อำเภอเวียงสา
เวียงสา (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอศูนย์กลางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของจังหวัดน่านตอนใต้
อำเภอเวียงสา | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Wiang Sa |
คำขวัญ: ประตูสู่น่าน ตำนานชนตองเหลือง เมืองเจ็ดสายน้ำ งามล้ำวัดบุญยืน เริงรื่นแข่งเรือออกพรรษา | |
แผนที่จังหวัดน่าน เน้นอำเภอเวียงสา | |
พิกัด: 18°35′54″N 100°44′24″E / 18.59833°N 100.74000°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | น่าน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,894.893 ตร.กม. (731.622 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 69,581 คน |
• ความหนาแน่น | 36.72 คน/ตร.กม. (95.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 55110 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5507 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเวียงสา หมู่ที่ 12 ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน 55110 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้ด้านภูมิประเทศ อำเภอเวียงสาเป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดน่าน ที่มีชายแดนด้านทิศตะวันออกติดกับแขวงไชยบุรี ประเทศลาว ด้านเหนือติดกับอำเภอเมือง ด้านใต้ติดอำเภอนาน้อย ซึ่งเป็นเส้นทางที่ผู้คนมักจะต้องผ่านเพื่อไปยังดอยเสมอดาว และทิศตะวันตกติดกับจังหวัดแพร่ โดยมีเส้นทางหลวงสายหลักคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 (แพร่-น่าน) ซึ่งมักมีคำพูดติดตลก ๆ กันว่า เวียงสาน่าจะเจริญกว่าเมืองน่าน เพราะระยะทางใกล้กรุงเทพมหานคร มากกว่าอำเภอเวียงสาตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดน่าน ห่างจากตัวจังหวัดเป็นระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 (กำแพงเพชร-ต่อเขตเทศบาลเมืองน่าน) ตอนเวียงสา-ต่อเขตเทศบาลเมืองน่าน และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร เป็นระยะทาง 643 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบ้านหลวง อำเภอเมืองน่าน อำเภอภูเพียง และอำเภอแม่จริม
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงไชยบุรี ประเทศลาว
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอนาน้อย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอร้องกวาง และอำเภอสอง (จังหวัดแพร่)
ประวัติ
แก้ตามตำนานที่ไม่มีประวัติที่ทางราชการจัดทำขึ้นแต่อย่างใด เพียงแต่ได้มีคนรุ่นเก่าและอดีตข้าราชการรุ่นเก่า ๆ เล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานสำคัญทางโบราณวัตถุและปูชนียวัตถุซึ่งพอจะเป็นที่ยืนยันและเชื่อถือได้ กล่าวว่าอำเภอเวียงสาเดิมชื่อ "เวียงป้อ-เวียงพ้อ" หรือ "เมืองพ้อ-เมืองป้อ" เพราะตำนานเล่าว่า ถ้าหากมีเหตุการณ์ร้ายแรงอันใดเกิดขึ้น มักเรียกผู้คนที่มีไม่มากนักตามบริเวณนั้นมาป้อ (รวม) กันที่ปากสา (ปากแม่น้ำสาที่ไหลลงสู่แม่น้ำน่าน) ซึ่งต่อไปนี้จะใช้คำว่า "เวียงป้อ" แทนชื่อเรียกอำเภอเวียงสาในอดีตที่ระบุในตำนานหรือหลักฐานที่สำคัญ ๆ ต่อไป
