โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร (Mathayom Wat Benchamabophit School) ตั้งอยู่ในบริเวณวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ในเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ 42 ตารางวา อยู่ในเขตพระราชฐาน เป็นโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครที่เปิดสอนเฉพาะนักเรียนชาย (โรงเรียนชายล้วน) [1] ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานกำเนิดเมื่อ ร.ศ. 119 (พ.ศ. 2443) ทรงกำหนดหลักสูตรแนวการสอนด้วยพระองค์เอง และเปิดสอนตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2444 มีนักเรียน 40 คน เป็นโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์โดยตรงไม่ขึ้นตรงต่อกระทรวงธรรมการสมัยนั้น หลังจากนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่และเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ร่วมกันวางแผนปรับปรุงโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร ที่สำคัญยิ่งก็คือ ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างอาคารถาวรเป็นตึกทรงยุโรปสถาปัตยกรรมแบบ Neo-Classic และทรงห่วงใยในเรื่องการก่อสร้างเป็นอย่างยิ่ง แม้ในสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ต้องได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตทุกอย่าง โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรปัจจุบันเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปัจจุบันเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร Mathayom Wat Benchamabophit School | |
---|---|
![]() | |
ที่ตั้ง | |
![]() | |
พิกัด | 13°45′57″N 100°30′45″E / 13.765876°N 100.512521°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′57″N 100°30′45″E / 13.765876°N 100.512521°E |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | บ.บ. (MWBB) |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล |
คำขวัญ | อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ (ผู้หมั่นย่อมหาทรัพย์ได้) |
สถาปนา | ร.ศ. 119 / พ.ศ. 2443 |
ผู้ก่อตั้ง | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
เขตการศึกษา | เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่ม 2 |
ผู้อำนวยการ | ดร.พงศ์ไท คีรีวงศ์วัฒนา |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | ชั้น ม.1 - ม.6 |
จำนวนนักเรียน | 441 คน (ปีการศึกษา 2563) |
สี | สีชมพู ██ - สีเหลือง ██ |
เพลง | มาร์ชเบญจมบพิตร |
สังกัด | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
ต้นไม้ประจำโรงเรียน | ต้นอโศก |
เว็บไซต์ | www.mwbb.ac.th |

ประวัติ แก้ไข
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า วัดเบญจมบพิตรตั้งอยู่ห่างไกล บรรดาศิษย์วัดซึ่งต้องอุปัฏฐากรับใช้ภิกษุสามเณร ไม่สะดวกที่จะเดินทางไปเล่าเรียนที่ห่างไกล จึงมีพระราชประสงค์ให้สร้างขึ้นเพื่อ "สอนศิษย์ซึ่งเป็นคฤหัสถ์" พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานกำเนิดเมื่อ ร.ศ.119 (พ.ศ. 2443) ในชั้นต้นที่อาคารชั่วคราวหลังมุงจากใช้เสื่อลำแพนกั้นเป็นประตูและหน้าต่างเพียงหลังเดียว ทรงกำหนดหลักสูตรแนวการสอนด้วยพระองค์เอง และเปิดสอนตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2444 มีนักเรียน 40 คน เป็นโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์โดยตรง ไม่ขึ้นตรงต่อกระทรวงธรรมการสมัยนั้น
หลังจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่และเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ร่วมกันวางแผนปรับปรุงโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร อาทิเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) จัดทำหลักสูตรโรงเรียนตามพระราชดำริ ที่สำคัญยิ่งก็คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างอาคารถาวรซึ่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ทรงออกแบบก่อสร้างเป็นตึกทรงยุโรป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยในเรื่องการก่อสร้างเป็นอย่างยิ่ง แม้ในสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ต้องได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตทุกอย่าง ขณะที่พระองค์เสด็จประพาสยุโรปนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเสด็จมาทรงควบคุมแทนพระองค์ และพระราชทานนามจารึกที่หน้าบันมุขกลางว่า "โรงเรียนเบญจมบพิตร สร้าง รัตนโกสินทรศก ๑๒๑" เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน รัตนโกสินทรศก 121 ตรงกับ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2445 แล้วได้โปรดเกล้าฯให้นักเรียนขึ้นเรียนบนอาคารถาวรหลังใหม่หลังจากฉลองอาคารแล้ว ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2447 เป็นต้นมา
