อำเภอร้องกวาง
ร้องกวาง (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแพร่ ในปัจจุบันอำเภอร้องกวางมีอายุในการจัดตั้งเป็นอำเภอครบ 113 ปี (พ.ศ. 2452[1] - 2565)
อำเภอร้องกวาง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Rong Kwang |
คำขวัญ: พระธาตุปูแจล้ำค่า งามตาถ้ำผานางคอย แอ่วดอยเผ่าตองเหลือง ลือเลื่องเมืองธรรมชาติ เลิศล้ำมหาวิทยาลัย งามวิไลแหล่งน้ำตก ถิ่นมรดกประเพณี มีของดีหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ | |
แผนที่จังหวัดแพร่ เน้นอำเภอร้องกวาง | |
พิกัด: 18°20′23″N 100°19′3″E / 18.33972°N 100.31750°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | แพร่ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 631.4 ตร.กม. (243.8 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 47,766 คน |
• ความหนาแน่น | 75.65 คน/ตร.กม. (195.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 54140 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5402 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอร้องกวาง หมู่ที่ 1 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ 54140 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ประวัติ
แก้อำเภอร้องกวางเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ในท้องที่อำเภอเมืองสอง ตั้งอยู่ในป่าเรียกว่า "บ้านร้องกวาง" คำว่า "ร้อง" เป็นภาษาท้องถิ่นหมายความว่าทางน้ำเดินหรือร่องที่มีน้ำขังส่วนคำว่า "กวาง" หมายความถึงสัตว์ป่าสี่เท้าชนิดหนึ่งโดยที่หมู่บ้านแห่งนี้มีร่องน้ำหรือลำห้วยไหลผ่านโดยตลอด จึงอุดมไปด้วยต้นไม้นานาชนิดมีสภาพเป็นป่าทึบ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด โดยเฉพาะมีกวางเป็นฝูง ๆ ลงมากินน้ำ เล่นน้ำในลำห้วยนี้เป็นประจำ ลำห้วยนี้จึงได้ชื่อว่า "ลำห้วยร้องกวาง"
ต่อมาในปี พ.ศ. 2430 ทางราชการพิจารณาเห็นว่ามีชุมชนหนาแน่นขึ้นและมีหมู่บ้านอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงเพิ่มขึ้นหลายหมู่บ้าน จึงได้รับการยกฐานะเป็นตำบล เรียกว่า ตำบลร้องกวาง ขึ้นกับอำเภอสอง จังหวัดแพร่ พ.ศ. 2438 ทางราชการได้ยกฐานะตำบลร้องกวางขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ มีที่ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภออยู่ในศูนย์กลางของตำบลร้องกวาง อันเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน เรียกชื่อว่า “กิ่งอำเภอร้องกวาง” ขึ้นต่ออำเภอสอง และทางราชการได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2452 เรียกชื่อว่า “อำเภอร้องกวาง"
- วันที่ - 2438 แยกพื้นที่ตำบลร้องกวาง ตำบลทุ่งเพ้อ ตำบลร้องเข็ม ตำบลแม่ยางฮ่อ ตำบลแม่คำมี ตำบลหนองม่วงไข่ ตำบลน้ำเลา และตำบลบ้านเฮิง จากอำเภอเมืองสอง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอร้องกวาง[2][3] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองสอง
- วันที่ 1 กันยายน 2450 โอนพื้นที่กิ่งอำเภอร้องกวาง อำเภอเมืองสอง แขวงเมืองแพร่ ไปขึ้นกับอำเภอเมืองแพร่[4]
- วันที่ 12 กันยายน 2452 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอร้องกวาง อำเภอเมืองแพร่ เป็น อำเภอร้องกวาง[1][5]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลทุ่งเพ้อ แยกออกจากตำบลร้องกวาง ตั้งตำบลแม่คำมี แยกออกจากตำบลร้องเข็ม และตำบลหนองม่วงไข่[6]
- วันที่ 14 เมษายน 2496 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลทุ่งเพ้อ อำเภอร้องกวาง เป็น ตำบลทุ่งศรี[7]
- วันที่ 3 สิงหาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลร้องกวาง ในท้องที่บางส่วนของตำบลร้องกวาง[8]
- วันที่ 7 กันยายน 2519 ตั้งตำบลแม่ยางตาล แยกออกจากตำบลแม่ยางฮ่อ[9]
- วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2525 โอนพื้นที่ตำบลวังหลวง และตำบลน้ำรัด อำเภอสอง มาขึ้นกับอำเภอร้องกวาง[10]
- วันที่ 16 มิถุนายน 2526 ตั้งตำบลห้วยโรง แยกออกจากตำบลไผ่โทน[11]
- วันที่ 1 มิถุนายน 2528 จัดตั้งสุขาภิบาลหนองม่วงไข่ ในท้องที่หมู่ 1,2,3 และ 4 ตำบลหนองม่วงไข่[12]
- วันที่ 9 กรกฎาคม 2528 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลร้องกวาง[13] ให้ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ 2,3,5-6,9 และ 10 (ในขณะนั้น) ของตำบลร้องกวาง หมู่ 1-5 (ในขณะนั้น) ของตำบลทุ่งศรี กับหมู่ 2 และ 6 (ในขณะนั้น) ของตำบลร้องเข็ม
- วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2533 แยกพื้นที่ตำบลแม่คำมี ตำบลหนองม่วงไข่ ตำบลน้ำรัด และตำบลวังหลวง อำเภอร้องกวาง ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอหนองม่วงไข่[14] ให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอร้องกวาง
- วันที่ 29 กรกฎาคม 2534 ตั้งตำบลแม่ทราย แยกออกจากตำบลร้องกวาง[15]
- วันที่ 13 พฤศจิกายน 2535 ตั้งตำบลแม่ยางร้อง แยกออกจากตำบลแม่ยางฮ่อ ตั้งตำบลตำหนักธรรม แยกออกจากตำบลแม่คำมี ตั้งตำบลทุ่งแค้ว แยกออกจากตำบลวังหลวง[16]
- วันที่ 8 สิงหาคม 2538 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอร้องกวาง เป็น อำเภอหนองม่วงไข่[17]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลร้องกวาง เป็นเทศบาลตำบลร้องกวาง[18] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลร้องเข็มและสภาตำบลทุ่งศรี รวมกับเทศบาลตำบลร้องกวาง[19]
- วันที่ 31 มีนาคม 2548 เปลี่ยนแปลงเขตตำบลบ้านเวียง[20] ให้มีอาณาเขตที่ถูกต้อง และกำหนดให้มีการปกครองทั้งหมด 14 หมู่บ้าน
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอร้องกวางตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสอง และอำเภอเวียงสา (จังหวัดน่าน)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย และอำเภอนาหมื่น (จังหวัดน่าน)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอนาหมื่น (จังหวัดน่าน) และอำเภอเมืองแพร่
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองแพร่ อำเภอหนองม่วงไข่ และอำเภอสอง
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอร้องกวางแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 11 ตำบล 92 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับที่ | อักษรไทย | ตัวเมือง | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | ประชากรทั้งหมด
(พ.ศ. 2563)[21] |
ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น
(พ.ศ. 2563) | |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1. | ร้องกวาง | Rong Kwang | 13 | 6,759 | 4,457 2,302 |
(ทต. ร้องกวาง) (อบต. ร้องกวาง) | |
2. | ร้องเข็ม | Rong Khem | 9 | 4,887 | 4,887 | (ทต. ร้องกวาง) | |
3. | น้ำเลา | Nam Lao | 10 | 5,219 | 5,219 | (อบต.น้ำเลา) | |
4. | บ้านเวียง | Ban Wiang | 14 | 7,335 | 7,335 | (ทต. บ้านเวียง) | |
5. | ทุ่งศรี | Thung Si | 5 | 3,111 | 3,111 | (ทต. ร้องกวาง) | |
6. | แม่ยางตาล | Mae Yang Tan | 9 | 4,720 | 4,720 | (อบต.แม่ยางตาล) | |
7. | แม่ยางฮ่อ | Mae Yang Ho | 6 | 3,049 | 3,049 | (อบต.แม่ยางฮ่อ) | |
8. | ไผ่โทน | Phai Thon | 9 | 3,979 | 3,979 | (อบต.ไผ่โทน) | |
9. | ห้วยโรง | Huai Rong | 8 | 3,042 | 3,042 | (อบต.ห้วยโรง) | |
10. | แม่ทราย | Mae Sai | 4 | 2,184 | 2,184 | (อบต.แม่ทราย) | |
11. | แม่ยางร้อง | Mae Yang Rong | 6 | 3,732 | 3,732 | (อบต.แม่ยางร้อง) | |
รวม | 92 | 48,017 | 19,790 (เทศบาล)
28,227 (อบต.) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอร้องกวางประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลร้องกวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งศรีและตำบลร้องเข็มทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลร้องกวาง
- เทศบาลตำบลบ้านเวียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเวียงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลร้องกวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลร้องกวาง (นอกเขตเทศบาลตำบลร้องกวาง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำเลาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยางตาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ยางตาลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยางฮ่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ยางฮ่อทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่โทน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่โทนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยโรงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ทรายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยางร้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ยางร้องทั้งตำบล