เวียงป้อเป็นเมืองที่อยู่ทางทิศใต้ของนครน่าน ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร แรกตั้งครั้งใด นานเท่าไรไม่ปรากฏ อาจจะมีมาตั้งแต่เมืองป้อยุคหิน เพราะมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น แหล่งผลิตเครื่องมือหิน เครื่องปั้นดินเผา เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ขุดพบ และอีกหลายแห่งที่ยังไม่ได้สำรวจ ตลอดถึงหลักฐานความเจริญรุ่งเรืองในอดีต ปรากฏหลักฐานซากวัดร้างต่าง ๆ เช่น
- วัดบุญนะ สถานที่ตั้งตลาดสดเทศบาลตำบลเวียงสา
- วัดต๋าโล่ง อยู่ห่างจากวัดผาเวียงไปทางทิศตะวันออกประมาณ 4 กิโลเมตร
- วัดมิ่งเมือง สถานที่ตั้งสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเวียงสา
- วัดป่าแพะน้อย อยู่ห่างจากวัดวิถีบรรพต ไปทางทิศตะวันตก 1 กิโลเมตร
- วัดสะเลียม อยู่ห่างจากวัดสะเลียมใหม่ (ตำบลยาบหัวนา) 800 เมตร
- วัดหินล้อม อยู่ห่างจากวัดสะเลียมใหม่ (ตำบลยาบหัวนา) 2 กิโลเมตร
เวียงป้อเป็นเมืองที่อยู่ใกล้นครน่าน ผลกระทบและอิทธิพลด้านต่าง ๆ มักได้รับพร้อมกันกับนครน่าน และเนื่องจากการเดินทางติดต่อโดยทางบกใช้เวลาเดินทางเท้าประมาณ 6-8 ชั่วโมง ถ้าหากขี่ม้าเร็วก็จะประมาณ 2-3 ชั่วโมง การเดินทางติดต่อทางน้ำใช้เวลาประมาณ 5-6 ชั่วโมง ที่ตั้งของเวียงป้อนอกจากจะตั้งอยู่ที่ราบระหว่างดอยต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ยังเป็นเมืองที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน เช่น แม่น้ำสา แม่น้ำว้า แม่น้ำแหง แม่น้ำปั้ว แม่น้ำสาคร ตลอดถึงสายน้ำน่านและสายน้ำว้าเดิมที่เปลี่ยนเส้นทางเดินกลายสภาพเป็นหนองน้ำซึ่งมีอยู่มากมาย ชาวบ้านเรียกว่า "น้ำครก" และสายธารอื่น ๆ อีกมากมายที่ไหลลงสู่แม่น้ำน่าน จึงทำให้เวียงป้อเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่มีความอุดมสมบูรณ์
เวียงป้อเป็นหัวเมืองประเทศราชขึ้นตรงต่อนครน่าน พงศาวดารน่านได้บันทึกไว้ พ.ศ. 2139 สมัยพระเจ้าเจตบุตรพรหมินทร์ เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 31 ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2103-2134) ได้เสด็จเวียงป้อ มีใจความตอนหนึ่งของพงศาวดารกล่าวไว้ว่า "จุลศักราชได้ 985 เดือน 8 ลง 3 ค่ำ ท่านก็เสด็จลงไปอยู่เมืองพ้อ ไปสร้างวัดดอนแท่นไว้ ได้อภิเษกสามีเจ้าขวา หื้อเป็นสังฆราชแล้ว..."
กล่าวถึงพระยาหน่อเสถียรไชยสงคราม เจ้าผู้ครองนครน่าน ลำดับที่ 35 ได้ทราบตำนานวัดพระธาตุแช่แห้ง มีศรัทธาแรงกล้า จึงบูรณะซ่อมแซมและต่อเติมศาสนสถานแห่งนี้ และกล่าวถึงเจ้าเวียงป้อไว้ตอนหนึ่งว่า "ปีเต่าสง้า สร้างบ่อน้ำและโรงอาบ เว็จกุฎิหื้อสมเด็จสังฆราชเจ้าเมืองพ้อ มาเป็นหัวหน้าอยู่ เป็นเค้าเป็นประธานแก่ช่างไม้ทั้งหลาย..."
