อำเภอนาน้อย
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
นาน้อย (ไทยถิ่นเหนือ: ) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดน่าน เป็นเมืองที่รองรับการขยายตัวเศรษฐกิจของจังหวัดน่านตอนใต้
อำเภอนาน้อย | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Na Noi |
คำขวัญ: เมืองเสาดิน ถิ่นมะขามหวาน ตำนานดอยผาชู้ เชิดชูพระธาตุพลูแช่ | |
แผนที่จังหวัดน่าน เน้นอำเภอนาน้อย | |
พิกัด: 18°19′30″N 100°42′54″E / 18.32500°N 100.71500°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | น่าน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,408.122 ตร.กม. (543.679 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 32,109 คน |
• ความหนาแน่น | 22.80 คน/ตร.กม. (59.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 55150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5504 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอนาน้อย เลขที่ 52 หมู่ที่ 1 ถนนเจ้าฟ้า ตำบลนาน้อย อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน 55150 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
สาระสังเขป
แก้ในปัจจุบัน อำเภอนาน้อย กลายเป็นจุดศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของดินแดนน่านใต้ อาทิ เสาดินนาน้อย ดอยเสมอดาว อีกทั้งยังมีอุทยานแห่งชาติศรีน่าน และ อุทยานแห่งชาติขุนสถาน ที่พร้อมให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาสัมผัสความเย็นและชมความสวยงามของทะเลหมอก ในช่วงฤดูหนาวของทุกปี
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอนาน้อยมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเวียงสา
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอนาหมื่น
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงไชยบุรี (ประเทศลาว) และอำเภอบ้านโคก (จังหวัดอุตรดิตถ์)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอร้องกวาง (จังหวัดแพร่)
ประวัติ
แก้อำเภอนาน้อยแต่เดิมเรียกว่า เวียงศรีษะเกษ ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งลำน้ำแหง อยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดน่าน ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศใต้ประมาณ 60 กิโลเมตร มีอาณาเขตรวมกับแขวงท่าปลา(อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์) เรียกว่า "น่านใต้" ขึ้นอยู่ในความปกครองของจังหวัดน่าน ในการปกครองแต่ละแขวง แบ่งการปกครองเป็นเมืองเล็ก ๆ แต่ละเมืองมีพ่อเมืองปกครองมีบรรดาศักดิ์เป็น พญา ท้าว แสน แคว่น และปู่หลัก พ่อเมืองแต่ละเมืองจะมีบรรดาศักดิ์แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับและความสามารถของเจ้าเมืองนั้น ๆ ลักษณะของเมืองเล็ก ๆ เหล่านี้เป็นการรวมพื้นที่หลาย ๆ หมู่บ้าน ก็จะรวมเป็นเมืองหนึ่ง ซึ่งมีอาณาบริเวณใกล้เคียงกันตามลักษณะของภูมิประเทศ โดยมีพ่อเมืองเป็นผู้ดูแลปกครองมีอำนาจการปกครองและสั่งการเกือบเด็ดขาด โดยได้รับอาชญามาจากเจ้าครองนครมีศักดิ์เป็นพญา ในเขตท้องที่อำเภอนาน้อยหรือแขวงศรีษะเกษแต่โบราณกาล[1]
- เวียงศรีษะเกษ
