ปลารากกล้วย หรือ ปลาซ่อนทราย เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดทุกชนิดในสกุล Acantopsis ของวงศ์ปลาหมูแท้ (Cobitidae)[1][2]

ปลารากกล้วย
A. dialuzona
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
Actinopterygii
อันดับ: ปลาตะเพียน
Cypriniformes
วงศ์: วงศ์ปลาหมู
Cobitidae
สกุล: ปลารากกล้วย
Acantopsis
van Hasselt, 1823
ชนิดต้นแบบ
Acantopsis dialuzona
van Hasselt, 1823
ชนิด

ดูข้อความ

ชนิด

แก้

ปัจจุบันพบปลารากกล้วยทั้งหมด 7 ชนิด[3] ได้แก่

ถิ่นที่อยู่

แก้

ปลารากกล้วยเป็นปลาที่พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงตอนใต้ของจีน

ลักษณะ

แก้

ลักษณะรูปร่างของปลาในสกุลนี้จะมีลำตัวเรียวยาวแบนข้างเล็กน้อย ความยาวลำตัววัดจากปากถึงโคนหางเป็น 6.1–8.0 เท่าของความกว้างลำตัว และ 3.7–4.2 เท่าของความยาวหัว ลำตัวสีน้ำตาลอ่อน ท้องสีขาว ตามแนวสันหลังมีแถบสั้น ๆ สีน้ำตาลดำ พาดขวางประมาณ 10 แถบ ตามแนวเส้นข้างตัวมีแถบสีน้ำตาลขนาดเล็กพาดไปตามความยาวลำตัว ข้างละ 1 แถบ มีจุดสีน้ำตาลประมาณ 8–12 จุด ซึ่งแตกต่างออกไปตามแต่ละชนิด เรียงไปตามความยาวของเส้นข้างตัว หัวมีขนาดใหญ่เรียวแหลมและแบนข้าง ตามีขนาดเล็กอยู่ค่อนไปทางด้านบน บริเวณหน้าตามีหนามแหลมเล็ก ๆ ปลายแยกเป็น 2 แฉกซ่อนอยู่ใต้ร่องผิวหนัง จะงอยปากค่อนข้างยาวแหลม และงุ้มต่ำ ริมฝีปากบนกว้างมีรอยหยัก ริมฝีปากล่างค่อนข้างหนา กว้างและหยักมากกว่าริมฝีปากบน มีหนวดสั้น ๆ 3 คู่ ครีบหลังและครีบหางมีสีน้ำตาลอ่อน ส่วนครีบอื่น ๆ ใสไม่มีสี ครีบต่าง ๆ ไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 3–4 อัน ก้านครีบแขนง 10 อัน ครีบก้นมีขนาดเล็กมาก มีก้านครีบ 3–5 อัน ครีบหางเว้าไม่ลึก ขนาดความยาวลำตัว ที่พบส่วนมากยาวประมาณ 8–10 เซนติเมตร

พฤติกรรม

แก้

สภาพที่อยู่อาศัยของปลารากกล้วยจะเป็นน้ำไหลค่อนไปทางแรงแต่ไม่แรงมาก ใสสะอาด พื้นเป็นทรายไม่ละเอียดไม่หยาบสำหรับหาอาหารหน้าดินและมุดหลบภัยพฤติกรรมการหากินอยู่ตามหาดทรายและพื้นทราย เวลาตกใจจะว่ายหนีหรือไม่ก็มุดทรายอย่างรวดเร็ว แล้วก็โผล่ออกมา เวลากินอาหารจะดูดทรายขึ้นมาแล้วก็อมอยู่ในปากสักพักเพื่อแยกอาหารออกแล้วก็บ้วนกลับออกมาทางปากบ้างทางเหงือกบ้าง รอบ ๆ ปาก และใต้ปากจะมีหนวดที่สลับซับซ้อนมากเพื่อรับรูปความรู้สึก กินอาหารจำพวกไรน้ำ ตัวอ่อนแมลงขนาดเล็ก หนอนที่มีชีวิต และแพลงก์ตอน[4]

ปลารากกล้วยมีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ในพื้นท้องน้ำที่มีกรวดทรายมีกระแสน้ำไหลเชี่ยว สามารถมุดทรายได้ดีเมื่อตกใจหรือเมื่อจะซ่อนตัวจากสัตว์นักล่า จนได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ปลาซ่อนทราย" และยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น "ปลากล้วย", "ปลาทราย",[1] "ปลาจอนทราย", "ปลาสุ่นทราย", "ปลาจอนแก้ว" ส่วนในภาษาอีสานมีชื่อเรียกว่า "ปลามัน" หรือ "ปลามูด" ในขณะที่ภาษากะเหรี่ยงจะเรียกปลาสกุลนี้ว่า "พัน" ในภาษาลาวเรียก "ฮีด" (ອິດ)

การใช้ประโยชน์

แก้

ปลารากกล้วยเป็นปลาที่นิยมบริโภคกันทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิด A. dialuzona ซึ่งเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด โดยสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารหลายอย่าง เช่น ทอดกับกระเทียมและใบมะกรูด เป็นต้น นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ เนื่องจากเป็นปลาที่ช่วยในการพรวนทรายได้เป็นอย่างดี

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 993.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Boyd, D. A., Nithirojpakdee, P., Deein, G., Vidthayanon, C., Grudpan, C., Tangjitjaroen, W., Pfeiffer, J. M., Randall, Z. S., Srisombat, T. & Page, L. M. (2017). Revision of the horseface loaches (Cobitidae, Acantopsis), with descriptions of three new species from Southeast Asia. Zootaxa, 4341(2), 151-192.
  3. Fricke, R., Eschmeyer, W. N. & R. van der Laan (eds) 2018. CATALOG OF FISHES: GENERA, SPECIES, REFERENCES. (http://researcharchive.calacademy.org/research/ichthyology/catalog/fishcatmain.asp). Electronic version accessed 28 Sep 2018.
  4. หนังสือปลาน้ำจืดไทย โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ (กรุงเทพ, พ.ศ. 2544) ISBN 974-475-655-5