เหตุการณ์ที่ระบุเจ้าเวียงป้อเป็นช่างใหญ่นั้น แสดงว่าเวียงป้อเป็นเมืองที่ขึ้นตรงต่อนครน่านราว พ.ศ. 2123-2127
พ.ศ. 2243-2251 เมืองน่านและเมืองประเทศราชถูกกองทัพพม่าเผาทำลายเสียหายทั้งเมืองและวัดวาอาราม ผู้คนถูกเข่นฆ่าจำนวนมาก ชาวน่านแตกหนีภัยสงครามเข้าอยู่ซ่อนในป่าในถ้ำ ทิ้งเมืองให้ร้าง ผลกระทบนี้เมืองป้อก็ได้รับเช่นกันดังในพงศาวดารนครน่าน ตอนที่ 4 ว่าด้วยเมืองน่านคราวเป็นจลาจลความว่า "ปีกาเม็ด จุลศักราชได้ 1096 ตัว เถินวัน 14 ค่ำ ทัพพม่าครั้งเถิงเมืองแล้วก็กระทำอันตรายแก่เมืองรั้วเมืองทั้งมวล คือ จุดเผาม้างพระพุทธรูป... วัดวาอาราม ศาสนาธรรม พระพุทธเจ้าที่จุดเผาเสี้ยง จะดาไว้แด่แผ่นดินนั้นแล ชาวบ้านชาวเมืองทั้งหลายก็ตายกันเป็นอันมานัก หันแล"
พ.ศ. 2247-2251 หัวเมืองต่าง ๆ ขาดผู้ครองเมือง กองทัพญวนและกองทัพลาวบุกเข้ากวาดต้อนผู้คนนครน่านและเวียงป้อด้วย ต่อมา พ.ศ. 2322 นครน่านขาดผู้ครองนคร จึงมีผลกระทบต่อเมืองป้อ จากฝ่ายพม่าเข้ามากวาดต้อนผู้คนไปไว้เมืองเชียงแสน ทิ้งเมืองให้เป็นเมืองร้าง จึงเป็นยุคที่เสื่อมโทรมอย่างยิ่ง พงศาวดารของเมืองน่านได้กล่าวไว้ตอนนี้ว่า "ในยามนั้น เมืองลานนาไทย ก็บ่เที่ยงสักบ้านสักเมืองแล ดังเมืองน่านเรา เปนอันว่างเปล่า ห่างสูญเสียห้าท้าวพระยาบ่ได้แล" ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าเวียงป้อเป็นเมืองร้างนานถึง 15 ปี อำเภอเวียงสาขณะที่ยังไม่ได้สร้างเป็นเมืองหรือเวียงนั้น ได้ถูกสร้างขึ้นเป็นเมืองหรือเวียงโดยเจ้าผู้ครองนครน่านชื่อ เจ้าฟ้าอัตถาวรปัญโญ เมื่อ พ.ศ. 2340 คือหลังจากสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้เพียง 15 ปี
จนมีการใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) มีฐานะเป็นเมือง หรือเรียกตามภาษาภาคเหนือว่า "เวียง" และมีชื่อว่า "เวียงป้อ" มีผู้ครองเมืองซึ่งเป็นเชื้อสายของเจ้าผู้ครองนครน่านชื่อว่า "เจ้าอินต๊ะวงษา" แต่ประชาชนนิยมศึกษาว่า "เจ้าหลวงเวียงสา" โดยขนานนามเมืองว่า เมืองสา ตามชื่อแม่น้ำสำคัญของเมือง แล้วให้โอนการปกครองขึ้นต่อเมืองน่านตอนใต้ ต่อมาปี พ.ศ. 2451 เมืองสาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ และอำเภอสา ตามลำดับ
ปี พ.ศ. 2461 ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น อำเภอบุญยืน ตามชื่อวัดที่ตำบลกลางเวียง แต่ต่อมาได้กลับมาใช้ชื่อ อำเภอสาอีกครั้งจนถึงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2529[1] ได้มีการตามพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น อำเภอเวียงสา ให้ถูกต้องตามที่ราษฎรเรียกต่อๆกันมา จวบจนปัจจุบันนี้
ต่อมาตำบลส้าน ได้แยกหมู่บ้าน 4 หมู่บ้านตั้งเป็นตำบลส้านนาหนองใหม่ จนถึงปี พ.ศ. 2526 ได้แยกการปกครองของ 3 หมู่บ้านของตำบลยาบหัวนา และตั้งเป็นตำบลแม่ขะนิง ปี พ.ศ. 2531 บ้านสาครหมู่ที่ 5 และอีก 4 หมู่บ้านของตำบลอ่ายนาไลย ได้จัดตั้งเป็นตำบลแม่สาคร ต่อมาในปี พ.ศ. 2536 ได้ตั้งตำบลแม่สา โดยแยกออกจากตำบลปงสนุก และตำบลทุ่งศรีทอง โดยแยกออกจากตำบลน้ำปั้ว ทำให้ปัจจุบันอำเภอเวียงสามีการปกครองทั้งหมด 17 ตำบล
ชาติพันธุ์