แล้วต่อมาทางการได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจาก "โรงเรียนเบญจมบพิตร" เป็น "โรงเรียนมัธยมเบญจมบพิตร" เป็น "โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร" ตามลำดับ และสุดท้ายทางการได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร" ในปัจจุบัน ส่วนชื่อ "โรงเรียนเบญจมบพิตร ได้นำไปใช้กับ โรงเรียนประถม"
- โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เป็นโรงเรียนแรกของประเทศไทยที่ชื่อขึ้นต้นว่า "เบญจม" และเป็นโรงเรียนเดี่ยวที่ขึ้นต้น "เบญจม" ที่ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "เบญจมบพิตร" ซึ่งต่างจากโรงเรียนอื่น ๆ ที่ขึ้นต้นว่า "เบญจม" ที่ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
คณะสีของโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร แก้ไข
โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เป็นโรงเรียนเดียวของประเทศไทยที่ใช้ชื่อคณะสีจากหน้าบันพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
- ██ คณะนารายณ์ทรงครุฑ Naraisongkrut (สีแสด) ก่อตั้งวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2521
- ██ คณะจักรรถ Jakrot (สีแดง) ก่อตั้งวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2521
- ██ คณะมหาอุณาโลม Mahaunalom (สีเขียว) ก่อตั้งวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2521
- ██ คณะไอยราพต Iyarapot (สีฟ้า) ก่อตั้งวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2521
- ██ คณะจุลมงกุฎ Chula Mongkut (สีเทา) ก่อตั้งวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2531 ปัจจุบันไม่มีคณะสีนี้แล้ว
อาคารและสถานที่ภายในบริเวณโรงเรียน แก้ไข
- อาคารที่ 1 (อาคารพระพุทธเจ้าหลวง ตึกสีชมพู) สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2445 เป็นอาคารทรงยุโรปแบบพิเศษ 2 ชั้น 8 มุข 16 ห้องเรียน ทรงยุโรป สถาปัตยกรรม Neo-Classic ตัวอาคารสีกาบบัว (สีแดงเจือขาว) หน้าต่างและกระเบื้องหลังคาสีเขียวอมน้ำเงิน (สีเขียวคอเป็ด) ปัจจุบันหลังคาเป็นสีอิฐ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นด้วยทุนทรัพย์ซึ่งเป็น "สมบัติของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรณ์ศิริประสาธน์ และเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เกสร ในรัชกาลที่ 5" อาคารพุทธเจ้าหลวงหลังนี้อยู่ด้านทิศตะวันตกของแนวกุฏิสงฆ์ ติดรั้ววัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราคาก่อสร้าง 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้ทรงออกแบบก่อสร้างอาคารหลังนี้ อาคารเรียนหลังนี้ได้รับคัดเลือกให้เป็นอาคารอนุรักษ์อาคารสถานที่ราชการอนุรักษ์ดีเด่นของสมาคมสถาปนิกสยาม สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานโล่รางวัล และประกาศนียบัตรแก่โรงเรียนเมื่อพ.ศ. 2527 อาคารพระพุทธเจ้าหลวงได้รับการซ่อมแซมหลายครั้ง อาทิเช่น กรมสามัญศึกษาได้ทำการซ่อมแซมเมื่อ พ.ศ. 2525 ใช้งบประมาณ 2.4 ล้านบาท และครั้งหลังสุด ในพ.ศ. 2556 โรงเรียนได้ทำการบูรณะอาคารด้วยงบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการเป็นจำนวนเงิน 21 ล้าน และได้มีการปรับปรุงสนามกีฬาหน้าอาคาร 1 ด้วยงบประมาณ 1.9 ล้านบาท
- ปัจจุบันอาคารพระพุทธเจ้าหลวงยังมั่นคง แข็งแรง และสง่างาม
- อาคารที่ 2 (อาคารเทพศึกษา) :สร้างเมื่อพ.ศ. 2507 เป็นอาคารเรียน 3 ชั้น ขนาด 15 ห้องเรียน ราคาก่อสร้าง 1.5 ล้านบาท
- ชั้น 1 ประกอบด้วย : ห้องคอมพิวเตอร์ 2 ห้อง สำนักผู้อำนวยการ 1 ห้อง ห้องกลุ่มบริหารกิจการนักเรียน 1 ห้อง