เวียงศรีษะเกษ ในปัจจุบันตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านนาน้อย หมู่ที่ 4 ตำบลนาน้อย เมืองงั่วหรือเมืองศรีษะเกษในสมัยอดีต มีอาณาเขตการปกครองในพื้นที่ตำบลศรีษะเกษ ตำบลเชียงของ ตำบลนาน้อย บางส่วนของตำบลสถานและตำบลสันทะ นาน้อยในยุคเริ่มแรกที่เรียกว่า เมืองงั่ว ยังไม่มีหลักฐานใดบ่งชัดว่าชนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานคือชนกลุ่มใด สันนิษฐานว่าเป็นชนที่มีเผ่าพันธุ์เช่นเดียวกับคนพื้นเมืองในล้านนา ซึ่งมีการทำมาหากิน การนุ่งห่ม วัฒนธรรมประเพณี ภาษาพูด ที่คล้ายกับท้องถิ่นต่าง ๆ ในภาคเหนือ จากหลักฐานศิลาจารึกที่วัดดอนไชย หมู่ที่ 2 ตำบลนาน้อย ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนชื่อจากเมืองงั่วมาเป็นเมืองศรีษะเกษ ในปี จ.ศ. 1241 (ปี พ.ศ. 2422) ในสมัยเจ้ามหาชีวิต อนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ปกครองนครน่าน ซึ่งตรงกับสมัยของรัชกาลที่4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตามตำนานได้กล่าวถึงชื่อเมืองว่า สาเหตุที่เรียกชื่อเมืองว่า ศรีษะเกษ นั้นมีที่มาจาก ครั้งเมื่อ เจ้าเมืองน่านได้เสด็จประพาสมายังแขวงนี้ได้เห็นสายน้ำไหลกลับทิศ คือไหลจากทิศใต้มาทิศเหนือเป็นที่น่าสังเกตและแปลกจากแขวงอื่นๆ จึงตั้งชื่อแขวงนี้ว่า แขวงศรีษะเกษ คำว่าศรีษะเกษ แผลงมาจากคำว่า"สังเกต"ต่อมาได้ตั้งชื่อเป็นอำเภอศรีษะเกษ แต่ชื่อไปตรงกับจังหวัดศรีสะเกษ จริงได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งตามสภาพทางภูมิศาสตร์ของตัวอำเภอ ด้วยพื้นที่การทำการเกษตรไม่มาก เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ของเป็นผืนป่าและภูเขา จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น อำเภอนาน้อย [2]
ประเพณีและวัฒนธรรม
แก้ลายลักษณ์อักษรประวัติการสร้างปรากฏในบันทึกสมุดข่อยเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๒๖๒ ปีไจ้(ปีชวด) เดือน ๔ ขึ้น ๙ ค่ำ ได้บันทึกตามคำบอกเล่าของครูบาธรรมปัญญาได้เล่าแก่สามเณรแสนพรหม (ต่อมาได้เป็นเจ้าพระยาแสนพรหม) ว่ามีพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งได้เสด็จมาโปรดสัตว์ถึงบริเวณดอยหัวงัว โดยได้มีพระเถระเจ้าติดตามมารูปหนึ่ง พระเถระได้ลงไปตักน้ำที่ตีนเขา (เชิงเขา) ขากลับได้แวะขอพลูจากย่าเฒ่าที่บ้านตีนดอย เนื่องจากพลูแห้ง ย่าเฒ่าจึงขอเอาพลูแช่น้ำก่อนแล้วจึงนำมาถวายเมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่องย่า เฒ่าแช่พลูจึงทรงทำนายว่าที่นี่ต่อไปจักได้ชื่อว่า ดอยพลูแช่เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับทรงเอาพระเกศา (เส้นผม) ให้พระเถระบรรจุลงที่ประทับนั่ง ประชาชนนำโดยพญางั่ว (เมืองหนึ่งในเขตอำเภอนาน้อยสมัยโบราณ) นำตุง ธูป เทียน ดอกไม้ มาบูชาพระพุทธเจ้าและขออนุญาตสร้างเจดีย์ตรงที่ประทับนั่งซึ่งได้บรรจุพระ เกศาไว้นั้น พระพุทธเจ้าจึงโปรดให้สร้างพระเจดีย์ตรงที่บรรจุพระเกศา เพื่อเอาไว้สักการบูชาและได้ขนานนามว่า พระธาตุพลูแช่[3] | ||||||||||||||||||||||||||||||
