ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิง ไขศรี ศรีอรุณ (สกุลเดิม บุนปาน; เกิด 29 มกราคม พ.ศ. 2480) เป็นนักการเมืองและนักวิชาการชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยพะเยา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร และอีกทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร และนายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ไขศรี ศรีอรุณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ดำรงตำแหน่ง
8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
ก่อนหน้าสุรเกียรติ์ เสถียรไทย (รักษาราชการแทน)
ถัดไปอนุสรณ์ วงศ์วรรณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 มกราคม พ.ศ. 2480 (87 ปี)
จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย
คู่สมรสพลเรือเอกกำจัด ศรีอรุณ

ประวัติ

แก้

คุณหญิงไขศรี บุนปาน เกิดที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ในครอบครัวบุนปาน บิดาเป็นครู มารดาเป็นแม่บ้าน พื้นเพทั้งบิดา มารดา เป็นคนอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี อาชีพครูของบิดาทำให้ต้องโยกย้ายไปท้องถิ่นต่างๆพอสมควร สุดท้ายเกษียณอายุราชการที่ตำแหน่งผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัดพระนคร (กรุงเทพฯ) คุณหญิงไขศรีมีพี่น้องทั้งหมด 7 คน มีน้องชายคนหนึ่งที่สังคมรู้จักกันดี คือ ขรรค์ชัย บุนปาน เจ้าของและผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์มติชน และบริษัทในเครือ

คุณหญิงไขศรี สมรสกับพลเรือเอกกำจัด ศรีอรุณ มีบุตร 3 คน หนึ่งในนั้นคือ จารึก ศรีอรุณ หรือที่รู้จักกันในนาม เชฟจารึก อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และมีชื่อเสียงจากการแข่งขันทำอาหารในรายการต่าง ๆ ทั้งไทยและต่างประเทศ

การศึกษา

แก้

คุณหญิงไขศรี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสตรีวิทยา มีผลการเรียนดีเด่นระดับติด 1 ใน 50 คนของประเทศ ได้รับพระราชทานทุนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ผ่านสตรีวิทยาสมาคม ในการศึกษาต่อในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนจบการศึกษาได้เกียรตินิยมอันดับ 2 สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2503 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาภาษาฝรั่งเศส ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การทำงาน

แก้

คุณหญิงไขศรี ทำงานเป็นอาจารย์โรงเรียนสตรีวิทยา แต่เนื่องจากไม่มีตำแหน่งงานทางภาษาฝรั่งเศส จึงต้องสอนวิชาภาษาอังกฤษ โดยขณะนั้นก็ศึกษาต่อปริญญาโท สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย จากนั้นย้ายมาเป็นอาจารย์โรงเรียนช่างศิลป ของกรมศิลปากร จนกระทั่งได้มาสอนภาษาฝรั่งเศส ที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และเจริญก้าหน้าในตำแหน่งการงานที่มหาวิทยาลัยศิลปากร

ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 12 ระหว่าง 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2535[1] และระหว่าง 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2539[2]

ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 9 ระหว่าง 29 มิถุนายน พ.ศ. 2547 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2549[3] 3 เมษายน พ.ศ. 2552 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553[4] 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555[5] และระหว่าง 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557[6]

งานการเมือง

แก้

คุณหญิงไขศรี ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2539[7] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในสมัยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ [8] ซึ่งเป็นการสรรหาผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกำกับดูแลด้านต่างๆ หลังเกิดวิกฤตการณ์การเมือง ซึ่งคณะรัฐมนตรีชุดดังกล่าวได้รับสมญานามจากสื่อมวลชนว่า "รัฐบาลขิงแก่" อันเนื่องมาจากรัฐมนตรีของคณะรัฐบาลชุดนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่สูงอายุ ซึ่งในขณะรับตำแหน่งคุณหญิงไขศรี มีอายุ 69 ปี

คุณหญิงไขศรี มีผลงานที่โดดเด่นในการปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรี คือ การห้ามการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด แต่สามารถโมษณาได้ในเวลา 22.00 เป็นต้นไป[9] และการออกมาตรการคุมเข้มไม่ให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี เต้นโคโยตี้[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้
  •   ฝรั่งเศส:
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ –   เครื่องอิสริยาภรณ์ปาล์มวิชาการ ชั้นที่ 1

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๕ หน้า ๙๑๑๙ ๘ ธันวาคม ๒๕๓๑
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๒๙ ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕ ๗ ตุลาคม ๒๕๓๕
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๖๐ ง หน้า ๒ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๗
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๗๒ ง หน้า ๒๗ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๒
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๐๙ ง หน้า ๑๙ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๓
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๘๑ ง หน้า ๒ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
  9. The Nation, NHSO backs plan to ditch Bt30 fee เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 31 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
  10. The Nation, No 'coyote dances' for Loy Krathong: Culture Ministry, 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๔, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓๔, ๑๔ เมษายน ๒๕๒๙
ก่อนหน้า ไขศรี ศรีอรุณ ถัดไป
สุรเกียรติ์ เสถียรไทย
(รักษาการแทน)
   
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
(8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)
  อนุสรณ์ วงศ์วรรณ
เกษม วัฒนชัย
(สมัยที่ 2)
  นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 9 สมัยที่ 1
(29 มิถุนายน พ.ศ. 2547 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2549)
  ชุมพล ศิลปอาชา
(สมัยที่ 1)
ชุมพล ศิลปอาชา
(สมัยที่ 2)
  นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 9 สมัยที่ 2
(3 เมษายน พ.ศ. 2552 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553)
  สมัยที่ 3
สมัยที่ 2   นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 9 สมัยที่ 3
(29 มิถุนายน พ.ศ. 2553 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555)
  สมัยที่ 4
สมัยที่ 3   นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 9 สมัยที่ 4
(29 มิถุนายน พ.ศ. 2555 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557)
  ภราเดช พยัฆวิเชียร
(สมัยที่ 1)
เอนก วีรเวชชพิสัย   อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 12 สมัยที่ 1
(1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2535)
  สมัยที่ 2
สมัยที่ 1   อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 12 สมัยที่ 2
(1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2539)
  ตรึงใจ บูรณสมภพ