อนุสรณ์ วงศ์วรรณ
อนุสรณ์ วงศ์วรรณ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน พรรคพลังประชาชน
อนุสรณ์ วงศ์วรรณ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช |
ก่อนหน้า | ชวรัตน์ ชาญวีรกูล |
ถัดไป | อุดมเดช รัตนเสถียร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช |
ก่อนหน้า | คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ |
ถัดไป | สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 มกราคม พ.ศ. 2495 อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
คู่สมรส | สมรศรี วงศ์วรรณ |
ประวัติ
แก้อนุสรณ์ วงศ์วรรณ เกิดมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2495 ที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ มีชื่อเล่นว่า ''โอน'' หรือที่นิยมเรียกกันว่า ''เสี่ยโอน''[1] เป็นบุตรชายของนายณรงค์ หรือพ่อเลี้ยงณรงค์ วงศ์วรรณ[2] (บุตรพ่อเจ้าแสน วงศ์วรรณ สืบเชื้อสายมาจากแสนเสมอใจ กับแม่เจ้าพิมพา พระญาติเจ้าหลวงเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์แสนซ้าย) อดีตหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม และนางอุไร หรือแม่เลี้ยงอุไร วงศ์วรรณ สำเร็จการศึกษามัธยมต้นจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากวิทยาลัยบางแสน จ.ชลบุรี ระดับปริญญาตรีจากวิทยาลัยไวด์เนอร์ รัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และระดับปริญญาโท (ด้านวิศวกรรมอุตสาหการ) จากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาสเตต ประเทศสหรัฐอเมริกา
การเมือง
แก้อนุสรณ์ วงศ์วรรณ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน 4 สมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี 4 กระทรวง ได้แก่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (รัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (รัฐบาล นายชวน หลีกภัย) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช)
ในปี พ.ศ. 2551 อนุสรณ์ ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน[3]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 27[4]
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 19[5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ เจ๊แดงคนเดิม ปั้น 'อบจ.ลำพูน
- ↑ "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-07-21.
- ↑ "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
- ↑ กกต.ประกาศรับรองนายกอบจ.12 จังหวัด พร้อมส.อบจ.รวม 328 คน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