คำบอกเล่าสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นกล่าวว่า พระธาตุแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นโดย ม่าน พุทธศาสนิกชนชาวพม่า เดิมวัดพระธาตุศรีษะเกษตั้งอยู่บนฝั่งริมน้ำแหงแขวงเมืองศรีษะเกษ ในบริเวณวัดจะมีกู่ (สถูป) พระธาตุและวิหาร มีพระประธานหล่อด้วยสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๔ ศอก ต่อมาเกิดอุทกภัย สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก ต่อมาชาวบ้าน ได้สร้างวัดขึ้นมาใหม่ โดยห่างจากที่เดิมไปทางทิศตะวันตก ต่อมาเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่อีกครั้ง สายน้ำแหงเปลี่ยนทิศทางมาทางวัด ประตูบ่อง น้ำเซาะตลิ่งทำให้แผ่นดินทรุดตัว โบสถ์และพระประธานในวัดถูกสายน้ำพัดจมหาย ชาวบ้านเห็นว่าสถูปอาจได้รับความเสียหายด้วย จึงทุบสถูปแล้วเก็บไหโบราณและของมีค่าแล้วนำไปเก็บไว้บนภูเขาบนหมู่บ้านหลวงพ่อเพ็งหรือพระสุยะสารทโร ได้พาชาวบ้านมาสร้างบ้านเรือนอยู่บนเชิงเขาได้สร้างวัดไว้บนเขาแล้วตั้งชื่อว่า วัดพระธาตุศรีษะเกษ เหมือนชื่อเดิม หลวงพ่อเพ็งเมื่อสร้างวัดเสร็จ จึงนำชาวบ้านเปิดไหที่เก็บสถูปไว้ ปรากฏว่า ปากไหปิดแน่นมาก เพราะปากไหโบกด้วยสะตาย (เป็นภาษาพื้นเมืองของภาคเหนือใช้เรียกสิ่งที่มีส่วนผสมของทรายละเอียด ปูนขาว ปละน้ำเมือกของหนังน้ำอ้อย ผสมกันเหนียวคล้ายปูนซีเมนต์) เมื่อเปิดปากไหได้ ปรากฏว่ามีพระธาตุขนาดเท่าหนึ่งนิ้วก้อยสีขาว มีลักษณะคล้ายเบี้ยจั่น มีลูกแก้ว ๗ ลูก เป็นสีดำ สีเขียว สีแดงก่ำ สีขาวหม่น สีขาวใส อย่างละ ๑ ลูก และสีเหลืองจำนวน ๒ ลูก ชาวบ้านเรียกขานชื่อลูกแก้วสีต่าง ๆ ดังนี้
พ.ศ. ๒๔๘๐ หลวงพ่อเพ็งและชาวบ้าน จึงได้ร่วมกันสร้างองค์พระธาตุองค์ปัจจุบันขึ้นมาใหม่เพื่อบรรจุพระบรมธาตุ โดยจ้างวานนายวงศ์ โนรินทร์ ชาวตำบลเมืองลีมาเป็นนายช่างก่อสร้างพระธาตุ การก่อสร้างได้ใช้เวลา ๒ ปี จึงสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี องค์พระธาตุศรีษะเกษนับว่าเป็นปูชนียสถานที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ชาวนาน้อยให้ความเคารพนับถือ และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ งานนมัสการประจำปี[4] | ||||||||||||||||||||||||||||||
ไหลเรือไฟ เป็นประเพณีที่ชาวบ้านตำบลเชียงของ และหมู่บ้านใกล้เคียง ร่วมใจกันจัดขึ้นในทุกๆปี นิยมปฏิบัติกันในเทศกาลออกพรรษา ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ มีความเชื่อเกี่ยวโยงสัมพันธ์กับความเป็นมาหลายประการ เช่น บูชารอยพระพุทธบาท สักการะท้าวพกาพรหม บวงสรวงพระธาตุจุฬามณี ระลึกถึงพระคุณของพระแม่คงคา เป็นต้น
ในยามค่ำคืนจะมีการแสดงมหรสพแสงสีเสียงมากมายบนเวที และมีการไหลเรือไฟ โดยตัวเรือจะทำด้วยโครงไม้ ไม้ไผ่ หรือ วัสดุอื่นๆ ที่ลอยน้ำ ให้มีโครงสร้างเป็นรูปต่าง ๆ ตามต้องการ แล้วจุดไฟ เปลวไฟจะลุกเป็นรูปร่างตามโครงสร้างนั้น โดยมีความเชื่อในพระพุทธศาสนาว่าเป็นการบูชาประทีป และบูชารอยพระพุทธบาท อีกทั้งยังเป็นการสะเดาะเคราะห์กรรมต่างๆอีกด้วย | ||||||||||||||||||||||||||||||
พญาเมืองน้อย เป็นโอรสองค์แรกของ เจ้าพญาแสนคำเม็งรายเจ้าเมืองเชียงราย ส่วนองค์น้องชื่อว่า เจ้าพญาหลักคำ เมื่อเจ้าพญาแสนพรมสิ้นพระชนม์ เจ้าพญาแสนคำ เม็งรายได้มอบให้เจ้าพญาเมืองน้อยมาปกครองแทน (อำเภอนาน้อยเดิมชื่อว่าเมืองงั่วมีเจ้าพญาแสนพรม ปกครองอยู่ เมืองงั่วเป็นเมืองขึ้นของ เจ้าพญาแสนคำเม็งราย) โดยได้ ตั้งเมืองอยู่ที่โรงเรียนชุมชนบ้านนาหลวงในปัจจุบัน และได้ ขุดคูรอบเมืองไว้ป้องกันข้าศึก ทางทิศใต้อาศัยแม่น้ำแหงเป็น คูเมือง ส่วนทางทิศเหนือให้ทหารขุดคูโดยรอบ ซึ่งยังมี ร่องรอยปรากฏให้เราเห็นจนถึงปัจจุบัน (พื้นที่ส่วนใหญ่ได้ เป็นที่ทำกินของชาวบ้านนาหลวงไปหมดแล้ว) เจ้าพญาเมือง น้อยตั้งชื่อเมืองใหม่ว่าเมืองน้อยตามชื่อของพระองค์ เมื่อ เจ้าพญาเมืองน้อยปกครองอยู่มีเมืองฮ้อเมืองเงี้ยว ทัพม่าน ทัพเงี้ยวยกทัพมาทางทิศตะวันตกหวังจะมาตีเอาเมืองน้อย เป็นเมืองขึ้น เจ้าพญาเมืองน้อยจึงได้ยกทัพไปสู้รบมีทหาร บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ในที่สุดทัพม่านทัพเงี้ยวก็ พ่ายแพ้ ทัพของเจ้าพญาเมืองน้อยได้รับชัยชนะ ขณะถอย ทัพกลับที่ตั้ง ทัพม่านทัพเงี้ยวกลับยกทัพตีโอบมาทาง ด้านหลังทำให้สู้รบกันอีกครั้ง ในที่สุดเจ้าพญาเมืองน้อย ก็พลาดพลั้งตกลงหลุมพรางของข้าศึกและถูกข้าศึกใช้ไม้ไผ่ ขัดแตะ (ต๋าแสง) ปิดปากหลุมไว้ และใช้ไม้แหลม (กระทู้เจ็ด แบก) พุ่งลงใส่ตัวท่านจนหมด แต่ไม่ทิ่มตำร่างกายของท่าน แต่อย่างใด จากนั้นเจ้าพ่อพญาเมืองน้อยก็ออกจาก หลุมพรางได้สำเร็จ และได้ต่อสู้กันอีกจนท่านพลาดท่าล้มลง ถูกพวกทัพม่านทัพเงี้ยวใช้หอกดาบแทงตายบริเวณกลางทุ่ง นา เหล่าทหารจึงขุดหลุมฝังศพท่านไว้ตรงนั้น ปัจจุบันคือ ทุ่งนาบ้านผาลาย และยังเหลือร่องรอยไว้ให้คนรุ่นหลังได้ เห็นคือสถานที่ที่เจ้าพญาเมืองน้อยไปต่อสู้กับทัพม่าน ทัพเงี้ยวนั้น มีชื่อเรียกกันจนติดปากมาถึงทุกวันนี้คือ
(๑) วังต่อวังสู้
| ||||||||||||||||||||||||||||||
งานรื่นเริงของชาวม้ง ทุกๆปี จะจัดขึ้นหลังจากได้เก็บเกี่ยวผลผลิตในรอบปีเรียบร้อย และเป็นการฉลองถึงความสำเร็จในการเพาะปลูกของแต่ละปี ซึ่งจะต้องทำพิธีบูชาถึงผีฟ้า - ผีป่า –ผีบ้าน ที่ให้ความคุ้มครอง และดูแลความสุขสำราญตลอดทั้งปี รวมถึงผลผลิตที่ได้ในรอบปีด้วย ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะทำการฉลองกันอย่างพร้อมเพรียงกัน หรือตามวัน และเวลาที่สะดวกของแต่ละหมู่บ้าน การฉลองปีใหม่ม้ง นี้ชาวม้งเรียกกันว่า “น่อเป๊โจ่วฮ์” แปลตรงตัวได้ว่า “กินสามสิบ” สืบเนื่องจากชาวม้งจะนับช่วงเวลาตามจันทรคติ โดยจะเริ่มนับตั้งแต่ขึ้น ๑ ค่ำ ไปจนถึง ๓๐ ค่ำ (ซึ่งตามปฏิทินจันทรคติจะแบ่งออกเป็นข้างขึ้น ๑๕ ค่ำ และข้างแรม ๑๕ ค่ำ) เมื่อครบ ๓๐ ค่ำ จึงนับเป็น ๑ เดือน ดังนั้นในวันสุดท้าย (๓๐ ค่ำ) ของเดือนสุดท้าย(เดือนที่ ๑๒) ของปีจึงถือได้ว่าเป็นวันส่งท้ายปีเก่า ช่วงวันฉลองปีใหม่ส่วนใหญ่จะตกอยู่ประมาณช่วงเดือนพฤศจิกายน - เดือนมกราคม ในวันดังกล่าวหัวหน้าครัวเรือนของแต่ละบ้าน จะประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อความเป็นสิริมงคลของครัวเรือน ถัดจากวันส่งท้ายปีเก่าไป ๓ วัน คือวันขึ้น ๑ ค่ำ ๒ ค่ำและ ๓ ค่ำของเดือนหนึ่ง จัดเป็นวันฉลองปีใหม่อย่างเป็นทางการ ซึ่งทุกคนจะหยุดหน้าที่การงานทุกอย่างในช่วงวันดังกล่าวนี้ และจะมีการจัดการละเล่นต่าง ๆ ในงานขึ้นปีใหม่ เช่น การละเล่นลูกช่วง การตีลูกข่าง การร้องเพลงม้ง หรือ ไห่กู่เชี่ย เป็นเพลงที่ชาวม้งนิยมขับร้องในช่วงปีใหม่ ใช้เกี้ยวพาราสีกันระหว่างหนุ่มสาวหรือขับร้องเพื่อสื่อความหมายบอกความรู้สึกภายในที่อยากสื่อสาร มีแรงบันดาลใจจากเรื่องราวใกล้ตัว หรือเหตุการณ์อื่นๆ ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ก็สามารถถ่ายทอดเขียนเป็นเนื้อเพลงไห่กู่เชี่ยของตัวเองได้ [6] | ||||||||||||||||||||||||||||||