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศตั้งอำเภอเมืองสาแลอำเภอร้องกวาง ในมณฑลพายัพ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 (0 ง): 1289–1290. September 12, 1909. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2021-07-31.
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ [ในท้องที่มณฑลมหาราษฎร์]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 481–485. November 27, 1921.
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลมหาราษฎร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ก): 336–341. November 26, 1922.
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โอนกิ่งอำเภอร้องกวาง ซึ่งขึ้นอยู่ในอำเภอเมืองสองแขวงเมืองแพร่มาอยู่ในบังคับอำเภอเมืองแพร่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (22): 560. September 1, 1907.
- ↑ "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๖ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศตั้งอำเภอเมืองสาแลอำเภอร้องกวาง ในมณฑลพายัพ หน้า ๑๒๙๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 (0 ง): 1344. September 19, 1909.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-31.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอและตำบลบางแห่ง พ.ศ. ๒๔๙๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (25 ก): 492–496. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2022-03-03. วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2496
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (60 ง): (ฉบับพิเศษ) 67-68. August 3, 1956.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (108 ง): 2338–2341. September 7, 1976.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอสองกับอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ พ.ศ. ๒๕๒๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (15 ก): (ฉบับพิเศษ) 7-8. February 3, 1982.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-5. June 16, 1983.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหนองม่วงไข่ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (69 ง): (ฉบับพิเศษ) 13-14. June 1, 1985.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (88 ง): 3143–3145. July 9, 1985.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอหนองม่วงไข่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (25 ง): 1356. February 13, 1990. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2021-07-31.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (131 ง): (ฉบับพิเศษ) 106-109. July 29, 1991.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอร้องกวางและกิ่งอำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (145 ง): (ฉบับพิเศษ) 21-29. November 13, 1992.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอแก่งหางแมว อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเวียงแก่น อำเภอแม่วาง อำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอบ่อเกลือ อำเภอโนนสุวรรณ อำเภอห้วยราช อำเภอแม่ลาน อำเภอบางแก้ว อำเภอป่าพะยอม อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอยางสีสุราช อำเภอจังหาร อำเภอบ้านธิ อำเภอภูสิงห์ อำเภอบางกล่ำ อำเภอวังม่วง และอำเภอนายูง พ.ศ. ๒๕๓๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (32 ก): 1–3. August 8, 1995. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ 2021-07-31.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-31.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาลตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 102 ง): 21–24. September 15, 2004.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 122 (26 ง): 5–7. March 31, 2005.
- ↑ รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน พ.ศ. 2563 จังหวัดแพร่ กรมการปกครอง