อำเภอสอง
สอง (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดของจังหวัดแพร่
อำเภอสอง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Song |
คำขวัญ: แก่งเสือเต้นอ่างแม่สอง สักทองหัตถศิลป์สืบสาน นางสิบสองเพื่อนแพงแหล่งตำนาน เมืองอุทยานลิลิตพระลอ | |
แผนที่จังหวัดแพร่ เน้นอำเภอสอง | |
พิกัด: 18°28′12″N 100°11′0″E / 18.47000°N 100.18333°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | แพร่ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,624.5 ตร.กม. (627.2 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 48,645 คน |
• ความหนาแน่น | 29.95 คน/ตร.กม. (77.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 54120 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5406 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอสอง ถนนปู่เจ้าสมิงพราย ตำบลบ้านกลาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ 54120 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ประวัติ
แก้พงศาวดารโยนก กล่าวถึง เมืองสองว่า จุลศักราช 914 ปีชวด จัตวาศก เดือน 9 ขึ้น 10 ค่ำ เจ้าฟ้าเมืองนายกับเจ้าฟ้าเชียงทอง สองพี่น้อง ได้ยกรี้พลมาตีเมืองต่างๆ ในอาณาจักร ล้านนาไทย ได้เมืองเชียงราย เชียงแสน เมืองลอ พะเยา ลุถึงเดือน 11 ขึ้น 2 ค่ำ ปีเดียวกัน ยกทัพจากเมืองพะเยา ระยะทางแปดพันวาไปแรมยางดุมสะเอียบ จากยางดุมสะเอียบไปแรมป่าเลาระยะทางสองพันวายกจากป่าเลาไปแรมเมืองสองระยะทางหมื่นวายกจาก เมืองสองไปแรมป่าเสี้ยว ยกจาก ป่าเสี้ยวไปแรมเมืองแพร่ ฯลฯ
พงศาวดารเมืองน่าน กล่าวถึงเมืองสองว่า จุลศักราช 889 ตรงกับ พ.ศ. 2070 พญาน่าน ตนชื่น อุ่นเฮือน ได้ยกไพร่พลทหารลงมาตีเมืองเทิง เมืองสอง ได้ชัยชนะจึงกวาดต้อนผู้คนไปเป็นจำนวนมาก จุลศักราช 893 ตรงกับ พ.ศ. 2074 พญาแพร่ได้รวบรวมไพร่พลยกขึ้นไปตีเมืองคืนจาก พญาน่าน แต่ไม่สามารถตีหักเอาเมืองน่านได้จึงยกทัพกลับแต่เจ้าเมืองแพร่ได้แต่งตั้งตัวแทน ให้ไปปกครองเมืองสองสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน กล่าวกันว่าเดิมบ้านเจ้าเมืองสองตั้งที่บ้านหนุน ต่อมาภายหลังได้ย้ายไปตั้งที่บ้านกลาง
การปกครองในอดีต
แก้ผู้ปกครองอำเภอสอง จัดเป็นกลุ่มขุนนางนอกเวียง หมายถึงกลุ่มขุนนาง ผู้ดูแลภารกิจในท้องที่ต่างๆ ภายในเขตเมืองแพร่โดยปฏิบัติงานตามที่ เค้าสนามกำหนด ได้แก่ กลุ่มเจ้าเมืองขึ้น คำว่าเมืองขึ้นภาษาเค้าสนาม เรียกว่า ลูกเมือง ซึ่งเมืองแพร่มีเมืองขึ้นเพียงเมืองเดียวคือ เมืองสอง ผู้ที่เป็นเจ้าเมืองสองจะได้รับตำแหน่ง พระเมืองสอง ซึ่งเจ้าเมืองสององค์สุดท้ายชื่อ พระทุติยรัฐบุรินทร์ (เจ้าน้อยมหาเทพ)
พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองส่วนภูมิภาค โดยจัดให้มีการปกครองแบบ เทศาภิบาล แบ่งเขตการปกครองออกเป็น มณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน เทศาภิบาลมณฑลมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้สำเร็จราชการมณฑล เมืองแพร่ขึ้นกับมณฑลลาวเฉียง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลพายัพ ที่ว่าการมณฑลอยู่ที่เมืองเชียงใหม่
พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดการปกครอง หัวเมืองฝ่ายเหนือแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองสองจึงถูกลดฐานะลงเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอยมเหนือ พระราชบัญญัติการปกครองมณฑลพายัพในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้แบ่ง เมืองแพร่ออกเป็นสองเขตการปกครองเรียกว่า แขวง คือ แขวงเมืองแพร่ และ แขวงแม่ยมเหนือ โดยมีข้าราชการคนไทยขึ้นมาเป็นผู้ปกครองเรียกว่า นายแขวง แล้วนำบ้านหลายๆบ้านรวมกันเรียกว่า แคว่น หรือ แคว้น ผู้ปกครองเรียกว่า นายแคว่น หรือ นายแคว้น มีตำแหน่งเป็น พระยา ตามชื่อแคว้นเช่น พระยาป่าแดงหลวง, พระยาถิ่นหลวง, พระยาไชยยามาตร์ เป็นต้น ส่วนบ้านแต่ละบ้านเรียกใหม่ว่า หลัก ผู้ปกครองเรียกว่า นายหลัก หรือ แก่บ้าน มีตำแหน่งเป็น ท้าว เหมือนเดิม
ปี พ.ศ. 2449 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่อจาก อำเภอยมเหนือ เป็นอำเภอสอง ตามความนิยมของชาวบ้านใกล้ไกล
ปี พ.ศ. 2470 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่อจาก อำเภอสอง เป็นอำเภอบ้านกลาง แต่ไม่มีใครเรียกและไม่เป็นที่รู้จัก
ปี พ.ศ. 2480 ทางราชการจึงได้เปลี่ยนชื่อกลับไปใช้ชื่อตามเมืองโบราณ คือ เมืองสอง ดังนั้นจึงเปลี่ยนจากอำเภอบ้านกลางเป็นอำเภอสอง มาจนถึงปัจจุบัน[1]
การปกครองในปัจจุบัน
แก้อำเภอสองในสมัยนั้นมีพื้นที่กว้างขวางมาก ทำให้การปกครองไม่ทั่วถึง จึงได้มีการแยกหมู่บ้านต่างๆ ขึ้นเป็นตำบลใหม่ดังนี้
- วันที่ 19 กันยายน 2521 ตั้งตำบลแดนชุมพล โดยแยกจากตำบลหัวเมือง
- วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2525 โอนพื้นที่ตำบลวังหลวงและตำบลน้ำรัด อำเภอสอง ให้ไปขึ้นกับอำเภอร้องกวาง
- วันที่ 7 มีนาคม 2540 ตั้งตำบลทุ่งน้าว โดยแยกจากตำบลบ้านหนุน
