รฎาวัญ วงศ์ศรีวงศ์

(เปลี่ยนทางจาก ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์)

รฏาวัญ วงศ์ศรีวงศ์ (นามเดิมสะกดว่า ลดาวัลลิ์) เป็นนักการเมืองสตรีชาวไทย หัวหน้าพรรคเสมอภาค[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยาติดต่อกัน 3 สมัย อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในรัฐบาลของดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เป็นสตรีคนแรกของประเทศไทยในคณะรัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ และ อดีตผู้ประกาศข่าวช่อง 11

รฎาวัญ วงศ์ศรีวงศ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
นายกรัฐมนตรีดร.ทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าอนุสรณ์ วงศ์วรรณ
ประยุทธ์ ศิริพาณิชย์
ถัดไปนฤมล ภิญโญสินวัฒน์
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
2 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 7 เมษายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน
ก่อนหน้าหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล
ถัดไปวิษณุ เครืองาม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 (67 ปี)
จังหวัดพะเยา
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2535—2541)
ไทยรักไทย (2541—2550)
เพื่อไทย (2555—2563)
เสมอภาค (2563—ปัจจุบัน)
คู่สมรสสุวิทย์ วงศ์ศรีวงศ์

ประวัติ แก้

รฏาวัญ วงศ์ศรีวงศ์ (ชื่อเล่น : ต้อย) เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 ที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา (ขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดเชียงราย) เป็นบุตรของนายบุญเป็ง กับนางบัวจันทร์ [2] สมฤทธิ์ สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาจากวิทยาลัยครูสวนดุสิต และวิทยาลัยครูพระนคร ระดับปริญญาตรี ด้านศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2531 และปริญญาโท ด้านบริหารรัฐกิจ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2538[3]

การทำงาน แก้

นางรฏาวัญ วงศ์ศรีวงศ์ เริ่มทำงานเป็นพนักงานพิสูจน์อักษร สำนักข่าวไทย อสมท. เป็นผู้ประกาศข่าวช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ด้านการเมือง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยาหลายสมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในปี พ.ศ. 2535 ได้รับแต่งตั้งเป็นโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แทนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่อมาได้ลาออกไปสังกัดพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 และย้ายมาลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ จนได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในรัฐบาลของดร.ทักษิณ ชินวัตร (ครม.54) ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย[5]

ในอดีตนั้นนางรฏาวัญ วงศ์ศรีวงศ์ เคยดำรงตำแหน่ง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน เมื่อปี พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2535 มาก่อน

นางรฏาวัญ วงศ์ศรีวงศ์ ดำรงตำแหน่ง ประธานชมรมเสียงสตรีแห่งประเทศไทย[6]

ในปี พ.ศ. 2556 เธอร่วมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาตินำกลุ่มผู้ชุมนุมเข้าร้องเรียนหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ โดยอ้างว่านายชัย ราชวัตร หมิ่นประมาท[7]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เธอได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 54[8]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เธอได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 17[9] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

ในวันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม ปี พ.ศ. 2563 นางรฏาวัญ วงศ์ศรีวงศ์ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย โดยให้มีผลทันที[10][11] โดยได้จัดตั้งพรรคการเมืองชื่อว่า พรรคเสมอภาค[12] [13][14]

บทบาทด้านการศึกษา แก้

นางรฏาวัญ วงศ์ศรีวงศ์ เป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทในการผลักดันการจัดตั้งมหาวิทยาลัยพะเยา ในปี พ.ศ. 2553 จนเป็นผลสำเร็จ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกประจำจังหวัดพะเยา[15]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. “รฎาวัญ” ช่วยหาเสียงเลือกตั้งซ่อมราชบุรี
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  3. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-06. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.
  4. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  5. บ้านเลขที่ 111 ซบอก'เพื่อไทย'แล้ว[ลิงก์เสีย]
  6. https://www.thairath.co.th/content/408530
  7. http://www.isranews.org/investigative/investigate-news-person/item/20972-2013-05-06-13-34-03.html
  8. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  9. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  10. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
  11. หนังสือพิมพ์ออนไลน์มติชน "รฏาวัญ รอตั้งพรรคการเมืองใหม่ ปัดโดนทาบทาม ชี้ ‘อุดมการณ์ต้องตรงกัน’" 5 มีนาคม 2563 14:24 น.
  12. 'รฏาวัญ'เปิดตัวตั้งพรรคใหม่ 8 มีนาฯ มีอดีตผู้สมัครส.ส.เพื่อไทยไหลเข้า
  13. 'รฏาวัญ' เปิดตัวพรรคใหม่ชื่อ 'พรรคเสมอภาค' บ่าย 2 วันนี้!
  14. 'รฏาวัญ'นั่งหัวหน้าพรรคเสมอภาค ลั่น!ไม่ร่วมอยู่ในความขัดแย้ง
  15. "ส.ส.พท.ดี๊ด๊าครม.ไฟเขียวตั้งม.พะเยาเตรียมฉลองใหญ่ ยกความดี"รฏาวัญ"ผู้ผลักดัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๕, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
ก่อนหน้า รฎาวัญ วงศ์ศรีวงศ์ ถัดไป
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล    
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(2 มีนาคม พ.ศ. 2534 - 7 เมษายน พ.ศ. 2535)
  วิษณุ เครืองาม