วิสุทธิ์ ไชยณรุณ
วิสุทธิ์ ไชยณรุณ (เกิด 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2501) ชื่อเล่น มี่ เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (รัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร) อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา สังกัดพรรคเพื่อไทย และเป็นสมาชิกกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ในจังหวัดพะเยา[1]
วิสุทธิ์ ไชยณรุณ | |
---|---|
วิสุทธิ์ ใน พ.ศ. 2567 | |
ประธานคณะกรรมการประสานงาน สภาผู้แทนราษฎร | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 (0 ปี 289 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน แพทองธาร ชินวัตร |
ก่อนหน้า | อดิศร เพียงเกษ |
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง | |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (2 ปี 129 วัน) | |
ก่อนหน้า | อภิวันท์ วิริยะชัย |
ถัดไป | ศุภชัย โพธิ์สุ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 207 วัน) | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพะเยา | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 (22 ปี 73 วัน) | |
ก่อนหน้า | ไพโรจน์ ตันบรรจง ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ สวัสดิ์ คำวงษา |
ถัดไป | อนุรัตน์ ตันบรรจง |
เขตเลือกตั้ง | เขต 2 (2544,2548,2554,2562) เขต 1 (2550) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | ประชาธิปัตย์ (2534–2541) ไทยรักไทย (2541–2549) พลังประชาชน (2549–2551) |
ประวัติ
แก้วิสุทธิ์ ไชยณรุณ เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 ที่ตำบลแม่ต๋ำ อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก เทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต สาขาสัตวศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ (มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในปัจจุบัน)[2]
การทำงาน
แก้วิสุทธิ์ ไชยณรุณ เป็นเกษตรกรและเป็นผู้ริเริ่มนำต้นยางพารามาปลูกครั้งแรกในจังหวัดพะเยา ต่อมาเขาได้เข้าสู่การทำงานการเมือง โดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา สังกัดพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 เป็นสมัยแรก และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23 (พ.ศ. 2551) ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 และได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎร ให้ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24[3] ซึ่งจากการทำหน้าที่ประธานในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เขาได้รับการยอมรับจากฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลว่าทำหน้าที่ได้ดี และมีความเป็นกลางที่สุด[4]
22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 วิสุทธิ์ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลในสภาผู้แทนราษฎร ถัดจาก อดิศร เพียงเกษ ซึ่งลาออกจากตำแหน่ง[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2537 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
อ้างอิง
แก้- ↑ เสื้อแดงชุมนุม21จว.คู่ขนานกทม. บุกจวนพ่อเมืองเชียงใหม่ขับไล่[ลิงก์เสีย]
- ↑ ขอร่วมแสดงความยินดีกับศิษย์เก่าแม่โจ้ และศิษย์เก่ากิตติมศักดิ์แม่โจ้
- ↑ สภาฯลงมติเลือก"สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์"นั่งปธ.ตามคาด "ปู"เผยรายชื่อครม.เสร็จแล้ว50%
- ↑ "'วิสุทธิ์'เฮี้ยบ!ไล่'สุนัย'เบรก'จ่าประสิทธิ์'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-20. สืบค้นเมื่อ 2013-08-24.
- ↑ ""เศรษฐา" ตั้ง "วิสุทธิ์ ไชยณรุณ" นั่ง ปธ.วิปรัฐบาลคนใหม่". Thai PBS.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