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอสองตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดและมีพื้นที่มากที่สุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอดอกคำใต้ อำเภอเชียงม่วน (จังหวัดพะเยา) และอำเภอบ้านหลวง (จังหวัดน่าน)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเวียงสา (จังหวัดน่าน) และอำเภอร้องกวาง
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอร้องกวาง อำเภอหนองม่วงไข่ และอำเภอลอง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอแม่เมาะและอำเภองาว (จังหวัดลำปาง)
สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ
แก้อำเภอสองเป็นภูมิประเทศที่เป็นภูเขาและป่าไม้ประมาณร้อยละ70 ของพื้นที่ ตัวอำเภอมีความสูงประมาณ 180 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยจุดสูงที่สุดอยู่ที่บริเวณดอยหลวง(อยู่ในตำบลสะเอียบ จุดแบ่งเขตแดนระหว่างจังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน)สูงประมาณ 1,300 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
เนื่องจากอำเภอสองตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่มีภูเขาล้อมรอบทำให้ฤดูร้อนจะมีอากาศร้อนอบอ้าว อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 35-40 องศาเซลเซียส และฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุดในแต่ละปีประมาณ 5-10 องศาเซลเซียส ส่วนฤดูฝนจะมีฝนเฉลี่ยต่อปี ประมาณ 1,000 - 1,500 มิลลิเมตร
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอสองแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 ตำบล 85 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ | ชื่อตำบล | ตัวเมือง | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนหลังคาเรือน | จำนวนประชากร[2] |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | บ้านหนุน | Ban Nun | 11 | 3,055 | 8,757 | |
2. | บ้านกลาง | Ban Klang | 12 | 2,973 | 8,058 | |
3. | ห้วยหม้าย | Huai Mai | 17 | 2,688 | 8,527 | |
4. | เตาปูน | Tao Pun | 12 | 2,502 | 8,131 | |
5. | หัวเมือง | Hua Mueang | 13 | 2,037 | 6,588 | |
6. | สะเอียบ | Sa-iap | 10 | 2,023 | 5,623 | |
7. | แดนชุมพล | Daen Chumphon | 4 | 821 | 2,623 | |
8. | ทุ่งน้าว | Thung Nao | 6 | 1,164 | 3,564 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอสองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลสอง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านหนุนและตำบลบ้านกลาง
- เทศบาลตำบลห้วยหม้าย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยหม้ายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านหนุน (นอกเขตเทศบาลตำบลสอง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านกลาง (นอกเขตเทศบาลตำบลสอง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเตาปูน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเตาปูนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมืองครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวเมืองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสะเอียบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะเอียบทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแดนชุมพล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแดนชุมพลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้าว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งน้าวทั้งตำบล
เศรษฐกิจ
แก้อาชีพหลัก
แก้ทำการเกษตร (ปลูกข้าวนาปี ข้าวโพด มะขามหวาน มะม่วง ถั่วเหลือง ลำไย ถั่วลิสง ถั่วเขียว อ้อย) เลี้ยงสัตว์ คือ ไก่ สุกร โค กระบือ ม้า ห่าน ช้าง
อาชีพเสริม
แก้ธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม คือ สุรากลั่นชุมชน ผลิตสุราแช่ ผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ ทอผ้าพื้นเมือง ขนม แหนม ปลาร้าอบ น้ำพริก
ธนาคาร
แก้มีธนาคารจำนวนสองแห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสินและ ธกส.
สาธารณสุข
แก้มีโรงพยาบาลจำนวนหนึ่งแห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสอง
สถานศึกษา
แก้- โรงเรียนสองพิทยาคม
- โรงเรียนอนุบาลเทพสุนทรินทร์
- วิทยาลัยการอาชีพสอง
การคมนาคม
แก้ทางบก ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 103, 1120, 1154
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้- อุทยานลิลิตพระลอ
- สระหนองเล้ม (แม่น้ำกาหลงในตำนานลิลิตพระลอ-พระเพื่อน-พระแพง)
- กำแพงเมืองเก่าโบราณ
- เตาเผาปูนโบราณ
- แก่งเสือเต้น
- หล่มด้ง
- อุทยานแห่งชาติแม่ยม
- พระธาตุหนองจันทร์
- อ่างเก็บน้ำแม่สอง
- พระธาตุพระลอ
- พิพิธภัณฑ์เงินตราสยามเวียงสรอง
- โล้ชิงช้าเผ่าอาข่า
- ดงสักงาม
- จุดชมทะเลหมอก
- ผาลาด
- ต้นมะค่าใหญ่
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-23. สืบค้นเมื่อ 2012-06-21.
- ↑ จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดแพร่ ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย