แม่น้ำยม
แม่น้ำยม (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นแม่น้ำที่มีต้นกำเนิดอยู่ในป่าดงดิบสูงชันสลับซับซ้อนบนทิวเขาผีปันน้ำและเทือกเขาแดนลาว ในเขตจังหวัดพะเยาและแพร่ โดยมีแม่น้ำงิม และแม่น้ำควร ไหลมาบรรจบกันที่บ้านบุญยืน ตำบลนาปรัง อำเภอปง จังหวัดพะเยา มีความยาวประมาณ 735 กิโลเมตร กระแสน้ำไหลผ่านที่ราบสูงของอำเภอปง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ผ่านจังหวัดแพร่ สุโขทัย พิษณุโลก และพิจิตร ไปบรรจบกับแม่น้ำน่านที่ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนแม่น้ำน่านจะไปรวมกับแม่น้ำปิง ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เกิดเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสายสำคัญของพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย
แม่น้ำยม | |
---|---|
แผนที่แสดงตำแหน่งลุ่มน้ำเจ้าพระยารวมกับลุ่มน้ำสาขาต่าง ๆ | |
ที่ตั้ง | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | พะเยา, แพร่, สุโขทัย, พิษณุโลก, พิจิตร, นครสวรรค์ |
ลักษณะทางกายภาพ | |
ต้นน้ำ | ทิวเขาผีปันน้ำ |
• ตำแหน่ง | บ้านบุญยืน ตำบลนาปรัง อำเภอปง จังหวัดพะเยา |
• ระดับความสูง | 347 เมตร (1,138 ฟุต) |
ปากน้ำ | แม่น้ำน่าน |
• ตำแหน่ง | ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ |
• ระดับความสูง | 28 เมตร (92 ฟุต) |
ความยาว | 735 กิโลเมตร (456 ไมล์)[1] |
พื้นที่ลุ่มน้ำ | 24,047 ตารางกิโลเมตร (9,285 ตารางไมล์) |
อัตราการไหล | |
• ตำแหน่ง | จังหวัดนครสวรรค์ |
• เฉลี่ย | 103 m3/s (3,600 cu ft/s) |
• สูงสุด | 1,916 m3/s (67,700 cu ft/s) |
ลุ่มน้ำ | |
ลำน้ำสาขา | |
• ขวา | แม่น้ำงาว |
สภาพโครงสร้างทางน้ำของแม่น้ำยมมีลักษณะแบบกิ่งไม้ ประกอบด้วยลำน้ำสาขา 77 สาย ระดับน้ำสูงสุดในฤดูฝน ลดลงเมื่อถึงฤดูหนาว และต่ำสุดในฤดูร้อน ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
ลำน้ำสาขา
แก้ต้นน้ำ
แก้ต้นน้ำซึ่งได้ไหลมาลงยังแม่น้ำยมประกอบด้วย
ลำน้ำสาขาฝั่งขวา
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ลำน้ำสาขาฝั่งซ้าย
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ลุ่มน้ำยม
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สิ่งมีชีวิตในแม่น้ำยม
แก้ชนิดและปริมาณพันธุ์ไม้ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำยมเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล คือ มีมากในฤดูหนาวและฤดูร้อน ลดลงในฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงที่ระดับน้ำสูงและกระแสน้ำไหลแรงจนทำให้พืชใต้น้ำและบนผิวน้ำถูกพัดพากระจัดกระจายไป พืชใต้น้ำมีเพียงชนิดเดียวคือสาหร่ายหางกระรอกซึ่งเจริญเติบโตได้ดีที่สุดในฤดูร้อน เนื่องจากระดับน้ำไม่สูงมาก แสงแดดสามารถส่องถึงได้ นอกจากนี้ยังพบต้นกก พืชที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม โผล่พ้นน้ำกระจายอยู่ทั่วไป แม่น้ำยมมีพืชชายน้ำหลายชนิด เช่น หญ้าคา หญ้าแพรก แขม และอ้อ
ในแม่น้ำยมมีปลาน้ำจืด 38 ชนิด ปริมาณปลามีมากที่สุดในช่วงฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว ปลาที่พบมาก ได้แก่ ปลาตะเพียน ปลาสร้อย ปลาซิว และปลารากกล้วย
พื้นที่คุ้มครอง
แก้แม่น้ำยมไหลผ่านอุทยานแห่งชาติแม่ยม จังหวัดแพร่
อ้างอิง
แก้- นทีศรียมนา, กรมวิชาการ, กรุงเทพฯ, 2544
19°23′24″N 100°27′18″E / 19.39000°N 100.45500°E
- ↑ "Longest Rivers in Thailand". 25 April 2017.