วงศ์ปลาหมูแท้
วงศ์ปลาหมูแท้ (อังกฤษ: True loach) เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดในอันดับ Cypriniformes จัดเป็นปลาขนาดเล็ก มีลักษณะสำคัญคือบริเวณใต้ตามีกระดูกเป็นหนามโค้งพับซ่อนอยู่ข้างละ 1 ชิ้น ส่วนหัวและจะงอยปากยื่นแหลม ปากเล็กอาจมีติ่งรอบริมฝีปาก มีหนวดสั้น ๆ 3 คู่ ครีบหลังสั้น ครีบอื่น ๆ มีขนาดเล็ก ลำตัวเรียวยาวและแบนข้าง ครีบหางเว้าหรือเว้าลึก ผิวหนังมีเกล็ดขนาดเล็กมากฝังอยู่ จึงไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และมีเมือกปกคลุมตัว ใช้ชื่อวงศ์ว่า Cobotidae (/โค-บิท-อิ-ดี้/)
วงศ์ปลาหมูแท้ | |
---|---|
![]() | |
Cobitis biwae | |
![]() | |
Cobitis paludica | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ![]() | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | ปลาตะเพียน |
วงศ์ใหญ่: | Cobitoidea |
วงศ์: | วงศ์ปลาหมู Swainson, 1838 |
ชนิดต้นแบบ | |
Cobitis taenia Linnaeus, 1758 | |
สกุล | |
|
เป็นปลาที่ไม่มีฟันที่ลำคอและขากรรไกร มักอาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำไหลแรง เช่น ต้นน้ำลำธารบนภูเขาหรือน้ำตก มักอาศัยในระดับพื้นท้องน้ำใกล้ซอกหิน หรือโพรงไม้ โดยพบเป็นฝูงใหญ่ กินอินทรียสารและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร บางชนิดสามารถเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว
พบได้กว้างขวางตั้งแต่ทวีปยุโรป, ยูเรเชียจนถึงทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็นสกุลทั้งหมด 21 สกุล ซึ่งในภาษาไทยจะเรียกปลาในวงศ์นี้รวม ๆ กันว่า "ปลารากกล้วย" หรือ "ปลาค้อ"
มีความสำคัญคือ นิยมบริโภคในบางสกุล บางชนิด อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามด้วย
แต่เดิมวงศ์นี้เคยมีสมาชิกหลากหลายมากกว่านี้ แต่ในปี ค.ศ. 2012 มัวรีซ คอทเทเลต นักมีนวิทยาชาวสวิสได้จำแนกวงศ์ย่อยในวงศ์นี้ออกเป็น 2 วงศ์ คือ Botiidae และ Serpenticobitidae [2] [3]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Page, L.M. & Tangjitjaroen, W. (2015). "Aperioptus pictorius Richardson 1848 is a senior synonym of Acanthopsoides molobrion Siebert 1991, and Aperioptus is a senior synonym of Acanthopsoides Fowler 1934 (Cypriniformes: Cobitidae)" (PDF). Zootaxa. 3962 (1): 179–181. doi:10.11646/zootaxa.3962.1.10. PMID 26249384.
- ↑ Kottelat, M.; 2012: Conspectus cobitidum: an inventory of the loaches of the world (Teleostei: Cypriniformes: Cobitoidei). The Raffles Bulletin of Zoology, Suppl. No. 26: 1-199.
- ↑ "ความหลากหลายของปลาน้ำจืดในประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2009-01-02.