จีรเดช ศรีวิราช
จีรเดช ศรีวิราช (ชื่อเล่น ยุ้ย, เกิดวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2512) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา เขต 3 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ[1]
จีรเดช ศรีวิราช | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ.2562 (5 ปี 239 วัน) | |
ก่อนหน้า | ไพโรจน์ ตันบรรจง |
เขตเลือกตั้ง | เขต3 (2562-ปัจจุบัน) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | จีรเดช ศรีวิราช 2 มกราคม พ.ศ. 2512 จังหวัดพะเยา ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | พลังประชารัฐ |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | เศรษฐกิจไทย |
คู่สมรส | ศรัญญา ศรีวิราช |
บุพการี |
|
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
อาชีพ | นักการเมือง |
ชื่อเล่น | ยุ้ย |
ประวัติ
แก้นายจีรเดช เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2512 เป็นบุตรของนายคำตั๋น และนางแสงไก้ ศรีวิราช สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และ ระดับปริญญาโท หลักสูตรรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[2]
งานการเมือง
แก้นายจีรเดช เริ่มเข้าสู่เส้นทางการเมือง โดยเริ่มจากการเมืองท้องถิ่น ด้วยการเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา และนายกเทศมนตรีเมืองดอกคำใต้[3]
ต่อมาได้เข้าสู่การเมืองระดับชาติ ได้ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา เขต 3 ในนามพรรคพลังประชารัฐ โดยได้รับการเลือกตั้ง 1 สมัย คือในปี พ.ศ. 2562 ก่อนจะย้ายมาสังกัดพรรคเศรษฐกิจไทย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้นายจีรเดช ศรีวิราช ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[4]
- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 7 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-10-12.
- ↑ ประวัตินายจีรเดช ศรีวิราช, ระบบบริหารจัดการสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2562)
- ↑ "บัญชีแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของนายจีรเดช ศรีวิราช" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-10-15. สืบค้นเมื่อ 2019-10-15.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