่น ผู้พิพากษาประจำกระทรวง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพิษณุโลก รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลฎีกา
ผลงานวิชาการ
แก้มนตรี ยอดปัญญามีผลงานด้านวิชาการ โดยเป็นอาจารย์ผู้บรรยาย วิชา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 2 ที่สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และในมหาวิทยาลัยหลาย แห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งได้รับการยอมรับจากผู้พิพากษาด้วยกันว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยว ชาญเกี่ยวกับคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นอย่างสูง สามารถจดจำฎีกาที่บรรพตุลาการเคยมีคำวินิจฉัยไว้ได้อย่างแม่นยำ ทั้งเลขที่ฎีกา องค์คณะผู้พิพากษาที่ตัดสิน จนได้ชื่อว่าเป็น "ตู้ฎีกาเคลื่อนที่"[3]
ถึงแก่อสัญกรรม
แก้มนตรี ยอดปัญญา ถึงแก่อสัญกรรมด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวและติดเชื้อในกระแสโลหิต เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 สิริอายุ 61 ปี วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555 เวลา 15.07 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไปในการพระราชทานเพลิงศพ นายมนตรี ยอดปัญญา ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2545 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ ตั้งมนตรี ยอดปัญญา เป็นปธ.ศาลฎีกา จาก decha.com
- ↑ “มนตรี ยอดปัญญา” ประธานศาลฎีกา ถึงแก่อสัญกรรมด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวและติดเชื้อในกระแสโลหิตที่ รพ.ศิริราช[ลิงก์เสีย]. จากผู้จัดการออนไลน์. 27 พฤศจิกายน 2554
- ↑ มนตรี ยอดปัญญา"ปธ.ศาลสูงคนใหม่ "ตู้ฎีกาเคลื่อนที่"ตัดสินคดีการเมืองโชกโชน
- ↑ สมเด็จพระบรมฯ พระราชทานเพลิงศพ นายมนตรี ยอดปัญญา[ลิงก์เสีย] จาก krobkruakao.com วันที่ 30 เมษายน 2555
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๕, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2021-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๙๖, ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๖
ก่อนหน้า | มนตรี ยอดปัญญา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สบโชค สุขารมณ์ | ประธานศาลฎีกา (คนที่ 40) (1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554) |
ไพโรจน์ วายุภาพ |