ดอยผาผึ้ง จากคำบอกเล่าของชาวชุมชนบ้านเปา ซึ่งมีอายุสืบทอดกับมาไม่น้อยกว่าสองร้อยปี เล่าว่าชื่อมาจากเดิม “ดอยผาผึ้ง” จะเป็นที่อยู่อาศัยของผึ้งป่าจำนวนมากนั้นเอง ความเชื่อของชาว บ้านที่นี่ เชื่อว่าบน “ดอยผาผึ้ง” มีเจ้าป่าเจ้าเขาดูแลรักษาชื่อ เจ้าจอมผา ใครจะไปจะมาก็ต้องบอกกล่าวท่านก่อนเพราะท่านคือผู้ทิทักษ์รักษาพื้นที่แห่ง นี้ไว้จนเหลือเป็นมรดกตกทอดให้พวกเราชนรุ่นหลังได้ชมความงดงามเช่นที่เห็น ดอยผาผึ้งนับว่าเป็นสถานที่หนึ่งที่ได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวที่รักการผจญภัยในช่วงปลายปี ระยะการเดินทางไปดอยผาผึ้งประมาณ ๑๕ กิโลเมตร และต้องเดินเท้าเข้าไปบนยอดเขาอีกเป็นเวลาประมาณ ๓๐ นาที จึงเหมาะสำหรับนักผจญภัย ในช่วงใกล้สิ้นปี จะมีการจัดงานขึ้นดอยผาผึ้งซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในตำบลน้ำตก เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาเยี่ยมชมที่แห่งนี้ ในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ของทุกๆปี |
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้อุทยานแห่งชาติศรีน่าน | ดอยเสมอดาว | ตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย น่าน 55150 | |||
ผาหัวสิงห์ | ตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย น่าน 55150 | ||||
ผาชู้ | ตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย น่าน 55150 | ||||
แก่งหลวง | ตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย น่าน 55150 | ||||
ม่อนเคียงดาว | ตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย น่าน 55150 | ||||
ม่อนดอยผาผึ้ง | ตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย น่าน 55150 | ||||
อุทยานแห่งชาติขุนสถาน | สถานีวิจัยต้นน้ำขุนสถาน | ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย น่าน 55150 | |||
น้ำตกตาดหมอก | ดอยแม่จอก ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย น่าน 55150 | ||||
น้ำตกขุนลี-ขุนลีหลวง | ตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง แพร่ 54140 | ||||
ดอยกู่สถาน | ตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง แพร่ 54140 | ||||
ดอยแม่จอก | ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย น่าน 55150 | ||||
ถ้ำละโอ่ง | ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย น่าน 55150 | ||||
เสาดินนาน้อย(ฮ่อมจ้อม) | คอกเสือ | ตำบลเชียงของ อำเภอนาน้อย น่าน 55150 | |||
โปดหมาผี | ตำบลเชียงของ อำเภอนาน้อย น่าน 55150 | ||||
เด่นปู่เขียว | ตำบลเชียงของ อำเภอนาน้อย น่าน 55150 | ||||
เด่นอีบด | ตำบลเชียงของ อำเภอนาน้อย น่าน 55150 | ||||
ถ้ำโพรงดินมนุษย์ยุคหิน | ตำบลเชียงของ อำเภอนาน้อย น่าน 55150 | ||||
ถ้ำหนานบุญเถิง | ตำบลเชียงของ อำเภอนาน้อย น่าน 55150 | ||||
โครงการอ่างเก็บน้ำแหง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ | ครัวบ้านริมแหง | ตำบลนาน้อย อำเภอนาน้อย น่าน 55150 | |||
หน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำห้วยสามสบ | บ้านทาร์ซาน | บ้านกิตตินันท์ ตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย น่าน 55150 | |||
บ้านสามฤดู | บ้านกิตตินันท์ ตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย น่าน 55150 | ||||
ตลาดชุมชนบ้านกิตตินันท์ | บ้านกิตตินันท์ ตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย น่าน 55150 | ||||
พุทธสถานถ้ำเชตวัน | บ้านเชตวัน ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย น่าน 55150 |