- ชั้น 2 ประกอบด้วย : ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-Library) 1 ห้อง
- ชั้น 3 ประกอบด้วย : ห้องกลุ่มบริหารงานวิชาการ 1 ห้อง ห้องเรียนวิชาภาษาไทย 4 ห้อง และห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 1 ห้อง
- อาคารที่ 3 (อาคารพุทธิศึกษา) สร้างเมื่อพ.ศ. 2517 เป็นอาคารเรียน 4 ชั้น ขนาด 20 ห้องเรียน ราคาก่อสร้าง 2.4 ล้านบาท
- ชั้น 1 ประกอบด้วย : สหกรณ์โรงเรียน 1 ห้อง ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 1 ห้อง ห้องเรียนศิลปะป้องกันตัว (มวยไทย) 1 ห้อง ห้องเรียนสุขศึกษา 1 ห้อง
ห้องพยาบาล 1 ห้อง ห้องแนะแนว 1 ห้อง
- ชั้น 2 ประกอบด้วย : ห้องเรียน ICP 3 ห้อง ห้องคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียน ICP 1 ห้อง ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 1 ห้อง
- ชั้น 3 ประกอบด้วย : ห้องเรียน INTENSIVE 3 ห้อง ห้องเรียนอัจริยะ (E-Classroom) 1 ห้อง ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 1 ห้อง
- ชั้น 4 ประกอบด้วย : ห้องเรียนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 3 ห้อง ห้องพุทธวรญาณ (ศุนย์พระพุทธศาสนา) 1 ห้อง
- อาคารที่ 4 (อาคารธรรมศึกษา) สร้างเมื่อพ.ศ. 2520 เป็นอาคารเรียน 4 ชั้น ขนาด 20 ห้องเรียน ราคาก่อสร้าง 3.9 ล้านบาท
- ชั้น 1 ประกอบด้วย : หอประชุมโรงเรียน
- ชั้น 2 ประกอบด้วย : ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิศาสตร์ 1 ห้อง ห้องเรียนคณิตศาสตร์ 4 ห้อง
- ชั้น 3 ประกอบด้วย : ห้องดนตรีไทย 1 ห้อง ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 1 ห้อง ห้องเรียนศิลปะ 3 ห้อง
- ชั้น 4 ประกอบด้วย : ห้องวงโยธวาทิต (ดนตรีสากล) 1 ห้อง ห้องเรียนศิลปะป้องกันตัว (เทควันโด) 1 ห้อง
- อาคารที่ 5 (อาคารรัตนโกสินทร 200 ปี) สร้างเมื่อพ.ศ. 2522 แบบพิเศษ 4 ชั้น ราคาก่อสร้าง 3.3 ล้านบาท
- ชั้น 1 ประกอบด้วย : ศูนย์อาหาร และบริการ
- ชั้น 2 ประกอบด้วย : ห้องคหกรรม 1 ห้อง ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 1 ห้อง ห้องเรียนการงานอาชีพ 2 ห้อง
- ชั้น 3 ประกอบด้วย : ห้องปฏิบัติการทางด้านภาษา (Sound Lab) 1 ห้อง ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 1 ห้อง ศูนย์วิชาการภาษาฝรั่งเศส 1 ห้อง
- ชั้น 4 ประกอบด้วย : ห้องพิมพ์ดีด 1 ห้อง ห้องเรียนรวม 1 ห้อง
- อาคารที่ 6 (อาคารพลเอก อาทิตย์ กำลังเอก) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2528 แบบพิเศษ 3 ชั้น ขนาด 12 ห้องเรียน ราคาก่อสร้าง 5 ล้านบาท พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก สร้างให้ด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัว
- ชั้น 1 ประกอบด้วย : ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ 1 ห้อง ห้องอุปกรณ์ 1 ห้อง ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ 1 ห้อง ห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา 1 ห้อง
- ชั้น 2 ประกอบด้วย : ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ 1 ห้อง ห้องอุปกรณ์ 1 ห้อง ห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์ 1 ห้อง ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 1 ห้อง
- ชั้น 3 ประกอบด้วย : ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ 1 ห้อง ห้องอุปกรณ์ 1 ห้อง ห้องปฏิบัติการทางเคมี 1 ห้อง ห้องศูนย์สื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 1 ห้อง
- อาคารที่ 7 (เรือนพยาบาลพลเอก อาทิตย์ กำลังเอก) เป็นอาคารเรือนทรงไทย พร้อมด้วยเวชภัณฑ์และครุภัณฑ์ขนาด 4 เตียง สร้างด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัวของพลเอก อาทิตย์ กำลังเอก
ราคาก่อสร้าง 250,000 บาท ปัจจุบันได้ใช้เป็นห้องพักครู แล้วได้ย้ายห้องพยาบาลไปยังอาคารพระพุทธเจ้าหลวงชั้น 1
องค์ผู้อุปการะโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร แก้ไข
องค์ผู้อุปการะโรงเรียน คือ เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ทุกรูปตั้งแต่เมื่อครั้ง แรกสถาปนา
รายนามผู้บริหารโรงเรียน แก้ไข
หลักสูตรที่เปิดสอน แก้ไข
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แก้ไข
- โครงการห้องเรียนพิเศษ
- โครงการความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (เพชรเบญจมบพิตร) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (30 คน)
- โครงการห้องเรียนปกติ
- ห้องเรียนปกติ ระดับชั้นละ 3 ห้อง (120 คน)
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แก้ไข
- โครงการห้องเรียนปกติ
- ห้องเรียนปกติ ระดับชั้นละ 3 ห้อง (90 คน)
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ - คณิตศาสตร์
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ - ภาษาจีน (ภาษาจีนเพื่อธุรกิจ)
- แผนการเรียนภาษาไทย - สังคมศึกษา
- แผนการเรียนศิลป์ - ธุรกิจ (การจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่)
- ห้องเรียนปกติ ระดับชั้นละ 3 ห้อง (90 คน)
กิจกรรมของโรงเรียน แก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เข้าร่วมขบวนพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างเผือก พ.ศ. 2499 แก้ไข
นักเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เข้าร่วมขบวนพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างเผือก พ.ศ. 2499
งานสมานมิตร แก้ไข
โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เคยร่วมจัดงานสมานมิตร เพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีกับโรงเรียนเพื่อนบ้าน โดยมี 3 โรงเรียนดังนี้
โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์ โรงเรียนวัดราชาธิวาส และโรงเรียนวัดน้อยนพคุณ
การปฏิญาณตนของนักเรียนในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม แก้ไข
นักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร ต้องเข้าพิธีปฏิญาณตน และมอบตัวเป็นศิษย์องค์พระพุทธชินราช พระพุทธเจ้าหลวง และพระพุทธวรญาณ เจ้าอาวาสวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามเป็นประจำทุกปี
วงโยธวาทิต แก้ไข
วงโยธวาทิตโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2515
-
วงโยธวาทิตโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
-
วงโยธวาทิตโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2515
องค์กรที่ให้การสนับสนุนโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร แก้ไข
- วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
- มูลนิธิวัดเบญจมบพิตร (กองทุนสมโภชพระพุทธชินราช)
- คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
- สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
- สมาคมนักเรียนเก่าเบญจมบพิตร ในพระบรมราชูปถัมภ์
- มูลนิธินักเรียนเก่าเบญจมบพิตร
- มูลนิธิเบญจมเมตตาธรรม
- คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
- องค์กรภาครัฐ เอกชน องค์กรท้องถิ่น และชุมชน ฯลฯ
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง แก้ไข
สถานที่สำคัญที่อยู่ใกล้เคียง แก้ไข
- วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
- พระราชวังดุสิต
- ลานพระราชวังดุสิต
- สวนจิตรลดา
- สนามเสือป่า
- ทำเนียบรัฐบาล
- กองบัญชาการ กองทัพภาคที่ 1
- กระทรวงศึกษาธิการ
- อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)
- สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
- สวนสัตว์ดุสิต
ดูเพิ่ม แก้ไข
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ http://www.watbencha.com/history/school.html[ลิงก์เสีย] ปัจจุบันทางการได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร" เปิดสอนเฉพาะนักเรียนชาย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสามัญศึกษา เรื่องมีผู้อุปการโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร, เล่ม ๔๕, ตอน ๐ ง , ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๑, หน้า ๒๖๗๓
แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข
- เว็บไซต์โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
- เว็บไซต์สมาคมนักเรียนเก่าเบญจมบพิตร ในพระบรมราชูปถัมภ์ เก็บถาวร 2010-08-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เก็บถาวร 2019-08-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′57″N 100°30′45″E / 13.765876°N 100.512521°E{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้