แก้ชาติพันธุ์ของผู้คนในเวียงสาเป็นคนพื้นเมือง ถิ่นเดิมคือพวกละว้า ลักษณะทางพันธุกรรมเป็นคนรูปร่างใหญ่ สูง โครงกระดูกใหญ่โต มีภาษาสำเนียงพื้นถิ่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง อาศัยทำมาหากินตั้งบ้านเรือน ถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำน่านและแม่น้ำว้า และอีกส่วนหนึ่งเป็นคนเมืองโยนก หรือ ชาวไทยเชียงแสนที่เรียกตัวเองว่าไทยยวนหรือคนเมือง ซึ่งอพยพเป็นข้าขอบขันทะสีมากับสยามประเทศ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ที่เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญได้กวาดต้อนผู้คนมาสร้างบ้านแปงเมืองให้สงบสุขร่มเย็นเป็นปึกแผ่น วิถีของผู้คนในเวียงสาเป็นคนรักสงบ โอบอ้อมอารี มีความสมัครสมานสามัคคี เรียบง่าย อ่อนงาม ทำมาหากินโดยสุจริต แต่ก่อนมีอาชีพทำนา ทำสวน ทำไร่ บนพื้นที่ราบลุ่ม กว้างใหญ่ ที่มีแม่น้ำไหลผ่านถึงเจ็ดสาย จึงเป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณธัญญาหาร สัตว์บก สัตว์น้ำ หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตผู้คนทั้งบ้านทั้งเมืองให้อิ่มหนำสำราญ ดำรงรักษาวิถีรากเหง้า วัฒนธรรม ประเพณีดั้งเดิมไว้จากรุ่นสู่รุ่น อันส่งผลให้ “เวียงสา” เจริญรุ่งเรือง และอยู่เย็นเป็นสุขจนตราบทุกวันนี้
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองท้องที่
แก้อำเภอเวียงสาแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 17 ตำบล 128 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ | ชื่อตำบล | ตัวเมือง | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[2] |
---|---|---|---|---|---|
1. | กลางเวียง | Klang Wiang | 15 | 9,851 | |
2. | ขึ่ง | Khueng | 7 | 4,028 | |
3. | ไหล่น่าน | Lai Nan | 8 | 3,414 | |
4. | ตาลชุม | Tan Chum | 7 | 3,574 | |
5. | นาเหลือง | Na Lueang | 7 | 3,074 | |
6. | ส้าน | San | 10 | 6,851 | |
7. | น้ำมวบ | Nam Muap | 8 | 3,234 | |
8. | น้ำปั้ว | Nam Pua | 7 | 3,866 | |
9. | ยาบหัวนา | Yap Hua Na | 7 | 5,402 | |
10. | ปงสนุก | Pong Sanuk | 4 | 1,372 | |
11. | อ่ายนาไลย | Ai Na Lai | 11 | 6,701 | |
12. | ส้านนาหนองใหม่ | San Na Nong Mai | 4 | 1,876 | |
13. | แม่ขะนิง | Mae Khaning | 7 | 3,895 | |
14. | แม่สาคร | Mae Sakhon | 6 | 2,727 | |
15. | จอมจันทร์ | Chom Chan | 8 | 3,870 | |
16. | แม่สา | Mae Sa | 7 | 2,883 | |
17. | ทุ่งศรีทอง | Thung Si Thong | 5 | 2,571 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอเวียงสาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 16 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลเวียงสา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกลางเวียง
- เทศบาลตำบลกลางเวียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปงสนุกทั้งตำบล และตำบลกลางเวียง (นอกเขตเทศบาลตำบลเวียงสา)
- เทศบาลตำบลขึ่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขึ่งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไหล่น่าน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไหล่น่านทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาลชุมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาเหลือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาเหลืองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลส้าน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลส้านทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำมวบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำมวบและตำบลส้านนาหนองใหม่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำปั้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำปั้วทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลยาบหัวนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยาบหัวนาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลอ่ายนาไลย