พระครูภาวนาธิคุณ (อินโต คัณธวังโส)
พระครูภาวนาธิคุณ หรือ ครูบาอินโต วัดบุญยืน (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438 – 28 มกราคม พ.ศ. 2520) พระเกจิอาจารย์แห่งภาคเหนือของไทย จังหวัดพะเยา นอกจากท่านจะบำเพ็ญอยู่ในปริยัติธรรมอย่างเคร่งครัดแล้ว ท่านยังมีความเก่งกล้าในด้านวิปัสสนากรรมฐานอีกด้วยเหรียญหรือวัตถุมงคลของท่านที่ได้ผ่านการปลุกเสกมาแล้ว นับเป็นของที่ประเสริฐอย่างยิ่งนัก มีผู้ประสบปาฏิหาริย์มามากต่อมาก [1]
พระครูภาวนาธิคุณ (อินโต คัณธวังโส) | |
---|---|
ชื่ออื่น | ครูบาอินโต |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438 (81 ปี 351 วัน ปี) |
มรณภาพ | 28 มกราคม พ.ศ. 2520 |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดบุญยืน จังหวัดพะเยา |
บรรพชา | พ.ศ. 2451 |
อุปสมบท | 12 มิถุนายน พ.ศ. 2458 |
พรรษา | 61 ปี 230 วัน |
ตำแหน่ง | เจ้าอาวาสวัดบุญยืน |
ประวัติ
แก้ท่านเป็นบุตรคนโตของพ่อหนาน และแม่คำ ยาเจริญ เมื่อเป็นเด็กมีชื่อว่า เด็กชายบุญมี ยาเจริญ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438 ปีวอก ณ บ้านต้ำเหล่า หมู่ที่ 15 ตำบลต้ำ ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 8 คน เมื่อเด็กชายบุญมี ยาเจริญ มีอายุได้ 10 ปี ผู้เป็นบิดาจึงได้พาไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของพระอธิการอภิชัย ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส ได้เรียนหนังสือพื้นเมือง อักษรพื้นเมืองหรือตัวหนังสือเมือง จนคล่องแคล่วชำนาญ เด็กชายบุญมี มีความตั้งใจศึกษาเล่าเรียนและอุปัฎฐากรับใช้เจ้าอาวาสด้วยความเต็มใจ ขยันหมั่นเพียรทำความสะอาดวัดวาอารามมินิ่งดูดาย เมื่อมีอายุได้ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ สำนักวัดต่ำเหล่า อำเภอพะเยา (ปัจจุบันเป็นจังหวัดพะเยา) และได้รับฉายาว่า ?อินตะ หรือ อินโต? หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรมาแล้ว ท่านก็ถูกเรียกว่า สามเณรอินโต และตั้งใจศึกษาเล่าเรียน และสามารถท่องสูตร สวดมนต์เจ็ดตำนานและสิบสองตำนานอย่างคล่องแคล่ว ในบางครั้งก็ท่องจำโดยให้เจ้าอาวาสเขียนลงบนแผ่นกระดานใช้ดินสอพองเขียนอักษรอักขระการท่องสูตรมนต์ต่าง ๆ และศึกษาพระธรรมวินัย สามเณรอินโต ท่านเป็นคนที่มีความจำดี มีปัญญาฉลาดไหวพริบดี [2] จนกระทั่งเมื่อมีอายุได้ 20 ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2458 ณ พัทธสีมา สำนักวัดต่ำเหล่า โดยมีพระครูบาวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการปัญโญ วัดค้ำม่อย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระชัยลังกา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า คัณธวังโส[3] หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยอย่างตั้งใจ งานด้านปกครองท่านก็โดดเด่น [2]
สมณศักดิ์
แก้- พ.ศ. 2475 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
- พ.ศ. 2482 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพระครูหรือเจ้าคณะอำเภอ
- พ.ศ. 2483 ได้ย้ายสำนักไปอยู่ที่วัดบุญยืน อำเภอพะเยา
- พ.ศ. 2516 ได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูภาวนาธิคุณ
- ตลอดเวลาที่ท่านประจำอยู่ที่สำนักบุญยืน ได้เริ่มก่อสร้างวัตถุกุฏิ วิหาร ศาลา และทำการย้ายกำแพงออกทั้ง 3 ด้าน และด้านอื่น ๆ อีกมาก เป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ทรงไว้ซึ่งคุณวิทยาคมคุณอันศักดิ์สิทธิ์ มีเมตตากรุณาธรรมเต็มเปี่ยม เมื่อใครมีความไม่สบายใจ มีอุปสรรคอันขัดข้อง ไปขอให้ขจัดปัดเป่าแก้ไข ท่านก็พยายามแก้ไขปัญหาที่ขัดข้องให้ แม้แต่ท่านกำลงเจ็บป่วย ท่านก็จะช่วยอย่างเต็มที่ เนื่องจากท่านมีความเมตตาต่อทุกคน จึงนับว่าท่านได้เสียสละทั้งกาย กำลังใจ และกำลังทรัพย์ กระทำกิจการอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม พระครูภาวนาธิคุณ (ครูบาอินโต) จึงนับว่าเป็นปูชนียบุคคลที่ประชาชนชาวเหนือเคราพอย่างยิ่ง [3]
อ้างอิง
แก้- ↑ หนังสือรวมสุดยอดพระคณาจารย์ทั้งหมด 180 พระองค์
- ↑ 2.0 2.1 "ครูบาอินโต คัณธวังโส". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-30. สืบค้นเมื่อ 2011-10-09. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "หลวงปู่" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ 3.0 3.1 บทความชีวประวัติครูบาอินโต วัดบุญยืน อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "หลวงพ่อ" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
ก่อนหน้า | พระครูภาวนาธิคุณ (อินโต คัณธวังโส) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจ้าอธิการธัมชัย (พ.ศ. 2492 - 2496) |
เจ้าอาวาสวัดบุญยืน (พ.ศ. 2498 - 2520) |
พระอธิการประเสริฐ (พ.ศ. 2522 - 2523) |