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอนาน้อยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 69 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ | ชื่อตำบล | ตัวเมือง | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[7] |
---|---|---|---|---|---|
1. | นาน้อย | Na Noi | 10 | 4,938 | |
2. | เชียงของ | Chiang Khong | 7 | 1,985 | |
3. | ศรีษะเกษ | Sisa Ket | 14 | 7,035 | |
4. | สถาน | Sathan | 12 | 5,129 | |
5. | สันทะ | San Tha | 11 | 6,421 | |
6. | บัวใหญ่ | Bua Yai | 8 | 3,922 | |
7. | น้ำตก | Nam Tok | 7 | 2,523 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอนาน้อยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลนาน้อย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลนาน้อย
- เทศบาลตำบลศรีษะเกษ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีษะเกษทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาน้อย (นอกเขตเทศบาลตำบลนาน้อย)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงของ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชียงของทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสถาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสถานทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันทะทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบัวใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบัวใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำตก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำตกทั้งตำบล
การคมนาคม
แก้- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1026 (เวียงสา-นาหมื่น)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1083 (นาน้อย-ปางไฮ)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1216 (นาน้อย-ร้องกวาง)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4025 (หนองห้า-แม่สาคร)
สถานพยาบาล
แก้อำเภอนาน้อย มีสถานพยาบาลบริการทั้งหมด 10 แห่ง ดังนี้
- โรงพยาบาลนาน้อย (โรงพยาบาลประจำอำเภอ)
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีษะเกษ
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเชียงของ
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำตก
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบัวใหญ่
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสันทะ
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสถาน
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านคลองชล ตำบลนาน้อย
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านขุนสถาน ตำบลสันทะ
- สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี ตำบลสถาน
- สถานบริการสาธารณสุขชุมชนห้วยเลา ตำบลเชียงของ
อ้างอิง
แก้- ↑ http://province.m-culture.go.th/nan04/data1.htm
- ↑ http://province.m-culture.go.th/nan04/data1.htm
- ↑ ห้องสมุดประชาชนอำเภอนาน้อย
- ↑ ห้องสมุดประชาชนอำเภอนาน้อย
- ↑ ห้องสมุดประชาชนอำเภอนาน้อย
- ↑ https://www.facebook.com/pg/CharmNanToday/photos/?tab=album&album_id=1178528138850378
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.