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอ่ายนาไลยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ขะนิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ขะนิงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สาคร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สาครทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลจอมจันทร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจอมจันทร์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งศรีทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งศรีทองทั้งตำบล
การขนส่ง
แก้- ทางหลวง
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 (ร้องกวาง-เวียงสา-น่าน)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1026 (เวียงสา-นาน้อย)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1162 (เวียงสา-บ้านน้ำมวบ)
เศรษฐกิจ
แก้ธนาคาร
แก้การศึกษา
แก้ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน 1 แห่ง
แก้- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเวียงสา เป็นสถานศึกษาสังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดน่าน สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ มีที่ตั้งอาคารสำนักงานที่บ้านภูเพียง หมู่ที่ ๖ ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน และมีศูนย์บริการการศึกษานอกระบบ ประจำตำบล ๑๗ ตำบล
ห้องสมุดประชาชนอำเภอเวียงสา
แก้ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน
แก้- ศูนย์การเรียนชุมชนวัดไหล่น่าน ตั้งอยู่บ้านไหล่น่าน หมู่ 1 ตำบลไหล่น่าน
- ศูนย์การเรียนชุมชนวัดวัวแดง ตั้งอยู่ที่บ้านวัวแดง หมู่ 1 ตำบลแม่สา
ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
แก้- ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดไหล่น่าน ตั้งอยู่ที่วัดไหล่น่าน หมู่ 1 ตำบลไหล่น่าน
- ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดน้ำมวบ ตั้งอยู่ที่วัดน้ำมวบ หมู่ 1 ตำบลน้ำมวบ
- ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดวังคีรี ตั้งอยู่ที่วัดวังคีรี หมู่ 1 ตำบลน้ำปั้ว
- ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดผาเวียง ตั้งอยู่ที่วัดผาเวียง หมู่ 5 ตำบลส้าน
- ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดขึ่ง ตั้งอยู่ที่วัดขึ่ง หมู่ 3 ตำบลขึ่ง
- ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดใหม่เจริญราษฎร์ ตั้งอยู่ที่วัดใหม่เจริญราษฎร์ หมู่ 4 ตำบลอ่ายนาไลย
สถานศึกษา
แก้- สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต 1 จำนวน 58 โรงเรียน
- สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 จำนวน 4 โรงเรียน
- สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน จำนวน 2 โรงเรียน
- สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จำนวน 1 โรงเรียน
- สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 1 แห่ง
- สังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ จำนวน 1 แห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ วิทยาเขตน่าน199 ม.3 ต.ทุ่งศรีทอง
ศูนย์การเรียนรู้และบริการวิชาการ เครือข่ายแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แก้สถานที่ท่องเที่ยว
แก้- ตลาดเช้า
- วัดบุญยืน
- เฮือนรถถีบมะเก่า
- ชุมชนผีตองเหลือง (มลาบรี)
- บ้านสล่าเก๊า
- กะลกไม้
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อ อำเภอสา จังหวัดน่าน พ.ศ.๒๕๒๙
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.